มีหลายครั้งที่รูปถ่ายรูปหนึ่งสามารถสั่นคลอนหัวใจผู้คนมากมายและทำให้โลกเปลี่ยนไป คุณวิลเลี่ยม แอนเดอร์ซึ่งเป็นเจ้าของคอลัมภ์นี้ออกตัวไว้ก่อนเลยว่า เขาเข้าใจดีว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่พอใจรูปภาพเหล่านี้ และไม่เห็นความจำเป็นที่จะนำกลับมาลงซ้ำลงซาก แต่ในขณะเดียวกัน อดีตก็สอนเราหลายอย่าง และเราก็ควรที่จะเรียนรู้เพื่อที่จะไม่ให้เรื่องโหดร้ายหลายเรื่องเกืดซ้ำสองอีก
วันนี้เราจะมาแนะนำรูปถ่ายซึ่งเคยประดับอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร และติดตาผู้คนในยุคนั้นๆมาแล้ว
Execution of a Viet Cong Guerrilla (1968)
รูปนี้ถ่ายโดยเอ็ดดี้ อดัมส์ และทำให้เขาได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ในภายหลัง
ในภาพ เกวนกอคลอง (Nguyen Ngoc Loan) ผู้บังคับบัญชากรมตำรวจ (ภายหลังกลายมาเป็นคนสนิทของเกวนเกาคีในสมัยที่เป็นรองนายกฯเวียดนาม) กำลังเหนี่ยวไกปืนใส่เกวนวังเลมบนท้องถนน ซึ่งเกวนกอคลองอ้างว่าอีกฝ่ายเป็นหนึ่งในหัวหน้าพวกเวียตกงซึ่งฆ่าลูกน้องและครอบครัวของเขาอย่างทารุณ จะอย่างไรก็ดี เมื่อรูปนี้ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก คนส่วนมากก็มีความเห็นว่าเกวนวังเลมในรูปนั้น นอกจากจะถูกมัดและไม่มีอาวุธแล้ว การประหารนี้เป็นเพียงศาลเตี้ยที่ไม่มีการตัดสินความผิดโดยศาลอย่างเป็นทางการ
ภายหลังเมื่อกองทัพอเมริกาถอนกำลังจากไซง่อน ในปี 1972 เกวนกอคลองก็อพยพไปยังอเมริกา และไปเปิดร้านพิซซ่าอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย หากในปี 1991 อดีตของเขาก็ถูกขุดคุ้ยจนต้องปิดร้านไป และในปี 1998 ก็เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็ง
The lynching of young blacks (1930)
โทมัส ชิปป์, อับราม สมิธ และเจมส์ คาเมรอน ชายผิวดำสามคนถูกจับในข้อหาปล้นและฆ่าเจ้าของโรงงานซึ่งเป็นคนผิวขาว รวมทั้งข่มขืนหญิงผิวขาวซึ่งคนรักของผู้เคราะห์ร้าย ฝูงคนผิวขาวที่โกรธเกรี้ยวนับพันคนจึงบุกไปชิงตัวนักโทษจากคุกและรุมประชาทัณฑ์ก่อนจะปิดฉากด้วยการแขวนคอ
เจมส์ คาเมรอนซึ่งในขณะนั้นมีอายุ 16 ปี หนีรอดจากการประชาทัณฑ์นี้มาอย่างเฉียดฉิว เจมส์ให้การกับผู้สื่อข่าวว่าพวกเขาขโมยของจริง แต่ไม่ได้รู้เห็นอะไรเกี่ยวกับการปล้นหรือฆ่าแม้แต่น้อย พวกเขาถูกจับกุมในทันทีโดยไม่มีโอกาสแก้ต่าง อีกทั้งในเขตนี้ยังมีการรวมตัวของ Klu Klux Klan กันอย่างกว้างขวาง (ซึ่งอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความรุนแรงในครั้วนี้) ภายหลังเจมส์กลายมาเป็นหนึ่งในกลุ่มนักรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพของคนผิวดำ
