ปรากฏการณ์ที่ชื่อว่า Limnic Eruption ซึ่งเกิดจากการที่ภูเขาไฟประทุในลักษณะเป็นก๊าซเช่น CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) และ/หรือ Methane รั่วไหลลงในน้ำและอากาศรอบๆบริเวณภูเขาไฟ และทำให้สิ่งมีชีวิตโดยรอบขาดอ๊อกซิเจน และเสียชีวิตในที่สุด อย่างไรก็ตาม การประทุเช่นนี้นี้ที่เกิดขึ้นยากมาก ตามประวัติศาสตร์ เคยเกิดขึ้นเพียงสองครั้งเท่านั้นคือที่ทะเลสาบ Monoun และทะเลสาบ Nyos ประเทศ Cameroon แต่ถึงแม้ว่าจะเกิดขึ้นยากเพียงใด แต่ระดับความเสียหายนั้นก็รุนแรงมากเลยทีเดียว อย่างเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทะเลสาบ Nyos เมื่อปี 1986 ที่ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,700 คน และสัตว์โดยรอบอีกประมาณ 3,500 ชีวิต
ทะเลสาบที่เกิด Limnic Eruption อีกแห่งหนึ่งมีชื่อว่าทะเลสาบ Monoun ประเทศ Cameroon เกิดการประทุเมื่อปี 1984 ค่ะ
Nyos Lake ทะเลสาบมรณะ
ทางตอนกลาง ค่อนไปทางเหนือของประเทศแคเมอรูน ใกล้ๆกับทางใต้ของไนจีเรีย มีทะเลสาบแสนสวยแห่งหนึ่งชื่อ ทะเลสาบนีโยส (Nyos Lake) ดูในแผนที่แล้วจัดอยู่ในเขตชนบทห่างไกลผู้คน การเดินทางเข้าไปแสนลำบากยากเย็น เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุดคือเมืองวุม( Wum) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองยาอุนเด้ เมืองหลวงของประเทศไปค่อนข้างไกล ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ถึง12 ชั่วโมง
ทะเลสาบนีโยสเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ พื้นที่ผิวน้ำกินอาณาเขตราว 206 ตารางกิโลเมตร ระดับน้ำตรงจุดที่ลึกที่สุดลึกถึง 208 เมตร นับ ว่าลึกกว่าทะเลสาบทั่วไปมาก ความลึกระดับนี้ทำให้น้ำเป็นสีน้ำเงินเข้มเกือบดำ ถึงจะใสแจ๋วแต่มองลงไปแทบไม่เห็นอะไรเลย ประกอบกับผิวน้ำที่นิ่งเรียบอยู่ตลอดเวลา ดูแล้วสวยแกมน่ากลัวอย่างบอกไม่ถูก
ชนเผ่า บาฟเม็นที่อาศัยอยู่บริเวณรอบทะเลสาบนีโยสมาหลายร้อยปีปฏิบัติตามคำ สอนของบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด ทว่า เมื่อเวลาผ่านไปโดยไม่มีเหตุร้ายแรงน่ากลัวเกิดขึ้น
น้ำในทะเลสาบเคยใสแจ๋วเป็นสีน้ำเงินเข้มอย่างไรก็ยังคงอยู่อย่างนั้น ผู้คนจึงค่อยๆอพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ ฝนตกชุก
ลูกหลานลืมเลือนตำนานเรื่องเล่าขานของทะเลสาบแห่งนี้ ปลูกบ้านตามอำเภอใจ บ้างก็อยู่ในหุบต่ำกว่าระดับของทะเลสาบ ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 มีคนอาศัยอยู่รอบๆทะเลสาบนีโยสหลายพันคน มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆเสียด้วย
