สวัสดีคับ มุบมิบคุงคับ บ่ายร้อนๆนี้ ขอเปลี่ยนบรรยากาศจากนิยายกรีก มาเป็นไทยๆบ้าง ลองมาหาไรอ่านรับความรู้ไปประดับสมองกัน
ถึงที่มาของ 18 มงกุฎ ว่า คำนี้มีที่มาอย่างไร
ที่มาของคำว่า 18 มงกุฎ
คำว่า18 มงกุฎ ในอดีตหมายถึง วานร 18 มงกุฎ เป็นวานรที่มาจากสองเมืองคือ
1.เมืองขีดขินของสุครีพ และ2.เมืองชมพูของท้าวมหาชมพู
วานรสิบแปดมงกุฏนี้แต่เดิมก็คือเทวดา 18 องค์ ที่อาสามาช่วยพระนารายณ์ตอนอวตารมาเป็นพระรามนั้นเอง
วานรทั้ง18ตน มีรายนามดังนี้
1.เกยูร 2.โกมุท 3.ไชยามพวาน 4.มาลุนทเกสร
5.วิมลวานร 6.ไวยบุตร 7.สัตพลี 8.สุรกานต์ 9.สุรเสน
10.นิลขัน 11.นิลปานัน 12.นิลปาสัน 13.นิลราช
14.นิลเอก 15.วิสันตราวี 16.กุมิตัน 17.เกสรทมาลา 18.มายูร
มูลเหตุที่ทำให้คำว่า "สิบแปดมงกุฎ" กลายความหมายมาเป็นคำไม่ดี
มีที่มาจากเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักเลงการพนันใหญ่ที่ถือว่ามีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น
ตามร่างกายจะนิยมสักรูปมงกุฎ จนเป็นที่มาของสำนวน "สิบแปดมงกุฎ"ในทางร้าย ที่หมายถึง พวกนักเลงการพนัน
พวกที่มีเล่ห์เหลี่ยมกลโกง นักต้มตุ๋น ซึ่งพลอยทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณดีๆของวานรสิบแปดมงกุฎ(เทวดา)เลือนหายไป และกลายความไปในที่สุด
ในหนังสือ "สำนวนไทย" ของ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เขียนไว้ว่า
สิบแปดมงกุฎ นำมาใช้เป็นสำนวนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีนักเลงการพนันใหญ่ลือชื่อพวกหนึ่ง
กล่าวกันว่าเป็นนักเลงชั้นยอด สักตามตัวเป็นรูปมงกุฎ จึงเรียกว่า สิบแปดมงกุฎ ตามเรื่องราวในรามเกียรติ์
จากนั้นถ้าใครเป็นนักเลงการพนันก็เลยเรียกว่า สิบแปดมงกุฎ
ปัจจุบันสิบแปดมงกุฎมิใช่สำนวนที่ใช้เรียกพวกนักเลงพนันเท่านั้น แต่ใช้เรียกพวกมิจฉาชีพทั้งหลาย
เป็นสำนวนที่พบเห็นบ่อยมากตามสื่อมวลชนต่าง ๆ ซิ่งมีความหมายถึงพวกที่ยักยอก
ต้มตุ๋น หลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อแล้วยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินผู้อื่นมาเป็นของตน
Credit: สนุก! พีเดีย
วานร ๑๘ มงกุฏ ที่เป็นฝ่ายพันธมิตรกับพระรามหรือที่เรียกว่า ฝ่ายพลับพลานั้น
เป็นวานรที่มาจากสองเมืองคือ เมืองขีดขินของสุครีพ และเมืองชมพู
ซึ่งแต่เดิมก็คือเทวดา ๑๘ องค์ที่อาสามาช่วยพระนารายณ์ตอนอวตารมาเป็นพระรามนั่นเอง
เทวดาเหล่านี้ประกอบด้วย
-
พระวิรุฬหก เป็น เกยูร
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีม่วงแก่ หัวโล้น ปากอ้า
รายละเอียด : ชาติเดิมคือ ท้าววิรุฬหก จอมกุมภัณฑ์ จตุโลกบาลแห่งทิศใต้
-
พระวิรูปักษ์ เป็น มายูร
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีม่วงอ่อน หัวโล้น ปากอ้า
