จากที่รับปากเอาไว้ว่าจะแปลบทความวิเคราะห์เกมชนะวัตฟอร์ต
แต่ผมดันหาแหล่งที่น่าเชื่อถือไม่ได้ ก็เลยขอแปลเกมเอฟเวอร์ตันแทนก็แล้วกันนะครับ
เพราะมีหลายอย่างที่น่าสนใจ และเป็นครั้งแรกที่ทีมเราเลือกใช้ระบบไดม่อน
--เริ่มกันเลย---
ทีมเจ้าบ้านเอฟเวอร์ตันของอันเชล็อตติ เลือกแผนที่เขาใช้ประจำอย่าง 4-4-2
เซ็นเตอร์แบ็ค จับคู่ระหว่าง ไมเคิล คีน และเมสัน โฮลเกต
โดยมีทอม เดวีส และ อันเดร โกเมส ยืนเป็นกลางรับสองตัว แบบdouble pivot
โดยวางหน้าคู่เป็น ไคลเวิร์ต-เลวิน จับคู่กับ ริชาร์ลิสัน
ส่วนฝั่งแมนยูผู้มาเยือน เนื่องจากอาการบาดเจ็บของเดเนียล เจมส์
ผนวกกับแมนยูตอนนี้มีผู้เล่นมิดฟิล์ดที่อยู่ในฟอร์มที่ดีถึง3ราย
ได้แก่ แมคโทมิเนย์, เฟรด และมาติช
โซลชาร์จึงจับทั้งสามลงพร้อมกันในระบบ 4-1-2-1-2 หรือ 4-4-2 แบบไดม่อน
โดยมีบรูโน่ คอยบัญชาการเกมรุก ส่วนกองหน้าสองคน เป็นมาร์กซิยาล และ เมสัน กรีนวู้ด
การตั้งรับของเอฟเวอร์ตัน
จากความผิดพลาดของเดเกอา บังคับให้แมนยูต้องเป็นฝ่ายเดินเกมรุกเข้าใส่ตั้งแต่3นาทีแรก
การใช้แผนไดม่อนของแมนยู จะได้ประโยชน์ในแง่จำนวนตัวผู้เล่นในแดนกลาง
การที่แมนยูมีมิดฟิล์ดในแดนกลางถึง4ตัว จะทำให้พวกเขามีทางเลือกในการผ่านบอลมากขึ้น
และเป็นเรื่องยากสำหรับคู่แข่งที่จะสามารถปิดทิศทางการผ่านบอลได้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เอฟเวอร์ตันของอันเชล็อตติมีการรับมือที่ชาญฉลาด จากสกอร์ที่นำอยู่1-0
พวกเขาจึงลงไปตั้งเกมรับแบบmid-block (ไม่เพรสสูง ไม่รับลึก)
และยืนตำแหน่งแบบ4-4-2
แต่ที่พิเศษคือพวกเขามีการคอมแพ็ค(compact)พื้นที่ ทั้งในแนวลึก และ แนวกว้าง
การบีบอัดพื้นที่ในแนวลึก(vertical compact) เพื่อลดพื้นที่ระหว่างไลน์ผู้เล่นในแดนกลางกับไลน์กองหลัง
การบีบอัดพื้นที่ในแนวกว้าง(wide compact) เพื่อลดระยะห่างระหว่างผู้เล่น ป้องกันไม่ให้แมนยูผ่านบอลเข้ามาได้ง่ายๆ
จากรูป เป็นผลจากการคอมแพ็คพื้นที่ของเอฟเวอร์ตัน แม้ว่าแมนยูจะมีผู้เล่นในแดนกลางถึง4คน
แต่จะเห็นว่ามาติช กลับไม่สามารถผ่านบอลไปให้เพื่อนร่วมทีมได้เลย
จังหวะนี้ มาติชพยายามผ่านบอลให้บรูโน่ แต่ถูกโกเมสตัดบอลเอาไว้ได้
แมนยูค้นพบวิธีเจาะเกมคอมแพ็คของเอฟเวอร์ตัน
การคอมแพ็ค(compact) หรือ การบีบอัดพื้นที่ของเอฟเวอร์ตัน ก็มีปัญหาโดยธรรมชาติของมัน
การคอมแพ็คพื้นที่ ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่บริเวณริมเส้นทั้งสองข้าง
