[RE: ภาพการโจมตีทางอากาศของสัมพันธมิตร ในประเทศไทย]
อีกภาพที่หาดูได้ยาก [รึเปล่า] เป็นภาพบ้านเรือน หรือฐานบัญชาการ ไม่แน่ใจนะครับ เกิดไฟไหม้หลังจากการทิ้งระเบิด ที่อำเภอกบินทร์บุรี ในวันที่ 21 พฤษภาคม 1945 ถ่ายจากเครื่อง B-24
ภาพลูกเรือ B-29 ซึ่งใต้ภาพระบุว่าในวันที่ 27 ธันวาคม 1944 ได้บินไปทิ้งระเบิดที่กรุงเทพ ถ่ายในฐานบินที่ประเทศจีน
สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ใต้ภาพระบุว่าถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 จากฝูงบินทิ้งระเบิดที่ 7 จากอินเดีย ทิ้งระเบิดจนขาดลงในวันที่ 2 มีนาคม 1945
ภาพการโจมตีสะพานข้ามแม่น้ำแควในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1945 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
ภาพถ่ายทางอากาศนี้เป็นตัวยืนยันถึงการโจมตีทิ้งระเบิดในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1945 ของสหรัฐนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ [ภาพด้านบน] เพราะตัวสะพานยังคงไม่ได้รับความเสียหายและใช้งานได้ ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1945 หรือ 7 วันหลังจากการโจมตีสะพานแห่งนี้ครั้งล่าสุดครับ
จากภาพนี้จะเห็นได้ว่าญีปุ่นนั้นได้วางกำลังป้องกันตัวสะพานเอาไว้อย่างหนาแน่นทีเดียว รวมถึงค่ายทหาร หรือเชลย [ตรงนี้ไม่แน่ใจ หรืออาจจะเป็นทั้งสอง] [ตรงบริเวณด้านล่างขวาของรูป ใกล้ ๆ ตัวสะพาน ผมไม่อยากจะทำเครื่องหมายไปในรูปให้เสียคุณค่าของภาพครับ] เพื่อป้องกันการเข้าโจมตีสะพานของสหรัฐและอังกฤษ
และหากเราสังเกตกันดี ๆ อีกซักนิด เราจะเห็นหลุมระเบิดอยู่รอบ ๆ บริเวณตัวสะพานจากการทิ้งเมื่อครั้งที่ผ่าน ๆ มาด้วยครับ
ภาพนี้เมื่อปี 1944-1945 คือพื้นที่วางกำลังป้องกันตัวสะพานข้ามแม่น้ำแควของญีปุ่น โดยมีการวางกำลังทั้ง ปตอ และรังปืนกล ปัจจุบันกลายเป็นที่พักอาศัยและร้านค้า
ไปหาข้อมูลมามันคือค่ายเชลยศึกจริง ๆ ครับ แต่ก้เอาไว้ให้ทหารญีปุ่นอยู่ด้วย สรุปคือเป็นทั้งสองอย่าง เพื่อป้องกันการทิ้งระเบิดครับ มีชื่อเรียกว่า Tamarkan POW camp หรือค่ายเชลยศึกท่ามะขาม จากภาพนี้เราจะเห็นว่ามีเหล่าเชลยอยู่ในค่ายแห่งนี้หน่าแน่นพอสมควร
ภาพการทิ้งระเบิดซ้ำใส่สะพานชั่วคราวหนึ่งในเส้นทางรถไฟสายมรณะระหว่างไทย-พม่า ในวันที่ 31 ตุลาคม 1944 ภาพนี้ผมแทบจะไม่ต้องบรรยายอะไร ใด ๆ เลย เพราะหากสังเกตกันดี ๆ เราจะเห็นลูกระเบิดขนาด 500 ปอนด์กำลังจะตกกระทบเป้าอยู่รอมร่ออยู่แล้ว น่ากลัวมากครับ
ขยาย
ส่วนภาพนี้เป็นสะพานเดียวกันกับด้านบน แต่ให้สังเกตว่าญีปุ่นนั้นมีความพยายามมากที่จะซ่อมสะพานแห่งนี้ให้ใช้การได้ใหม่ ซึ่งตัวสะพานหลักก่อนหน้านั้นมีความกว้างกว่านี้มาก แต่คาดว่าหลังจากโดนระเบิดเสียหายจากเหตุการณ์ด้านบน ญีปุ่นเลยพยายามจะสร้างตัวสะพานแบบหยาบ ๆ ขึ้นมาใหม่โดยการต่อสะพานไม้ซึ่งมีความกว้างน้อยมาก แล้วมาวางต่อกันบนต่อหม้อสะพานเดิม และเสริมความแข่งแรงให้กับสะพานชั่วคราวด้วยพร้อม ๆ กัน แต่สุดท้ายก็ยังคงโดนทิ้งระเบิดทำลายในที่สุด
ในภาพระบุว่าเป็นช่วงเดือนกันยายน ปี 1945 นั้นแปลว่าภาพนี้น่าจะถูกถ่ายหลังจากที่มีการโจมตีครั้งสุดท้ายไปก่อนหน้านั้นแล้ว เพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงอย่างถาวรในช่วงเดือนกันยายนปี 1945 เช่นกัน
