ถ้าสังเกตหนังฮอลลิวู้ด จะเห็นเค้าทำหนังออกมาชื่นชมประเทศของเค้าเสมอ
โดยเฉพาะในด้านของหนังสงคราม เช่น We were solider หรือ Band of brothers
แต่ไทยล่ะ? วีรบุรุษของไทยหลาย ๆ ท่านที่สละชีพเพื่อให้แผ่นดินไทยดำรงอยู่กับถูกลืมเลือน แต่พวกเรากลับรู้จักแต่วีรบุรุษของต่างชาติ
ผมเลยคิด ๆ ดูว่าน่าจะนำเรื่องราวของวีรบุรุษไทยมาให้อ่านกันน่ะครับ
ปล. ภาพขอขอบคุณคุณผบ.กรมฯจาก wing21 ด้วยครับ
มูลเหตุก็คือหลังจากที่เราเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศสมากเหลือเกิน รวมทั้งเส้นเขตแดนที่ไม่เป็นธรรมระหว่างไทยและอินโดจีนฝรั่งเศส ในส่วนของเส้นเขตแดนไทยพยายามดำเนินการขอเปลี่ยนให้ยุติธรรมเสมอมาคือ ให้ถือร่องน้ำตรงกลางแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต จนปี 2479 ระหว่างไทยเจรจาสนธิสัญญาการค้ากับฝรั่งเศส ไทยจึงเสนอขอปรับปรุง แต่ฝรั่ง้เศสขอพักไว้เพื่อเจรจาในการทำสนธิสัญญาเกี่ยวกับอินโดจีนโดยเฉพาะ ไทยจึงยินยอมรอเพื่อไมตรี
ต่อมาฝรั่งเศสขอทำสัญญาไม่รุกรานกับไทย ไทยจึงหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ในตอนแรกฝรั่งเศสก็ตอบรับ จนทำให้มีการเซ็นสัญญาไม่รุกรานกันเมื่อ 12 มิ.ย. 2483 ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเยอรมัน ฝรั่งเศสได้แจ้งมาว่าจะส่งเจ้าหน้าที่มาเจรจาต่อ รัฐบาลไทยจึงยื่นข้อเสนอว่า
1. ให้วางแนวเขตแดนเป้นไปตามหลักสากล
2. ปรับปรุงเขตแดนให้เป้นธรรมชาติโดยให้ถือแม่น้ำโขงเป้นแนวแบ่งเขต
3.ให้ฝรั่งเศสรับรองว่าถ้าอินโดจีนเปลี่ยนจากอธิปไตยฝรั่งเศสไป ฝรั่งเศสจะต้องคืนลาวและกัมพูชาให้ไทย
"ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธทั้งหมด"
จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาจากนักเรียน นักศึกษา ประชาชน เป็นจำนวนมาก โดยนักเรียนเตรียมอุดมศึกษานักเรียนเตรียมปริญญามธ. ได้เดินขบวนเมื่อ 8 ต.ค. 2483 เพื่อสนับสนุนรัฐบาลและเรียกร้องเอาดินแดนคืน มีการประท้วงหลายครั้งทั่วประเทศ
ในการเจรจาฝรั่งเศสพยายามบ่ายเบี่ยงตลอด ยิ่งกว่านั้นฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบินล่วงล้ำมาตรวจการณ์ในฝั่งไทยเสมอ