จากจังหวะนี้ มาติชพยายามเปิดบอลข้ามไปยังพื้นที่ว่างริมเส้น
ในตอนแรกแมนยูพยายามเจาะตรงกลางแล้วไม่เป็นผล จึงเปลี่ยนไปเจาะพื้นที่ว่างดังกล่าว
โดยอาศัยผู้เล่นมิดฟิล์ด3คน ขยับมารับส่งบอลกันริมเส้นมากขึ้น
การกดดันพื้นที่ริมเส้น ส่งผลให้พวกเขาสามารถต่อบอลเข้าไปยังพื้นที่สุดท้ายได้สำเร็จ
ในAction Areaนึง การจะเอาชนะในAreaใดๆได้นั้น นอกจากความสามารถเฉพาะตัวของนักเตะแล้ว
การเพิ่มความได้เปรียบในแง่จำนวนผู้เล่นต่อพื้นที่(Numerical Advantage)ก็สำคัญไม่แพ้กัน
จากจังหวะนี้ จะเห็นว่า มาร์กซิยาลฉีกไปริมเส้นเพื่อรับบอล จากนั้นเฟรดและบรูโน่ เข้าไปช่วย มาติชก็คอยซัพพอร์ตอยู่ข้างหลัง ในขณะเดียวกัน ฟูลแบ็คอย่างลุคชอว์ก็พร้อมวิ่งสอด
ดังนั้น จังหวะนี้ แมนยูมีผู้เล่นในพื้นที่นั้นถึง5คน ทำให้พวกเขาสามารถเคาะบอล และหาช่องเจาะเข้าไปพื้นที่สุดท้ายได้สำเร็จ
ตัวอย่างการขึ้นเกมริมเส้นในระบบไดม่อน
มาร์กซิยาลโหม่งชงให้ เฟรดที่ขยับไปเล่นฝั่งซ้าย
และเฟรดครอสบอลจากริมเส้นได้แย่งแม่นยำ
เฟรดประสานงานกับลุคชอว์ที่วิ่งโอเวอร์แลป และเข้าพื้นที่สุดท้ายได้สำเร็จ
การแก้เกมของอันเชล็อตติในครึ่งหลัง
หลังจากที่จบครึ่งแรกด้วยผลเสมอ1-1 ทำให้อันเชล็อตติเริ่มเกมครึ่งหลังด้วยการสั่งการให้นักเตะของเขาเล่นเพรสซิ่งมากขึ้น ทำให้กลางของแมนยูเจอปัญหาในการขึ้นเกม
จากตัวอย่างนี้ เลย์ตัน เบนส์ ออกจากไลน์กองหลัง เพื่อกดดันเข้าใส่ผู้เล่นริมเส้นของแมนยู
เป็นอีกครั้งนึงที่การเพรสซิ่งอย่างดุดันของเบนส์ ทำให้แมนยูไม่สามารถขึ้นเกมจากพื้นที่ด้านข้างได้อีก โดยเขาขึ้นมาเพรสซิ่งทันทีที่แมคโทมิเนย์พยายามจะพลิกบอลออกไปพื้นที่ด้านข้าง
จากการเล่นเพรสซิ่งมากขึ้นของเอฟเวอร์ตัน ทำกลางของแมนยูไม่สามารถขึ้นเกมได้สะดวกเหมือนในครึ่งแรก
บอลไดเรคของเอฟเวอร์ตันสุดอันตราย
จากสถิติการผ่านบอลยาวของพิคฟอร์ด ทั้งหมด15 ครั้ง ผ่านบอลสำเร็จมากถึง11ครั้ง ซึ่งเป็นการผ่านบอลยาวไปให้ศูนย์หน้าเจ้าของความสูง187ซม.อย่าง คัลเวิร์ต-เลวิน โดยศูนย์หน้าสัญชาติอังกฤษรายนี้เอาชนะการดวลกลางอากาศไปถึง11ครั้ง ส่วนริชาร์ลิสัน เอาชนะได้7ครั้ง
เทคนิคในการเล่นบอลไดเรคของเอฟเวอร์ตัน คือ เมื่อบอลยาวถูกโยนยาวมาให้คัลเวิร์ต-เลวิน ผู้เล่นคนอื่นๆจะต้องเข้าไปอยู่รอบๆเขา เพื่อรอเก็บจังหวะสอง
ดังภาพ ปีกอย่าง ทีโอ วอล์คอต และ กิฟฟี่ ซิกูดร์สัน จะหุบเข้ากลาง และเดวิส กับ โกเมสก็เข้ามารอเก็บจังหวะสองเช่นกัน จากตัวอย่างนี้แม้กระทั่งซิกูดร์สัน ที่เล่นเป็นมิดฟิล์ดตัวซ้าย แต่ก็ขยับมาทางขวาเพื่อเข้ามารับบอลจังหวะสองจากคัลเวิร์ต-เลวิน
