BLOG BOARD_B
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Email: sale@soccersuck.com
ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
นักเตะหมู่บ้าน
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 04 Sep 2013
ตอบ: 1793
ที่อยู่: คุกไม่ได้มีไว้ขังหมา
โพสเมื่อ: Sat Nov 30, 2013 11:13
@ตำนานโคตรเสือเมืองไทย@
เสือใบ
เสือใบ มีชื่อจริงว่า ใบ สะอาดดี เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจอมโจรชื่อดังในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่โด่งดัง ร่วมสมัยกับ เสือดำ, เสือมเหศวร, เสือฝ้าย เป็นต้น โดยเสือใบจะออกปล้นในแถบภาคกลาง จังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดลพบุรี โดยเวลาออกปล้นจะแต่งชุดสีดำ สวมหมวกดำ และปล้นด้วยความสุภาพ จนได้รับฉายาว่า สุภาพบุรุษเสือใบ เสือใบถูกปราบได้โดยนายตำรวจมือปราบชั้นยอด คือ ขุนพันธรักษ์ราชเดช
เรื่องราวของเสือใบ โด่งดังเป็นที่รู้จักกันอย่างมาก จนกลายมาเป็นวรรณกรรมของ ป. อินทรปาลิต ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สองครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 ชื่อ สุภาพบุรุษเสือใบ ผู้รับบทเสือใบ คือ ครรชิต ขวัญประชา และในปี พ.ศ. 2541 ในเรื่อง เสือ โจรพันธุ์เสือ ที่ซึ่งบทเสือใบ นำแสดงโดย อำพล ลำพูน กำกับการแสดงโดย ธนิตย์ จิตนุกูล แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้เสือใบในเรื่องแตกต่างจากเสือใบในชีวิตจริงโดยสิ้นเชิง เป็นต้นว่า เปลี่ยนชื่อจริงของเสือใบเป็น เรวัติ วิชชุประภา และเป็นลูกชายของขุนนางผู้ใหญ่ผู้หนึ่งในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ที่พ่อถูกฆ่าตายและถูกใส่ความจนต้องหนีเข้าป่าไปเป็นโจร หรือ นายตำรวจผู้ปราบเสือใบ ชื่อ ผู้กองยอดยิ่ง สุวรรณากร ที่รับบทโดย ดอม เหตระกูล เป็นต้น
ปัจจุบัน เสือใบยังคงมีชีวิตอยู่ สุขภาพยังคงแข็งแรงแม้อายุจะล่วงเข้าวัย 80 กว่าแล้ว
อนึ่ง คำว่า "เสือใบ" ในปัจจุบันเป็นศัพท์แสลงที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า หมายถึงชายที่มีพฤติกรรมรักได้ทั้งสองเพศ โดยแผลงมาจากคำว่า Bisexual ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเมื่อเรียกทับศัพทืมาเป็นไทย จะใช้คำว่า เสือไบ ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับ คำว่า เสือใบ แต่อย่างใด


พระทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร เสือดำ
หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ อดีตเสือดำ จอมโจรชื่อดังในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมสมัยกับ เสือใบ เสือฝ้าย เสือมเหศวร มีชื่อจริงว่า ระพิน ได้ชื่อว่าเสือดำ จากการสวมชุดดำเวลาออกปล้น และใช้ปืนคู่ แต่เมื่อเวลาออกปล้นจะต้องประกาศให้เจ้าทรัพย์รู้ก่อนล่วงหน้าเป็นสัปดาห์และปล้นด้วยความสุภาพ นิยมปล้นแต่คนรวยให้คนยากจน จนได้รับฉายาว่า สุภาพบุรุษเสือดำ เช่นเดียวกับเสือใบ
เสือดำ ถูกปราบได้ด้วยขุนพันธรักษ์ราชเดช นายตำรวจมือปราบชื่อดัง โดยขุนพันธ์ฯ ให้โอกาสเสือดำกลับตัว เสือดำจึงไปบวชกับ พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจในยุคนั้น และบวชมาจนบัดนี้
ปัจจุบัน หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีนวลธรรมวิมล เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร มีอายุกว่า 80 แล้ว แต่สุขภาพก็ยังแข็งแรงอยู่ และมักได้รับเชิญเป็นประธานในพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลร่วมกับ เสือใบ และ เสือมเหศวร เสมอ ๆ
เรื่องราวของเสือดำ ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2543 ในเรื่อง " ฟ้าทะลายโจร " โดยผู้รับบทเสือดำ คือ ชาติชาย งามสรรพ์


