การตามหา "แท่นพิมพ์ของ Gutenberg" ของเมืองไทยกับแนวคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
พอดีผมนั่งฟัง podcast ของช่องนี้
https://www.youtube.com/embed/liaTNF2wuBo
ซึ่งกำลังพูดเรื่องการทำงานของสื่อไทย ซึ่งพูดกันว่า
"แม่งลงทุนกับ production ลงทุนกับการอ่านข่าว ลงทุนกับพิธีกร ลงทุนกับไมโครโฟน แต่แม่งไม่ได้ลงทุนกับการวิ่งลงไปหาข่าวอีกต่อไปแล้ว เผลอๆตอนนี้ทุกกองมี investigate journalist หรือเปล่ายังไม่รู้เลย"
"คือปกติมึงมีพิธีกร 2 คนใช่ไหม คนนึงชงคนนึงเล่า มึงเลิกจ้างไอ้คนที่ชงไปเลย มึงให้ไอ้คนที่เล่าๆไปคนเดียว แล้วมึงเอาเงินจำนวนนั้นไปจ้างนักข่าวไปทำข่าวจริงๆซะทีเหอะ กูไหว้ละ"
จนผมมาเห็นคอมเม้นนึงจาก youtube เขาบอกไว้แบบนี้
อ้างอิงจาก:
ยุโรปออกจากยุคกลางด้วยการมาถึงของเครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก ทำให้คนอ่านออกเขียนได้มากขึ้น คนจำนวนมากเข้าถึง "ความรู้" ได้มากขึ้น ความรู้ไม่ถูกสงวนไว้กับชนชั้นพระอีกต่อไป ในลักษณะเดียวกัน ผมมองว่าประเทศไทยกำลังออกจากยุคกลาง เข้าสู่ยุคเรเนซองค์ด้วยการมาถึงของโมบายอินเตอร์เนท ทุกคนหาความรู้ได้จาก internet มีการโต้เถียง คัดง้างกัน ใช้เหตุผลกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อนที่ยึดคำสอนของศาสดาเป็นหลัก และเมื่อไหร่ทีกำแพงบูมเมอร์พังลงพวกเจน x ตายไปซักครึ่งนึง เราจะเข้าสู่ยุคเรืองปัญญาอย่างรวดเร็วตามความไวของการเข้าถึงข้อมูลที่สูงขึ้น ในมุมมองของผมนั้นผมมองตามวิวัฒนาการเชิงความคิดว่าตอนนี้ประเทศไทยคือยุคกลางตอนปลาย คนหมู่มากยังเกิดมาเพื่อทำงานเซิร์ฟแลนด์ลอร์ด มีอำนาจมืดเต็มไปหมด แต่แค่อยู่ในโลกยุคที่มีไฟฟ้าใช้ มีเครื่องอำนวยความสะดวก ขับรถ ขี่เครื่องบินแทนนั่งเกวียน
เลยจะมาพูดถึง Gutenberg กันหน่อย (ประวัติยาวมาก แต่ผมเอามาจาก C.M.B. เลยจะเห็นภาพได้ง่ายขึ้น)
สุดท้ายนี้มันเคยมีคนถามเล่นๆในวงเหล้าว่า "เมืองไทยช้ากว่าพวกตะวันตกอย่างน้อยกี่ปี" บางคนก็ว่า 100 ปี บางคนก็ว่า 200 ปี แต่ผมตอบมันไปอาจจะสัก 500-600 ปีมั้ง
ก็ได้แต่หวังว่าเมืองไทยเราจะเจอสื่อที่เป็นดั่ง "แท่นพิมพ์ของ Gutenberg" ที่จะกระจายความจริงเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไทยได้ครับ (ซึ่งผมไม่หวังกับสื่อหลักแล้ว)