Donburi ข้าวหน้าต่าง ๆ แบบญี่ปุ่น เกี่ยวข้องอย่างไรกับธนบุรี
Donburi หรือ ดงบุริ หรือ ดมบุริ คืออาหารญี่ปุ่นที่เสิร์ฟเป็นข้าวหน้าเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เป็นฮอตฮิตในเมืองไทยจนใครหลายคนคงติดอกติดใจในรสชาติอยู่ไม่น้อย แต่รู้กันไหมคะว่า ดงบุริเนี่ยมีความเกี่ยวเนื่องกับคนไทยด้วยนะ เพราะจริง ๆ แล้วคำว่า "ดงบุริ" นั้้นมาจากคำว่า "ธนบุรี" หรือยุคธนบุรีนั่นเอง ว่าแต่ดมบุริจะเกี่ยวข้องกับธนบุรีได้อย่างไร วันนี้เราก็หอบเอาข้อเท็จจริงของต้นกำเนิดดมบุริมาฝากคุณ ๆ กันด้วยค่ะ
ย้อนกลับไปยังสมัยเอะโดะของประเทศญี่ปุ่น (หรือราว ๆ พ.ศ. 2146-2410) ซึ่งตรงกับสมัยกรุงธนบุรีของประเทศไทย และในประเทศญี่ปุ่นช่วงนั้น เหล่าชนชั้นสูงหรือบรรดาคนที่มีฐานะดีหน่อย จะมีค่านิยมในการใช้ถ้วย โถ และชามสำหรับใส่อาหารที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น แล้วในสมัยนั้นเครื่องถ้วยชามถ้วยจากธนบุรีก็มีความปราณีต และงดงามเกินกว่าจะมีประเทศไหนจะมาเทียบได้ ดังนั้นเองชาวญี่ปุ่นในยุคนั้นจึงเลือกใช้ถ้วยชามจากกรุงธนบุรีเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยความที่ระยะทางระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างห่างไกล การคมนาคมก็ยังไม่ค่อยสะดวกเหมือนปัจจุบันนี้ จึงทำให้ราคาถ้วยชามที่นำเข้าจากกรุงธนบุรีมีราคาสูงมาก ส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นเฉพาะผู้มีฐานะ และบรรดาชนชั้นสูง ก็เลยถือเอาถ้วยชามจากธนบุรีเป็นของสะสมมีค่าอย่างหนึ่งไปโดยปริยาย ดังนั้นอาหารที่ถูกจัดเสิร์ฟในถ้วยชามที่ส่งตรงจากกรุงธนบุรี ก็เลยถูกเรียกว่า "เมนูดมบุริ" ซึ่งเพี้ยนไปจากคำว่า "ธนบุรี" เป็นไปตามสำเนียงของชาวญี่ปุ่นนั่นเอง
ส่วนอาหารที่ถูกจัดเสิร์ฟในถ้วยชามธนบุรีในสมัยนั้นอาจเป็นได้ทั้งข้าว อาหารเส้น หรืออาหารญี่ปุ่นประเภทอื่น ๆ แต่ส่วนมากชาวญี่ปุ่นจะนิยมใส่ข้าวแล้วโปะหน้าด้วยเนื้อสัตว์ต่าง ๆ และใส่เครื่องเคียงสำหรับเป็นกับข้าวมากกว่า ซึ่งดมบุริหน้าแรกที่เป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นก็คือ ข้าวหน้าปลาไหลนั่นเองค่ะ เนื่องมาจากปลาไหลเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย แถมมีรสชาติอร่อยถูกปากชาวญี่ปุ่นอีกต่างหาก ก่อนที่ระยะเวลาต่อมาจะมีหน้าอื่น ๆ มาโปะข้าวเป็นข้าวหลากหน้าที่เราได้เห็นในปัจจุบัน ซึ่งดมบุริที่คนญี่ปุ่นค่อนข้างนิยมและสั่งกันบ่อย ๆ ก็เช่น ข้าวหน้าเนื้อ ข้าวหน้าปลามากุโร้ ข้าวหน้าไก่แม่ลูก