“ ปลา ” แหล่ง โปรตีน ย่อยง่าย คุณภาพดี ไขมันต่ำ แถมยังอุดมไปด้วยวิตามินบี1 บี2 บี6 และวิตามินดี เหมาะกับผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยโรคหัวใจ แถมหาซื้อง่าย ราคาไม่แพง ที่สำคัญทานอร่อยอีกด้วย
ประเภทของ ปลา
1. ปลา ที่ไม่มีไขมัน หรือมีไขมันน้อย – เนื้อปลามีสีขาว เช่น ปลาเนื้ออ่อน ปลาสำลี ปลาจาละเม็ด ปลากะพง
2. ปลา ไขมันปานกลาง – เช่น ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาอินทรี
3. ปลา ไขมันสูง – ส่วนมากมีเนื้อสีเหลือง ชมพูหรือเทาอ่อน เช่น ปลาสวาย ปลาเทโพทะเล
[b]
ปลา แหล่งแร่ธาตุไอโอดีน
เมื่อรับประทานปลาทะเล ร่างกายจะได้รับแร่ธาตุไอโอดีนซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันโรคคอพอกชนิดที่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน เด็กที่กำลังเจริญเติบโตหากขาดแร่ธาตุชนิดนี้ โอกาสที่จะเป็น “โรคเอ๋อ” ก็มีมากขึ้น และยังทำให้เจริญเติบโตช้า
ปลา แหล่งแร่ธาตุแคลเซียม
การรับประทานปลาตัวเล็ก ๆ ที่รับประทานได้ทั้งตัว เช่น ปลาข้าวสาร ปลาฉิ้งฉั้ง ปลากระป๋อง จะเพิ่มธาตุแคลเซียมที่ได้จากกระดูกปลา ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และกระดูกหักง่าย
ไขมันจาก ปลา
เป็นไขมันประเภทไม่อิ่มตัว มีความจำเป็นต่อร่างกายเพราะช่วยในกระบวนการเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงาน และยังไม่ก่อให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด
น้ำมันตับปลา กับน้ำมันปลาต่างกันอย่างไร
• น้ำมันตับปลา สกัดจากตับของปลาทะเล นิยมรับประทานเพื่อเสริมวิตามินเอ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมเยื่อบุผิวให้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีวิตามินดี ที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมรวมทั้งฟอสฟอรัสบริเวณลำไส้เข้าสู่ร่างกาย ทำให้การสร้างกระดูกเป็นไปอย่างปกติ
• น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่สกัดจากเนื้อ หนัง หัว และหางปลาทะเล อาทิ ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคคอเรล ปลาแซลมอน ปลาทูน่า น้ำมันปลามีกรดไขมันที่ร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างเองได้ โดยเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated Fatty Acid) หรือ PUFA 2 ชนิด ในกลุ่มโอเมก้า 3 คือ Eicosapentaenoic acid (EPA) และ Docosahexaenoic acid (DHA)
ขอบคุณที่มาจาก : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ต่อมา.............
มาดู........
.....
...
เมนู น้องปลากันดีกว่า...
ไปดีกว่า หิววววว