จริงหรือป่าว+สาเหตุที่กรุงศรีอยุธยาแตกในปี ๒๓๑๐ ไม่ใช่เพราะความอ่อนแอภายในกรุง แต่เป็นความพ่ายแพ้ ทางยุทธศาสตร์
งานศึกษาการสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ ในระยะหลัง ๆ ชี้ว่า สาเหตุที่กรุงศรีอยุธยาแตกในปี ๒๓๑๐ ไม่ใช่เพราะความอ่อนแอภายในกรุง แต่เป็นความพ่ายแพ้ ทางยุทธศาสตร์ เพราะในการสงครามครั้งนี้พม่าได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการทำศึก ๒ ประการ
๑. ใช้ยุทธศาสตร์แบบคีมหนีบ (Pincer Strategy) โดยการส่งทัพเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยาสองทาง คือทางเหนือโดยเนเมียวสีหบดี (Neimyou Thihapatei) และทางใต้โดยมหานรทา (Mah Naw-ra-ht) ทำให้กรุงศรีอยุธยาต้องรับศึกสองด้าน และตีกวาดหัวเมืองรายทาง กวาดต้อนผู้คนเป็นกำลังทัพและเก็บกวาดเสบียงอาหาร (ริบทรัพย์ จับเชลย)
เป็นการปิดแนวหลังของทัพพม่าให้หมด ไม่เปิดว่างไว้ ป้องกันกรุงศรีอยุธยาที่หวังกำลังจากหัวเมืองมาตีกระหนาบ
๒. สะสมเสบียงอาหาร ยุทโธปกรณ์และสัมภาระสำหรับ ทำศึกระยะยาว และเตรียมการล้อมกรุงในขณะที่น้ำหลากท่วม
เป็นการ แก้ทาง ยุทธศาสตร์เดิมที่กรุงศรีอยุธยาใช้ในการรับศึกพม่า (การใช้ตัวพระนครเป็นฐานรับศึก รอน้ำหลากท่วม เมื่อพม่าถอยจึงตามตี) ครั้งนี้ พม่าต่อเรือแพ ปรับเปลี่ยนค่ายบกเป็นค่ายน้ำ รอจนน้ำลดแล้วจึงระดมตีกรุงอีกครั้ง ฝ่ายไทย คาดไม่ถึง ว่าพม่าจะไม่ยอมถอยเมื่อน้ำหลาก จึงไม่ได้มี แผนสำรอง เมื่อเวลาล่วงเลยไปพม่ายังล้อมกรุงอยู่ เสบียงอาหารที่กักตุนไว้สำหรับระยะเวลาเพียงแค่ถึงช่วงน้ำหลากจึงไม่เพียงพอ เกิดความวุ่นวายปล้นสะดมขึ้นในกรุง แต่พม่าก็ยังตีกรุงไม่ได้ นั่นแสดงว่าการป้องกันตัวของกรุงศรีอยุธยายังคงเข้มแข็ง พม่าจึงต้องใช้วิธีการขุดอุโมงค์เพื่อทำลายรากกำแพงและมุดอุโมงค์เข้าตีกรุง
สงครามครั้งนี้กินระยะเวลายาวนานที่สุดในสงครามไทย-พม่าทั้งหมด
จริงหรือป่าว