[RE: อั้ม เนโกะ มาอีกแล้ว]
sandwhale พิมพ์ว่า:
Spirit_of_the_World พิมพ์ว่า:
sandwhale พิมพ์ว่า:
SerpentZ พิมพ์ว่า:
ข้อ9: ทำแบบไหนเสื่อมเสียชื่อเสียงอะครับ? หลายคนในธรรมศาสตร์มองว่าสร้างชื่อด้วยซ้ำ ไอ้พวกที่ทำเสียชื่อเสียงอาจจะเป็นพวกที่ไปทำลายอุดมการณ์ปรีดีด้วยซ้ำ ใครกันแน่ไม่ทำตามกฎ?
ข้อ10: เชื่อฟังตามคำตักเตือน (แม้ว่าจะไม่เหมาะก็ตามหรอ มันงี่เง่าเกินไปมะ?) ยกตัวอย่าง ปีกลายที่แล้ว สมคิด ห้ามนิติราษฎร์เสวนา ห้ามนักศึกษาเคลื่อนไหวเรื่องที่เขาสนใจ แต่ตัวเองไปเข้าข้างฝ่ายตรงข้ามขบวนการนักศึกษาออกนอกหน้า คำถามคือความอยุติธรรมอย่างนี้ควรเชื่อฟังแล้วหรือ? น่าขำจริง นี่ไม่ใช่กฎในโรงเรียนแบบซื่อๆเท่อๆนะครับคุณ
ข้อ11: ขอตรวจบัตรก็ตรวจสิ แต่มีสิทธิ์ยึดหรอ? ใครกันแน่ไม่ทำตามกฎ?
ปล เมื่อก่อน มหาวิทยาลัยนี้ชื่อ "ธรรมศาสตร์และการเมือง"
ปรีดีตายเป็นผีไปนานแล้วครับ กรุณาอยู่กับปัจจุบันไม่ใช่มัวงมงายอยุ่กับ ศตวรรษที่ 19 ปฏิวัติฝรั่งเศส คณะราษฎร์ บลาๆ
ตอนนี้กฏของมหาวิทยาลัยเป็นแบบนี้ ซึ่งออกโดยคณะกรรมการมหาวิทยาลัย
ถ้าไม่พอใจก็ไม่ต้องเรียนสิครับที่นี่ ไปเรียนที่อื่น
หรือถ้าคิดว่าการที่คุณไม่เห็นด้วยกับกฏก็เสนอทางเลือกและเหตุผล
แต่ถ้าสังคมไม่ยอมรับเหตุผลของคุณก็จงทำใจ เพราะมันเป้นกฏที่คนหมู่มากยอมรับ
1 คน 1 เสียงนิครับ ประชาธิปไตยแบบแฟร์ (อย่าเอาวาทกรรมกดขี่ ชันชั้น อนุรักษ์นิยม อำมาตย์ บ้าบอมาใช้เลย)
ส่วนเค้าบอกไม่สุภาพนี่คือ ไม่สุภาพจากเครื่องแต่งกาย
ก็เหมือนที่ผมบอก ถ้าเป้นผมจะถ่ายวีดีโอแล้วเอาปแปะประจานทั้งในเน็ตและตามมุมต่างๆของมหาวิทยาลัย
แล้วถามว่า "คุณคิดว่าชุดแบบนี้เรียกว่าชุดสุภาพ?"
1. คนตายเป็นผีหมายความว่าอุดมการณ์ต้องตายตามไปด้วย? แบบนี้ Fedealist Paper ต้องตายตาม Jefferson ไปด้วย สิครับ หรือ Woodrow Wilson ตายไปแล้วอุดมการณ์ในการสร้างโลกที่ปราศจากสงครามต้องตายตามไปด้วยนะ
2. กฎควรกระทำตาม แต่กฎหนักแน่นในเชิงการตีความหรือหลากเลื่อนลื่นไหลนั้นมันก็เป็นสิ่งที่ต้องมาคิดมาดูกัน การไม่พอใจไม่ได้หมายความต้องย้ายถิ่นฐานเสมอไป ผมไม่พอใจรัฐบาลผมต้องย้ายไปหรอ หรือช่วยตรวจสอบให้มันดีขึ้น ตรรกะงี่เง่า!!!
3. ไม่มีใครใช้วาทกรรมกดขี่ ชนชั้น อำมาตย์ บ้าบออะไรเลย และผมอยากบอกอีกอย่างนะครับ ประชาธิปไตยอย่างเดียวมันไม่พอ มันต้องมีเสรีภาพด้วยเพื่อมาถ่วงดุลไม่ให้มี ทรราศเสียงข้างมาก (Tyranny of Majority) คนอย่าง JS Mills เคยเห็นข้อบกพร่องของเรื่องดังกล่าวมาแล้ว หลักการนี้เกิดขึ้นเพื่อ ไม่ให้เสียงส่วนใหญ่มาละเมิด "สิทธิ" ที่พึงมีของแต่ละสมาชิกในประชาคม
4. ผมไม่เคยบอกเลยนะว่าที่อั้มใส่มันสุภาพ กลับไปอ่านดูให้แตกเสียดีไหมครับ
ตรรกะงี่เง่าตรงไหนครับ ก็ในเมื่อคุณ "เลือก" ที่จะเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนั้น
คุณก็ต้องยอมรับกฏ อันนี้เหมือนที่เลือกว่าจะเป็นพนักงานบริษัท
แต่ในแง่ของรัฐบาลนั้นคุณไม่ได้เลือกที่จะเป็น "ประชากร" ของรัฐนั้นๆ
แต่สภาพของประชากรเป็นสิ่งที่ติดตัวมา ดังนั้นสภวะระหว่างการสิ่งที่ติดตัวมากับสิ่งที่คุณเลือกจึงไม่เหมือนกัน
หลักการเบื้องต้นคือ ถ้าคุณเลือกที่จะเข้าเป็นหนึ่งในองค์กรใดแล้วคุณยอมรับไม่ได้ก็ไม่ควรเข้าตั้งแต่แรก
ดังนั้นในกรณีถือว่าคุณได้ "เลือก" แล้ว
ต่างกับหลักการของการเป็นพลเมืองของรัฐที่คุณไม่มีสิทธิเลือก
คุณจึงมีสิทธิที่จะคัดค้านมากกว่านี้
อีกอย่างผมก็บอกแล้วนิว่าถ้าไม่พอใจก็เสนอมา
แต่ถ้าคนเค้าไม่รับข้อเสนอของคุณก็แปลว่าคุณไม่มีพลังในการโน้มน้าวให้เค้าเชื่อในเหตุผลของคุณ
ซึ่งก็แปลว่ากฏเหล่านั้นก็ยังต้องได้รับการปฎิบัติอยู่
ซึ่งก็มีทางเลือกอยู่สองอย่างคือ
1.ออกจากฐานะของการเลือกนั้นแล้วไปเลือกทางอื่นที่พอใจ
2.ต่อต้านกฏ แต่ทั้งนี้ก็หมายความว่าองค์กรที่คุรต่อต้าน ก็มีสิทธิที่จะใช้อำนาจที่เค้ามีจัดการกับคุณได้ ในกรณีที่การใช้อำนาจนั้นไม่ได้ขัดกับหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ (ซึ่งในกรณีก็ไม่ได้ขัด เพราะคุณเลือกแล้วที่จะถือสมาชิกภาพของมหาวิทยาลัย)