พการทิ่งระเบิดเส้นทางเชื่อมต่อ พม่า-สยาม[ไทย] มีอยู่ 3 จุด ทำลายไปแล้ว 1 กำลังถูกทิ้งระเบิด 1 ส่วนด้านซ้ายสุดโดนโจมตีก่อนหน้านั้นแม้สะพานจะไม่ขาดแต่ก็บิดงอจนไม่สามารถใช้งานได้แล้ว ไม่ทราบว่าเป็นตรงจุดไหนครับ ในภาพระบุวันที่ 2 เมษายน 1945 จากเครื่อง B-24 อีกเช่นกัน จากกองบินที่ 7 จากอินเดีย ข้อมูลระบุว่าเป็นการโจมตีครั้งสุดท้ายบนเส้นทางนี้ ซึ่งจากที่ดูข้อมูลของบินที่ 7 ที่เดินทางมาจากอินเดียนั้น มักจะเข้าโจมตีทั้งไทย รอยต่อ ไทย-พม่า และ พม่า ไปในภารกิจเดียว
ภาพนี้ถูกระบุว่าเป็นสะพานปรมินทร์ ถูกโจมตีด้วยเครื่อง B-24 ด้วยระเบิดขนาด 1000 ปอนด์ จากความสูง 300 ฟิต
ส่วนภาพนี้ไม่ขอยืนยันนะครับว่าเป็นสะพานปรมินทร์ด้วยรึเปล่าเพราะไม่ได้ระบุครับ แต่คล้าย ๆ ร่องน้ำก็คล้ายครับ แต่ไม่ขอยืนยัน ในภาพกำลังถูกเครื่อง B-24 ใช้ปืนกลหน้ายิงถล่มตัวสะพานครับ ส่วนผ้า หรื่อตาข่ายที่คลุม ๆ ตัวสะพานอยู่ผมก็ไม่แน่ใจนะครับว่าจะทำขึ้นเพื่อรองรับการตกของลูกระเบิดรึเปล่า ซึ่งถ้าจะว่ากันจริง ๆ คงจะยากที่จะรับน้ำหนักของระเบิดได้ แต่ในความคิดของผม คนในสมัยนั้น หรือพวกญีปุ่นเองก็คงคิดว่าดีกว่าที่จะไม่ทำอะไรเลยกระมั่ง แต่ก็แค่คาดเดานะครับ ไม่ขอยืนยัน
ภาพถ่ายระยะใกล้ในขณะถูกโจมตีของสะพานพระราม 6 ภาพนี้ถูกขยายมาจากทางกองทัพอากาศสหรัฐนะครับ ไม่ใช่ผม ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นภาพที่ชัดมากที่สุดภาพหนึ่งแล้วในบริบทของการโจมตีสะพานนี้ เพราะต้นฉบับที่ผมมีสามารถซูมได้น้อง ๆ google เลยทีเดียว
ลองทำเปรียบเทียบดูครับ ก็ดูแปลกตาไปเหมือนกัน
ภาพนี้ถ่ายได้จากเครื่อง B-29 ของสหรัฐ ระบุว่าเป็นภาพของเรือสองพี่น้อง ที่คนไทยน่าจะรู้จักกันดี นั้นคือ เรือหลวงแม่กลอง และเรือหลวงท่าจีน ลอยลำอยู่บริเวณแถว ๆ สมุทรปราการ แปลจากภาพระบุว่า หลังจากไทยได้เลือกอยู่ข้างญีปุ่น ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องจับตาเรือหลวงทั้งสองอย่างใกล้ชิด ภาพนี้ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 21 มกราคม 1945
แต่จากที่หาข้อมูลมา เรือหลวงแม่กลองไม่เคยถูกทางสหรัฐโจมตีเลยตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเพียงเรือหลวงท่าจีนเท่านั้นที่ถูกโจมตีขณะเดินทางมาประเทศ [ผมไม่แน่ใจเรื่องปีนะครับ แต่น่าจะเป็นช่วงต้นของสงคราม ใครทราบมาเพิ่มเติมได้เลยครับ]
ส่วนภาพนี้เป็นภาพเรือหลวงธนบุรี [ลำใหญ่สีขาว] ถ่ายได้จาก B-29 ในวันเดียวกันกับเรือชั้นแม่กลอง [ด้านบน] ระบุว่ากำลังลอยลำอยู่บริเวณหน้าโรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ [ไปดู map มาแล้วครับ ใช่จริง ๆ สหรัฐรู้หมดเลย]
สำหรับเรือหลวงธนบุรีนั้น เธอคือสุดยอดเรือรบครับ และเธอก็สู้สุด ๆ จริง ๆ จากยุทธนาวีที่เกาะช้าง และเสียหายอย่างหนักจากการรบในครั้งนั้น จนไม่สามารถที่จะกลับเข้ามาประจำการในกำลังรบได้อีกเลย [ค.ศ.1941] ดังนั้นภาพที่สหรัฐถ่ายได้ในวันนั้น [ค.ศ.1945] เธอจึงเป็นแค่กองบังคับการลอยน้ำของกองเรือตรวจอ่าวเพียงเท่านั้น
ภาพสะพานเสาวภา ข้ามแม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐมซึ่งได้ขาดลงจากการทิ้งระเบิดในวันที่ 6 มกราคม 1945 เป็นสะพานรถไฟ [ในสมัยนั้นประเทศไทยจะเป็นสะพานรถไฟแทบทั้งหมด] ระบุวันที่ 21 มกราคม 1945 เช่นกัน [คาดว่าภาพชุดของวันที่ 21 จะเป็นการบินตรวจหลังการทิ้งระเบิดหรือกิจกรรมต่าง ๆ บริเวณทิ้งระเบิด เพื่อประเมินการทิ้งระเบิดครั้งต่อไป]
เครดิต มีรูปอีกเยอะมาก เข้าไปดูกันได้เลย
http://pantip.com/topic/31885621