Japanese Vintage Denim OSAKA5
เอาความรู้มาฝากครับ ขอขอบคุณ maisamsen จาก Selvedgeforum ที่นำมาเผยแพร่นะครับ
และก็ขอขอบคุณ ข้อมูลจากบทความใน japanesestreets และ halloffade ด้วยครับ
ต้องขอเกริ่นประวัติกันก่อนนะครับ
ถ้าพูดถึงที่มาของ "ยีนส์" มันเป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หลักๆ คือใน USA ตั้งแต่ยุค 40's เป็นต้นมา
นับเป็นเสื้อผ้าที่ผู้ชายทุกคนต้องมีไว้เลยทีเดียว และสุดยอดแบรนด์ในยุคนั้น แน่นอนว่าต้องเป็น ยีนส์สัญชาติอเมริกัน
อย่าง Levi's, Lee และ Wrangler ลักษณะผ้าจะเป็นสไตล์วินเทจแบบดิบๆ เน้นความทนทาน เน้นการใช้งาน
แต่การผลิตและตัดเย็บผ้าแบบนี้ ต้องใช้กรรมวิธีที่ยุ่งยาก ทั้งจักรเย็บผ้า คนงาน ที่ต้องประณีตในการผลิตจริงๆ
เมื่อเข้าสู่ยุคปลาย 60's แบรนด์ใหญ่ๆหลายรายก็เริ่มเปลี่ยนกรรมวิธีในการผลิต คุณภาพของยีนส์อเมริกันก็เริ่มลดลง
ตัวอย่างการแต่งตัวแบบอเมริกัน 40's - 60's ภาพจาก FB Housesixty ShopOnline
ภาพจาก FB She has a beard Shop
Hidehiko Yamane เป็นชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ทำงานที่ร้านเสื้อผ้าแฟชั่นใน Osaka ชื่อว่า Lapine เขาชื่นชอบยีนส์
Levi's 501 อย่างมาก และเขาก็พอจะเห็นว่าตั้งแต่ยุค 60's เป็นต้นมานี้ คุณภาพยีนส์มันเทียบไม่ได้กับสมัยก่อนจริงๆ
เขาจึงวางแผนที่จะสร้างแบรนด์ของตัวเอง โดยจะผลิตยีนส์คุณภาพสไตล์วินเทจเหมือนกับยีนส์อเมริกันสมัยก่อน
จนกระทั่งปี 1988 Yamane ก็ได้ก่อตั้งแบรนด์ยีนส์ของตัวเองขึ้นที่ Osaka ตอนแรกใช้ชื่อแบรนด์ว่า "EVIS" แต่ต่อมา
จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "EVISU" เรียกได้ว่าแทบจะเอาชื่อ Levi's มาทั้งชื่อ เพียงแค่ตัดตัว L ข้างหน้าออกแล้วเติมจัว U ข้างหลัง
EVISU ใช้กรรมวิธีการผลิตยีนส์แบบเก่า ทั้งจักรที่ใช้เย็บ คัตติ้งและทรงต่างๆ เอามาจากยีนส์อเมริกันยุคก่อนโดยตรง
หลังจาก EVISU ก่อตั้งได้ไม่นาน อดีตเพื่อนร่วมงานของ Yamane ที่ Lapine ชื่อว่า Mikiharu Tsujita จึงได้สร้างแบรนด์ของตัวเอง
ในปี 1992 ชื่อว่า "Fullcount" แน่นอนว่า location อยู่ที่ Osaka และมีคอนเสปการผลิตเหมือนกับ EVISU
ทั้ง Yamane และ Tsujita เป็นเพื่อนที่คอยช่วยเหลือกันและกันมาในเรื่องการพัฒนายีนส์ อีกทั้งยังสนิทกับลูกค้ารายหนึ่ง
ของร้าน Lapine ชื่อว่าพี่น้อง Shiotani ซึ่งไม่น่าแปลกใจว่าพี่น้องคู่นี้จะก่อตั้งแบรนด์ยีนส์ของตัวเองเช่นกัน ในปี 1995
มีชื่อว่า "Warehouse" อีกหนึ่งความเรียบง่ายของยีนส์สไตล์วินเทจของแบรนด์ยีนส์ญี่ปุ่นใน Osaka
เฟดของ Fullcount ภาพจาก rawrdenim
ถึงจุดนี้ยีนส์ญี่ปุ่นไม่ใช่แค่ทำตามอเมริกันในสมัยก่อนแล้ว พวกเขาได้ใส่กลิ่นอาย ผสมผสานความเป็นญี่ปุ่น
เข้าไปในยีนส์ที่พวกเขาผลิตจนได้สร้างเอกลักษณ์ความเป็น Japanese Vintage Denim ของตัวเอง
นอกเหนือจากแบรนด์ที่ทีต้นกำเนิดมาจากร้าน Lapine แล้ว ก่อนหน้านั้น ก็มีแบรนด์ยีนส์ใน Osaka แบรนด์หนึ่ง
