เนื่องจากเมื่อเดือนก่อนๆโค้ชคนใหม่ล่าสุดของเสือใต้อย่างนิโก้ โควัคออกมาบอกว่าติกิตาก้าล้วนๆมันตกยุคไปแล้ว มันใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
วันนี้ผมจะอธิบายในความเป็นจริงของติกิตาก้าว่าจริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่ แล้วทำไมทุกครั้งที่นักข่าวใช้คำว่าติกิตาก้าถามเป๊บ เป๊บถึงได้อารมณ์เสียทุกที
ติกิตาก้าในความหมายสั้นๆมันคือการผ่านบอล >>เพื่อการผ่านบอลล้วนๆ
พูดง่ายๆก็คือการผ่านบอลอย่างไร้จุดหมาย เป็นการผ่านบอลเพื่อครองบอลล้วนๆ(possession) เป็นการเล่นฟุตบอลที่ไร้สาระที่สุดในระดับมืออาชีพ(ยังมีประโยชน์ในระดับเยาวชนหรือตอนใช้ฝึก)
แต่ตัวแทคติคจริงๆที่เป๊บหรือบาร์ซ่าใช้งานนั้น ชื่อที่ถูกต้องจริงๆคือ
Juego de Posición (ภาษาสเปน)
หรือเรียกอีกอย่างว่า Positional Playในภาษาอังกฤษ
ขอให้คำจำกัดความในภาษาไทยว่า การเปลี่ยนผ่านตำแหน่ง/การเปลี่ยนตำแหน่งแล้วกัน
ผมไปเจอทวิตนึงอธิบายได้ดีและน่าจะครบมาก ดังนั้นจะขอแปลบางส่วนแล้วเสริมบางส่วนลงไปจากตัวผมเอง
ตัวแทคติคนี้มี3เสาหลักสำคัญๆได้แก่
1 ความเหนือกว่าในทุกสถานการณ์
2 รูปแบบของนักเตะที่จำเป็นต้องมี
3 การครองบอลเพื่อเล่นเกมรุก
ในข้อ1 ความเหนือกว่ายังแยกย่อยออกไปได้อีก3ข้อได้แก่ ความเหนือกว่าในด้าน 1.1จำนวน 1.2คุณภาพ 1.3 ตำแหน่ง
1.1 เหนือกว่าด้านจำนวนนั้น จะว่าตรงๆตัวเลยก็คือ ถ้าอีกฝั่งมีคนป้องกัน2คน ฝั่งเราก็ควรมีคนบุก3คน เรียบง่ายตรงๆตัว ในขณะเดียวกันด้วยหลักการด้านจำนวน ทำให้โค้ชที่จะใช้แผนนี้จำเป็นต้องมีผู้รักษาประตูที่เล่นในแบบของสวีปเปอร์ได้ เพราะการเล่นแบบสวีปเปอร์จะเพิ่มจำนวนผู้เล่นเอาท์ฟิลด์เพิ่มมาอีก1คน ในขณะที่อีกฝั่งจะมีเอาท์ฟิลด์เพียงแค่10คน นั่นเท่ากับ 11vs10 ได้เปรียบด้านจำนวนทันที(ยกเว้นอีกฝั่งก็ใช้ผู้รักษาประตูแบบสวีปเปอร์ด้วยเช่นกันก็อีกเรื่องนึง)
1.2 คุณภาพที่เหนือกว่า อาจจะฟังดูงงๆ แต่1.2จะไปสอดประสานและขัดแย้งกับ1.1ในเวลาเดียวกัน การได้คุณภาพที่ดีกว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในเวลาดวลกันตัวต่อตัวหรือการโอเวอโหลดตำแหน่ง คุณภาพที่เหนือกว่ายังสามารถนำมาใช้จัดการกับจุดอ่อนของคู่แข่งได้อีกต่อด้วยการจัดวางตำแหน่งนักเตะที่ได้เปรียบในเรื่องนึงกับนักเตะที่เสียเปรียบในเรื่องนึง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ คือกรณีเพลสซิ่ง การที่คุณเอานักเตะที่ฉลาดเล่นเพลสซิ่งไปประกบนักเตะของอีกฝั่งที่เสียบอลง่าย ครองบอลไม่เก่งย่อมดีกว่าต้องเจอกับนักเตะที่ครองบอลเก่งเสมอไป