เสือมเหศวร
เสือมเหศวร มีชื่อจริงว่า ศวร เภรีวงษ์ เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจอมโจรชื่อดังในแถบภาคกลางหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สองร่วมสมัยกับ เสือดำ, เสือฝ้าย และเสือใบ โดยเสือมเหศวรแต่เดิมเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่ถูกอำนาจรัฐรังแกและถูกใส่ความว่าฆ่าพ่อตัวเอง จึงจับปืนขึ้นต่อสู้และกลายมาเป็นจอมโจรชื่อดังในที่สุด โดยได้ชื่อว่า "มเหศวร" จากการแขวนพระเครื่องมเหศวรไว้ที่คอ ซึ่งได้ชื่อว่าช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย และเมื่อเวลาออกปล้นจะปล้นด้วยความโหดเหี้ยมจนได้รับฉายาว่า จอมโจรมเหศวร เคยโดนตำรวจยิงที่ลำตัวและศีรษะหลายนัดแต่ไม่เข้า
เสือมเหศวร ถูกปราบโดยขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งขุนพันธ์ ฯ เป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้เสือมเหศวรมอบตัว หลังจากได้รับโทษในเรือนจำแล้ว เสือมเหศวรก็ได้บวชเป็นพระและบวชเป็นพราหมณ์มาจนถึงปัจจุบัน แม้มีอายุกว่า 90 แล้ว แต่เสือมเหศวรก็ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่ และเป็นที่เล่าลือว่าเป็นบุคคลจอมขมังเวทย์ มีชาวบ้านและผู้ที่เชื่อถือแวะเวียยนมาพบปะพูดคุยเสมอ ๆ โดยล่าสุด เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 เป็นผู้ทำพิธีปลุกเสกจตุคามรามเทพรุ่นเซ็นเสือมเหศวรของวัดแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ด้วย
เรื่องราวของเสือมเหศวร เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วสองครั้งหนึ่ง โดยผู้ที่รับบทเสือมเหศวรคนแรกคือ มิตร ชัยบัญชา และเสือมหเศวรคนที่สองคือ สมบัติ เมทะนี
เสือฝ้าย
ในยุคสมัยหนึ่ง... จอมโรในฉายานาม “เสือ” ต่างออกอาละวาด ปล้น ชิงทรัพย์ ข่มขู่ อาศัยความรุนแรง สร้างสมอิทธิพลมืดเหนือเพื่อนบ้านอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย ประดาเสือพวกนั้นใช่หนึ่งในเด็กที่เคยวาดฝันถึงอาชีพสุจริตด้วยหรือไม่ หากใช่ ไฉนเขาทั้งหลายถึงเลือกเดินคู่ขนาน ในทิศตรงข้ามของความดีงาม

“ฝ้าย” ชื่อเดิมของหนุ่มวัยฉกรรจ์ เขาถูกเล่นงานชนิดเจ็บแสบจากทางตำรวจ โดยมีญาติรายหนึ่งหนุนเนื่องมากับผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ไส่ไคล้ฝ้ายให้ถึงกับจนมุม ครั้งนั้นฝ้ายถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลอันตรายต่อชุมชนและรัฐ ฐานกระทำความผิดร้ายแรงในข้อหาพาผู้ร้ายหลบหนี ฝ้ายซึ่งไม่รู้อิโหน่อิเหน่ จำต้องเดินเข้าซังเตอย่างไม่สามารถปริปากอุทธรณ์ความบริสุทธิ์ของตน แปดปีกว่ากับการใช้ชีวิตในสถานกักขัง สูญสิ้นอิสรภาพทางกายภาพ เหลือเพียงกำแพงกับซี่กรงเขรอะสนิมเป็นเพื่อนในทุกโมงยาม ครั้นฝ้ายได้ลดอาญาจนหวนคืนปิตุภูมิ จากจุดนี้...ฝ้ายลิขิตชีวิตตนเองใหม่ลงบนหน้ากระดาษ

เมื่อรัฐเล่นตลกกับข้า ข้าก็จะสร้างเสียงหัวเราะให้พวกมัน!

นับแต่นั้น “เสือฝ้าย” ก็กลายเป็นชื่อที่หลายคนต่างพากันขยาด แม้กระทั่งทางการยังกริ่งเกรง และไม่สู้จะหาทางลบชื่อนี้ลงได้ง่ายๆ นาม “เสือฝ้าย” ตราอยู่บนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ไพล่ถึงขนาดเป็นหัวข้ออภิปรายในสภาอยู่บ่อยครั้ง

คดีเสือฝ้ายควรจะจบลงแบบโป้งเดียวจอด ทว่า...การกำจัดผู้ร้ายรายนี้กลับยากจนทางการต้องปวดเศียรเวียนเกล้าบ่อยครั้ง อุปสรรคสำคัญมิได้จำกัดอยู่เพียงอาวุธหรือสรรพกำลังของซุ้มโจร กำแพงกีดขวางกลับเป็นชาวบ้านตาดำๆ ทุกคนคอยปกป้องเสือฝ้าย เสมือนฝ้ายคือญาติในครอบครัวก็มิปาน

ไยชาวบ้านถึงช่วยเหลือคนอาชีพโจร?