นำเอาคอนเสปนี้มาใช้ แบรนด์นี้ได้ถูกก่อตั้งในปี 1979 โดย Shigeharu Tagaki ผู้ที่ภายหลังได้รับการยกย่องว่า
เป็นยอดฝีมือในวงการยีนส์ญี่ปุ่นคนนึง แบรนด์นี้มีชื่อว่า "Studio d'Artisan" Tagaki ได้นำลูกเล่นแปลกๆใหม่ๆมาลองกับยีนส์
ของเขาเสมอ อย่างยีนส์รุ่งนึงขากางเกงข้างนึงทอ LHT อีกข้างทอ RHT จนถือว่า Studio d'Artisan เป็นแบรนด์ที่ยังรุ่งเรือง
ในญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน และนอกเหนือจากแบรนด์ใน Osaka แล้ว ยังมีเมืองที่ติดกันทางตะวันตกคือ Kobe
ที่นั่นก็มีแบรนด์ยีนส์ที่ถูกก่อตั้งขึ้นเช่นเดียวกัน โดย Yoshiyuki Hayashi แบรนด์นั้นมีชื่อว่า "Denime"
เฟดของ Studio d'Artisan ภาพจาก superfuture
ยีนส์ทั้ง 5 แบรนด์ ได้แก่ EVISU, Fullcount, Warehouse, Studio d'Artisan และ Denime มีโลเคชั่นอยู่ที่
Osaka เหมือนกัน อาจมี Denime ที่อยู่ที่ Kobe แต่ก็ถือกว่าใกล้ๆกัน ในญี่ปุ่นถือว่าพวกเขาเป็นกลุ่มบุกเบิกยุคแรกที่ทำให้
กระแสของยีนส์ เปรี้ยงปร้าง รุ่งเรือง ได้รับความนิยมล้นหลามในญี่ปุ่น ถือว่าแบรนด์ที่เป็น Japanese Vintage Denim จริงๆ
แบรนด์ทั้ง 5 นี้ ได้รับการขนานนามว่า "OSAKA 5"
Hayashi ผู้ก่อตั้ง Denime เคยกล่าวไว้ว่า พวกเรา OSAKA 5 รู้จักทั้งแบรนด์ของตัวเองและคนอื่นซึ่งกันและกันดี พวกเราร่วมมือกัน
ที่จะพัฒนาแบรนด์ของเราทั้ง 5 ไปด้วยกัน ถ้าเทียบกับในโตเกียวแล้ว พวกเราไม่มีการปิดบังข้อมูล และคุยกัน
อย่างเข้าใจกันมากกว่า ขณะที่ Tsujita ผู้ก่อตั้ง Fullcount ได้กล่าวไว้ว่า เราก็ต่างรู้ว่าพวกเขาอีก 4 แบรนด์ทำอะไรอยู่
และเราเองก็ตะหนักว่าเราต้องทำให้ดีกว่าพวกเขาให้ได้ Tsujita และ Yamane ก็เคยกล่าวไว้ว่า พวกเราที่ Osaka ภูมิใจ
และทำในสื่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเรา ขณะที่ในโตเกียวผู้คนจะให้ความสำคัญกับเทรนด์ บางอย่างได้รับความนิยมสูงจริง
แต่อีก 6 เดือนก็ไม่มีใครพูดถึงมันแล้ว
ในช่วงนั้นแบรนด์ทั้งห้าใช้ผ้าที่ทอจากโรงงานใน Osaka ชื่อว่า Kurabo หนึ่งในห้าโรงงานผ้ายีนส์ในญี่ปุ่นที่ยังอยู่จนถึงปัจจุบัน
(อีก 4 ที่ ได้แก่ Japan Blue Group, Kaihara, Kuroki และ Nisshindo) รายละเอียดของยีนส์ของพวกเขาสมัยนั้น คือ หมุด (rivet)
จะทำจากทองแดง กระดุม (button) ทำจากสังกะสี ขณะที่ตัวผ้าพวกเขาเลือกสรรผ้าที่ดีที่สุดสำหรับแบรนด์ของตัวเองก็จริง
แต่เรื่องนี้แต่ละแบรนด์ก็มีความคิดหลากหลาย อย่าง Studio d'Artisan ใช้ Memphis cotton ขณะที่ Fullcount เลือกใช้ cotton
ที่ปัจจุบันโด่งดังและรับการย้อมรับว่าเป็น cotton ที่ดีที่สุดสำหรับการผลิตยีนส์อย่าง Zimbabwe cotton และขณะนั้น
ช่วงประมาณกลางปี 90's โรงงานทอผ้าเล็กๆโรงหนึ่ง ก่อนหน้านั้นพวกเขาผลิตผ้าสำหรับชุดนักเรียน แต่ก็ไปได้ไม่สวย
พวกเขาจึงเปลี่ยนมาผลิตผ้ายีนส์และก็พัฒนาตัวเองขึ้นมา เริ่มผลิตผ้ายีนส์คุณภาพออกมามากขึ้นเรื่อยๆ
หลายคนอาจจะพอเดาได้ว่าโรงงานที่ว่านี้อยู่ที่ Okayama
EVISU worn ภาพจาก superfuture
