ย้อนไปถึงบ้านเราในยุคเก่าในยุคยีนส์ลีวายส์ครองเมืองดูเหมือนเป็นอะไรที่เล่นง่ายไม่กว้าง ยีนส์ตัวเก่งของนักเล่นยีนส์ทั้งหลายคงหนีไม่พ้นยีนส์ฟอก 501 ริมแดง หรือแพงหน่อยก็ Big-E และถ้ามีเวลามากหน่อยก็สามารถหาตัวตะเข็บงามๆที่ขึ้นเต็มทั้งซ้ายและขวาเท่านั้นเป็นอันหล่อและจบ แต่ในยุคปัจจุบันอะไรก็เปลี่ยนไปรายละเอียดและข้อแม้ในการเลือกซื้อมีเยอะขึ้นมาก จริงๆแล้วถือเป็นข้อดีของผู้ซื้อนะเพราะสามารถเลือกยีนส์ที่เข้ากับเราได้มากที่สุด น้องๆวัยรุ่นสมัยนี้เองก็มีความรู้พื้นฐานเรื่องยีนส์มากขึ้นด้วย น้องๆหลายคนที่ผมรู้จักเวลามาพูดคุยเรื่องยีนส์กับผมมักเปิดประเด็นด้วยเรื่องออนซ์ตามด้วยผ้าจากประเทศไหน? สองสิ่งนี้ผมเองจัดเป็นเรื่องสำคัญแรกๆของการเลือกซื้อยีนส์เลยครับ เพราะออนซ์จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความหนาของเนื้อผ้าซึ่งความสบายในการสวมใส่ของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ส่วนประเทศผลิตผ้าหรือผู้ปลูกฝ้ายจะบ่งบอกถึงเรื่องของการสัมผัสและระยะการใช้งาน และซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องผ้ายทอยีนส์ดังๆก็ต้องยกให้ประเทศซิมบับเว ญี่ปุ่น และแอฟริกาเค้าล่ะครับ สามประเทศนี้ถือว่าเป็นผู้ส่งออกฝ้ายรายใหญ่ๆที่มีคุณภาพเลยล่ะ
รีวิวนี้เราจะมาดูเจ้ายีนส์แบรนด์ Iron Heart กัน แต่ก่อนอื่นมาดูประวัติเล็กๆน้อยๆของแบรนด์นี้กันก่อน Iron Heart เป็นยีนส์แบรนด์สัญญาตญี่ปุ่นและยีนส์ทุกตัวถูกตัดเย็บในประเทศญี่ปุ่นทั้งสิ้น Iron Heart เป็นแบรนด์ที่มีแรงบันดาลใจมาจาก Boss ใหญ่และเจ้าของแบรนด์นาม ชินนิจิ ฮารากิ (Shinichi Haraki) ผู้ชื่นชอบการขับขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชีวิตจิตใจ เริ่มแรกก็เหมือนยีนส์แบรนด์ดังอื่นๆของประเทศญี่ปุ่นครับที่มักจะมีการขายอยู่แค่ภายในประเทศเท่านั้นจนกระทั้งนาย กิลล์ แพทมอร์ (Giles Padmore) ได้มารู้จักและได้นัดพบเจอกับ ชินนิจิ ฮารากิ ที่ลอสแอนเจลิส และต่อมาก็ได้เป็นดิสทริบิวชั่นของแบรนด์ Iron Heart ที่นำพาแบรนด์นี้ออกจากญี่ปุ่นสู่สายตาชาวโลกจนเป็นที่รู้จัก
ยีนส์แบรนด์ Iron Heart จะขึ้นชื่อเรื่องความ หนา และ ทน เพราะผ้าในรุ่นต่างๆส่วนใหญ่จะเน้นใช้ผ้า 21ออนซ์ ในขณะที่แบรนด์ผ้าดิบทั่วๆไปจะอยู่แถวๆ 13.5 ถึง 15ออนซ์กว่าๆจะมากสุดก็17ออนซ์ (จริงๆแล้วทาง Iron Heart ก็มีรุ่นที่ใช้ผ้า 13-16-17-18-22 และ 25ออนซ์ขายเหมือนกันนะครับ) ผ้าที่ใช้ตัดเย็บ Iron Heart ถูกนำเข้าจากแหล่งดังและเป็นหนึ่งในประเทศที่ปลูกฝ้ายดีที่สุดที่ได้รับการยอมรับซึ่งก็คือประเทศซิมบับเว ตามคำกล่าวที่ว่าไว้ว่าฝ้ายจากซิมบับเวนั้นทอได้ยาวกว่าและมีความนุ่มมาก ซึ่งเป็นเพราะการเก็บเกี่ยวจากมือล้วนๆด้วยแรงงานโดยปราศจากเครื่องจักร ด้วยวิธีนั้นจึงทำให้เกิดการเจือปนได้น้อยมากจากสิ่งรอบข้างและตัวฝ้ายเองก็สมบูรณ์มากคือไม่มีการฉีกขาดเหมือนการเกี่ยวด้วยเครื่องจักร และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ยีนส์หนาๆอย่างเจ้า Iron Heart นั้นสามารถใส่ได้อย่างสบายจนหน้าแปลกใจ