เช้าวันรุ่งขึ้น ชายชาวแคเมอรูนรายหนึ่งปั่นจักรยานจากเมืองวุม เพื่อมาพบปะเพื่อนฝูงที่หมู่บ้านนีโยสต่ำ (Lower Nyos) ระหว่าง ทางเขาพบสัตว์ตายอยู่ริมถนนเต็มไปหมด ตั้งแต่หนู สุนัข ไปจนถึงตัวแอนทีโลป (กวาง ชนิดหนึ่ง) สัตว์เลี้ยงของชาวบ้านและสัตว์ป่าอีกหลายชนิด สันนิษฐานง่ายๆว่าพวกมันคงตายจากการถูกฟ้าผ่า ซี่งเกิดขึ้นได้บ่อยๆ หากฟ้าผ่าลงมาใกล้ๆกับตัวสัตว์
แต่ ก็ยังไม่แน่ใจในข้อสันนิษฐานที่ตัวเองตั้งขึ้น พอ เข้าเขตหมู่บ้าน ความแปลกใจของชายผู้นี้ก็หลีกทางให้ความตระหนก เพราะทั้งหมู่บ้านเต็มไปด้วยศพ ไม่ว่าจะเป็นคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ผู้อาวุโสไปจนถึงลูกเด็กเล็กแดง หรือสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งแมลง มีทั้งที่ตายอยู่ในกระท่อมและออกมาตายข้างนอก บรรยากาศอันวังเวงทำให้ชายหนุ่มเลิกล้มความคิดที่จะไปต่อ รีบกระโจนขึ้นปั่นจักรยานกลับไปยังเมืองวุมโดยเร็วที่สุด
เหตุที่ชายหนุ่มมาเจอแต่คนตายและความเงียบสงัดน่าวังเวง ก็เพราะชาวบ้านส่วนน้อยที่มีชีวิตอยู่พ้นค่ำคืนอันเงียบสงัดนั้นมาได้ ค่อยรู้สึกตัวภายหลังอย่างอ่อนระโหยในตอนเช้าตรู่ เพิ่งจะพบว่ารอบๆตัวมีแต่เพื่อนและญาตินอนตัวแข็งอยู่เต็มไปหมด ที่ยังพอมีลมหายใจก็ไร้สติ ปลุกเท่าไรก็ไม่ตื่น เสียงกรีดร้องร่ำไห้โหยหวนดังก้องไปทั่วบริเวณ อากาศยามเช้าแจ่มใสสดชื่นก็จริง แต่ไม่มีเสียงนกร้องอย่างเคย น้ำในทะเลสาบที่เคยใสก็กลายเป็นสีแดงขุ่นน่ากลัว และน้ำตกเตี้ยๆที่เคยเป็นทางระบายน้ำทางเดียวของทะเลสาบแห้งเหือดไปอย่าง ไม่เคยปรากฏมาก่อน
คน เหล่านี้ไม่ทราบเลยว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อคืน ทราบเพียงว่าได้ยินเสียงดังสนั่นแล้วก็วูบไปเฉยๆ ในที่สุดก็เลยพากันออกเดินทางไปยังเมืองวุมเพื่อหาคำอธิบาย
เมืองวุมเป็นเมืองใหญ่ก็จริง แต่กว่าเรื่องจะไปถึงเมืองหลวงและกว่าทีมแพทย์ของรัฐบาลจะถูกส่งเข้าไปที่ ทะเลสาบนีโยส ก็ต้องใช้เวลาถึง 2 วัน ระหว่างนั้นฝนฟ้าก็ตกหนัก ชาวบ้านได้แต่ฝังญาติพี่น้องของตนไปตามมีตามเกิด บางคนหลับไปกว่า 36 ชม. ตื่นขึ้นมาพบว่าคนในครอบครัวเสียชีวิตหมด ฆ่าตัวตายเลยก็มี รวมแล้วอะไรก็ตาม ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 21 สิงหาคม ได้คร่าชีวิตผู้คนรอบทะเลสาบไปเกือบ 1,800 คน ปศุสัตว์กว่า 3,000 ตัว สัตว์ป่าตลอดจน นก หนู งู แมลงที่อาศัยอยู่ชุกชุมแถวนั้นอีกนับไม่ถ้วน พูดง่ายๆคือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในรัศมีประมาณ 20 กิโลเมตรของทะเลสาบตายเกือบทั้งหมด ยิ่งอยู่ใกล้ทะเลสาบเท่าใด อัตราการตายก็สูงขึ้นเท่านั้น
ทีม แพทย์สังเกตว่าผู้รอดชีวิต แทบทุกคนมีอาการมึนงงอ่อนเพลีย บางคนมีรอยไหม้ตามร่างกาย บางคนระบบทางเดินหายใจมีปัญหา แต่โดยรวมแล้วก็ไม่มีอาการรุนแรงมากนัก แต่พวกเขาก็ไม่สามารถให้ข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคได้เลย ไม่มีใครรับประทานอาหารอะไรผิดแปลกไปจากปกติที่เคยทาน ศพที่นำมาชันสูตรไม่มีการตกเลือดไม่ว่าจะภายนอกหรือภายใน ไม่มีร่องรอยถูกทำร้ายหรือได้รับการกระทบกระเทือนใดๆ ไม่มีเชื้อโรค กัมมันตภาพรังสี อาวุธเคมี หรือแก๊สพิษอะไรทั้งสิ้น ลักษณะที่จะบ่งบอกว่าเจ็บปวดทุกข์ทรมานก่อนตายก็ไม่มี เหมือนกับว่าหมดสติแล้วก็ตายไปเฉยๆอย่างนั้น เด็กๆที่หลับไปแล้วก็เหมือนจะตายทั้งๆที่หลับ ไม่ได้ดิ้นรนอะไรทั้งสิ้น
เมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไปว่าทีมแพทย์ไม่สามารถอธิบายโศกนาฏกรรมลึกลับครั้งนี้ได้
ชาว แคเมอรูนต่างเชื่อว่า วิญญาณในทะเลสาบคงจะโกรธเคืองที่ใครสักคนคงไปทำผิดล่วงเกินเอาไว้ มาพร่าผู้คนตายเป็นเบือเหมือนในตำนาน หลายประเทศในโลกเริ่มมองเรื่องนี้ด้วยสายตาสนใจใคร่รู้ รัฐบาลญี่ปุ่นถึงกับเรียกตัวผู้เชี่ยวชาญทางภูมิศาสตร์เคมีอันดับหนึ่งของ ประเทศ ให้เก็บข้าวของเดินทางไปแคเมอรูนเพื่อสืบให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ เช่นเดียวกับรัฐบาลฝรั่งเศส (แคเมอรูนเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาก่อน) สหรัฐอเมริกา เยอรมัน อังกฤษ อิตาเลียน และสวิสเซอร์แลนด์ รวมแล้วหลายสิบคน มีทั้งนักธรณีวิทยา นักเคมี ผู้เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟ แผ่นดินไหว และผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ต่างๆอีกหลายแขนง ล้วนถูกส่งมาที่นี่อย่างเร่งด่วนจนแทบไม่มีเวลาเตรียมตัว
การ ตรวจสอบเบื้องต้นของผู้เชี่ยวชาญนานาชาติเหล่านี้ไม่พบอะไรที่สามารถใช้ อธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างน่าพอใจ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อคิดอยู่ในใจของหลายคน ก็คือเหตุการณ์ที่คล้ายๆกันที่เกิดขึ้นแถวทะเลสาบโมนูน (Monoun Lake) เมื่อสองปีก่อน ทะเลสาบโมนูนอยู่ห่างจากทะเลสาบนีโยสมาทางใต้ประมาณ 69 ก.ม. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ก็คล้ายๆกัน คือเป็นปล่องภูเขาไฟที่ดับแล้ว และมีน้ำใต้ดินซึมเข้าไปขังอยู่จนกลายเป็นแหล่งน้ำ ทะเลสาบโมนูนไม่ใหญ่และลึกเท่ากับทะเลสาบนีโยส แต่มันอยู่ในบริเวณที่ต่ำกว่า ใกล้เมืองหลวงมากกว่า จึงมีคนอาศัยอยู่โดยรอบมากกว่า แค่เมืองที่ใกล้ที่สุดคือเมืองนจินดูนก็มีประชากรกว่า 3,000 คนเข้าไปแล้ว
เช้าตรู่วันหนึ่งกลางเดือนเมษายน ค.ศ.1984 ผู้คนเกือบ 40 คน เสียชีวิตปริศนาขณะเดินทางไปตามถนนช่วงที่ลาดลงหุบเขา ก่อนถึงเมืองนจินดูน นอกจากนั้นยังมีแกะนับสิบตัวและสัตว์น้อยใหญ่ในบริเวณอีกมาก ข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วว่ากำลังจะเกิดรัฐประหารหรือไม่รัฐบาลก็คงทดลอง อาวุธเคมี มีหลายคนเหมือนกันที่เชื่อว่าภูเขาไฟใต้ทะเลสาบโมนูนกลับ ฝื้นคืนชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง
เหตุการณ์ ครั้งนั้นทำให้สถานฑูตสหรัฐร้อนใจจนต้องเรียกผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูเขาไฟจาก มหาวิทยาลัยโรดส์ไอร์แลนด์ ชื่อ ฮาราลเดอร์ ซิเกิร์ดสัน มาพิสูจน์ดูให้รู้แน่ชัด ซิเกิร์ดสันสำรวจพื้นที่แถวทะเลสาบอยู่หลายเดือนโดยไม่พบสัญญาณใดๆ ที่บอกว่าจะเกิดภูเขาไฟระเบิด อุณหภูมิของน้ำในทะเลสาบไม่ได้สูงขึ้นผิดปกติ ไม่มีร่องรอยของแร่กัมมะถัน พื้นทะเลสาบก็ดูราบเรียบ เรื่องแปลกอย่างเดียวที่เขาเจอก็คือ ตอนที่ดึงขวดเก็บตัวอย่างน้ำขึ้นมาจากระดับน้ำลึกมากๆ ทุกครั้งฝาขวดจะระเบิดออก ที่ระดับผิวน้ำเหมือนมีแรงดันจากภายใน ซิเกิร์ดสันหาวิธีนำน้ำจากก้นทะเลสาบไปตรวจสอบจนได้ และพบว่าน้ำดังกล่าวเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 เป็น ก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีพิษใดๆกับมนุษย์ ร่างกายของเราผลิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดเวลา ทุกครั้งที่เราหายใจออกจะมีก๊าซนี้ออกมาด้วย ในอากาศปกติมีก๊าซนี้อยู่ประมาณ 0.05% ก๊าซนี้หนัก กว่าอากาศ เมื่อมันถูกปล่อยออกมาในปริมาณมากๆมันจะกดลงต่ำ ทำให้ก๊าซออกซิเจนลอยขึ้นสูง ผลคือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในบริเวณนั้นจะไม่มีอากาศหายใจจนกว่าลมจะพัดเอา ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป
อากาศที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผสมอยู่ประมาณ 5% จะทำให้เทียนไขและเครื่องยนต์ดับ เพิ่มขึ้นมาอีกเป็น 10% จะสามารถทำให้สิ่งมีชีวิตเสียชีวิตได้ เพียงแต่อาจใช้เวลาอยู่ในช่วงโคม่านานหน่อย แต่ถ้าสูงขึ้นไปถึง 30% ละก็ สิ่งมีชีวิตจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วินาที
ซิเกิร์ดสันสรุปว่าใต้ทะเลสาบโมนูนเต็มไปด้วยแม็กม่าหรือหินที่หลอมละลายอยู่ใต้พื้นโลก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหยออกมาจากแม็กม่าเหล่านี้ค่อยๆซึมขึ้นมาปนกับน้ำใต้ดินบริเวณก้นทะเลสาบ เรื่องนี้เป็นเรื่อง ปกติ ทะเลสาบไหนๆก็มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งนั้นไม่มากก็น้อย แต่มันสามารถลอยเป็นฟองปุดๆ ขึ้นมาที่ผิวน้ำแล้วละเหยปนไปกับอากาศได้โดยไม่เป็นอันตรายกับใคร เพียงแต่ที่ทะเลสาบโมนูนนี้มันไม่ลอยขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ น้ำลึกของทะเลสาบมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เจืออยู่อย่างเข้มข้น หากมีอะไรมาทำให้มันขึ้นมาเหนือผิวน้ำอย่างกะทันหันเป็นปริมาณมาก มันจะระเบิดและ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมาก สู่อากาศในช่วงระยะเวลาสั้นๆ กลายเป็นภัยธรรมชาติที่ อาจคร่าชีวิตผู้ทั้งเมืองได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที
การตายด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ใช่เรื่องแปลกในประเทศแคเมอรูนเนื่องจากภายใต้แนวภูเขาไฟเก่าที่พาดผ่านประเทศแคเม อรูนนั้นมีแม็กม่าปริมาณมหาศาล จึงมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึมออกมาพร้อมน้ำใต้ดินเสมอ การระเบิดของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดย่อมในบ่อน้ำเล็กๆเกิดได้บ่อยครั้ง
ซิเกิร์ดสันสรุปรายงานให้สถานทูต และเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่งไปยังวารสาร Science ซึ่ง เป็นวารสารวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในสหรัฐ แต่ถูกปฏิเสธ เพราะบรรณาธิการเห็นว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อเกินไป ทฤษฎีดังกล่าวจึงไม่ค่อยมีคนรู้ นอกจากคนวงในไม่กี่คน
เหตุการณ์ ที่ทะเลสาบนีโยสทำให้รายงายของซิเกิร์ดสันถูกจับขึ้นมาปัด ฟุ่นอ่านกันอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงสองสามสัปดาห์แรกที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเดินทางมาถึงทะเลสาบนีโยส ได้มีการนำน้ำในทะเลสาบมาตรวจสอบกันหลายครั้งหลายหน นอกจากจะพบว่าสีแดงของน้ำเกิดขึ้นเพราะน้ำเต็มไปด้วยแร่เหล็กที่กลายเป็น สนิม เปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศแล้ว ก็ไม่มีการพบก๊าซอะไรในปริมาณมากเกินปกติ แต่นั่นคือน้ำด้านบน ถ้าจะพิสูจน์ทฤษฎีของซิเกิร์ดสัน ก็ต้องมีการเอาน้ำจากก้นทะเลสาบขึ้นมาตรวจ
ทะเล สาบนีโยสอยู่ในแนวภูเขาไฟเก่า เช่นเดียวกับทะเลสาบโมนูน เป็นปากปล่องภูเขาไฟเก่าเหมือนกัน พื้นทะเลสาบก็คล้ายๆกัน คือเป็นหินก้อนใหญ่ปนกับเถ้าถ่านหนาแน่นจากการระเบิดในอดีต ระดับความลึกต่างกันก็จริงแต่ก็ถูกจัดว่าเป็นทะเลสาบที่ลึกด้วยกันทั้งสอง แห่ง
ซึ่งหมายความว่าความดันบริเวณก้นทะเลสาบมีมากพอจะกดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้จม อยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน ที่ตั้งก็สำคัญ หากทะเลสาบนีโยสอยู่เหนือหรือใต้กว่านี้หน่อย อุณหภูมิของอากาศจะมีความแตกต่างกันมากขึ้นในแต่ละช่วงของปี
ตาม ปกติแล้วทะเลสาบทั่วไปในฤดูหนาวด้านบนจะเย็นลงและจมลงไปด้านล่าง ปล่อยให้น้ำด้านล่างที่อุ่นกว่าและเบากว่า ลอยขึ้นมาด้านบน พอถึงฤดูใบไม้ผลิกระแสน้ำก็จะสลับกันอีกครั้งหนึ่ง เปิดโอกาสให้คาร์บอนไดออกไซด์ค่อยๆระเหยออกมาสู่อากาศได้
แต่เนื่องจากทะเลสาบนีโยสอยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิของอากาศสม่ำเสมอทั้งปี แถมยังมีแนวเขากั้นลมและฝน น้ำในทะเลสาบจึงนิ่งสนิทตลอดทำให้คาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ข้างใต้มากขึ้น เรื่อยๆ
ผลการตรวจน้ำในระดับลึกลงไปพบว่าน้ำในระดับลึกเพียง 50 ฟุต มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มากพอที่จะทำให้ฝาขวดกระเด็นออกเมื่อดึงขึ้นมาบนผิว น้ำ ที่ระดับ 600 ฟุต ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นมากจนต้องใช้ขวดอัดความดันสูงถึงจะ เก็บตัวอย่างขึ้นมาได้ เมื่อนำมาตรวจวัดอย่างละเอียดแล้วก็พบว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผสมอยู่ใน น้ำอัตราส่วนห้าต่อหนึ่ง มากกว่าที่ใดๆที่เคยตรวจพบมาก่อน