ข้าสู่ปลายปี 90's เรียกได้ว่ากระแสยีนส์วินเทจได้รับความนิยมสูงมากๆทั่วทั้งญี่ปุ่น ไม่ใช่แค่ที่ Osaka หรือ Kobe แบรนด์ยีนส์วินเทจ
เกิดใหม่มากมาย มีอยู่แบรนด์หนึ่งได้ร่วมงานและนำแรงบันดาลใจจาก Fullcount มาผลิตยีนส์ของตัวเอง อีกทั้งยังใช้ Zimbabwe cotton
เป็นมาตรฐานในการผลิตยีนส์เหมือนกัน location ของแบรนด์นี้อยู่ที่ Okayama แน่นอนว่าแบรนด์นี้มีชื่อว่า "Momotaro"
และเมื่อถึงจุดนึง OSAKA 5 ก็สั่นคลอน Studio d'Artisan ถูกซื้อโดย Okayama ส่วน Denime ถูกเทคโอเวอร์
โดยเจ้าของ Real McCoy's ส่วน EVISU ก็ขายเฟรนไชส์ให้ต่างประเทศ และโดนเอาไปเปลี่ยนแนวจนไม่เหลือคอนเสปเดิม
ขณะที่เจ้าของแบรนด์หลายคนเริ่มยอมแพ้และพยายามออกมาสร้างแบรนด์ใหม่ๆ ที่เป็นยีนส์วินเทจเหมือนเดิม Yamane
ผู้ก่อตั้ง EVISU ออกมาทำ Yamane Deluxe ส่วน Hayashi ผู้ก่อตั้ง Denime ก็ออกมาทำ Resolute
Hayashi เคยกล่าวไว้ว่า พวกเราแค่อยากทำยีนส์แบบ Levi's 501 แต่ทุกวันนี้อะไรๆมันก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว
เรียกได้ว่าปลาย 90's ผู้คนเริ่มรู้จักกับคำว่า "เฟด" มันคือยุค Jeans Revolution ในญี่ปุ่นอย่างแท้จริง
ยีนส์ Resolute ของ Hayashi ภาพจาก superfuture
Fullcount
ผ้า รายละเอียด ใกล้เคียง big E มากมาก
ขอบคุณรูปจากพี่ Balloon ด้วยครับผม
แบรนด์ใหม่ๆที่ออกมานั้น ก็เรียกได้ว่าเป็นสไตล์วินเทจที่มันเหมือนกับเป็น "วิวัฒนาการ" ถ้าเอาแค่ในญี่ปุ่นก็เปรียบเทียบได้ว่า
OSAKA 5 เป็นมนุษย์หินอยู่ถ้ำ แต่ยีนส์อย่าง The Flat Head หรือ Samurai คือมนุษย์ยุคปัจจุบัน ยีนส์มันมีพัฒนาการแบบเรื่อยๆ
ค่อยเป็นค่อยไปในตัวมัน ทีละยุคสมัย เหมือนมนุษย์ที่จากใช้หินอยู่ในถ้ำล่าสัตว์ ก็ค่อยๆพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือ หันมาใส่เสื้อผ้า
สร้างบ้านอยู่แทนถ้ำ สำหรับยีนส์ก็จากกระบอกตรงแบบ 501 ก็ค่อยๆเป็นทรงสลิมมากขึ้น เนื้อผ้าจาก slub ไม่ค่อยมีก็มีมากขึ้น
rivet และ button ก็ใช้วัสดุที่ทนทานขึ้น บางรุ่นบางแบรนด์ก็ไม่ใช้ button ใช้ zip แทน และจากที่สมัยก่อนส่วนใหญ่ Sanforized
มาให้อยู่แล้ว สมัยนี้ยีนส์วินเทจที่มาเป็น Unsanforized ก็เยอะ ประเด็นคือหากเรามองย้อนกลับไป ไม้ได้มองว่ามันค่อยๆวิวัฒนาการ
เอา The Flat Head สมัยนี้มาวางข้าง Studio d'Artisan สมัยนั้น สิ่งที่มันเป็น สิ่งที่เราเห็น คงต่างกันแบบมองออกชัดเจน
เวลาผ่านไปมันก็ทำให้อะไรๆเปลี่ยน คงมีแต่ตัวเราที่มัวแต่หันไปมองอดีตที่ไม่เคยย้อนกลับมา
ทั้งนี้ The Flat Head และ Samurai ก็เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ยีนส์วินเทจที่เกิดในยุคปลาย 90's และได้รับความนิยม
จนถึงปัจจุบันเหมือนกัน The Flat Head ผู้ก่อตั้งแบรนด์ชื่อว่า Masayoshi Kobayashi ก่อตั้งในปี 1996
ส่วน Samurai ก่อตั้งโดย Toru Nogami ในปี 1997
Credit: พูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้ Japanese Vintage Denim จาก Selvedgeforum
คุณ maisamsen จาก Selvedgeforum ที่นำข้อมูลมาเผยแพร่
พี่ Balloon จากรูปFullcount
Superfuture