การรับมือกับบอลครอสของเอฟเวอร์ตัน
การครอสบอลจากริมเส้นของเอฟเวอร์ตัน ถือเป็นอีกหนึ่งอาวุธที่น่ากลัวสำหรับเกมรุกของพวกเขา
เมื่อไหร่ก็ตามที่ฟูลแบ็คของเอฟเวอร์ตันได้บอล พวกเขาจะพยายามครอสบอลจากริมเส้น
จากสถิติ เบนส์ และซิดิเบ้ มีจังหวะครอสรวมกันถึง10ครั้งในเกมนี้ (ไม่รวมเตะมุม)
ดังนั้น แมนยูจึงเพิ่มการป้องกันจากการครอสบอลด้วยการเพิ่มผู้เล่นตัวสูงๆ
เข้าไปยืนระหว่างสองเซ็นเตอร์แบ็ค เพื่อลดระยะห่างระหว่างผู้เล่นในเกมรับ
จังหวะนี้ มาติชช่วยโหม่งเคลียร์บอลครอสของเอฟเวอร์ตัน
ดังนั้น ในเกมนี้พวกเขาจึงสามารถรับมือกับลูกกลางอากาศได้อย่างยอดเยี่ยม
จากสถิติในเกมนี้ แมกไกวร์ เอาชนะได้ 6 ครั้ง(คิดเป็น75%) ของการดวลทั้งหมด,
มาติช ชนะ3 ครั้ง(คิดเป็น 50%) และลินเดอเลิฟ 2 ครั้ง (คิดเป็น50%) ซึ่
งในเกมนี้เอฟเวอร์ตันมีการครอสบอลทั้งหมด15ครั้ง
แต่ผู้เล่นเอฟเวอร์ตันโหม่งเอาชนะได้เพียง3ครั้ง หรือคิดเป็น20%เท่านั้น.
เกมรุกแมนยูขาดความดุดัน
“Pace and power, Man United, that's what we are,”
โซลชาร์เคยพูดถึงปรัชญาเกมรุกของแมนยูเอาไว้ว่า "ต้องรวดเร็ว และดุดัน"
แต่ดูเหมือนว่าในเกมนี้พวกเขาจะขาดสิ่งนี้ไป จากการที่แมนยูขาดผู้เล่นที่มีความเร็วอย่าง
แรชฟอร์ด และ เดเนี่ยล เจมส์ ทำให้ในเกมนี้จังหวะสวนกลับของพวกเขาดูจะด้อยคุณภาพไปอย่างเห็นได้ชัด
จากตัวอย่างนี้ แมนยูพยายามจะสวนกลับ แต่ทว่าเมื่อเฟรดได้บอล และพยายามมองไปข้างหน้า
แต่กลับไม่มีใครให้ส่ง ทำให้ต้องครองบอลนาน และเสียบอลในที่สุด
อีกจังหวะนึง แมนยูพยายามจะสวนกลับเร็วแต่ทำได้ไม่ดี และทำให้เอฟเวอร์ตันแย่งบอลกลับไปครองได้อีกครั้ง
แผนไดม่อน ไม่เหมาะสำหรับการเล่นเกมสวนกลับ
ดังนั้น โซลชาร์ต้องปรับแผนอีกครั้งด้วยการ เปลี่ยนไปเล่นกลางแบบdouble pivot
ในระบบ4-2-3-1 โดยมีมาร์กซิยาลฉีกไปเล่นทางซ้าย มาต้าเล่นทางขวา โดยมีอิกฮาโล่เป็นกองหน้าตัวเป้า
ส่งผลให้พวกสามารถเล่นเกมสวนกลับได้สำเร็จ
--จบ--
แล้วท่านทั้งหลาย
คิดว่าในสภาพทีมที่ขาดผู้เล่นที่เล่นแนวลึกแบบนี้ คิดว่าแมนยูควรใช้แผนใด?
ปล.หวังว่ากระทู้หน้า จะได้แปลบทความ แมนยูเอาชนะแมนซิตี้ด้วยวิธีใด นะครับ
คืนนี้สู้โว้ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย
ที่มา :
https://totalfootballanalysis.com/match-analysis/premier-league-201920-everton-vs-manchester-united-tactical-analysis-tactics