จนวันที่ 27 พ.ย. 2483 เครื่องบินฝรั่งเศส 1 เครื่องบินเข้ามาถ่ายภาพสถานที่ราชการณ์ในนครพนม ไทยจึงส่งเครื่องบินออกขับไล่และยิงเครื่องบินฝรั่งเศสจนต้องหนีไปบริเวณท่าแขก เหตุการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นจนวันที่ 28 พ.ย. 2483 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบิน 5 เครื่องเข้ามาทิ้งระเบิดที่นครพนม ไทยจึงส่งเครื่องบินเข้าต่อสู้ นำโดยนาวาอากาศตรี ศานิต นวลมณี นำเครื่อบ.จ.1 คอร์แซ และ บ.ข.10 ฮอกค์ 3 เข้าต่อต้าน
รูปนี้คือเครื่องคอร์แซครับ
เครื่องฮอกค์ 3 ครับ
ผลการต่อสู้คือเครื่องบินไทยไม่ได้รับความเสียหาย ส่วนเครื่องบินฝรั่งเศสบินกลับได้ 4 เครื่อง อีกหนึ่งเครื่องคงสงในเขตอินโดจีนฝรั่งเศส
นับว่าเป็นการต่อสู้ทางอากาศครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย
ส่วนกองทัพบกก็ได้จัดกำลังกองทัพบกสนามขึ้น โดยมีการเคลื่อนกำลังพลดังนี้ครับ
กองทัพบกไทยสร้างวีรกรรมไว้มากมาย โดยที่เด่นชัดและน่าภูมิใจที่สุดคือการรบของกองพันทหารราบที่ 3 (ปจุบันคือกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์) กับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 ของฝรั่งเศส ซึ่งเป้นหน่วยกล้าตายที่ประวัติการรบเกรียงไกรมาก โดยไทยมีพันตรี ขุนนิมมานกลยุทธ (นิ่ม ชโยดม) เป็นผู้บังคับกองพัน
ผลจากการรบไทยเสียทหาร 3 นาย บาดเจ็บ 5 นาย ส่วนฝรั่งเศสเสียชีวิต 110 นาย บาดเจ็บ 250 นาย สุญหาย 58 นาย ถูกจับ 21 นาย ซึ่งไทยสามารถยึดธงชัยเฉลิมพลประดับเหรียญกล้าหาญครัวซ์เดอร์แกร์ไว้ได้ ดังภาพครับ
ปล. ทางทหารถือว่าธงชัยเฉลิมพลคือสิ่งที่ควรเทิดทูนสูงสุด สำหรับไทยธงชัยเฉลิมพล หมายถึงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ส่วนหนึ่งของเฉลยฝรั่งเศษทั้ง 21 คน
คนหน้าสุดคือผู้บังคับกองพันที่ 3 ของฝรั่งเศษ
ส่วนกองทัพอากาศได้โจมตีที่ตั้งทางทหารต่าง ๆ หลายแก่ง ภาพนี้เป้นการโจมตีเมืองศรีโสภณ ถ่ายจากเครื่องบินที่กำลังโจมตี โดยการโจมตีนำโดย เรืออากาศตรี ศานิต(ยศสุดท้ายคือนาวาตรี)
ต่อมาวันที่ 8 ธ.ค. 2483 เรืออากาศตรี ผัน สุวรรณรักษ์ ได้รับคำสั่งให้นำเครื่องฮอกค์ 75 3 เครื่อง โดยมีจ่าอากาศเอก สังวาล วรทรัพย์ และจ่าอากาศเอกสละ เกษียณบุตร ทำการคุ้มกันเครื่องบ.จ. 1 คอร์แซ ซึ่งเรืออากาศโท ศานิต นวลมณีเป็นนักบินไปโจมตีนครเวียงจัทร์ หลังจากปฏิบัติการผลปรากฏว่าที่หมายถูกทำลาย แต่เครื่องของเรืออากาศโทศานิตถูกยิงปลายปีกซ้ายขาด แต่ตัวนักบินปลอดภัย