รายละเอียด : ไม่ปรากฏว่าเป็นฝ่ายใด วานรพงศ์ของพระเทวาภินิมมิตร(ฉาย เทวาภินิมมิตร)ว่าเป็นฝ่ายเมืองชมพู ชาติเดิมคือท้าววิรูปักษ์ราชาแห่งนาค จตุรโลกบาลประจำทิศตะวันออก
-
พระหิมพานต์ เป็น โกมุท
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีบัวโรย หัวโล้น ปากหุบ
รายละเอียด : ชาติเดิมคือ พระหิมพานต์ เทพเจ้าแห่งป่าหิมพานต์ เมื่อเสร็จศึกลงกาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาฝ่ายซ้ายของเมืองขีดขินคู่กับไชยามพวาน
-
พระวิศาลเทวบุตร เป็น ไชยามพวาน
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีเทาหรือสีมอหมึกอ่อน หัวโล้น ปากอ้า
รายละเอียด : ชาติเดิมคือ พระอิสาณ หรือพระวิศารเทพบุตรได้รับพรจากพระอิศวรให้เป็นผู้ถือธงชัยนำกองทัพพระรามไปรบเพราะมีชื่อเป็นมงคลข่มนามอสูร เมื่อเสร็จศึกลงกาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาฝ่ายขวาคู่กับโกมุท
-
พระพิรุณ เป็น ไวยบุตร
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานร สีเมฆครึ้มฝน หัวโล้น ปากอ้า
รายละเอียด : ชาติเดิมคือ พระพิรุณ เทพเจ้าแห่งฝน
-
พระมหาชัย เป็น สุรกานต์
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานร สีเหลืองจำปา หัวโล้น ปากอ้า
รายละเอียด : ชาติเดิมคือ พระมหาชัย เทพเจ้าแห่งชัยชนะสุรกานต์ เป็นผู้คุมกำลัง๓๐สมุทรมาช่วยพระรามรบเมื่อเสร็จศีกแล้วได้ครองเมืองโรมคัล
-
พระพินาย เป็น นิลเอก
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีทองแดง หัวโล้น ปากหุบ
รายละเอียด : ชาติเดิมคือพระพินายวินายก นิลเอกคือผู้ที่ไปช่วยพระลักษณ์ทำลายพิธีกุมภนิยาของอินทรชิต
-
พระพิเนก(พิฆเณศ) เป็น นิลขัน
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีหงดิน หัวโล้น ปากอ้า
รายละเอียด : ชาติเดิมคือพระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งศิลปะ
-
พระเกตุ เป็น กุมิตัน
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีทองหรือสีเหลืองรง หัวโล้นปากหุบ
รายละเอียด : ไม่ปรากฏว่าเป็นฝ่ายใด วานรพงศ์ของพระเทวาภินิมมิตร(ฉาย เทวาภินิมมิตร)ว่าเป็นฝ่ายเมืองชมพู ชาติเดิมคือพระเกตุ เทวดานพเคราะห์เทพเจ้าผู้คุ้มครองสวัสดิมงคล
-
พระสมุทร เป็น นิลราช
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีน้ำไหลหรือสีฟ้าอมเขียวหัวโล้น ปากหุบ
รายละเอียด : ชาติเดิมคือพระสมุทร เทพเจ้าประจำมหาสมุทร นิลราชนอกจากจะมีบทบาทสำคัญในการรบแล้วยังมีหน้าที่เอาหินไปถมทะเลตอนจองถนนเพราะต้องคำสาปพระฤาษีคาวินว่าเมื่อเอาสิ่งใดทิ้งลงในน้ำให้จมอยู่กับที่ จึงต้องอาสาเอาศิลาไปทิ้งแต่เพียงผู้เดียวจึงจะพ้นคำสาป
-
พระจันทร์ เป็น สัตพลี