ปัญหาก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลเหล่านี้ถูกปล่อยสู่อากาศได้อย่างไร
คำตอบอยู่ที่เสียงสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นที่ชาวบ้านได้ยินก่อนจะหมดสติไปนั่นเอง
นัก ธรณีวิทยาสังเกตเห็นร่องรอยของหินถล่มที่เพิ่งเกิดขึ้นพร้อมๆกับปรากฏการณ์ ประหลาดที่คร่าชีวิตผู้คนทั้งหมู่บ้าน ด้านหนึ่งของทะเลสาบ มันจะหลุดออกจากภูเขาด้วยสาเหตุใดก็ตามแต่เมื่อมันหล่นลงไปในน้ำ มันทำให้น้ำเกิดการสั่นสะเทือนเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน
น้ำ ข้างบนไหลลงไปที่ระดับน้ำลึก น้ำข้างล่างที่เต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแร่เหล็กถูกผลักขึ้นมา ข้างบน เมื่อปะทะกับความดันที่น้อยกว่า ก็ระเบิดออก ทำนองเดียวกับฝาจุกขวดโซดาระเบิดออกเมื่อเราเขย่าขวด ผลก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลดันขึ้นมาในอากาศอย่างรวดเร็ว กระจายไปสู่พื้นที่ใกล้เคียง เข้าแทนที่ออกซิเจน และทำให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่
หลัง จากเกิดการระเบิด ระดับน้ำในทะเลสาบลดลงไปถึงหนึ่งเมตร นักวิทยาศาสตร์คาดการว่าว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเบิดออกมาใน เวลาแค่ 20 วินามี ตอนหัวค่ำของวันที่ 21 สิงหาคมมีมากถึง 1.2 ลูกบาศก์กิโลเมตร (หาก คิดไม่ออกว่ามากแค่ไหนขอให้จินตนาการถึงกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มี ด้านกว้างยาวด้านละหนึ่งกิโลเมตร) มันกระจายไปด้วยความเร็วประมาณ 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ที่บริเวณใกล้ทะเลสาบแทบไม่มีโอกาสรอดเลย
เนื่อง จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หนักกว่าอากาศส่วนใหญ่จึงลอยลงสู่ที่ต่ำ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมหมู่บ้านที่อยู่ในหุบเขามีอัตราการตายสูงกว่าหมู่บ้าน ที่อยู่ในที่สูง
กระนั้น ปริมาณที่มากมายมหาศาลของมันก็ทำให้คนและสัตว์ที่อยู่สูงกว่าทะเล สาบเกือบร้อยเมตรตายไปหลายศพ การระเบิดครั้งนี้ยังทำให้ต้นไม้บริเวณรอบๆทะเลสาบที่อยู่สูงขึ้นไปประมาณ 80 เมตรตายหมดสันนิษฐานว่าเกิดจากน้ำที่เต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สาดกระเด็นขึ้นไป
เมื่อ รู้สาเหตุแล้วแทนที่จะเก็บกระเป๋ากลับบ้าน นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังต้องมานั่นกุมขมับกันต่อ ด้วยว่าการระเบิดครั้งนี้ไม่ใช่การระเบิดครั้งสุดท้าย ในเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงซึมปนออกมากับน้ำใต้ดินอย่างต่อเนื่อง และทะเลสาบยังไม่เคลื่อนหนีไปไหนเหมือนในตำนาน ชาวบ้านก็เหมือนอาศัยอยู่บนระเบิดเวลาดีๆนี่เอง
