[RE: ถามหน่อยครับ..ผมไม่ค่อยเข้าใจคำว่า "กาลเทศะ" กับคำว่า "จิตสำนึก"]
คำว่า กาลเทศะ เป็นคำสมาส มาจากคำว่า กาล ที่หมายถึงเวลา เทศะ หมายถึงสถานที่ การออกเสียงอย่างคำสมาสต้องออกเสียงท้ายพยางค์ของคำแรกค่ะ ออกเสียงว่า กา-ละ-เท-สะ
กาลเทศะ อ่านว่า กา-ละ-เท-สะ หมายถึง เวลาและสถานที่; ความควรไม่ควร
จิตสำนึก
N. conscious
def:[ภาวะที่จิตตื่นและรู้สึกตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย]
sample:[จิตสำนึกคอยย้ำเตือนมิให้เขาทำความชั่ว]
จิตสำนึกคือ เป็นสภาพที่รู้ตัวว่าคือใคร อยู่ที่ไหน ต้องการอะไร หรือกำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด เมื่อแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปก็แสดงออกไปตามหลักเหตุและผล แสดงตาม แรงผลักดันจากภายนอก สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง (principle of reality)
จิตสำนึกเป็นระดับเหตุผลภายในใจ ที่ส่งผลต่อการแสดงออกในพฤติกรรมต่างๆ โดยเลือกแล้วว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร เป็นการระลึกรู้ได้เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของตัวเองในโครงสร้างสังคม ดังที่เราจะได้ยินบ่อย ๆ ว่า จิตสำนึกแห่งความเป็นครู จิตสำนึกของพลเมือง จิตสำนึกสาธารณะ จิตสำนึกของการเป็นคนดี จิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม จิตสำนึกจึงเกี่ยวโยงกับคุณธรรม และจริยธรรมของบุคคลนั่นเอง
ก้อปเค้ามา