นี่คือปมขมวดปัญหา รายละเอียดปลีกย่อยของโจรในอดีตรายนี้คือข้อชวนพิจารณาว่า เขาให้ชาวบ้านเชื่อใจในตัวตนโจรได้อย่างไร นี่ต่างหากคือการไขข้อสงสัยดังกล่าว และรูปการณ์ของเสือฝ้ายล้วนแล้วแต่ตรงกันอย่างบังเอิญกับจอมโจรอีกคน เขาไร้ซึ่งตัวตนจริงๆ เป็นเพียงพ่อหนุ่มรูปงามบนหน้าวรรณกรรมและมุขปาฐะอันเลืองชื่อ “โรบินฮูด” ส่วนจะตรงอย่างไร จะขอกล่าวถึงในส่วนนี้ถัดไปข้างหน้า

-ปล้นคนรวย แจกคนจน-

เสือฝ้ายถูกผู้มีอำนาจเล่นงาน ดังนั้น ศัตรูที่ฝ้ายตั้งเป้ากำจัดย่อมหนีไม่พ้นตัวการที่ส่งเขาไปกินข้างแดงในคุก เสียงร่ำลือถึงวิธีการปล้นของฝ้าย เจตจำนงนั้นผิดกับโจรทั่วไป กล่าวคือ ฝ้ายกับพรรคพวกมิได้ชิงทรัพย์เพื่อยังชีพ โดยประทังให้ปัจจัยสี่ไม่ขาดแคลน ฝ้ายจงใจเล่นงานบรรดาเศรษฐี ผู้มีอำนาจในท้องถิ่นนั้นๆ โดยเฉพาะพวกแปดเปื้อนมลทิน กลิ่นคาวฉาวโฉ่ ประเภทฉ้อโกง ขูดรีด และอาศัยอำนาจในการทำให้ตัวเองร่ำรวย นี่คือเป้าหมายของฝ้าย ด้วยเหตุนี้ คนยากหรือผู้ขัดสนทรัพย์สินศฤงคาร จึงรอดพ้นเงื้อมมือเสือฝ้าย หนำซ้ำ ยังจะได้ ‘ทรัพย์’ อันเป็นผลพลอยได้อีกต่างหาก การกระทำของฝ้ายเช่นนี้เอง ชาวบ้านถิ่นสุพรรณต่างพร้อมใจเป็นปราการด่านแรก ยันกับการทำคดีของตำรวจ อาทิ การบิดเบือนข้อมูลหรือให้การเท็จ ตลอดจนความเคลื่อนไหวทุกฝีก้าวของทางการ กลุ่มเสือฝ้ายสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ ก็ชาวบ้านอีกนั่นแหล่ะที่คาบข่าวมาแพร่งพราย เพราะสำหรับเสือฝ้ายแล้ว เขาคือนักบุญในคราบมาร ชาวบ้านแห่แหนยกย่อง แม้จะรู้อยู่เต็มอกถึงการกระทำของฝ้ายในรูปแบบโจรก็ตามที

การตั้งตัวเป็นโจร ส้องสุมกำลังด้วยอาวุธ เท่ากับการประกาศตนเป็นศัตรูกับรัฐอย่างเปิดเผย มิเพียงเท่านี้ เสือฝ้ายดูจะเข้าใจความรู้สึกนึกคิดขั้นพื้นฐานของชาวบ้านมากกว่ารัฐอยากให้เป็น สิ่งนี้คือไม้เด็ดที่เสือฝ้ายมีอยู่เหนือกว่าหลายขุม

เงื่อนไขที่ทางการออกเป็นกฎหมายก็ดี ข้อกำหนดหรือระเบียบปฏิบัติก็ดี ล้วนมีจุดมุ่งหมายต่อการควบคุมคนในสังคมให้ดำเนินไปโดยปกติสุข กระนั้นหลายอย่างไม่เป็นดั่งทางการคาดหวัง ยุคสมัยของเสือฝ้าย คำพูดหนึ่งอันสะท้อนความข้างต้นได้ดีนั่นคือ “ชนชั้นใดร่างกฎหมาย แน่แท้ไซร้ก็เพื่อชนชั้นนั้น” และเสือฝ้ายได้แสดงผลของคำพูดนี้ให้ประจักษ์แก่สายตาชาวบ้าน ซ้ำยังได้มาด้วยวิธีใช้ความรุนแรง ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

เมื่อฝ้ายโดนกฎหมายต่างชนชั้นกลุ้มรุม ฝ้ายจึงงัดข้อกับกฎหมาย เขาเป็นโจร พร้อมทั้งหยิบอาวุธประจันหน้ากับทางการ โดยเหน็บความพิเศษในฐานะชนชั้นของตนดึงประชาชนในละแวกเข้าเป็นพวก กล่าวอย่างถึงที่สุด จะเรียกขานความพิเศษนี้ว่า “ระบบอุปถัมภ์” คงไม่กระดากนัก ขณะตำรวจสอบเค้นชาวบ้านหมายทลายรังโจรกระเดื่องชื่อผู้นี้ ตำรวจเองกลับตอบไม่ได้ว่า ผลประโยชน์จากการพูดความจริงคืออะไร จับต้องและน่าเชื่อถือได้แค่ไหน มีอะไรเป็นหลักประกันสวัสดิภาพ หรือรอดพ้นสายตาของโจรกลุ่มนี้ ตรงกันข้าม,วิธีของเสือฝ้าย คราใดต้องระเห็จหลีกหนีหลังการเพลี่ยงพล้ำในการเผชิญหน้ากับตำรวจ ฝ้ายจะอาศัยชายคาของชาวบ้านเพื่อกำบังกาย จากนั้นไม่นาน เจ้าของบ้านจะตื่นขึ้นด้วยอารามตกใจ เมื่อเงินก้อนหนึ่งวางไว้บนหน้าประตูบ้าน แทบไม่ต้องเดา... เงินก้อนนี้ใครคือคนบันดาล

ปฏิสัมพันธ์ตรงนี้สร้างผลลัพธ์ทันตาเห็น เมื่อชาวบ้านยื่นมือช่วยเหลือเสือฝ้าย ฝ้ายจึงตอบแทนชาวบ้านด้วยแบบฉบับ “บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องชำระ” ตามบันทึกยังบอกอีกว่า เสือฝ้ายจะไม่ลงมือปล้นคนในท้องถิ่น แถมยังออกปากแก่ชาวบ้านในลักษณะให้ความคุ้มครองไปในตัว ทั้งนี้เจตนาของเขาต้องการสื่อถึงอิทธิพลอันมีผลทำให้.....