1.3 ตำแหน่งที่เหนือกว่า ตรงจุดนี้มันจะไปซ้ำซ้อนกับ1.2ในบางส่วน เนื่องจากมันเกี่ยวเนื่องกันโดยตรง
การวางตำแหน่งที่เหนือกว่าจะนำไปสู่การโอเวอโหลดเส้นทางการจ่ายบอล(part)ที่มากกว่าปกติ นักเตะที่วางตำแหน่งตัวเองได้ดี มักจะมีโอกาสได้บอลไปเล่นมากกว่านักเตะที่วางตำแหน่งตัวเองไม่ดี(เช่นโดนบัง โดนตามประกบ/ นักเตะที่ดีในด้านคุณภาพย่อมรู้วิธีสลัดหลุดตัวประกบให้ถูกที่ถูกเวลา)
ส่วนตัวคิดว่าในข้อ1ย่อยทั้ง3ข้อ ข้อสุดท้ายสำคัญสุด เมื่อคุณเชี่ยวชาญการวางหรือเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้แม่นยำ ไม่ใช่แค่สิ่งนี้จะนำไปสู่การจ่ายบอลที่จำไปสู่การสร้างโอกาสทำประตูเพียงอย่างเดียว แต่หากไปถึงขั้นบรรลุแล้ว คุณอาจถึงขั้นควบคุมการเคลื่อนที่ของอีกฝั่งได้ด้วย(ไม่ใช่ควบคุมตรงๆแต่เรียกว่าการชักใย+หลอกล่อ)
มาพูดถึงข้อ2 นักเตะที่จะเล่นในแทคติคของjuego de posicionได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์
นอกจากนั้นนักเตะจะต้องมีเทคนิคที่ดี(การจับบอลแรก การจ่ายบอล อื่นๆ) ต้องมีความเข้าใจในสถานการณ์รอบๆตัวเอง ต้องหัดคิดข้ามตา ไม่ใช่รอบอลมาแล้วค่อยคิดว่าจะทำอะไร แต่ต้องคิดล่วงหน้าไปก่อนแล้วว่าถ้าได้บอลมาแล้วจะเอาไปทำอะไรต่อ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยในเวลาที่สถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่คิด(ต้องมีคุณภาพนั่นแหละ)
ที่สำคัญต้องมีความสามารถในการเล่นมินิเกมอย่าง"สามเหลี่ยมมรณะ"(แฟนมาดริดตั้งให้มั้งนะชื่อนี้ถ้าจำไม่ผิด) ซึ่งมินิเกมที่ว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดนักเตะประเภทพิเศษที่มีความสามารถด้าน"ต่อต้านการเล่นเกมเพรสซิ่งของอีกฝั่ง"(pressure reliever)
VIDEO
นักเตะตัวพิเศษไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นคนใดคนนึงไปตลอดทั้งเกม สามารถจะเปลี่ยนหรือส่งต่อ/สลับกันได้แล้วแต่จังหวะ โดยวิธีการเล่นนั้นนักเตะคนนั้นๆมักจะวิ่งสอดไปอยู่ระหว่างไลน์การยินตำแหน่งของอีกฝั่ง ไม่ว่าจะเป็น ไลน์แรกหรือไลน์2-3-4ก็สามารถเล่นเป็นตัวแก้เกมเพรสได้ถ้ามีความเข้าใจในโครงสร้างของแทคติคทีมตัวเองที่ดีพอ
จึงเป็นที่มาว่าทำไมหลายต่อหลายเกม ฟอร์เมชั่นตอนไลน์อัพเริ่มเกมถึงไร้ความหมายเพราะมีการเปลี่ยนตำแหน่งของนักเตะทั้งทีมกันตลอดเวลานั่นเอง(คุ้นๆมั้ยครับประโยคนี้ ใช่แล้วมันมาจากโททั่ลฟุตอลที่เป็นแทคติคเจนปู่/พ่อนั่นเอง)
จะเห็นได้ว่านักเตะที่เล่นภายใต้แทคติคนี้จึงเป็นอีกรูปแบบนึงที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมๆเช่น
