[RE: จริงหรือป่าว+สาเหตุที่กรุงศรีอยุธยาแตกในปี ๒๓๑๐ ไม่ใช่เพราะความอ่อนแอภายในกรุง แต่เป็นความพ่ายแพ้ ทางยุทธศาสตร์]
pilro parchisio พิมพ์ว่า:
งานศึกษาการสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ ในระยะหลัง ๆ ชี้ว่า สาเหตุที่กรุงศรีอยุธยาแตกในปี ๒๓๑๐ ไม่ใช่เพราะความอ่อนแอภายในกรุง แต่เป็นความพ่ายแพ้ ทางยุทธศาสตร์ เพราะในการสงครามครั้งนี้พม่าได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการทำศึก ๒ ประการ
๑. ใช้ยุทธศาสตร์แบบคีมหนีบ (Pincer Strategy) โดยการส่งทัพเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยาสองทาง คือทางเหนือโดยเนเมียวสีหบดี (Neimyou Thihapatei) และทางใต้โดยมหานรทา (Mah Naw-ra-ht) ทำให้กรุงศรีอยุธยาต้องรับศึกสองด้าน และตีกวาดหัวเมืองรายทาง กวาดต้อนผู้คนเป็นกำลังทัพและเก็บกวาดเสบียงอาหาร (ริบทรัพย์ จับเชลย)
เป็นการปิดแนวหลังของทัพพม่าให้หมด ไม่เปิดว่างไว้ ป้องกันกรุงศรีอยุธยาที่หวังกำลังจากหัวเมืองมาตีกระหนาบ
๒. สะสมเสบียงอาหาร ยุทโธปกรณ์และสัมภาระสำหรับ ทำศึกระยะยาว และเตรียมการล้อมกรุงในขณะที่น้ำหลากท่วม
เป็นการ แก้ทาง ยุทธศาสตร์เดิมที่กรุงศรีอยุธยาใช้ในการรับศึกพม่า (การใช้ตัวพระนครเป็นฐานรับศึก รอน้ำหลากท่วม เมื่อพม่าถอยจึงตามตี) ครั้งนี้ พม่าต่อเรือแพ ปรับเปลี่ยนค่ายบกเป็นค่ายน้ำ รอจนน้ำลดแล้วจึงระดมตีกรุงอีกครั้ง ฝ่ายไทย คาดไม่ถึง ว่าพม่าจะไม่ยอมถอยเมื่อน้ำหลาก จึงไม่ได้มี แผนสำรอง เมื่อเวลาล่วงเลยไปพม่ายังล้อมกรุงอยู่ เสบียงอาหารที่กักตุนไว้สำหรับระยะเวลาเพียงแค่ถึงช่วงน้ำหลากจึงไม่เพียงพอ เกิดความวุ่นวายปล้นสะดมขึ้นในกรุง แต่พม่าก็ยังตีกรุงไม่ได้ นั่นแสดงว่าการป้องกันตัวของกรุงศรีอยุธยายังคงเข้มแข็ง พม่าจึงต้องใช้วิธีการขุดอุโมงค์เพื่อทำลายรากกำแพงและมุดอุโมงค์เข้าตีกรุง
สงครามครั้งนี้กินระยะเวลายาวนานที่สุดในสงครามไทย-พม่าทั้งหมด
จริงหรือป่าว
ผมค่อนข้างกล้ายืนยันเลยว่า การเสียกรุงศรีฯ ทั้งสองครั้ง สาเหตุและปัจจัยหลักมาจากความอ่อนแอของสยามครับ โดยเฉพาะครั้งที่สอง ขออธิบายแบบนี้ (เอาเฉพาะการเสียกรุงฯ ครั้งที่สอง)
หนึ่ง ความอ่อนแอ เริ่มสะสมมาจากปลายสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชา สังหาร พระปิย์ (บุตรบุญธรรมพระนารายณ์) รวมถึงพระอนุชาอีกสองพระองค์ และยังสังหาร ออกญาวิชัยเยนทร์ และขับไล่พวกฝรั่งเศส ออกจากราชอาณาจักร การค้าสองประเทศ (รวมถึงการได้อาวุธ ฯลฯ) ลดน้อยลงไปด้วย