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานร สีขาวผ่อง หัวโล้น ปากหุบ
รายละเอียด : ชาติเดิมคือ พระจันทร์ เทวดานพเคราะห์เทพผู้ให้แสงสว่าง
สัตพลีนอกจากมีหน้าที่จดความดีความชอบของหล่าทหารแล้วยังมีบทบาทเด่นคือเขียนสาส์นส่งไปยังกรุงกรงกา ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นอาลักษณ์ของเมืองขีดขิน
-
พระอังคารเป็น วิสันตราวี
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีลิ้นจี่ หัวโล้น ปากอ้า
รายละเอียด : ชาติเดิมคือพระอังคารเทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าแห่งสงคราม
-
พระพุธ เป็นสุรเสน
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานร สีแสด หัวโล้น ปากอ้า
รายละเอียด : ชาติเดิมคือ พระพุธ เทวดานพเคราะห์เทพเจ้าแห่งวาจาและพาณิชย์
สุรเสนมีความเก่งกาจเกือบเทียบได้กับหนุมานเมื่อเสร็จศึกได้ไปครองเมืองอัสดงค์เมืองของสัทธาสูร
-
พระราหู อวตารเป็น นิลปานัน
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีสำริด หัวโล้น ปากอ้า
รายละเอียด : ชาติเดิมคือพระราหู เทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าผู้สถิตอยู่บนก้อนเมฆ
-
พระพฤหัส เป็น มาลุนทเกสร
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีเมฆหรือสีม่วงครามอ่อนอ่อน หัวโล้น ปากหุบ
รายละเอียด : ชาติเดิมคือ พระพฤหัสบดี เทวดานพเคราะห์ เทพฤาษีอาจารย์พระอินทร์
-
พระศุกร์เป็นนิลปาสัน
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีหมากสุก หัวโล้นปากอ้า
รายละเอียด : ชาติเดิมคือพระศุกร์ เทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าแห่งความรัก ความงามและความสันติ
-
พระเสาร์เป็น นิลพานร(วิมลวานร)
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานร สีดำหมึก หัวโล้น ปากหุบ
รายละเอียด : ชาติเดิมคือ พระเสาร์ เทวดานพเคราะห์เทพเจ้าแห่งกสิกรรม
-
และพระไพรศรพณ์(อ่านว่า พะ-ไพ-สบ) เป็น เกสรทมาลา
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีเหลืองอ่อน หัวโล้นปากอ้า
รายละเอียด : ไม่ปรากฏว่าเป็นฝ่ายใด วานรพงศ์ของพระเทวาภินิมมิตร(ฉาย เทวาภินิมมิตร)ว่าเป็นฝ่ายเมืองขีดขิน
ชาติเดิมคือพระไพศรพณ์พระพนัสบดี เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ในป่า มีลักษณะพิเศษคือมีกลิ่นกายหอมสดชื่นมีหน้าที่อยู่ใกล้พระราม ให้กลิ่นกายไปสร้างความสดชื่นแก่พระองค์
ภาพจากจิตรกรรมฝาผนังรอบระเบียงในวัดพระแก้ว
Credit: modxtoy.com
สุดท้าย ขอฝากชมรมน้องใหม่ที่มีเนื้อหาหลากหลายและเพื่อนๆที่สนใจ มาร่วมคุยและอ่านกันได้ครับ
ชมรมคลังความรู้ประวัติศาสตร์ - นิยายทั่วทุกมุมโลก คับผม
http://www.soccersuck.com/clubs/detail/64
อ่านเรื่องนิยายกรีก และอื่นๆได้ที่Lockerได้เลย