หนึ่ง สยบยอมต่ออิทธิพลของเสือฝ้าย อันมีลักษณะกึ่งบังคับไปในตัว ต้องเข้าใจว่าจะตำรวจหรือโจร ใครก็แล้วแต่ หากมีปืนอยู่ในมือ บุคคลนั้นย่อมยืนเหนือกว่าในภาวะการณ์นั้น

สอง บุคคลใดให้ความร่วมมือแก่เสือฝ้ายกับพรรคพวก บุคคลนั้นย่อมได้รับผลตอบแทนอันพึงใจไปในตัว คล้ายกับกฎที่ตั้งซ้อนอยู่ในตัวกฎหมายที่รัฐกำหนดไว้

สองข้อนี้ยังผลให้ชาวบ้านทั้ง กลัว และ เกรง คู่ไปกับ การมีทั้ง อิทธิพล และ บารมี จะอย่างไหน เสือฝ้ายได้อยู่เหนือคนธรรมดาสามัญไปเรียบร้อย ด้านชาวบ้านเองยังเห็นจุดประสงค์ของจอมโจรแดนสุพรรณอย่างกระจ่าง เพราะฝ้ายไม่ปล้นคนจนแต่ปล้นผู้มั่งคั่ง ตามด้วยทุกครั้งฝ้ายจะไม่ลงมือปลิดชีวิตเจ้าของทรัพย์ ของมีค่าที่กรรโชกมาได้จะเวียนถึงชาวบ้านในรูปแบบต่างๆ เช่น การกู้ยืม การให้เปล่า การบริจาคค้ำจุนศาสนา รวมถึงการให้ในโอกาสและวาระต่างๆอันจะทำให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้บ้าง

นอกเหนือการปล้น อดีตผู้ใหญ่บ้านชื่อฝ้ายคนนี้ยังคอยบรรสานประโยชน์ของคนในหมู่บ้าน ข้อพิพาทหรือปัญหาต่างๆ บ้านของเสือนามอุโฆษผู้นี้มักเป็นสถานตัดสินปัญหาให้ชาวบ้านอยู่เสมอ ยิ่งไปกว่านั้น บ่อยครั้งตำรวจในท้องที่ต้องมาขอพึ่งพิงชื่อของเขา เพื่อให้งานราบรื่นสะดวกโยธิน เวลาไม่นาน เครือข่ายแผ่เสือฝ้ายถักทอขึ้นเป็นรูปร่าง ก่อนแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ทั่วปริมณฑล โดยโยงใยถึงกันและกันในรูป “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า”
ซุ้มเสือฝ้าย และ ปืนเสือฝ้าย
<a href="http://upic.me/show/28601726" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/t/p2/94085.jpg"></a>
<a href="http://upic.me/show/28601723" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/cl/9aj43.jpg"></a>
<a href="http://upic.me/show/28601736" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/ak/p2od8.jpg"></a>
<a href="http://upic.me/show/23357274" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/5q/10medium.jpg"></a>
<a href="http://upic.me/show/28601744" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/xa/81211.jpg"></a>
<a href="http://upic.me/show/28601715" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/3i/eq612.jpg"></a>


ขุนพันธรักษ์ราชเดช

<a href="http://upic.me/show/28601894" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/3m/j1k31.jpg"></a>
<a href="http://upic.me/show/28601895" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/s6/97i72.jpg"></a>
<a href="http://upic.me/show/28601897" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/lg/6ok83.jpg"></a>

พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช

เกิด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446
อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
เสียชีวิต 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (อายุ 103 ปี)
สัญชาติ ไทย
รู้จักในฐานะ อดีตนายตำรวจชื่อดังของวงการตำรวจไทย
คู่สมรส นางเฉลา พันธรักษราชเดช
นางสมสมัย พันธรักษราชเดช
บุตร 12 คน
บิดา มารดา นายอ้วน พันธรักษ์
นางทองจันทร์ พันธรักษ์


พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446-5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) อดีตนายตำรวจชื่อดังของวงการตำรวจไทย ซึ่งท่านมีชื่อเสียงเป็นอันมากในการปราบโจรร้ายในภูมิภาคต่างๆของไทย ในภาคกลางเช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร ที่พัทลุง ปราบ เสือสังหรือเสือพุ่ม ที่นราธิวาส ปราบผู้ร้ายทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2481 หัวหน้าโจรชื่อ “อะเวสะดอตาเละ” จนท่านได้ฉายาว่าจากชาวไทยมุสลิมว่า “รายอกะจิ” ซึ่งแปลว่า อัศวินพริกขี้หนู จากผลงานที่ท่านสามารถปราบโจร เสือร้ายต่างๆ ได้มากมาย จึงได้รับฉายา ดังต่อไปนี้

