เบื้องหลังตระกูลอเมริกันที่ร่ำรวยและมีอิทธิพลมากที่สุดร็อกกี้เฟลเลอร์
[color=blue]เราเคยได้ยินชื่อ ร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller) กันมามากแล้ว แต่ทว่าเรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเบื้องหลังครอบครัวชาวอเมริกันที่ทรงอิทธิพลนี้! เรามีข้อมูลอะไรบ้างเกี่ยวกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ใครบ้างที่เป็นผู้ไขกุญแจแผนการควบคุมความคิด ทำไมเหยื่อรายแรกของโครงการนี้จึงเป็นประชาชนของอเมริกาเสียเอง เพื่อที่จะไขปมปัญหาเหล่านี้ ขอให้เราพิจารณาดูรายงานพิเศษต่อไปนี้.....
ในช่วงหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมาของอเมริกา ครอบครัวร็อกกี้เฟลเลอร์ ถูกรู้จักในฐานะครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดทางการเงินและการเมือง ครอบครัวนี้ได้ก่อตั้งมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ขึ้นในปี ค.ศ.1913 ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในบรรดาศูนย์กลางที่สำคัญที่สุดที่เป็นตัวกำหนดการเมืองและเศรษฐกิจของอเมริกา
มูลนิธินี้มีอิทธิพลมากในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ภายในประเทศและต่างประเทศของทำเนียบขาว แม้ว่ามูลนิธินี้ตามรูปการภายนอกแล้วจะทำงานเคลื่อนไหวในกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสาธารณสุขและการศึกษาในระดับโลก แต่ในความเป็นจริงแล้วจัดว่าเป็นบริษัทการค้าข้ามชาติบริษัทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่บริหารควบคุมตลาดการค้าระหว่างประเทศร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ทางด้านการเงินและเศรษฐกิจที่มีอย่างกว้างขวางมากมายของตนเอง
ครอบครัวร็อกกี้เฟลเลอร์ ครอบครัวที่ร่ำรวยและมีอิทธิพลมากที่สุดของอเมริกา
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) จะทำหน้าที่ควบคุมโครงสร้างหลักของการบริหารระบบการเมืองของอเมริกาและองค์กรสำคัญต่าง ๆ ของประเทศนี้ โดยอาศัยเครือข่ายของตนที่มีอยู่ โดยกล่าวกันว่า นับจากปี ค.ศ. 1945 จวบจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่บุคคลที่มีบทบาทสำคัญของอเมริกาเกือบทั้งหมดที่รับผิดชอบตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ทางด้านการเมือง ทั้งหมดล้วนเคยดำเนินกิจกรรมอยู่ในมูลนิธินี้หรืออยู่ในองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นเครือข่ายของมัน หรือเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือจากมูลนิธินี้ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) มีแผนกต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ศึกษาวิจัยขั้นสูง ซึ่งจะดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายของอเมริกาและการเขียนร่างยุทธศาสตร์และนโยบายการเมืองระดับโลกและเกี่ยวกับเศรษฐกิจของอเมริกา
การควบคุมความคิดสาธารณะ คือหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการครอบงำโลก
เพื่อการแพร่ขยายค่านิยมและสัญลักษณ์ต่างๆ แบบอเมริกันในประเทศต่างๆ นั้น มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ทุ่มเทความพยายามเพื่อที่จะเปิดตัวกลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลายที่จะทำหน้าที่เคลื่อนไหวทางภาคการเมืองและภาคประชาชนในประเทศเหล่านี้ ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมก็เป็นอีกโครงการหนึ่งในการศึกษาวิจัยของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ โดยรวมแล้วภารกิจหลักของมูลนิธินี้คือการพิทักษ์รักษาและป้องกันระบอบทุนนิยม
เพื่อที่จะให้บรรลุในภารกิจนี้ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลายาวนานนับหลายทศวรรษ ด้วยการให้การสนับสนุนทางด้านการเงินอันมากมายมหาศาลเกี่ยวกับโครงการต่างๆ และการศึกษาค้นคว้าวิจัย การควบคุมความคิดสาธารณะโดยผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ และได้ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างมากมาย ในคำรายงานนี้เราจะชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของมูลนิธินี้ ในการบริหารและควบคุมความคิดสาธารณะและการโฆษณาชวนเชื่อ
กลุ่มร็อกกี้เฟลเลอร์และการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสงครามจิตวิทยา
นับจากช่วงทศวรรษที่สามสิบเป็นต้นมา มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์นับว่าเป็นแหล่งที่มาหลักของการกำหนดทิศทางความคิดสาธารณะและการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสงครามจิตวิทยาในสหรัฐอเมริกา โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยวางนโยบายต่าง ๆ ของอเมริกา จวบจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงเวลานั้นการสนับสนุนของรัฐบาลในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลไกของการโฆษณาชวนเชื่อยังมีขอบเขตที่จำกัด ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดรูปร่างและทิศทางของความคิดสาธารณะรวมทั้งการสำรวจ ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์
การใช้สื่อต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการครอบงำประชาชนของอเมริกา
ในความเป็นจริงการดำเนินแผนงานต่างๆ ในระยะยาวของระบอบทุนนิยมของมูลนิธิแห่งนี้ มีความจำเป็นต้องอาศัยผลสรุปจากการศึกษาวิจัยเหล่านี้ มูลนิธินี้จะใช้ประโยชน์จากสองช่องทางเกี่ยวกับการควบคุมความคิดของสาธารณชน คือ 1) การวิจัยและตรวจสอบสภาพจิตใจของประชาชนอเมริกาเกี่ยวกับกรณีการเผชิญหน้ากับสงครามที่มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศนี้ และ 2) การจัดเตรียมค่าใช้จ่ายของสงครามจิตวิทยาและการปราบปรามแนวคิดต่าง ๆ ของฝ่ายต่อต้านในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในละตินอเมริกา
สืบเนื่องมาจากการวิจัยและการรับรู้ถึงความอ่อนแอทางการเมืองของรัฐบาลของนาย แฟรงคลิน รูสเวล (Franklin Roosevelt) และการไร้ความสามารถของรัฐบาลนี้ในการวางแผนสำหรับการทำสงคราม จากผลของการโฆษณาชวนเชื่อของสื่อต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั้งภายในและต่างประเทศ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์จึงตัดสินใจก่อตั้งสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ขึ้น และได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของโครงการค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับวิทยุคลื่นสั้นของต่างประเทศ
เทคนิคการล้างสมองและทำให้เกิดความกลัว
การวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสื่อสารมวลในอเมริกา หากไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์นั้นย่อมไม่อาจที่จะพัฒนาก้าวหน้าไปได้ถึงขั้นนั้น แฮโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ศาสตราจารย์รัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นเขาได้ดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อและการโฆษณาชวนเชื่ออย่างกว้างขวาง พร้อมด้วยนักจิตวิทยาผู้หนึ่งซึ่งมีชื่อว่า ฮัดลีย์ แคนทริล (Hadley Cantril) ที่ทำงานอยู่ด้วยกัน ทั้งสองได้จัดตั้งองค์กรต่าง ๆ ขึ้น โดยประสานความร่วมมือกันทางด้านความรู้และข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการจัดระบบแผนงานต่าง ๆ ของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทาง ในช่วงทศวรรษที่ยี่สิบ ฮัดลีย์ แคนทริล เขาเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับเนลสัน ร็อกกี้เฟลเลอร์ (Nelson Rockefeller) ในวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ (Dartmouth College) และในช่วงสมัยหลังสงคราม เขาได้จัดระบบและจัดเตรียมข้อมูลและเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบและการบริหารควบคุมความคิดของสาธารณชนโดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ในยุโรป ละตินอเมริกาและสหรัฐอเมริกา เขาได้รับปริญญาเอกในสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย (Harvard University) และได้เขียนหนังสือจิตวิทยาวิทยุขึ้นในปี 1935 ร่วมกับกอร์ดอน อัลพอร์ต (Gordon Allport) อาจารย์ของเขาเอง
ในช่วงทศวรรษที่ 40 และ 50 วิทยุและโทรทัศน์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด
ในการควบคุมความคิดสาธารณะของประชาชนชาวอเมริกา
บนพื้นฐานของเอกสารหลักฐานที่ได้รับมานั้นเป็นที่ชัดเจนว่า มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัยมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี ซึ่งเป้าหมายของพวกเขาก็คือการบรรลุความสำเร็จในเทคนิคต่างๆ ที่จะใช้ในการล้างสมองและการสร้างความกลัวให้เกิดขึ้นในสังคม ตัวอย่างเช่น ในทศวรรษที่ 40 และ 50 บรรดานักวิจัยของมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ของอเมริกา ได้รับเงินกองทุนขนาดใหญ่จากมูลนิธินี้สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับ "กลไกทางจิตวิทยาของการสื่อสาร"
จุดมุ่งหมายหลักที่มีต่อโครงการต่างๆ เหล่านี้ก็คือ ความพยายามที่แสวงหาคำตอบเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่ยังไม่เข้าใจ ด้วยวิธีการการที่ทำให้บุคคลเกิดความสับสน อันเนื่องมาจากแนวความคิดต่างๆ ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง โดยจะถูกนำเสนอแก่พวกขาอย่างมึนงงสับสนไม่เป็นระบบ ซึ่งประเด็นที่จะเสนอขายให้กับเขา เป็นวิธีการที่ส่งผลกระทบข้างเคียงทางด้านอารมณ์ความรู้สึกและความคิดต่าง ๆ ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจและความเชื่อ และวิธีการเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนของตัดสินใจและความเชื่อ ในขณะศึกษาเกี่ยวกับประเด็นหนึ่งๆ จากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งของปัจเจกบุคคล เกี่ยวกับขอบข่ายต่างๆ ที่ทีมนักจิตวิทยาและสังคมวิทยาต้องการ ภายใต้การบริหารจัดการของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์
งานของกลุ่มสังคมศาสตร์ในมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มีแผนกสังคมศาสตร์ โดยมีคาร์ล ไอ.ฮาวแลนด์ (Carl I. Hovland) นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเยล เป็นสมาชิกคนหนึ่งในแผนกนี้ และเป็นผู้รับหน้าที่การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความเชื่อของคนกลุ่มต่าง ๆ ทิโมธี แกลนเดอร์ (Timothy Glander) เขียนไว้ในหนังสือ ต้นกำเนิดของการวิจัยมหภาค การสื่อสารในระหว่างสงครามเย็นของอเมริกา เกี่ยวกับคาร์ล ไอ.ฮาวแลนด์ว่า ฮาวแลนด์เป็นหนึ่งในสมาชิกคนสำคัญของสภาผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติหลายแห่ง เช่น สถาบันวิจัยทรัพยากรมนุษย์ของกองทัพอากาศ, มูลนิธิฟอร์ด, มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากองค์กรที่ฮาวแลนด์ได้ทำงานอยู่ในโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมความคิดสาธารณชน
[img]
http://www.mashreghnews.ir/files/fa/news/1391/3/20