วันที่ 10 ธ.ค. 2483 เครื่องบินฝรั่งเศส1 เครื่องได้ทิ้งระเบิดที่จังหวัดอุดรธานร ทำให้ราษฎรไทยเสีชีวิต 2 คน บาดเจ็บสาหัส 1 คน เล็กน้อย 5 คน ไทยจึงตอบโต้ด้วยการให้ทหารปกยิงปืนใหญ่ ปืนเล็ก ปืนกลไปยังท่าแขก กองทัพอากาศได้ส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดหลายแห่ง ในเวลา 7.50 เรืออากาศโท ศานิต นวลมณีนักบินพร้อมด้วยจ่าอากาศเอกเฉลิม ดำสัมฤทธิ์ พลปืนหลังได้ทำการโจมตีนครเวียงจันทร์ ซึ่งมีการต่อต้านอย่างแน่นหนา กระสุนของข้าศึกถูกจ่าอากาศเอกเฉลิม ดำสัมฤทธิ์ พลปืนหลังเสียชีวิตทันที กระสุนยังถูกถังน้ำมันเกิดไฟไหม้ และถูกหัวเข่าของเรืออากาศโท ศานิต นวลมณีบาดเจ็บ เรืออากาศโท ศานิต นวลมณีได้พยายามนำเครื่องมาลงที่ฝั่งไทย แต่ถูกไฟลวกอย่างหนักจนต้องกระโดดร่มลงมา เครื่องบินและเรืออากาศโท ศานิต นวลมณีตกลงที่หนองน้ำบ้านพรานพร้าว อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เรืออากาศโท ศานิต นวลมณีบาดเจ็บสาหัส ทางการได้ส่งตัวเข้ารักษาที่กรุงเทพจนวันที่ 23 ธ.ค. 2483 เรืออากาศโท ศานิต นวลมณีก็ถึงแก่กรรม
วีรกรรมอันกล้าหาญของเรืออากาศโท ศานิต นวลมณีทำให้กองทัพอากาศได้นำชื่อท่านมาตั้งเป็นชื่อฝูงบินชื่อ ฝูงบินศานิต ซึ่งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี
ในภาพคือนาวาอากาศตรี (เรืออากาศโท) ศานิต นวลมณีครับ
ส่วนกองทัพเรือนั่นได้กระทำยุทธนาวีกับกองทัพเรือฝรั่งเศส เป็นยุทธนาวีครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทยที่นำเกียรติศักดิ์สูงสุดมาสู่ราชนาวีไทย คือ "ยุทธนาวีเกาะช้าง"
กำลังฝ่ายไทยมีจำนวน 3 ลำคือเรือหลวงธนบุรี เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี
ในภาพคือเรือหลวงธนบุรี 4 วันก่อนยุทธนาวี
กำลังทางเรือของฝรั่งเศสจำนวน 7 ลำที่ต้องการมาระดมยิงฝั่งทางภาคตะวันออกของไทย นำโดยเรือลามอปิเกต์ซึ่งเรือลำนี้ลำเดียวก็มีระวางขับน้ำมากกว่าเรือของไทย 3 ลำรวมกัน
ในภาพคือเรือลามอปิเกต์ที่เวียดนามครับ
เปรียบเทียบกำลังทางเรือของทั้งสองฝ่าย ภาพขอขอบคุณคุณ OA แห่ง Wing21 ครับ
โดย พลเรือเอกจิตต์ สังขดุลย์
ลำดับเหตุการณ์การรบระหว่างเรือตอร์ปิโดไทย ๒ ลำ กับ หมวดเรือฝรั่งเศส ๕ ลำ :
๑. เวลา ๐๖.๑๐ น. เรือรบหลวงสงขลา เห็นเรือลามอตต์ปิเกต์ โผล่จากเกาะหวาย ความเร็วประมาณ ๒๐ น้อต ต้นปืนจึงสั่งยิงปืนใหญ่ไปยังข้าศึก ตั้งระยะศูนย์ ๑๐,๐๐๐ เมตร
๒. เรือลามอตต์ปิเกต์ ยิงตอบแต่กระสุนไปตกที่เกาะง่าม เรือรบหลวงชลบุรี จึงช่วยยิง โดยตั้งระยะศูนย์ ๑๒,๐๐๐ เมตร
