ลำดับกล้องส่วนพระองค์ของพระเจ้าอยู่หัว
คิดอยู่นานแล้วว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับลำดับกล้องส่วนพระองค์ที่ในหลวงทรงใช้ แต่ก็เก็บไว้ในสมองและในคอมพิวเตอร์อยู่นั่นแหละ จนกระทั่งเพื่อนในเฟสบุ๊กได้โพสรูปภาพชื่อกล้องในพระหัตถ์ เกิดความซาบซึ้งและปิติขึ้นมาทันทีเลยขอแบ่งปันรูปภาพ
ทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎร นอกจากแผนที่อันเป็นอุปกรณ์คู่พระราชหฤทัยแล้ว อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ กล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ที่อยู่เคียงกันไปในทุกแห่ง ไท่ว่าจะเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฏร เสด็จไปทรงงานตามพื้นที่ต่างๆหือแม้แต่เสด็จมาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราชเพื่อรักษาพระอาการประชวร
พระราชอัธยาศัยโปรดการถ่ายภาพนี้ทรงได้ต้นแบบมาจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ โดยทรงเริ่มจากกล้องถ่ายภาพชนิดที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัว ทำให้ต้องใช้พระราชวิจารณญาณอย่างละเอียดรอบคอบ และพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ในการถ่ายภาพแต่ละครั้ง
นอกจากนี้ยังทรงใช้พื้นที่บริเวณชั้นล่างอาคารสถานีวิทยุ อ.ส.เป็นห้องมืดสำหรับล้างฟิล์ม และอัดขยายภาพ ตามพระราชประสงค์ที่จะทรง “สร้างภาพ” ให้เป็นศิลปะถูกต้อง และรวดเร็วด้วยพระองค์เอง
แต่เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ จึงเปลี่ยนรูปแบบจากงานถ่ายภาพสวยงามเพื่อศิลปะมาเป็นภาพถ่ายที่ทรงใช้เพื่อประกอบการทรงงานของพระองค์
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงถ่ายภาพเพื่อศิลปะแต่เพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศชาติ นำความผาสุขร่มเย็นมาสู่ประชาชนชาวไทยได้อย่างดี
ในหลวงทรงมีกล้องถ่ายภาพเล็กๆ คู่พระหัตถ์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 8 พระชันษา(ราวปี พ.ศ.2479) โดยสมเด็จพระบรมราชชนนีได้พระราชทานกล้องถ่ายรูป Coronet Midget สีเขียวปะดำ ของฝรั่งเศส ราคาเพียง ๒ ฟรังก์สวิส แก่พระองค์ ด้วยกล้องนี้ใช้ฟิล์มราคา ๒๕ เซนต์ซึ่งมีราคาถูก ในระยะแรกแม้จะทรงไม่ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพนัก แต่ก็ไม่ทรงย่อท้อ ทรงศึกษาและฝึกด้วยพระองค์เองจนเป็นนักถ่ายภาพที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทั้งกล้องถ่ายภาพนิ่ง และกล้องถ่ายภาพยนตร์ ซึ่งภาพที่พระองค์ทรงบันทึกไว้นั้น นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งทุกครั้งที่พระองค์เสด็จฯ ไปในสถานที่ต่างๆ จะทรงนำภาพถ่ายฝีพระหัตถ์มาใช้ประกอบการทรงงานของพระองค์อยู่เสมอ
ระยะเวลาต่อมาใกล้ๆ กัน ทรงใช้อีกครั้งหนึ่งชื่อ KODAK VEST POCKET MONTREUXนับเป็นกล้องตัวที่ 2 มีลักษณะคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมประเภทที่ฝรั่งเรียกว่า MINIBOX ใช้ฟิล์มม้วนถ่ายได้ม้วนละ 6 ภาพปัจจุบันกล้องตัวจริงไม่ทราบว่าอยู่ไหน
ปี พ.ศ. 2481 ทรงมีกล้อง ELAX LUMIE’REและเมื่อใช้จนชำนาญ ทรงเปลี่ยนกล้อง ELAX LUMIE’RE อีกกล้อง
และในปี2484เป็นปีที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล กลับเมืองไทย ได้ทรงใช้กล้อง ELAX บันทึกภาพระหว่างตามเสด็จโดยตลอด
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้กล้อง LINHOF ของประเทศ เยอรมันนี
และทรงใช้กล้อง HASSELBLAD ของประเทศสวีเดน ใช้ฟิล์ม 3 นิ้ว หรือ 120 เป็น กล้องสะท้อนภาพแบบเลนซ์เดี่ยว จุดเด่นของกล้องนี้ คือ เปลี่ยนเลนซ์ได้ มีแมกกาซีน(MAGAZINE)ใส่ฟิล์มให้เปลี่ยนได้หลายขนาด (ไม่มีภาพกล้อง)
ปี พ.ศ. 2494 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทดลองใช้กล้องIKOFLEX เป็นกล้อง
สะท้อนภาพแบบเลนซ์คู่กล้องนี้เมื่อจัดลำดับกล้องถ่ายภาพที่ทรงใช้นับเป็นลำดับ
ที่ 12 เลขที่ตัวกล้อง2592052 LENS ZEISSOPTONTESSAR 1:35 f. 75 mm.
– No. 637288 กล้องนี้ทรงมีพระราชดำรัสว่าใช้ง่าย เลนส์ดี ได้ภาพสวยคมชัด
พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้กล้อง CONTACT II เลนส์
ZEISS-OPTION NO. 821255 กับ ZEISS-OPTION NO. 885584
SONNAR 1:2 f 50 mm. เป็นกล้องแบบใหม่ทันสมัยมาก เพราะเป็นกล้องที่
เปลี่ยนเลนส์ได้ ทั้งมีเครื่องวัดแสงในตัวด้วย กล้องนี้ทรงได้จากประเทศ
สิงคโปร์เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก ปัจจุบันได้พระราชทานไว้ที่สวนหลวง ร.9
ในขณะที่วงการถ่ายภาพมีกล้อง CONTAX II ทางบริษัท E.LEITZ WETZ LAR ประเทศเยอรมันนี ได้ออกกล้อง LEICA ระบบ M ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้กล้อง LEICA มากล้องหนึ่ง เป็นกล้องมือสอง ทรงลองใช้อยู่ระยะหนึ่ง
กล้องบริษัทไซส์ ชื่อ SUPER IKONTA ใช้ฟิล์มเบอร์ 120 ได้ภาพขนาด 6 x 9 ซ.ม. 8 ภาพ และยังแบ่ง เป็นภาพ 6 x 4.5 ซ.ม. 16 ภาพได้ด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้อยู่พักหนึ่งจึงได้พระราชทานให้หัวหน้าช่างภาพประจำพระองค์ (นายอาณัติ บุนนาค) ใช้ในงานราชการต่อไป
บริษัท ROBOT ได้ผลิตกล้องรุ่นใหม่ไม่ซ้ำใคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้รุ่น ROTOT ROYAL NO.G 125721 MOD. III LENS SCHNEIDER-KREUZNACH XENON 1.1.9/3542375 ลักษณะเป็นกล้อง กะทัดรัดมาก ใช้ฟิล์มเบอร์ 135 แต่ภาพที่ได้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฟิล์มม้วนหนึ่งได้ภาพมากกว่ากล้อง ที่ใช้ฟิล์มขนาดเดียวกัน และหมุนฟิล์มขึ้นชัตเตอร์ได้เร็วกว่ากล้องชนิดอื่น