Soweto Uprising (1976)
การจลาจลที่โซเวโตในประเทศแอฟริกาใต้ได้หยุดความสนใจของชาวโลกไว้ด้วยรูปของเฮคเตอร์ ปีเตอร์สันวัย 12 ปีซึ่งเสียชีวิตจากการยิงกราดไม่เลือกหน้าของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาพนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการใช้อำนาจเกินหน้าที่ของตำรวจในการจลาจลครั้งนี้อีกด้วย
การจลาจลที่โซเวโตนี้มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลประกาศบังคับให้โรงเรียนใช้ภาษาแอฟริคานส์ในการสอนเท่านั้นโดย ผลทำให้ชนผิวดำจำนวนมากไม่พอใจ มีการประท้วงไม่ไปโรงเรียนเกิดขึ้นซึ่งลุกลามไปจนเกือบทั่วทุกโรงเรียนในโซเวโต ก่อนจะกลายเป็นการประท้วงให้ยกเลิกกฏหมายดังกล่าว ในวันเดียวกับที่เกิดการเดินขบวน ตำรวจออกระงับสถานการณ์ด้วยแก้สน้ำตาซึ่งฝ่ายขบวนประท้วงก็โต้ตอบด้วยการขว้างก้อนหิน และรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นการจลาจลในที่สุด ตำรวจ 300 นายเข้าปะทะกับนักเรียนผิวดำกว่าหมื่นคน ผลมีผู้เสียชีวิต 6 ราย และบาดเจ็บกว่า 300 ราย
เมื่อภาพนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ทั่วโลกต่างก็ประณามการกระทำของรัฐบาลแอฟริกาใต้ เด็กชายในภาพซึ่งเป็นผู้อุ้มเฮคเตอร์ถูกขับออกจากประเทศในเวลาถัดมา และหลังจากจดหมายฉบับสุดท้ายที่เขาส่งให้มารดาในปี 1978 เจ้าตัวก็หายสาปสูญไป ส่วนเด็กหญิงในรูปคือน้องสาวของเฮคเตอร์ เธอยังคงอยู่ที่โซเวโตจนทุกวันนี้
Hazel Bryant (1957)
ภาพนี้ถูกถ่ายขึ้นในปีที่ 4 หลังจากการเหยียดสีผิวถูกกำหนดให้เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย การแบ่งแยกยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจของชาวอเมริกาโดยเฉพาะในหมู่คนฝั่งใต้ อลิซาเบธ เอ็คฟอร์ดเป็นหนึ่งในคนผิวดำกลุ่มแรกที่เข้าเรียนในโรงเรียนของคนผิวขาวและถูกรอบข้างคัดค้านอย่างรุนแรง ในรูปนี้ อลิซาเบธกำลังเดินไปโรงเรียนท่ามกลางเสียงก่นด่าของเพื่อนร่วมโรงเรียนซึ่งในจำนวนนั้นมีเฮเซล ไบรอันท์ (คนที่อ้าปากกว้างที่สุดนั่นแหละค่ะ) รวมอยู่ด้วย
รูปนี้ถูกรับเลือกให้เป็นหนึ่งในร้อยรูปของศตวรรษที่ยี่สิบ และทรมานจิตใจเฮเซลอยู่เป็นเวลานานหลายปี ภายหลังในปี 1963 เฮเซลกล่าวขอโทษอลิซาเบธต่อการกระทำของตัวเอง ทั้งสองเคยออกรายการของโอปร้าพร้อมกันในปี 1998 อีกด้วย
Triangle Shirtwaist Company Fire (1911)