๓. เมื่อเรือรบหลวงชลบุรียิงกระสุนตับแรกไปแล้ว จึงเห็นเรือเรือสลุป อามิราล ชาร์เนร์ (L’Amiral Charner) และ เรือสลุป ดูมองต์ ดูร์วิลล์ (Le Dumont d’Urville) โผล่มาระหว่างเกาะหวาย เกาะคลุ้ม และในเวลาใกล้เคียงกันก็เห็น เรือช่วยรบ ตาอูร์ (Tahure) และ เรือช่วยรบ มาร์น (Marne) โผล่มาทางแหลมเบ้าอีก เรือรบหลวงชลบุรีจึงเปลี่ยนให้ปืน ๑ ปืน ๒ มายิงข้าศึกทางแหลมเบ้า โดยตั้งระยะศูนย์ ๘,๐๐๐ เมตร ส่วนปืนท้ายให้ยิงเรือสลุป ดูมองต์ ดูร์วิลล์ โดยตั้งระยะศูนย์ ๘,๐๐๐ เมตร
๔. เรือรบหลวงสงขลา ทำการยิงกับเรือลามอตต์ปิเกต์ กระสุนตกต่ำมาก จึงแก้ระยะศูนย์เป็น ๑๔,๐๐๐ เมตร กระสุนตกสูง จึงแก้ระยะศูนย์เป็น ๑๒,๐๐๐ เมตร กระสุนเข้าเป้า
๕. เวลา ๐๖.๑๕ น. เรือสลุป ดูมองต์ ดูร์วิลล์ เล็งยิงเรือตอร์ปิโดไทย โดยใช้เปลวไฟปากกระบอกปืนเป็นเป้า
๖. เวลา ๐๖.๒๓ น. เรือสลุป อามิราล ชาร์เนร์ เล็งยิงเรือตอร์ปิโดไทย โดยใช้เปลวไฟปากกระบอกปืนเป็นเป้า
๗. เวลา ๐๖.๒๕ น. เรือช่วยรบ ตาอูร์ และเรือช่วยรบ มาร์น เริ่มยิง และร่นระยะยิงเข้ามาจนถึง ระยะ ๓, ๗๐๐ เมตร และ๒, ๖๐๐ เมตร
๘. เวลา ๐๖.๔๕ น. เรือรบหลวงสงขลาสละเรือใหญ่ เรือเริ่มเอียงกราบซ้าย และคว่ำเวลา ๐๖.๕๓ น.
๙. เวลา ๐๖.๕๐ น. เรือรบหลวงชลบุรีสละเรือใหญ่ เพราะท้ายเรือเริ่มจม เรือจมมิดลำเวลา ๐๖.๕๕ น.
ในภาพคือแผนที่แสดงการยุทธครับ
การรบของเรือรบหลวงธนบุรี
๑. เวลา ๐๖.๑๐ น. ยามบนดาดฟ้าไฟฉาย ตะโกนว่า “เรือบินมาทางท้ายเรือขวา ๑ ลำ” ผู้บังคับการเรือส่องกล้องดูเห็นเป็นเครื่องบินฝรั่งเศสจึงสั่งประจำสถานีต่อสู้อากาศยานทันที แต่ไม่ได้ยิงเพราะเรือบินข้าศึกเลี้ยวไประหว่างเกาะช้างและเกาะง่ามเสียก่อน
๒. ผู้บังคับการเรือสั่งเตรียมเรือเข้ารบ ยามสะพานเดินเรือรายงานว่าเห็นเรือข้าศึกปลายเกาะช้าง ผ่านช่องเกาะไม้ซี้และเกาะง่าม มุ่งไปทิศตะวันออกด้วยความเร็ว ๒๐ นอต ปืนท้ายเรือยิงไปทางเกาะง่าม
๓. เวลา ๐๖.๓๐ น. ปืนทั้งสองป้อมพร้อม ผู้บังคับการเรือสั่ง “เดินหน้าเต็มตัวทั้งสองเครื่อง” และ “เตรียมรบกราบขวา”
๔. เวลา ๐๖.๓๕ น. เรือลามอตต์ปิเกต์ โผล่ออกจากเกาะไม้ชี้ใหญ่ การรบระหว่าง เรือรบหลวงธนบุรี และเรือลามอตต์ปิเกต์ เริ่มขึ้นทันทีด้วยอาวุธปืนใหญ่ในระยะ ๑๓,๐๐๐ เมตร