นายพลตำรวจหนังเหนียวผู้จับเสือมือเปล่า
นายพลตำรวจหนวดเขี้ยว
ขุนพันธ์ฯ ดาบแดง (เชื่อกันว่าเป็นดาบที่ตกทอดมาจาก พระยาพิชัยดาบหัก ฝักดาบมีถุงผ้าสีแดงห่อหุ้ม ตัวดาบมีความคมกล้ายิ่งนัก )
รายอกะจิ (อัศวินพริกขี้หนู) ฯลฯ
จอมขมังเวทย์

ประวัติ
พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือชื่อเดิมว่า บุตร พันธรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ เริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากท่านมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่แล้วก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ดังนั้นเมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ได้ 1 วัน ทางโรงเรียนก็เลื่อนชั้นให้เรียนในชั้นประถมปีที่ 2 และวันรุ่งขึ้นก็เลื่อนชั้นให้เรียนชั้นประถมปีที่ 3 เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง 3 วัน ได้เลื่อนชั้นถึง 3 ครั้งประวัติ
เมื่อครั้งเรียนชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวนป่าน มีพระภิกษุอินทร์ รัตนวิจิตร เป็นผู้สอน เรียนอยู่ประมาณ 2 เดือน โรงเรียนนั้นก็ถูกยุบ ท่านจึงเข้าเรียนในชั้นเดิม ที่โรงเรียนวัดพระนคร ตำบลพระเสื้อเมือง (ปัจจุบันคือตำบลในเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้น เรียนจบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2456 ได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (โรงเรียนเบจมราชูทิศในปัจจุบัน)
พอเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัวปีกว่า เมื่อหายจึงคิดจะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเดิมแต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 3 แล้ว จึงเปลี่ยนใจเดินทางเข้าไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2459 โดยไปอยู่กับพระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) ได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปั้จจุบัน) เข้าเรียน พ.ศ. 2461 เลขประจำตัว บ.บ. 1430 ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขณะเรียนที่โรงเรียนนี้ท่านได้เรียนวิชามวย ยูโด และยิมนาสติกจากครูหลายคน เช่น ครูย้อย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำนาญในเชิงมวย ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ในปี พ.ศ. 2467
ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม ขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ 5 ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ. 2472
พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นคนสุดท้ายของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานทินนาม ซึ่งพลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ในวันที่ 5 เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2549 เวลา 23.27 น. ที่บ้านเลขที่ 764/5 ซ.ราชเดช ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
การทำงาน



ในชุดเจ้าพิธีกรรมในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช
หลังจากจบการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2473 เป็นนักเรียนทำการอยู่ 6 เดือน ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี
ในปี พ.ศ. 2474 ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมืองจังหวัดพัทลุง ที่พัทลุงนี่เองท่านได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงราชการและคนทั่วไป โดยการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสัง หรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นเสือร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช เล่าว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โต ดุร้าย และมีอิทธิพลมาก มาอยู่ในความปกครองของกำนันตำบลป่าพยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง นอกจากนั้นแล้วยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้ แต่ท่านก็สามารถปรามเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการ โดยท่านไปปราบร่วมกับ พลตำรวจเผือก ด้วงชู มี นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทาง การปราบปรามเสือสังครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ตอนนั้นจเรพระยาศรีสุรเสนา ไปตรวจราชการตำรวจที่พัทลุงพอดี ผู้ปราบเสือสังจึงได้รับความดีความชอบ คือ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบุตร พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นร้อยตำรวจตรี พลตำรวจเผือก ชูด้วง เป็นสิบตรี และนายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล 400 บาท
หลังจากนั้นมาอีก 1 ปี ท่านก็ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ 16 คน เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น ด้วยความดีความชอบ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช" และในปี พ.ศ. 2478 ได้รับเลื่อนยศเป็นนายร้อยตำรวจโท และในปีนี้ได้อุปสมบทที่วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (แบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ 1 พรรษา จึงลาสิกขา ในปี พ.ศ. 2479 ท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ได้ปราบโจรผู้ร้ายหลายคน
การปราบโจรครั้งสำคัญและทำให้ท่านมีชื่อเสียงมากคือ การปราบผู้ร้ายทางการเมืองที่นราธิวาส ในปี พ.ศ. 2481 หัวหน้าโจรชื่อ "อะแวสะดอ ตาเละ" นัยว่าเป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน เที่ยวปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธเท่านั้น ในที่สุดก็ถูกขุนพันธ์ฯ จับได้ ท่านได้รับการยกย่องจากทั้งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมเป็นอันมาก ท่านจึงได้รับฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า "รายอกะจิ" หรือแปลว่า "อัศวินพริกขี้หนู" และได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกในปีนั้นเอง พ.ศ. 2482 ขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง ปี พ.ศ. 2485 ย้ายเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปราบปรามโจรหลายราย รายสำคัญ คือ เสือสาย และเสือเอิบ