บริษัทไทรแองเกิ้ลเชิ้ตเวสต์มักจะล็อคประตูโรงงานไว้เสมอเพื่อกันไม่ให้คนงานหนีหรือขโมยของ หากในปี 1911 ประตูซึ่งถูกลงกลอนนี้ก็ได้ตัดสินชะตาชีวิตของคนงานเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นที่ชั้นแปดของตึก มีคนงาน 146 คนเสียชีวิตไปในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง 62 คนจากจำนวนนี้เสียชีวิตจากการกระโดดหรือตกลงมาจากชั้นเก้า (มีผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า เขาเห็นชายหญิงคู่หนึ่งแลกจูบกันก่อนจะกระโดดตามกันลงมา)<br>
ในภาพคือศพของผู้เคราะห์ร้ายที่ตกลงมาจากตึกและประชาชนซึ่งแหงนหน้ามองเหตุการณ์สยองนี้อยู่
อย่างไรก็ดี เหตุการณ์นี้ทำให้มีการรณรงค์ปรับปรุงกฏหมายแรงงานครั้งใหญ่เกิดขึ้น
Phan Th? Kim Phúc (1972)
ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดภาพหนึ่งจากสงครามเวียดนามนี้คือภาพของ Phan Th? Kim Phúc หรือคิมฮุค ในขณะนั้นเธอมีอายุ 9 ปี และหนีจากการทิ้งระเบิดนาปาล์มมาในสภาพเปลือยเปล่า ภาพนี้ถูกยกให้เป็นเครื่องหมายของความน่าสะพรึงกลัวของสงครามและได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ในภายหลัง หลังจากถ่ายรูปนี้แล้ว ช่างภาพได้นำคิมฮุคและเด็กเหล่านี้ไปส่งโรงพยาบาล คิมฮุคบาดเจ็บสาหัส ทั่วตัวของเธอเต็มไปด้วยแผลไฟลวกหากก็เอาชีวิตรอดมาได้ เธอรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานถึง 14 เดือนและผ่านการผ่าตัด 17 ครั้ง
ปัจจุบัน คิมฮุคอยู่ที่แคนาดาและเป็นแม่ลูกสอง เธอเป็นเครื่องหมายของผู้ต่อต้านสงคราม และได้รับตำแหน่งเป็นทูตสันติภาพในปี 1997
Kent State (1970)
เมื่อประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศว่าจะส่งทหารไปบุกกัมพูชา กระแสต่อต้านอย่างรุนแรงก็ก่อตัวขึ้นตามมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ และการต่อต้านนี้ก็กลายมาเป็นการจลาจลที่มหาวิทยาลัยเคนท์ในรัฐโอไฮโอ ทหารประจำรัฐยิงปืนเข้าใส่กลุ่มนักศึกษาเพื่อหมายจะระงับเหตุการณ์ไม่สงบ ผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายและผู้บาดเจ็บ 9 ราย หลายคนที่ถูกยิงนี้เป็นเพียงนักศึกษาที่มาเข้าเรียนตามปกติโดยไม่ได้เข้าร่วมการประท้วงแต่อย่างไร
ในภาพ แมรี่ แอนน์ เวคซิโอ เข่าอ่อนทรุดตัวลงเหนือศพของเจฟฟรีย์ มิลเลอร์ซึ่งถูกทหารประจำรัฐยิงเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่วินาทีก่อน ภาพนี้ได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ในภายหลัง
The Unknow Rebel (1989)
ในภาพคือชายไม่ทราบชื่อซึ่งยืนขวางรถถังซึ่งกำลังมุ่งหน้าไปสงบการประท้วงที่กลายไปเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่จตุรัสเทียนอันเหมิงในภายหลัง