ball playing defender ที่ไม่ใช่แค่สาดบอลเคลลียร์บอลทิ้งเป็นหลัก
roaming-deep lying playmaker ที่มีความสามารถปั้นเกมในตำแหน่งที่ไม่ตายตัว
pivot ที่ไม่ได้คอยเอาแต่ตัดเกมเหมือนdmทั่วๆไป
f9 ที่แน่นอนว่าไม่มีไลน์การยืนตำแหน่งชัดเจน และไม่ได้เอาแต่ป้วนเปี้วนอยู่แต่ในกรอบเขตโทษ
inside forward ที่ไม่ใช่ปีกแบบเดิมๆกระชากสุดเส้นแล้วเปิด
อื่นๆอีกมาก
3. การครองบอลเพื่อเล่นในเชิงเกมรุกจะค่อนข้างสั้นๆง่ายๆ นอกจากจะเอาไว้ใช้ในการเปิดเกมบุกแล้ว มันยังมีประโยชน์เวลาจัดระเบียบตอนเล่นเกมรับ(ด้วยเพรสซิ่งอีกด้วย)
เพราะเมื่อคุณขึ้นเกมอย่างเป็นระบบระเบียบโอกาสจะเสียบอลตอนพาบอลขึ้นหน้าก็น้อยตาม ส่วนใหญ่คุณจะเสียบอลตอนอยู่ในพื้นที่สุดท้ายฝนกรอบเขตโทษของอีกฝั่งมากกว่า
“Do you know how Barcelona win the ball back so quickly? It’s because they don’t have to run back more than 10 metres as they never pass the ball more than 10 metres.”
– Johan Cruyff
การครองบอลเพื่อเล่นในเชิงเกมรุกยังประกอบไปด้วยการแบ่งพื้นที่แยกย่อยออกไป
การไม่ยืนทับตำแหน่งหรือหลักการสอดประสานของตัวริมเส้นและผู้เล่นที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งมีรายละเอียดยุบยิบเยอะจนเกินไป
----------
นอกจากนี้ข้อดีที่ซ้อนเร้นอย่างนึงในตัวแทคติคนี้ ก็คือไม่เปลืองแรงในการเล่นมากสักเท่าไหร่ เพราะตัวแทคติคประกอบไปด้วยการผ่านบอลสั้นๆ ผู้เล่นจึงไม่จำเป็ฯต้องวิ่งเยอะแยะเท่ากับการเล่นแบบไดเร็ค(แต่จะไปเหนื่อยด้านการคิดและคำนวนแทน)
“I want players who can make decisive moves in small spaces, I want them to work as little as possible to save energy for that decisive action.”
– Johan Cruyff
https://spielverlagerung.com/2014/12/25/juego-de-posicion-under-pep-guardiola/
สรุปแล้วตัวติกิตาก้าอะมันตายหองไปนานมากหลายสิบปีแล้วไม่ใช่พึ่งจะมาตายตามที่โควัคบอก และที่มันตายไม่ใช่เรื่องของสปีดหรือพื้นที่อย่างที่โควัคบอกเช่นกันแต่เป็นเพราะรายละเอียดที่มันไม่ดีพอมากกว่า
ขณะเดียวกันตัวแทคติคjuego de posicionนั้นยังคงอยู่และยังถูกใช้อย่างกว้างขวางและมีการพัฒนาแตกลูกแตกหลายด้านแทคติคออกไปอีกมาก
ส่วนที่สื่อหรือหลายๆคนชอบเรียกติกิตาก้ามากกว้าอาจจะเพราะไอ้ชื่อจริงๆอย่างjuego de posicionมันเรียกลำบาก แถมถ้าไปเรียกpositional playก็จะกลายเป็นว่าไปเข้าใจผิดว่าเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งแบบปกติแทน สื่อก็เลยยึดชื่อติกิตาก้าแทนเพราะเรียกง่ายๆ เข้าใจง่ายดีแทนนั่นเอง