เกล็ดหิมะ อัญมนีแห่งท้องฟ้า
เกล็ดหิมะ อัญมนีแห่งท้องฟ้า
ขั้นตอนการเกิดเกล็ดหิมะโดยเริ่มจาก
ไอน้ำรวมตัวกับเศษฝุ่นกลายเป็นแกน (nucleus) และ
พัฒนาเป็นผลึกหิมพรูปหกเหลี่ยมจากนั้นจะดึงเอาไอน้ำรอบๆ มาสร้างกิ่งต่อไป
เมื่อหยดน้ำแต่ละหยดเริ่มกลายเป็นน้ำแข็ง หยดน้ำจะเพิ่มและพัฒนาให้ใหญ่ขึ้นจากไอน้ำที่มาควบแน่นที่ผิวของมัน เพราะฉะนั้น ผลึกน้ำแข็ง (snow crystal) จึงเกิดมาจากไอน้ำไม่ใช่น้ำในรูปของของเหลว และกลายเป็นของแข็งที่มีการจัดเรียงโมเลกุลที่มีโครงสร้างแบบแลตทิซผลึก (crystal-lattice structure) หยดน้ำในรูปของเหลวที่ยังไม่กลายเป็นน้ำแข็งจะค่อยๆ ระเหยลอยตามลมไปเป็นแหล่งสร้างน้ำแข็งต่อไป การรับไอน้ำของผลึกน้ำแข็งมีความจำกัดคือ หยดน้ำประมาณ 1 ล้านหยดในก้อนเมฆต้องระเหยเพื่อให้ได้ไอน้ำเพียงพอในการสร้างผลึกหิมะขนาดใหญ่หนึ่งอัน ก้อนผลึกจะขยายขนาดมากขึ้นจนตกลงมาสู่พื้นในที่สุด
ข้อเท็จจริงน่ารู้
1.เกล็ดหิมะก่อตัวจากไอน้ำในเมฆ เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง 0 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า
2.อุณหภูมิ ความชื้น และระดับความสูง มีผลต่อชนิดของเกล็ดหิมะที่เกิดขึ้น
3.เกล็ดหิมะมีความสมมาตร เนื่องจากการจัดเรียงโมเลกุลของน้ำในน้ำแข็ง
4.เมื่อเกล็ดหิมะต่างชนิดกันทับถมกันอยู่ จะเริ่มไม่เสถียร ทำให้เกิดหิมะถล่มได้
แด่ลมหนาวที่เพิ่งผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วของประเทศไทย
และนี้คือวีดีโอการก่อตัวของผลึกหิมะหรือเกล็ดหิมะ
ภาพที่ได้รับชมต่อจากนี้ถ่ายโดย Don Komarechka ช่างภาพมือโปรที่มีความสนใจในด้านภาพไมโคร เขาบอกว่าคนส่วนมากไม่เชื่อว่าภาพที่เขาถ่ายเป็นของจริง เนื่องจากมันดูสมบูรณ์แบบเกินไป
โดยเขาเก็บภาพจากเกล็ดหิมะเหล่านี้ตอนที่มันกำลังจะละลาย จึงได้ความสวยงามแบบนี้มา เขาบอกว่า “ผมถ่ายรูปพวกนี้ห่างจากประตูหลังบ้านเพียงแค่ 2ฟุตเท่านั้น และใช้เวลากว่าสองฤดูหนาวในการถ่ายภาพ”
คำแนะนำ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชมเปิดเพลงคลอเบาๆ เพิ่มบรรยากาศ
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.
12.
13.
14.
15.
16.
17.
18.
19.
20.
21.
22.
23.
ขอบคุณที่รับชมครับ