ขุนพันธรักษ์ราชเดช ถือดาบและเหน็บกริช แสดงลายนายตำรวจมือปราบหนวดเฟิ้ม
หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น คือ ในปี พ.ศ. 2486 ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดพิจิตร ได้ปฏิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเรื่อยมา และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายมากมาย ที่สำคัญคือการปราบ เสือโน้ม หรืออาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศเป็นพันตำรวจตรี พ.ศ. 2489 ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท ได้ปะทะและปราบปรามเสือร้ายหลายคน เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า ผู้ร้ายในเขตจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรี ชุกชุมมากขึ้นทุกวันยากแก่การปราบปรามให้สิ้นซาก จึงได้ตั้งกองปราบพิเศษขึ้น โดยคัดเลือกเอาเฉพาะนายตำรวจที่มีฝีมือในการปราบปรามรวมได้ 1 กองพัน แต่งตั้งให้ พ.ต.ต. สวัสดิ์ กันเขตต์ เป็นผู้อำนวยการกองปราบ และ พ.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นรองผู้อำนวยการ กองปราบพิเศษได้ประชุมนายตำรวจที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2489 เพื่อวางแผนกำจัดเสือฝ้าย แต่แผนล้มเหลว ผู้ร้ายรู้ตัวเสียก่อน ขุนพันธ์ฯ ได้รับคำสั่งด่วนให้สกัดโจรผู้ร้ายที่จะแตกเข้ามาจังหวัดชัยนาท
ครั้งนั้นขุนพันธ์ฯ ใช้ดาบเป็นอาวุธคู่มือแทนที่จะใช้ปืนยาว ดาบนั้นถุงผ้าแดงสวมทั้งฝักและด้าม คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า "ขุนพันธ์ดาบแดง" ฝีมือขุนพันธ์ฯ เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชีพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง 2,000 บาท เพื่อไม่ให้ปราบปราม แต่ขุนพันธ์ฯ ไม่สนใจ คงปฏิบัติหน้าที่อย่างดีจนปราบปรามได้สำเร็จ ท่านอยู่ชัยนาท 3 ปี ปราบปรามเสือร้ายต่างๆ สงบลง แล้วได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่อยุธยา อยู่ได้ประมาณ 4 เดือนเศษก็เกิดโจรผู้ร้ายชุกชมที่กำแพงเพชร ขณะนั้นเป็นระยะเปลี่ยนอธิบดีกรมตำรวจ และขุนพันธ์ฯ ก็ถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมอาชีพว่าเป็นโจรผู้ร้าย พล.ร.ต. หลวงสังวรยุทธกิจ อธิบดีกรมตำรวจยังเชื่อมั่นว่าขุนพันธ์ฯ เป็นคนดี จึงโทรเลขให้ไปพบด่วน และแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
เมื่อปี พ.ศ. 2490 ขุนพันธ์ฯ ได้ปรับปรุงการตำรวจภูธรของเมืองนี้ให้มีสมรรถภาพขึ้น และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายต่างๆ ที่สำคัญคือ เสือไกร กับ เสือวัน แห่งอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ฝีมือการปราบปรามของขุนพันธ์ฯยิ่งลือกระฉ่อนไปไกล
ย้ายกลับพัทลุง
ครั้งหนึ่งเคยมีคำขวัญอันคมคายของกรมตำรวจอยู่ประโยคหนึ่งว่า "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีอะไรที่ตำรวจไทยทำไม่ได้" นี่เป็นถ้อยคำที่เกิดขึ้นในยุคอัศวินแหวนเพชรเฟื้อง ในสมัยของท่านอธิบดีฯ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ปกครองกรมตำรวจ วีรบุรุษผู้สร้างเกียรติประวัติให้กรมตำรวจนั้นมีอยู่มาก มีอยู่ทุกยุคทุกสมัย แต่ในยุคสมัยที่ท่าน อธิบดีกรมตำรวจหลวงอดุลย์เดชจรัสนั้น...นามของ"ขุนพันธรักษ์ราชเดช" ระบือลือลั่นสุดยอดแผ่นดินด้ามขวานทอง แม้ท่านขุนพันธ์จะปลดเกษียณราชการไปนานปี แล้วก็ตาม แต่ชื่อของท่านยังอยู่ในความทรงจำของกรมตำรวจและประชาชนทั่วไป นั่นเป็นเพราะผลงานอันน่าอัศจรรย์ของท่าน กลายเป็นผลงานอันยากยิ่งที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน ควรค่าแก่การบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คนเมืองใต้และคนของแผ่นดินต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ทางจังหวัดพัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ราษฎรชาวพัทลุงนึกถึงขุนพันธ์ฯ นายตำรวจมือปราบ เพราะเคยประจักษ์ฝีมือมาแล้ว จึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจ ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอตัวขุนพันธ์ฯ กลับพัทลุงเพื่อช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย กรมตำรวจอนุมัติตามคำร้องขอ ขุนพันธ์ฯ จึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญๆสิ้นชื่อไปหลายคน ผู้ร้ายบางรายก็หนีออกนอกเขตพัทลุงไปอยู่เสียที่อื่น นอกจากงานด้านปราบปรามซึ่งเป็นงานที่ท่านถนัดและสร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นพิเศษแล้ว ท่านยังได้พัฒนาเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยปรับปรุงชายทะเลตำบลลำปำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และให้มีตำรวจคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารรถไฟที่เข้าออกเมืองพัทลุง ทำให้เมืองพัทลุงในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจ มีความสงบสุขน่าอยู่ขึ้นมาก ตำรวจที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เลิกไปเมื่อกรมตำรวจจัดตั้งกองตำรวจรถไฟขึ้น ด้วยความดีความชอบในหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศ เป็นพันตำรวจโทในปี พ.ศ. 2493 ท่านอยู่พัทลุงได้ 2 ปีเศษ จนถึง พ.ศ. 2494 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2503 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2507
พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ที่บ้านในซอยราชเดช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช อายุได้ 103 ปี
เกียรติประวัติ
สมัยที่ขุนพันธ์ฯกลับมาอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ก็มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนนั้นมีเสือใหญ่อยู่ 10 ตัว ในจำนวนเสือร้าย 10 ตัวนั้น มีเสือข่อย เสือจ้อย เสือหวน ฯลฯ รวมอยู่ด้วย เสือทั้ง 10 คนนั้น ล้วนเคยเป็นศิษย์หลวงพ่อช่วย เมืองนครศรีธรรมราช ผู้ซึ่งเป็นพระมีวิชาเก่งกล้าทางไสยศาสตร์ หรือกฤตยาคม ขุนพันธ์ฯ เคยเรียนวิชาด้วยผู้หนึ่ง เมื่อท่านขุนพันธ์ฯกลับมาอยู่ในตำแหน่งสำคัญระดับภาค ท่านมีประกาศิตสั่งให้ผู้ร้ายทั้ง 10 คนนั้น เลิกประพฤติเยี่ยงโจร ให้กลับใจเลิกเป็นเสือเสีย โดยให้บวชเป็นพระภิกษุ ถ้าหากไม่ทำตามคำขอร้องนั้น ขุนพันธ์ฯ ก็จะยิงทิ้งทุกคน เล่ากันว่าประกาศิตของขุนพันธ์ฯทำให้เสือร้ายส่วนใหญ่ปฏิบัติตามแต่โดยดี มีเพียงเสือข่อยเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ไม่ยอมทำตามคำของขุนพันธ์ฯ เสือข่อยไม่ยอมเลือกทางเดินที่ขุนพันธ์ฯเลือกให้ ซ้ำร้ายยิ่งท้าทายอำนาจของกฎหมายบ้านเมือง ด้วยความเชื่อว่า ตนนั้นเป็นศิษย์หลวงพ่อช่วย ผู้เรืองวิชาอาคมแก่กล้า เป็นลูกศิษย์อาจารย์เดียวกับขุนพันธ์ฯ จึงคิดว่าขุนพันธ์จะยกเว้นไว้สักคนหนึ่ง แต่ปรากฏว่า ขุนพันธ์ฯ ทำตามที่พูด ว่ากันว่าท่านยิงเสือข่อย แต่ยิงไม่เข้า จึงสั่งให้ลูกน้องฆ่าด้วยศูลแทงสวนทวารจนถึงแก่ความตาย คำเล่าลือเหล่าเสือร้ายในหมู่บ้านของชาวเมืองปักษ์ใต้ มีทั้งเรื่องจริงบ้าง หรือต่อเติมเสริมแต่งของผู้เล่าอ่านเองบ้าง มันคือตำนานอมตะของวีรบุรุษเล็กพริกขี้หนู ที่มีนามว่า "นายร้อยบุตร์ พันธรักษ์ราชเดช" หรือขุนพันธรักษ์ราชเดช ขุนพันธ์ฯ เป็นบุคคลที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ว่าตำแหน่งใด ยศใด ยกย่อง นับถือ และกล่าวถึง เนื่องจากท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของตำรวจนั่นเองชีวิตของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นชีวิตที่มีค่าของแผ่นดินเมืองใต้และเมืองไทย ลมหายใจของท่านเคยโลดแล่นอยู่ท่ามกลางหมู่โจรผู้ร้าย ไม่เฉพาะแต่ผู้ร้ายในภาคใต้เท่านั้น แต่ที่ไหนประชาชนเดือดร้อนจากโจรผู้ร้ายชุกชุม ตำรวจคนอื่นปราบปรามไม่สำเร็จ กรมตำรวจจะต้องส่งตัวขุนพันธ์ฯ ไปปราบปรามทุกถิ่นที่มีครั้งหนึ่ง พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดชเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 ท่านเคยเดินทางมาตรวจสืบราชการลับที่เกาะสมุย ขุนพันธ์ฯท่านชอบดูมวย วันนั้นท่านไปยืนดูมวยอยู่ข้างเวที บังเอิญถอยหลังไปเหยียบเท้านางพล้อยเข้าโดยไม่ตั้งใจ ป้าพล้อยแกเป็นคนปากจัด ใครแตะเป็นด่าไม่ไว้หน้า แกก็ด่าขุนพันธ์ฯ ขุนพันธ์ฯก็วางเฉยไม่โต้ตอบอะไร มีคนรู้จักกันเข้าไปเตือนสติป้าพล้อยว่า "คนที่ป้าด่าอยู่นั้นรู้มั๊ยว่าเป็นใคร...นั่นแหละขุนพันธ์ฯ" พอได้ยินชื่อขุนพันธ์ฯเท่านั้น ป้าพล้อยแกเงียบเป็นเป่าสาก รีบก้มหน้างุดๆ เดินมุดผู้คนหนีไปโดยไม่เหลียวหลังมาอีกเลย คำบอกเล่าสั้นๆนี้ทำให้เห็นว่า ขุนพันธ์ฯ ท่านมีตบะสูง เพียงได้ยินว่าเป็นขุนพันธ์เท่านั้น ใครๆก็ขยาดทั้งนั้น เพราะรู้กิตติศัพท์ของท่านมาก่อนนั่นเอง
ขุนพันธ์ในฐานะนักการเมือง
ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช เคยเป็น ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ จ.นครศรีธรรมราช ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512[1]
ขุนพันธ์ในฐานะนักวิชาการ