๕. กระสุนของข้าศึก ถูกห้องกะลาสีท้ายเรือทะลุน้ำเข้าได้ กระสุนอีกนัดหนึ่งระเบิดบริเวณที่ลำเลียงลูกปืนเบาภายในช่องทางเดินหน้าห้องนายทหารใต้ดาดฟ้า เกิดไฟไหม้ ทหารตายทันที ๒ นาย บาดเจ็บอีกกว่า ๑๐ นาย กระสุนอีกนัดหนึ่งระเบิดในห้องนายพล ทหารตาย ๑ นาย บาดเจ็บ ๘-๙ นาย ส่วนหนึ่งของกระสุนนัดนี้ระเบิดเข้าไปในหอบังคับการ ผู้บังคับการเรือถูกสะเก็ดระเบิดตัดขาขวาหมดสติทันที เครื่องถือท้ายขัดข้อง เรือเริ่มเลี้ยวเป็นวงกลม เรือลามอตต์ปิเกต์ บังเกาะไม้ชี้ มีเรืออามิราล ชาร์เนร์ เรือดูมองต์ ดูร์วิลล์ และเรือช่วยรบ ตาอูร์ โผล่ออกมายิงแทน
(ภาพถ่ายจากเรือหลวงช้างที่มาช่วย สังเกตุว่าไฟไหม้แล้ว)
๖. เรือลามอตต์ปิเกต์ เริ่มโผล่ออกจากเกาะไม้ชี้อีก รวมกำลังเป็น ๔ ลำ ระดมยิงมาที่เรือรบหลวงธนบุรีลำเดียว
๗. เวลา ๐๗.๔๕ น. ในระหว่างรบติดพัน เครื่องบินทะเลข้าศึกอีกหนึ่งเครื่องบินมาเหนือเรือรบหลวงธนบุรีจิกหัวทิ้งระเบิดระยะต่ำ ลูกหนึ่งตกข้างเรือกราบซ้าย อีกลูกหนึ่งถูกห้องสูทกรรม (ห้องครัว) ทางกราบขวาทะลุดาดฟ้าไม้ลงไประเบิดในห้องทหาร ตาย ๒ นาย บาดเจ็บ ๓-๔ นาย (ปืนเบาไม่ได้ยิงเพราะพลประจำปืนส่วนมากได้รับบาดเจ็บ)
๘. เรือลามอตต์ปิเกต์ ถูกกระสุนปืนของเรือรบหลวงธนบุรีสะพานเดินเรือหักไฟไหม้ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ชักธงและเปิดหวูด ๓-๔ ครั้งส่งสัญญาณให้ถอยและบังเกาะไม้ชี้ออกไป
๙. เวลา ๐๘.๒๐ น. เรือรบหลวงธนบุรีหยุดยิง และดับไฟอย่างเต็มความสามารถ
๑๐. เวลา ๐๘.๕๐ น. เรือรบหลวงธนบุรีเห็นเครื่องบินฝ่ายเรา ๓ เครื่อง ติดตามไปทิ้งระเบิดข้าศึก
๑๑. เรือรบหลวงช้างเข้าเทียบกราบขวาเรือรบหลวงธนบุรีช่วยดับไฟและลำเลียงคนเจ็บ แต่ไฟยังคงลามไปทางคลังนัดดินป้อมหัว เรือเอก ทองอยู่ สว่างเนตร ต้นเรือเรือรบหลวงธนบุรี จึงให้เรือรบหลวงช้างจูงไปเกยตื้น และสั่งสละเรือใหญ่
๑๒. เรือรบหลวงธนบุรีซึ่งเกยตื้นอยู่นั้นเริ่มตะแคงทางกราบขวามากขึ้นทุกที ในที่สุดเวลาประมาณ ๑๖.๔๐ น. กราบเรือทางขวาเริ่มจมน้ำมากขึ้นตามลำดับ เสาทั้งสองเอนจมลงไป กราบซ้ายและกระดูกงูกันโคลงโผล่อยู่พ้นน้ำ
เรือรบหลวงธนบุรีกำลังจม ถ่ายจากเครื่องบินคอร์แซ
การสั่งใช้กำลังทางอากาศ
๑. เรืออากาศโท บุญนำ สังขภูติ ทำการแทนผู้บังคับฝูงบินขับไล่ สั่งให้ พันจ่าอากาศเอก อนันต์ พุทธจริยวงศ์ เป็นหัวหน้าหมู่ ใช้เครื่องบินแบบ ๑๗ ฮ้อค ๓ ติดระเบิดขนาด ๕๐ กก. นำหมู่ไปทิ้งระเบิดเรือข้าศึก กลับมารายงานว่า เรือรบหลวงธนบุรี ถูกเรือรบข้าศึกยิงไฟไหม้