กล้องวีดีโอได้บันทึกภาพชายผู้นี้ซึ่งออกไปขวางทางรถถัง ฝ่ายรถถังเองก็พยายามจะเลี้ยวหลบชายดังกล่าวหลายครั้งซึ่งเจ้าตัวก็ตามมาขวางไปทุกครั้ง จนกระทั่งชายผู้นี้ปีนขึ้นไปมีปากเสียงกับทหารบนรถถัง ก่อนเจ้าตัวจะถูกคนอีกกลุ่มเข้ามาห้ามและพาหายไปในฝูงคน (ไม่ทราบแน่ว่าคนกลุ่มหลังนี้เป็นประชาชนผู้หวังดี หรือตำรวจนอกเครื่องแบบ) จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครทราบว่าชายในรูปเป็นตายร้ายดีอย่างไร หรือมีชื่อจริงว่ากระไร
ภาพทั้งสองถูกถ่ายจากชั้นหกของโรงแรมปักกิ่งซึ่งอยู่ห่างออกไป 800 เมตร โดยภาพบนเป็นของสจ๊วจต์ แฟรงคลิน และภาพล่างเป็นของเจฟฟ์ ไวด์เนอร์
Thích Qu?ng ??c (1963)
ติช กว๋าง ดึ๊ก คือพระภิกษุชาวเวียดนามที่เผาตัวเองกลางสี่แยกในกรุงไซง่อน เพื่อประท้วงรัฐบาลที่ไม่ให้ความเป็นธรรมต่อพุทธศาสนิกชนในเวียดนาม
หลังจากเผาตัวเองในครั้งนี้ สหรัฐได้กดดันรัฐบาลจนยอมตกลงรับข้อเสนอของกลุ่มพทธศาสนิกชนในเวลาหกวันนับจากนั้น วันถัดจากการเซ็นสัญญา งานศพของพระติช กว๋าง ดึ๊กได้ถูกจัดขึ้น และมีผู้มาร่วมไว้อาลัยกว่า 4000 คน
Portrait of Winston Churchill (1941)
ภาพนี้ถ่ายขณะที่เชอร์ชิลไปยังออตโตว่า เมืองหลวงของแคนาดา และถ่ายโดยช่างภาพชาวแคนาดา ยูซุฟ คาร์ช ภาพนี้เองที่ทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกก็ว่าได้ ยูซุฟกล่าวว่า ในวันนั้นเชอร์ชิลอารมณ์ไม่ดี เขาจึงมีเวลาถ่ายรูปเพียงสองนาที เมื่อบอกให้อีกฝ่ายเอาบุหรี่ออกไป เชอร์ชิลก็ยิ่งอารมณ์เสียยิ่งขึ้นและเท้าสะเอวเหมือนจะแสดงออกว่าตัวเองกำลังโกรธอยู่
Albert Einstein (1951)
จะกล่าวว่าไอสไตน์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมาก็คงไม่ผิด รูปนี้ถูกถ่ายในวันเกิดครบ 72 ปีของเขาขณะที่กำลังเดินเล่นอยู่กับสามีภรรยา Frank Aydelotte ไอสไตน์เบื่อที่จะโพสท่าหรือทำหน้ายิ้มแย้ม เขาจึงปฏิเสธการถ่ายรูปในวันนั้น หากช่างภาพก็ตื๊อหนักจนไอสไตน์แลบลิ้นใส่ ซึ่งอาเธอร์ แซสถ่ายเอาไว้ได้พอดี
ความจริงในรูปนี้ ไอสไตน์นั่งอยู่ระหว่างสองสามีภรรยาบนรถ แต่เขาถูกใจรูปนี้มากเสียจนตัดเฉพาะตัวเองออกมาแปะการ์ดส่งให้คนรู้จัก
Nagasaki (1945)
เมฆทรงเห็ดซึ่งเกิดจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่นางาซากิ การทิ้งระเบิดนี้เป็นครั้งที่สอง มีผู้เสียชีวิตกว่าแปดหมื่นราย (ครั้งแรกที่ฮิโรชิม่า มีผู้เสียชีวิตประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นราย) และเหลือกัมมันตภาพรังสีอันสร้างความเสียหายในระยะยาวเอาไว้อีกด้วย