ไม่ ใช่แต่ทะเลสาบนีโยสเท่านั้น ทะเลสาบโมนูนก็ด้วย ถึงจะไม่ลึกเท่ากับทะเลสาบนีโยส แต่ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมอยู่ก้นทะเลสาบโมนูนก็เพิ่มด้วยอัตรา ที่เร็วกว่า นอกจากนั้นก็มีทะเลสาบคิวู (Kivu Lake) ใน ประเทศรวันดา ซึ่งนอกจากจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปนกับน้ำในปริมาณสูงจนน่าเป็นห่วงแล้ว ยังมีก๊าซมีเทน หรือที่เราเรียกว่าก๊าซธรรมชาติหนาแน่น หากระเบิดขึ้นมาคงน่าตื่นตาตื่นใจกว่าทะเลสาบนีโยส และทะเลสาบโมนูนมากนัก
หลัง จากคิดค้นวิธีระบายก๊าซจากก้นทะเลสาบขึ้นมาหลายวิธี เช่นหย่อนระเบิดลงไปดึงก๊าซขึ้นมา เทสารเคมีที่มีทำให้ก๊าซหมดฤทธิ์ที่จะระเบิดได้ หรือขุดอุโมงค์ใต้ทะเลสาบเพื่อลดความดันฯลฯ ในที่สุดที่ก็ลงความเห็นว่า วิธีที่น่าจะดีที่สุดโดยไม่ทำให้ประเทศแคเมอรูนล้มละลาย หรือประเทศที่ต้องการช่วยเหลือทั้งหลายต้องหมดเงินสนับสนุนลงไปเสียก่อน คือการวางท่อลงไปถึงก้นทะเลสาบ แล้วสูบน้ำที่มีก๊าซเข้มข้นขึ้นมาที่พื้นผิว แรงดันมหาศาลจะทำให้น้ำพุ่งสูงขึ้นไปในอากาศประมาณ 45 ฟุต
ระบายก๊าซออกไปก่อนจะตกกลับมาที่ผิวน้ำ พวกเขาเชื่อว่าหากสามารถฝังท่อลงไปในทะเลสาบนีโยสได้ 5 ท่อ และในทะเลสาบโมนูน 3 ท่อ ก็คงจะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระเหยออกไปได้มากพอที่จะไม่ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้อีกในอนาคต
ปัจจุบัน นี้ทะเลสาบทั้งสองแห่งมีท่อน้ำพุระบายก๊าซอยู่เพียงแห่งละท่อ จะเอามากกว่านั้นก็ยังไม่มีทุน กระนั้นก็ยังชะลอการระเบิดไปได้บ้าง ดีกว่าไม่มีอะไรเสียเลย
คลิปนี้เป็นภาพจำลองเหตุการณ์การเกิด Limnic Eruption ของ Methane ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งความรุนแรงมีมากมายมหาศาล และถ้าเกิดขึ้นจริง ก็อาจจะเป็นการล้างรัฐ California ทั้งรัฐได้เลยทีเดียว เนื่องจาก Methane ถ้าผสมอยู่ในน้ำ ก็จะไม่เป็นอะไร เพราะไม่ติดไฟ แต่ถ้าเกิดระเบิดขึ้นมาในลักษณะเดียวกับที่เกิดกับทะเลสาบ Nyos เมื่อไรก็จะไม่แค่ทำให้หลับและเสียชีวิต (Limnic Eruption ที่เกิดที่ทะเลสาบ Nyos เกิดจาก Co2 จึงไม่ติดไฟ ในทางกลับกัน กลับดับไฟด้วยซ้ำ) แต่ Methane ติดไฟได้ง่ายมาก ถ้ามีประกายไฟแค่นิดเดียวเท่านั้น จะเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ ไฟไหม้ทั่วทั้งเมืองเลยก็ว่าได้ค่ะ ส่วนสาเหตุที่สัญนิษฐานว่าจะทำให้เกิด Limnic Eruption ของ Methane ในมหาสมุทรได้ก็คือ การเกิดแผ่นดินไหว, แผ่นดินถล่ม และอุกกาบาตตกลงในมหาสมุทร
ส่วนภาพจำลองเหตุการณ์การเกิด Limnic Eruption ของ Co2 ที่ทะเลสาบ Nyos อยู่ที่นาทีที่ 2.27
เรียบเรียงโดยคุณ Sleepwalk จากเว็บ @cloud