Thailand VS America on "Infrastructure"
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89/658330464210910
Thailand VS America on "Infrastructure"
ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาและต้นปีนี้ หนึ่งประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดในสังคมไทยคงหนีไม่พ้นเรื่อง "รถไฟความเร็วสูง" ของท่านรัฐมนตรี ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หรือที่รู้จักกันในนาม ชัชชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี โพสต์นี้จะไม่พูดถึงรายละเอียดของเรื่องราวในเมืองไทยมากนัก เพราะคงรู้กันดี หรือสามารถหาอ่านได้ทั่วไปจากหลายๆ ที่ แต่จะเล่าถึงเรื่องราวของทางฝั่งอเมริกา ว่ามีประเด็นในเรื่องนี้อย่างไร
ประเทศที่พัฒนาไปไกลสุดขอบโลกอย่างอเมริกา ก็มีปัญหาในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานหรือ Infrastructure (ถนน, สะพาน, รถไฟ และอื่นๆ) ไม่แพ้กัน จากการประมาณการความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก Infrastructure ไม่ดีนั้นพบว่า เมื่อถึงปี 2020 จะมีมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านล้านดอลล่าร์ หรือประมาณ 100 ล้านล้านบาท โดยคุณภาพ Infrastructure ของอเมริกานั้นอยู่ในอันดับที่ 24 (จัดโดย World Economic Forum 2013) ซึ่งแน่นอนว่าไม่เป็นที่น่าพอใจกับประเทศยักษ์ใหญ่ที่ต้องการเป็นผู้นำของโลกอย่างอเมริกา
แต่เห็นแบบนี้แล้ว อเมริกาก็ไม่ได้ใส่ใจในการพัฒนา Infrastructure เท่าใดนัก เพราะ Infrastructure เดียวที่สภาฯ ดูมีท่าทางจะอนุมัติ คือ งบประมาณเพื่อใช้ในการสร้างรั้วกั้นระหว่างชายแดนอเมริกากับ Mexico จนถูกเหน็บแนมอย่างเจ็บแสบโดยนักวิจารณ์ว่า "ในขณะที่จีนกำลังสร้าง infrastructure ที่ทันสมัย เราก็กำลังสร้าง 'กำแพงเมืองอเมริกา' เพียงแต่กำแพงนี้ใช้ป้องกันชาวนาชาวไร่ ไม่ได้ใช้ป้องกันข้าศึกเหมือนกำแพงเมืองจีน"
กลับมามองที่เมืองไทยของเราดูสักหน่อย ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นว่าเราควรหรือไม่ควรอนุมัติเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนี้ คุณคิดว่ามีสักกี่คนที่ได้ไตร่ตรองวิเคราะห์ถึงประเด็นเหล่านี้? ในขณะที่หลายล้านคนรู้ว่า ถ้าอนุมัติโครงการนี้ เราจะเป็นหนี้ชั่วลูกชั่วหลานตกหัวละหลายหมื่น ผมเชื่อว่ามีคนเพียงหยิบมือที่รู้ว่าการพัฒนา Infrastructure มีประโยชน์อย่างไร
คุณต้องรู้เรื่องนี้จริงๆ ครับ