Hiroshima, Three Weeks After the Bomb (1945)
คนทั่วโลกทราบว่ามีการทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิม่า หากภาพถ่ายนี้เองที่บอกให้โลกรู้ว่าระเบิดนิวเคลียร์นั้นมีความร้ายแรงเพียงใด
ทางนี้เป็นภาพถ่ายจากภาคพื้นดินค่ะ
Dead on the Beach (1943)
ศพของทหารอเมริกันสามคนบนชายหาดที่ปาปัวนิวกินีระหว่างการรบกับญี่ปุ่น
ขณะที่ถ่ายภาพนี้ ศพได้เริ่มเน่าเปื่อยจนมีหนอนขึ้นแล้ว ก่อนที่ภาพนี้จะถูกเผยแพร่ออกไปนั้น จะมีการถ่ายภาพศพทหารอเมริกันซึ่งถูกขนมาในหีบศพแล้วเท่านั้น ภาพนี้จึงถูกระงับไว้นานกว่าเจ็ดเดือนจึงได้รับตีพิมพ์ในที่สุด
Buchenwald (1945)
http://uc.exteenblog.com/ohx3/images/pic05/world17.jpg" alt="" />
ชาวยิวกว่าหกล้านคนเสียชีวิตไปในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี หากแอนน์ แฟรงค์ก็ยังเฝ้ารออย่างเปี่ยมไปด้วยความหวังขณะที่ซ่อนตัวอยู่ในห้องใต้หลังคาที่อันสเตอร์ดัมส์ เธอถูกจับและเสียชีวิตด้วยโรคไทฟัส...เพียงหนึ่งเดือนก่อนที่ค่ายจะถูกปลดปล่อย
แอนน์ในรูปเป็นเด็กหญิงวัย 14 ปีธรรมดาคนหนึ่ง มีผู้กล่าวว่ารูปนี้มีชื่อเสียงเพราะมันแสดงถึงดวงตาของแอนน์ที่เฝ้ามองไปยังอนาคตที่ทุกคนรู้ว่าไม่มีวันจะมาถึง
V-J Day, Times Square, (1945)
รูปนี้ประดับปกนิตยสารไลฟ์เพื่อฉลองชัยชนะที่สหรัฐมีเหนือญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง
มีคนจำนวนมากที่อ้างตัวเป็นบุคคลในรูป หากปัจจุบันเชื่อว่าทหารเรือในรูปคือแมคดัฟฟี่ แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันว่านางพยาบาลสาวในรูปนี้คือใคร เนื่องจากแมคดัฟฟี่บอกว่าเขาจูบสาวทุกคนที่เจอในไทม์แสควร์วันนั้น และยังบอกด้วยว่าเธอผู้นี้ตบหน้าเขาเสียด้วย
Casualties of war (1991)[/b
ทหารหนุ่มในรูปร้องไห้ออกมาเมื่อทราบว่าถุงศพที่อยู่ข้างตัวนั้นคือเพื่อนของเขาเอง
รูปนี้กลายมาเป็นหนึ่งในรูปอันมีชื่อเสียงของสงครามอ่าว
[b]The Falling Man (2001)
ริชาร์ด ดรูว์ถ่ายรูปนี้ในเหตุการณ์ 9/11 หากหลังจากที่ลงในหนังสือพิมพ์ไปเพียงครั้งเดียว มีประชาชนมากมายส่งข้อความเข้ามาคัดค้านว่าเป็นภาพที่ไม่เหมาะสมและไม่เคารพต่อผู้ตาย
กล่าวกันว่าชายในรูปเป็นหนึ่งในคนที่ยอมกระโดดลงมาจากตึก ดีกว่ายอมเสียชีวิตอยู่ข้างในด้วยไฟและควัน ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าชายในรูปเป็นใคร หากบุคคลที่มีความเป็นไปได้ที่สุดนั้นถูกกล่าวว่าคือไมเคิ่ล โลโมนาโค