เรามาดูรุ่นยอดฮิตสำหรับแบรนด์นี้กันนะครับ
เริ่มด้วย รหัส 301s จะเป็นทรง กระบอกเล้ก
ทีนี้มาดูรอยเฟดสำหรับตัวรหัส 301s กันครับ
ลืมบอกไปครับ Iron Heart สามารถหาซื้อในบ้านเราได้นะครับ มีจำหน่ายอยู่2ร้าน ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ มีร้าน Pronto กับ the Adjective
ทีนี้มาดูทางร้าน Pronto นะครับ ที่นำเข้ามาจำหน่าย
โดยประเดิมด้วย 2รุ่นคือ
1. IS-666S เป็นทรงเล็กที่เรียกตามศัพท์สากลได้ว่า Super Slim Tapered
ตัวยีนส์ใช้ผ้า 18ออนซ์ Raw Unsanforised และเป็นผ้าริม
2. IHXB01XRAW เป็นทรงขากระบอกเล็กตามศัพท์สากลว่า Slim Tapered
ตัวยีนส์ใช้ผ้า 18ออนซ์ Raw Selvage
กล่าวถึงผ้าจำพวก Unsanforised ก็ต้องขออนุญาตอธิบายก่อนสักนิดเผื่อกรณีเพื่อนๆน้องๆบางคนอาจไม่รู้จัก ผ้า Unsanforisedถ้าอธิบายแบบง่ายๆ คือผ้าที่ควรแช่น้ำก่อนสวมใส่เพราะมันยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการทำให้หดจากโรงงานมา ดังนั้นควรแช่เพื่อให้ได้ทรงที่ควรจะเป็น คือตัวยีนส์มันจะหดเล็กลงเช่นในช่วงเอวอาจหดลงได้ถึง 1-1.5นิ้ว ซึ่งเราเองก็สามารถเลือกหดมากหดน้อยได้โดยการเลือกแช่ด้วยน้ำร้อนหรือน้ำเย็น คือถ้าแช่ด้วยน้ำร้อนจะหดมากและน้ำเย็นหดน้อยครับเพื่อให้เห็นภาพเจ้า Iron Heart Denim ได้ดีขึ้นผมจึงขอในภาพบางส่วนมาให้ชมกันโดยภาพส่วนมากจะมาจากตัว IS-666S ครับ
ทั้งสองรุ่นใช้กระดุม4เม็ดครับ และมีการปั้มนูนคำว่า IRON HEART WORKS INC, ไว้ที่ตัวบน และใช้แบบหน้าเรียบสำหรับ3ตัวที่เหลือ และในส่วนผ้าด้านหลังบริเวณกระดุมนี้มีการใช้ผ้าริมแดงเย็บประกบด้วย
หมุดยึดต่างๆเป็นสีทองเหลืองตามลักษณะสากล และมีการปั้มคำว่า IRON HEART WORKS INC, ไว้ด้วยเช่นกัน ส่วนบริเวณหูสอดเข็มขัดใช้การพับเย็บให้ขึ้นนูนเวลา ซึ่งเฟดมันจะสวยครับและยังสามารถช่วยป้องกันการฉีกขาดของตัวด้ายที่เย็บได้ด้วย
บริเวณด้านในของช่องเก็บเศษเหรียญหรือไฟเช็ค (สำหรับผม) ใช้ผ้าริมเย็บประกบ ถ้ามองจากด้วยในถึงจะรู้ครับ
อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ชื่อของแบรนด์สำหรับยีนส์แบรนด์ต่างๆก็คือลายที่ประเป๋าหลังครับ สำหรับ Iron Heart นั้นก็เป็นอะไรที่เรียบง่ายและดูดีที่เดียว
ทั้งรุ่น IS-666S และ IHXB01XRAW ต่างใช้ผ้าริมแดง 18ออนซ์ และได้ใช้การเย็บแบบลูกโซ่ในส่วนปลาย ซึ่งก็ถือเป็นมาตราฐานทั่วไปสำหรับยีนส์ในยุคสมัยนี้ไปซะแล้ว
Credit : Prontodenim
เจ้าของรูป 301s จาก Selvedgeforum
Selfdege