สอง การแย่งชิงราชสมบัติในสมัยบ้านพลูหลวง เริ่มจาก
- ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ลอบปลงพระชนม์ โอรสของ พระเพทราชา (อันนี้ไม่ค่อยเท่าไหร่
- กรมพระราชวังสถานมงคล (พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) แย่งราชสมบัติกับ เจ้าฟ้าอภัย (โอรสในพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) สุดท้าย กรมพระฯ ชนะ ได้ทำการสังหาร ล้างโครต เจ้าฟัา และ ขุนนางฝ่ายเจ้าฟ้าฯ ซะมาก ทำให้ขุนนางและข้าราชการในสมัยหลัง มีน้อยมาก (เพราะโดนฆ่าล้างโครตไป ทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง)
- พระเจ้าเอกทัศน์ แย่งราชสมบัติของ พระเจ้าอุทุมพร ทำให้ เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ (อุทุมพร หนีไปบวช) และข้าราชการอีกจำนวนหนึ่ง หนีไปบวชตามด้วย ทำให้ราชการในสมัยหลัง ตั้งแต่ 2501 ยิ่งหนักไปอีก)
ผมจะสื่อว่า สยามประเทศ ไม่พร้อมจะทำสงคราม เพราะคนทำงานแทบไม่มี มีแต่คนรับสินบน ฯลฯ แล้วจะรบกับข้าศึกได้อย่างไร
พูดเพิ่มเติมเรื่องยุทธศาสตร์ ถูกต้องครับที่การที่พม่าข้าศึกโจมตีทั้งสองด้าน ทั้งด้านเหนือ (เข้าทางด่านแม่ละเมา) และด้านตะวันตกของไทย หรือ ใต้ของพม่า (เข้าทางด่านเจดีย์สามองค์) เป็นการรับศึกสองด้าน แต่ด้วยความอ่อนแอของสยาม การป้องกันจึงทำได้แค่การป้องกันพระนครเท่านั้น แต่กว่าที่กองทัพข้าศึกจะมาล้อมเมือง ไม่ใช่เรื่องง่าย
ยกตัวอย่าง
กองทัพเนเมียวฯ ยกมาทางเหนือ ผ่านได้หลายเมืองก็จริง แต่ตีเมืองพิษณุโลก ของออกญาพิษณุโลก (เรือง) ไม่แตก (ต่อมาสถาปนาตัวเอง เป็น หนึ่งในห้า ก๊ก ในสมัยกรุงธนบุรี) จึงต้องอ้อมเอา นั่นแปลว่า กองทัพหัวเมืองไม่ได้อ่อนแอ
กองทัพทางใต้ โดนค่ายบางระจัน ต้านได้เจ็ดเดือน กว่าจะแตก นั่นแปลว่า ขนาดชาวบ้านรวมตัวกัน ต้านได้ตั้งนาน
จริง ๆ แล้วทางกรุงศรีฯ แม้ว่าโดนตีด้านเหนือและตะวันตกก็จริง แต่สยามตอนนั้นค่อนข้างใหญ่ ข้างอีสานก็มีหัวใหญ่ ตะวันออกก็มี และทางใต้ นครศรีฯ ก็ใหญ่ ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมหัวเมืองแถบนั้นไม่ยกมาช่วย
สรุปเลยดีกว่า
การที่เสียกรุงฯ เนื่องจากเราขาดผู้นำการทหารที่เก่ง กล้า และมีความสามารถ ต่อให้พม่ามียุทธศาสตร์เก่งขนาดไหน รวมถึงรู้ไส้พุงเราหมด หากมีคนเก่ง ก็สามารถปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งให้เราได้แน่นอนครับ