U.S. Marines raising the flag on Iwo Jima (1945)
รูปภาพประวัติศาสตร์นี้บันทึกการปักธงอเมริกาบนเกาะอิโอในประเทศญี่ปุ่น และเป็นเพียงรูปเดียวที่ได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ของปีนั้น
Lunch atop a Skyscraper (1932)
รูปนี้ถ่ายบนตึก GE ขณะกำลังถูกสร้างที่ร็อคเฟลเลอร์เซนเตอร์ แสดงให้เห็นคนงานซึ่งทานอาหารกลางวันของพวกเขาบนยอดตึกที่กำลังสร้างอยู่
ที่จริงมีภาพต่อด้วยนะ
Migrant Mother (1936)
รูปนี้ถูกยกให้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของวิกฤตเศรฐกิจโลก
ช่างภาพโดโรธี เลนจ์ถ่ายรูปนี้หลังจากที่ฟลอเรนซ์ โอเวน ทอมป์สันขายเต็นท์ของตัวเองเพื่อซื้ออาหารประทังชีวิตลูกเจ็ดคนของเธอ ฟลอเรนช์กล่าวว่าเธอประทังชีวิตด้วยการจับนกและเก็บผลไม้มากินเป็นอาหาร
รูปนี้ได้รับการเผยแพร่ออกไปและเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนที่มีต่อผู้อพยพไปโดยสิ้นเชิง
Omayra Sánchez (1985)
โอมายร่าอายุ 13 ปีและเป็นหนึ่งในผู้เคราะห์ร้ายจากการระเบิดของภูเขาไฟเนวาโด เดล รุยส์ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 13000 ราย
ขณะที่มีการออกข่าวสภาพหลังจากระเบิดของภูเขาไฟนั้น โอมายร่ายังมีชีวิตอยู่ เธอติดอยู่ในหลุมใต้บ้านของตัวเอง ขาถูกเศษหินภูเขาไฟและคอนกรีตหนีบไว้และแช่อยู่ในน้ำที่สูงจนถึงคอ เจ้าหน้าที่กาชาดซึ่งไปถึงที่เกิดเหตุพยายามช่วยเหลือด้วยการวิดน้ำออกและขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เมื่อทุกคนรู้ว่าไม่มีทางช่วยเด็กหญิงออกมาได้ พวกเขาก็อยู่กับเธอในที่นั้นเพื่อภาวนาและให้กำลังใจโอมายร่า
ในตอนแรกโอมายร่ายังแสดงท่าทีเข้มแข็งด้วยการร้องเพลง หากเมื่อผ่านไปสามวัน เธอก็เริ่มเห็นภาพลวงตาและเสียชีวิตไปในที่สุด
ภาพนี้ถ่ายเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่โอมายร่าจะเสียชีวิต
A vulture watches a starving child (1993)
เด็กน้อยในรูปนอนฟุบอยู่กับพื้นด้วยความหิวโหย โดยมีสายตาของอีแร้งจับจ้องอยู่อย่างคาดหวัง รูปนี้ถ่ายขึ้นระหว่างภัยแล้งครั้งใหญ่ของทวีปแอฟริกาที่ซูดาน
เควิน คาร์เตอร์ ช่างภาพเจ้าของรูปนี้ เดิมเป็นหนึ่งในช่างภาพที่เดินทางไปซูดานเพื่อถ่ายภาพความโหดร้ายของนโยบายแยกคนต่างผิวในแอฟริกา คาร์เตอร์ได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์จากรูปถ่ายนี้ หากภาพอันโหดร้ายในซูดานก็ตามมาหลอกหลอนจนเขาฆ่าตัวตายหลังจากรับรางวัลได้ไม่นานนัก
Biafra (1969)
