เมื่อก่อนนี้ก็คิดว่าคิดเรื่องนี้ไปคนเดียวแต่เมื่อมาได้ยินเรื่องนี้เมื่อตอนที่ไปเรียนที่สถาบันพระปกเกล้า ตอนที่ฟังบรรยายยังคิดว่าอาจารย์ที่สอนคิดมากเกินไป เมื่อได้มาอ่านหนังสือAs The Future Catches Youจึงรู้ว่ามีคนคิดแบบนี้อยู่มาก และเป็นเรื่องน่าคิด หนังสือเล่มนี้ อ้างถึงคำพูด ลี กวน ยู ที่ว่า "Will Singapore the independent city - state disappear? The island will not, but the sovereign nation, could vanish"
POINT คือ Initiative In Transport ซึ่งเป็นการประชุมในลักษณะสหภาคี ที่ต่อเนื่องมาจากการริเริ่มในระดับรัฐบาล ในส่วนของเรื่องรถไฟ ได้มีการจัดประชุมไปแล้วหลายครั้งมาถึงการประชุมครั้งนี้ ซึ่งเรียกว่าThe 1st Collaborative Survey Committee (CSC)ซึ่งผู้นำในการจัดประชุมคือ Ministry of Land , Infrastructure and Transport (MLIT)หน่วยงานนี้ แต่เดิมไม่ได้ใช้ชื่อนี้ เมื่อปี 2543 ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปร่วมประชุม ยังใช้ชื่อกระทรวงขนส่ง ซึ่งเป็นชื่อเก่า แต่หลังจากทำการปรับโครงสร้างในปีนั้นแล้ว กระทรวงนี้ก็ใหญ่ขึ้น เพราะรวมเรื่องการขนส่งทางบกและโครงสร้างขนส่ง มาไว้ในกระทรวงเดียวกันทั้งหมด นึกว่าปรับแล้วใหญ่ขึ้นจะมีแต่ที่ประเทศไทย !
เรื่องรถมอเตอร์ไซค์บนถนนนี้ผู้เขียนได้นำไปยกเป็นตัวอย่างเรื่อง การสร้างสำนึกในการเปลี่ยนแปลง(Establishing The Sense of Urgency)หลายครั้งแล้ว เพราะเป็นตัวอย่างที่ดี กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงมักจะมาจากความรู้สึกว่าอะไรต้องเปลี่ยน และถ้าเราไม่เปลี่ยนเราก็มีชีวิตต่อไปได้ แต่ด้วยวิถีทางของชีวิตอีกแบบหนึ่ง เราไม่เปลี่ยนเรื่องมอเตอร์ไซค์บนถนนเราก็อยู่ต่อไปได้ เพียงแต่อยู่ในแบบที่คนอื่นเขาอาจจะมองว่าเราล้าหลังแต่ถ้าเราไม่แคร์ ไม่เห็นว่าเป็นปัญหา
แล้วยังไง"So what?"
จบตอนที่ 1
อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม
โดย อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)
เรียบเรียง โดยNathapong, Black Express andCivilSpice