Drama:โธ่!!! ดูนักศึกษาต่างจังหวัดทำตัว...... (Pics)
บทความดีๆที่เค้าเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมอ่านแล้วขนลุกเลย
"ธรรมศาสตร์ & กลุ่มดาวดิน"การต่อสู้ในชุด"นศ."ที่แตกต่างราว"ฟ้า"กับ"เหว" ?
http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/23690-right.html#.Ui6UrFPhJL6.twitter
ใน ขณะที่นักศึกษาเมืองกรุงอย่าง มธ.(บางส่วน) กำลังแสดงแนวคิดเรื่องการแต่งกายเพื่อเรียกร้องสิทธิส่วนตัว นักเรียนในกรุงเทพฯคิดถึงแต่เรื่องทรงผม
แต่ นักศึกษาต่างจังหวัด ม.ขอนแก่นและม.มหาสารคาม กำลังลงมือปฏิบัติเพื่อแสดงแนวคิดที่มีต่อชาวบ้านในท้องถิ่น ในการรักษาสิทธิและพูดถึงผลกระทบในโครงการของรัฐ
(คุกเข่าเพื่อขอเข้าไปร่วมในเวทีประชาพิจารณ์)
ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2556
อ่านต่อที่
http://prachatai.com/journal/2013/09/48680
ลำดับเหตุการณ์วันที่ 8 กันยายน 2556
6.00 น. ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย จาก 6 หมู่บ้าน จำนวน 800 คน ออกเดินทางด้วยรถกระบะกว่า 50 คัน ไปยังเวที Public Scoping การขอขายเหมืองทองคำแปลงที่ 76/2539 ที่วัดโพนทอง ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย
7.35 น. หลังจากถูกสกัดด้วยด่านตรวจจำนวนมากมาตลอดทาง ประมาณ 5 กิโลเมตรก่อนถึงจุดหมาย ขบวนของกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดพบรถขนาดใหญ่คว่ำกีดขวางเกือบเต็มถนน โดยยังไม่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าเส้นทางดังกล่าวจะเป็นทางผ่านของกลุ่มฯ ทำให้นักศึกษาและชาวบ้านต้องช่วยกันผลักรถที่คว่ำอยู่เพื่อเปิดช่องทางจราจร
8.00 น. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ เดินทางมาถึงบริเวณวัดโพนทอง ต.นาโป่ง และเริ่มเคลื่อนขบวนไปยังหน้าวัด พบเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 50 นายปิดกั้นประตูทางเข้าอยู่
8.30 น. ฝนเริ่มตก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคามช่วยในการเจรจาและวิงวอนขอความเห็นใจจากเจ้าหน้าที่ให้ชาวบ้านได้เข้าร่วมเวทีฯ และชาวบ้านร่วมกิจกรรมอย่างสงบท่ามกลางฝนที่ตกหนักอยู่ราวหนึ่งชั่วโมง
9.30 น. เมื่อการเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดส่งสาสน์ถึงผู้จัดงานผ่านทางเครื่องบินกระดาษให้รับฟังเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง และเปลี่ยนมาปราศรัยรณรงค์อยู่ด้านหน้าวัดโพนทองซึ่งเป็นสถานที่จัดเวที เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านนาโป่งถึงผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำที่บริษัทไม่ได้กล่าวถึงและความไม่ชอบธรรมของเวทีที่จัดขึ้น โดยมีชาวบ้านนาโป่งให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งร่วมปราศรัยถึงความกังวลต่อผลกระทบจากการทำเหมืองด้วย
11.30 น. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดเดินทางกลับตำบลเขาหลวง
สรุป คือเหตุการณ์นี้เป็นการต่อต้านการขยายสัมปทานเหมืองทองคำใน ที่จะก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมและก่อมลพิษกับชาวบ้าน่
โดยการทำประชาพิจารนั้น ทางบริษัทได้นำเสนอแต่ประโยชน์โดยไม่ยอมนำเสนอผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
เป็นการต่อต้านอย่างสันติและมีการให้ข้อมูลแก่ชาวบ้านท้องถิ่น
เนื้อหาว่าโดนแล้ว รูปกลับแทงเข้าไปในใจเลย ดั่งคำกล่าวที่ว่า รูปๆหนึงแทนคำพูดได้เป็นล้านคำ
เปรียบเทียบชัดๆ นักศึกษาในเมืองกรุง ม.ธรรมศาสตร์ อั้ม เนโกะ เรียกร้องสิทธิการแต่งกายเพื่อตัวเอง ประโยชน์ที่กุพึงได้
กับนักศึกษาต่างจังหวัด อย่าง ม.ขอนแก่นและม.มหาสารคามที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐ เพื่อชาวบ้าน เพื่อสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น (นักศึกษากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในนามของกลุ่ม ดาวดิน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม โดยมีกิจกรรมหลักคือการออกค่ายเรียนรู้สังคม มีเพียงบางคนที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
ที่มาของรูป ขอบคุณตากล้องเจ้าของภาพ คุณเริงฤทธิ์ คงเมือง
https://www.facebook.com/roengrit.kongmuang/media_set?set=a.10201121029120115.1073741833.1000848571&type=1
ภาพบางส่วน (ที่เห็นคือถูกกันอยู่ด้านนอกไม่ให้เข้าร่วมเวทีครับ)
ทิ้งท้าย คุณค่าของนักศึกษา มันไม่ได้อยู่ที่ชุดเครื่องแบบ ไม่อยู่ที่มหาลัย มันอยู่ที่ตัวนักศึกษาเองที่จะแสดงคุณค่าของคุณออกมายังไง
ผมขอยกย่องนักศึกษา ม.ขอนแก่นกลุ่มนี้มาก
ปล. อยากให้ออกสรยุทธ ใครรู้หนทางส่งเรื่องไปที
ข้อมูลของบ.เอกชนที่ขอขยายสัมปทาน
คุณ Santipong Sawakato โพสในคอมเม้นของเพจดราม่า
ถึงจ่า เพื่อนLove
บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน)
บริหารงานได้ขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง มีกระทรวงการคลังร่วมถือหุ้นใหญ่ มีผู้หลักผู้ใหญ่ร่วมอยู่ในคณะกรรมการ
บริษัท ทุ่งคำ จำกัด เป็นบริษัทลูกของ บริษัท ทุ่งคาฮาร์เบอร์ จำกัด (มหาชน) (ถือหุ้นร้อยละ 98.93 ใน บริษัท ทุ่งคำ จำกัด )
http://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=THL&language=th&country=TH