หลังจากที่เบียฟราประกาศตนเป็นอิสระจากไนจีเรีย ทางไนจีเรียจึงได้ประกาศการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจส่งผลให้ในระหว่างสงครามซึ่งกินเวลาสามปีนี้ มีชาวเบียฟราเสียชีวิตกว่าล้านคน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่นั้นเนื่องมาจากความอดอยาก และทำให้เบียฟราล่มสลายไปในที่สุด
ดอน แมคคัลลินผู้ถ่ายรูปนี้ ได้กล่าวถึงเด็ก 900 คนที่รอความตายอยู่ในค่ายเดียวกันว่าน่าสะเทือนใจจนเขาไม่มีอารมณ์จะไปถ่ายรูปทหารที่ไหนอีกแล้ว
ภายหลัง สหประชาชาติในยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือผู้อพยพจากเบียฟราซึ่งรวมตัวกันเพื่อหาทางก่อตั้งประเทศของพวกตนขึ้นอีกครั้ง
Misery in Darfur (2004)
รูปนี้ถ่ายในระหว่างสงครามกลางเมืองที่ดาร์ฟูร์ในไนจีเรียซึ่งทำให้เกิดผู้ลี้ภัยสงครามกว่าหลายล้านคน เป็นภาพของเด็กน้อยที่กอดมืออันผ่ายผอมของแม่ไว้ราวกับเป็นสิ่งเดียวในโลกที่สามารถคุ้มครองเขาได้
Tragedy in Oklahoma (1995)
นักดับเพลิงผู้นี้เสียเวลาถอดถุงมือก่อนที่จะรับเด็กผู้เคราะห์ร้ายจากตำรวจในการวางระเบิดที่ตึกสำนักงานรัฐบาลในโอกราโฮม่าซิตี้ เพราะเขารู้ดีว่าถุงมือดับเพลิงนั้นหนาและหยาบเกินที่จะสัมผัสผิวซึ่งเต็มไปด้วยบาดแผลได้
การวางระเบิดครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 168 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีเด็กอยู่ถึง 19 ราย หากที่ช็อคโลกยิ่งกว่านั้นคือคนร้ายเป็นชาวอเมริกานี่เอง เนื่องจากรถที่ใช้ในการวางระเบิดถูกจอดที่ชั้นหนึ่งใกล้กับศูนย์รับฝากเลี้ยงเด็ก เด็กในที่นั้นจึงเสียชีวิตทั้งหมด
คริส ฟิลด์ซึ่งเป็นนักดับเพลิงในรูปนี้รับร่างของเด็กผู้เคราะห์ร้ายมาอุ้มอย่างทนุถนอม โดยหารู้ไม่ว่าเด็กหญิงเบย์ลี่ วัย 1 ขวบนี้ได้สิ้นลมหายใจไปเสียแล้ว
How Life Begins (1965)
เลนนาร์ท นิลสันเป็นช่างภาพและนักวิทยาศาสตร์ เขาถ่ายรูปเหล่านี้ขึ้นด้วยกล้องส่องอวัยวะภายใน และได้รับการว่าจ้างโดยบรรณาธิการนิตสารไลฟ์ เพื่อทำคอลัมภ์ที่มีความยาวกว่า 16 หน้าลงนิตยสาร
หากมีเสียงคัดค้านจากผู้อ่านอย่างรุนแรงว่าขาดศีลธรรมจนถึงขั้นมีการประท้วง
First Flight (1903)
17 ธันวาคม 1903 คือวันที่โลกบันทึกไว้ว่าพี่น้องตระกูลไรท์ทดลองการบินสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์
ในครั้งแรก พวกเขาบินอยู่ได้เพียง 12 วินาที หากในวันเดียวกันนั้นเอง พวกเขาก็เพิ่มสติถิการบินเป็นหนึ่งนาที ในรูปนี้ วิลเบอร์ผู้พี่เพิ่งจะปล่อยมือจากปีกเครื่องบินซึ่งออร์วิลล์ผู้น้องเป็นคนขับ
Earthrise (1968)
Credit : Unigang.com
ถ้าชอบรบกวนโหวตเป็นกระทู้แนะนำด้วยนะครับ