ขุนพันธ์กับบุตรชาย คุณณสรรค พันธรักษราชเดช
นอกจากเกียรติคุณทั้งในและนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวมาแล้ว ขุนพันธ์ฯ ยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญซึ่งควรกล่าวถึงคือ เป็นนักวิชาการที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านเป็นทั้งนักอ่านและนักเขียน ได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ลงพิมพ์ในหนังสือและวารสารต่างๆ หลายเรื่อง ขุนพันธ์ฯ เป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มาก เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ นอกจากนั้นก็มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งประวัติบุคคลและสถานที่ ตำนานท้องถิ่น มวย และเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง ข้อเขียนต่างๆของท่าน เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ในภาคใต้ สองเกลอ ช้างเผือกงาดำ หัวล้านนอกครู ศ
แก้ไขล่าสุดโดย Twist เมื่อ Sat Nov 30, 2013 11:17, ทั้งหมด 2 ครั้ง
5
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
k1.jpg
ออฟไลน์
ดาวเตะกัลโช่
Status: Don't worry be happy
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 24 Mar 2009
ตอบ: 22136
ที่อยู่: reykjavik , Iceland
โพสเมื่อ: Sat Nov 30, 2013 11:14
[RE: @ตำนานโคตรเสือเมืองไทย@]
เจอกับขุนพันนี่ มันส์สุดๆ ต่างคนต่างมีวิชา
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: ♥Irene ♥Tzuyu ♥JiSoo ♥Rosé ♥Karina ♥Pharita
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 19 Jun 2008
ตอบ: 22727
ที่อยู่: ____________________ _________________________ _________________________ เข้าร่วม: 31 Feb 1994
โพสเมื่อ: Sat Nov 30, 2013 11:17
[RE: @ตำนานโคตรเสือเมืองไทย@]
โรบินฮู้ดเมืองไทย
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
♥♥♥ WonYoung ♥♥♥
ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 17 Feb 2009
ตอบ: 22271
ที่อยู่: อมตะนคร ชลบุรี
โพสเมื่อ: Sat Nov 30, 2013 11:19
[RE: @ตำนานโคตรเสือเมืองไทย@]
ลองถามคนในพื้นที่สุพรรณ อ่างทอง ชัยนาท เขาไม่ได้คิดว่าไอ้โจรห้าร้อยพวกนี้ปล้นคนรวย