๒. เรืออากาศโท บุญนำ สังขภูติ ทำการแทนผู้บังคับฝูงบินขับไล่ สั่งให้ เรืออากาศตรี ประสงค์ คุณะดิลก เป็นหัวหน้าหมู่ ใช้เครื่องบินแบบ ๑๗ ติดระเบิดขนาด ๒๕๐ กก. จ่าอากาศเอก อุทัย สังเนตร และจ่าอากาศโท หิรัญ ศิริพรรค เป็นลูกหมู่ ติดระเบิดขนาด ๕๐ กก. วิ่งขึ้น เวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น. บินที่ระยะสูง ๓, ๐๐๐ เมตร เลยเกาะช้างไปหน่อย ก็เห็นเรือลามอตต์ปิเกต์ได้อย่างชัดเจน เข้าใจว่าปฏิบัติภารกิจเสร็จแล้ว และรวมกองเดินทางกลับ ดำมุม ๙๐ องศา ลงทิ้งระเบิดขนาด ๒๕๐ กก.ถูกท้ายเรือ สังเกตการณ์จาก จ่าอากาศเอก อุทัย สังเนตร ซึ่งเป็นหมายเลข ๒ เห็นฝุ่นขาวฟุ้งแต่ไม่ระเบิด หมายเลข ๒ และ หมายเลข ๓ ดำลงทิ้งระเบิดตามไป สังเกตการณ์โดยหัวหน้าหมู่ เห็นระเบิดตกห่างท้ายเรือ
๓. เรืออากาศเอก ถนอม ปิณฑแพทย์ ผู้บังคับฝูงบินตรวจการณ์ สั่งให้ พันจ่าอากาศตรี อรรจถ์ สุริโยธิน เป็นหัวหน้าหมู่จ่าอากาศโท จำรัส ม่วงประเสริฐ เป็นหมายเลข ๒ ใช้เครื่องบินแบบ ๒๓ คอร์แซร์ ติดระเบิด ๕๐ กก. ออกตรวจการณ์ทิ้งระเบิดข้าศึก เมื่อหมู่คอร์แซร์บินเลียบฝั่งทะเลมาถึงบริเวณเกาะช้าง และบินวนรอบเกาะช้างเห็นเรือรบหลวงธนบุรีเอียงอยู่มีไฟลุกกลางลำ มีเรือรบหลวงช้างกระหนาบข้างมาเกยตื้นที่แหลมงอบ ห่างจากเกาะช้างไปประมาณ ๑๐-๑๕ นาที ถึงทะเลลึก จากระดับสูง ๑,๐๐๐ เมตร เหนือเมฆ สังเกตเห็นเรือรบขนาดใหญ่ ดาดฟ้าสีแดงอิฐเผา คือเรือลามอตต์ปิเกต์ มีเรือขนาดเล็กกว่าสีขาว คุ้มกันข้างละ ๓ ลำ บ่ายหน้าออกทะเลลึกทางทิศตะวันตกใช้ความเร็วเต็มฝีจักร กลุ่มควันดำผุดขึ้นมาเหนือเมฆ ข้างลำตัวสูงบ้างต่ำบ้าง คือกลุ่มกระสุนจากปืนเรือข้าศึก คอร์แซร์ปรับรูปขบวนพลิกตัวดำลงทิ้งระเบิดทันที ลามอตต์ปิเกต์ เลี้ยวหลบเป็นวงกลม หันด้านข้างให้เป็นเป้าเล็กลง ในขณะที่เรือพี่เลี้ยงสาดกระสุนใส่หมู่คอร์แซร์ถี่ยิบ ขากลับเลียบฝั่งทะเลเข้ามาทางเกาะช้าง เห็นคอร์แซร์หมู่ใหญ่บินมาในระยะต่ำเลียบชายฝั่งไปทางเกาะกง
ในภาพคือ นาวาอากาศโท จำรัส ม่วงประเสริฐ นักบิน ทอ. ลำดับที่ ๔๙๖
ระเบิดที่ทิ้งถูกเรือรบหลวงธนบุรี
๑. จ่าโท เฟี้ยม สกุลมั่น ทหารเหล่าปืนใหญ่ประจำเรือรบหลวงธนบุรี รายงานว่า “...ตอนนี้เสียงนอกป้อมไชโยกันลั่นไปหมด ข้าพเจ้าถามนายป้อมว่า ชัยชนะอะไรกันอีก นายป้อมได้ยินแว่วๆว่าเครื่องบินของเรามา ได้ยินพวกเราข้างนอกป้อมไชโยกันขึ้น แต่ยังไม่ทันสิ้นเสียงไชโย เครื่องบินที่คาดว่าเป็นพวกเดียวกัน ก็หย่อนบอมบ์มาบนเรือเรา ยังให้เกิดการระเบิดขึ้นอย่างสนั่นหวั่นไหว...”
๒. นิตยสารจตุรงค์ ลงบทความที่ระลึกเนื่องในวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เรื่อง “ยุทธนาวี” มีข้อความตอนหนึ่งว่า “...ปรากฎว่ามีเครื่องบินลำหนึ่ง (ฝูงจันทบุรี เครื่องคอร์แซร์ ๓ เครื่อง นำโดย นาวาอากาศตรี หลวงล่าฟ้าเริงรณ) บินมาทางหัวเรือและดำทิ้งระเบิดระยะต่ำ ลูกระเบิดตกลงบนดาดฟ้าเรือโบ้ต หลังห้องครัวทหาร และเจาะทะลุดาดฟ้าเป็นรูโตประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ลงไประเบิดในครัวทหาร ทำให้ทหารตายอีก ๓ คน ทางเรือมิได้ยิงต่อสู้ประการใด เพราะเครื่องบินลำนี้มีเครื่องหมายไทยติดอยู่”
๓. บันทึกของ พลเรือเอก จิตต์ สังขดุลย์ (เรือโท จงจิตต์ สังขดุลย์ ) ตำแหน่งนายป้อมปืนท้ายเรือรบหลวงธนบุรี “ในระหว่างการรบติดพันนี้ เครื่องบินทะเลข้าศึกอีก ๑ เครื่อง ไม่ทราบว่าบินมาจากทิศใด ได้บินร่อนมาเหนือเรือเรา ดูครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นเครื่องบินของเรามาช่วยร่วมมือ ทหารต่างไชโยกันด้วยความดีใจ แต่ที่ไหนได้ เครื่องบินลำนั้นกลับจิกหัวลงบอมบ์ในระยะต่ำ”
๔. ม.ล. ชัยนิมิตร นวรัตน ผู้เรียบเรียง “เมื่อธนบุรีรบ”ซึ่งเป็นหลานแท้ๆ ของ พลเรือเอก จิตต์ สังขดุลย์ ได้เรียนถามท่านว่า “อันที่จริงแล้วเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นของไทย หรือของฝรั่งเศส” ท่านนิ่งไปสักครู่และตอบว่า “ท่านอยู่ในป้อมปืน ไม่เห็นด้วยตัวเอง เขาว่าเป็นเครื่องบินฝรั่งเศส แต่ตอนนั้นคนบนเรือคิดว่าเป็นเครื่องบินไทย” *
*พลเรือเอก จิตต์ สังขดุลย์ “เมื่อธนบุรีรบ” หน้า ๑๑๒
นาวาอากาศโท จำรัส ม่วงประเสริฐ ในปัจจุบัน
สงครามครั้งนี้สงบลงด้วยข้อตงลงพักรบ วันที่ 28 ม.ค. 2484 ญี่ปุ่นเสนอตัวเป้นผู้ไกล่เกลี่ย
รัฐบาลไทยจัดคณะผู้เจรจาขึ้น 2คณะ เจรจาบนเรือรบนาโตรัที่ไซ่ง่อน 1 คณะและที่กรุงโตเกียวอีก 1 คณะ
เซ็นสัญญาข้อตกลงพักรบกับฝรั่งเศสบนเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นชื่อ นาโตริ หน้าอ่าวเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม 31 มค.2484
การลงนามอนุสัญญาสันติภาพไทย-ฝรั่งเศส ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 11มี.ค.2484
หลังจากนั้นกองทัพไทยจัดการสวนสนามประกาศชัยชนะขึ้น และสร้าง "อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ" เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวติและเหล่าทหาร ตำรวจ ประชาชนชาวไทยที่ต่อสู้เพื่อบ้านเมือง
การสวนสนามประกาศชัยชนะ
จัดการสวนสนามประกาศชัยชนะ
เหรียญที่เหล่าทหารหารกล้าได้รับจากสงครามในครั้งนั้น
" เราสู้เพื่อเกียรติศักดิ์ไทย "
ที่มา: www.pantip.com (คงไม่ซ้ำนะครับ)