แจกคนจนแม้แต่น้อย แค่นิทานที่เขียนเพื่อให้ยอมมอบตัวมากกว่า
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
จะไม่เสียเวลาทำอะไรที่ไม่ได้เงินอีก
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Sep 2013
ตอบ: 15491
ที่อยู่: บ้านสองชั้น หมาสามตัว
โพสเมื่อ: Sat Nov 30, 2013 11:23
ถูกแบนแล้ว
[RE: @ตำนานโคตรเสือเมืองไทย@]
ได้ยินชื่อมานาน คนนี้นี่เอง

1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
แข้งเจลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 11 Jun 2009
ตอบ: 8364
ที่อยู่: อยู่ตรงนี้ ก็เมืองไทย ก็ทนกันไปได้แต่ช่างมัน
โพสเมื่อ: Sat Nov 30, 2013 11:33
[RE: @ตำนานโคตรเสือเมืองไทย@]
จตุรคราม รามเทพ องค์ละเป็น 10 ล้าน



1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะท้ายซอย
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 26 Apr 2008
ตอบ: 226
ที่อยู่: OOoในใจเธอoOO
โพสเมื่อ: Sat Nov 30, 2013 12:04
[RE: @ตำนานโคตรเสือเมืองไทย@]
เด๋วมาอ่านนะครับ

แต่ก็ขอบคุณ

1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 1024
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Nov 30, 2013 12:08
[RE: @ตำนานโคตรเสือเมืองไทย@]
ปูผมเล่าเคยโดนเสือดำแทงด้วย เค้าขึ้นผิดบ้าน

ตอนนั้นอธิบดีรถไฟมาตรวจเยี่ยม สถานนีรถไฟลำปาง ปู่ผมเคยเป็นนายสถานนีอยู่บ้านพักรถไฟ

แม่งบอกส่งเงินทองมาให้หมด ปู่ผมงงเพิ่งเค้ารับตำแหน่งได้ไม่กี่วัน บอกมันไม่มี แม่งแทงเลย โชคดีที่รอดตาย
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel