คงต้องเริ่มต้นด้วย
คำเตือนตัวใหญ่ๆว่า
"มู้นี้อาจจะไม่ถูกใจ ผู้นิยมชมชอบในตัวมู"
หัวข้อต้นฉบับเขาใช้คำว่า
"Rewatching Jose Mourinho era United matches is high comedy"
ดังนั้น กระทู้จะออกไปทาง
'บุลลี่' แท็กติกของมูเป็นหลัก (และใช้คำค่อนข้างแรง)
แต่อยากให้มั่นใจว่ามันจะได้สาระแน่นอน
เพราะด้วยสไตล์การเขียนของPauly Kwestel
ที่มักยกจังหวะในเกมมาประกอบ บางทีมันก็ชัดซะจนเราเถียงไม่ค่อยได้
Edit:หลังจากโพสกระทู้ไปแล้ว พบว่า หากเปิดในแอพรูปไม่ขึ้น
ดังนั้นรบกวน เปิดในweb browser ดีกว่าครับ
-------เริ่ม -----
ผมขอพาย้อนไปในซีซั่น2016-2017 ที่ผมและแฟนผีหลายๆคนก็แทบจะลืมมันไปแล้ว
ฤดูกาลแรกของมูริญโญ่ ที่บางคนอาจจะบอกว่า
"มันก็ไม่แย่นะ"
แต่จากเกมที่ผมหยิบขึ้นมานี้น่าจะทำให้หักล้างความคิดนี้ไปได้เลย
ในฤดูกาลนั้น มันเต็มไปด้วยเกมที่น่าเบื่อ ถึงแม้ว่าบางเกมเราอาจจะชนะก็เถอะ
ทุกๆสัปดาห์ ผมพกความตื่นเต้นที่จะได้ออกไปดูบอลในบาร์กับเพื่อน หรือตั้งตารอดูเกมสนุกๆบนโซฟาร์
แต่มันกลับรู้สึกเหมือนกับ คุณทำงานบ้านอันสุดแสนน่าเบื่อ
นอกจากนัดชิงยุโรป้าแล้ว มันแทบไม่มีอะไรให้จดจำเกี่ยวกับฤดูกาลนี้เลย
หนึ่งในเกมที่ผมจะหยิบยกมา คือ เกมที่ยูไนเต็ดของมูริญโญ่ต้องไปเยือนถิ่นไวท์ ฮาร์ท เลน
เพื่อเผชิญหน้ากับทีมท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ส ของ ปอเช็ตติโน่
มันเป็นเกมที่โคตรขำ โคตรบันเทิง จนพวกคุณไม่อยากจะเชื่อสายตาเลยล่ะ
คุณลองคิดดูสิ เกมผ่านไปไม่ถึง13นาที
สิ่งที่คอมเม้นท์เตเตอร์บ่นพึมพำ คือ
"WTF is Jose doing here?"
ลองดูจังหวะนี้ (gifล่าง)
แมนยูทำอะไร? ไม่เพรสเหรอ? เห้พวก!จะวิ่งไปไหนกัน?
ลินการ์ด ดูมีความกระตือรือร้นในการวิ่งหนีบอล
ทำไมปล่อยให้เซ็นเตอร์แบ็คคู่แข่งพาบอลขึ้นมาแบบนั้นล่ะ!?
จากนั้น อีก3นาทีถัดมา มันก็เกิดขึ้นอีกครั้ง
ตอนแรก ลินการ์ด ก็เหมือนจะดันขึ้นสูงไปแล้วแท้ๆ
แต่พอคู่แข่งได้บอล ไม่มีแม้แต่จะพยายามเข้าไปแย่งบอล เขาสนใจแค่การวิ่งกลับไปในโซนของตัวเอง
(จากgifบน )
"เอ๊ะ? หรือว่าลินการ์ดวิ่งไปปิดแฮรรี่ เคน ที่ถอยมารับบอลตรงกลางสนามรึเปล่า? "
"อะ อ่าว?? เอ็งวิ่งผ่านหน้าเคนไปเลยนี่หว่า!! นี่พวกเอ็งคิดจะคุมโซนอย่างเดียวเลยสินะ"
ค่าPPDAกับแทกติกPark The Bus
บางคนอาจจะเถียงได้ว่า จังหวะเพียงไม่กี่จังหวะตัดสินอะไรไม่ได้
งั้นลองดูที่ค่า PPDA เกมนี้PPDA หรือ
การยอมให้คู่แข่งผ่านบอลในแดนของแมนยู มีค่ามากถึง 21.43
อ้างอิงจาก:
เทียบให้เห็นภาพหน่อยว่ามันเยอะขนาดไหน ลิเวอร์พูลที่เน้นเพรสหนักๆ มีPPDAอยู่ที7.85
หรือถ้าเทียบกับแมนยูยุคปัจจุบัน ในเกมเจอคาร์ดีฟ มีPPDAต่ำสุดอยู่ที่ 4.00
ดังนั้น การที่ทีมของมูริญโญ่มีค่าPPDAมากถึง21.43
พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ "ปล่อยให้เขาครองเกมเข้าใส่"
จังหวะเสียประตู
แต่หลังจากนั้นไม่นาน เกมเพิ่งเริมไปได้เพียง 5 นาที
สเปอร์ส ก็มาได้ลูกเตะมุม แล้วก็เสียประตู แมนยูโดนขึ้นนำจนได้
ลูกนี้รูนนีย์ประกบตัวห่างเกินไป
แต่ว่าสุดท้ายในครึ่งหลัง ก็มาโดนจากลูกตั้งแตะอีกรอบ สเปอร์สนำห่างเป็น2-0
ปัญหาลูกตั้งแตะดูเหมือนจะเป็นปัญหาเรื้อรังมานานจนถึงปัจจุบัน
แทคติก "ไม่เพรส" (Non-pressing)
เป็นเพียงเสี้ยวนึงของปัญหา ของแทคติกอันน่าหัวเราะของมูริญโญ่ (Mourinho’s hilarious tactics)
อาจจะมีคนเถียงว่า ไม่เพรส มันผิดตรงไหน?
การที่คุณไม่เพรส มันทำให้ทีมมีการอัดพื้นที่ให้แคบ(compact) ทำให้เกมรับแน่นขึ้นไม่ใช่เหรอ?
ลองมาดูไลน์อัพในเกมวันนั้น
เชื่อหรือไม่? ว่าแมนยูไม่มีมิดฟิล์ดเกมรับ มานานหลายปีแล้ว
แฟนบอล(ตอนนั้น) ชอบพูดกันว่า "ทำไมไม่ลองใช้ทวนเซเบ้ดูล่ะ เขาน่าจะเล่นกลางรับได้ดี"
เกมนี้แหละที่จะเป็นคำตอบ
ไลน์อัพตามหน้ากระดาษดูเหมือนจะเป็นแบบนั้น ทวนเซเบ้จับคู่คาริค ตรงกลางสนาม
แต่ความจริงก็คือ พอเริ่มเกม หน้าที่ที่เขาได้รับจากมูริญโญ่ ดันไม่ใช่มิดฟิล์ดตัวรับ?
เกมนี้ ทวนเซเบ้ สัมผัสบอลทั้งหมด20ครั้ง และมีการผ่านบอลเพียง11ครั้ง เท่านั้น
นี่ไม่ใช่หน้าที่ของโฮล์ดิ่งมิดฟิล์ดแน่นอน
สุดท้ายครึ่งหลัง นาทีที่61เขาก็ถูกเปลี่ยนตัวออก คนที่ลงมาแทน คือ อันเดร์ เอร์เรร่า
ลงมาในช่วงเวลาที่เหลือแค่30นาทีก่อนหมดเวลา แต่เอเรร่าดันมีจำนวนการผ่านบอลมากกว่าทวนเซเบ้เป็นสองเท่า
แล้วเหตุผลอะไรที่ทำให้มูริญโญ่เลือกใช้ทวนเซเบ้ในตำแหน่งมิดฟิล์ด?
คำตอบก็คือ มูริญโญ่ตั้งใจใช้ทวนเซเบ้ ลงมาประกบหรือจับตายเพลย์เมคเกอร์ของสเปอร์ส อย่าง อิริคเซ่น
ไม่ว่าที่ไหนที่อิริคเซ่นไป จะต้องมีทวรเซเบ้ตามติดไปด้วย
ก็ถือว่าเป็นแผนที่ไม่เลวนะ เป็นไอเดียที่ดีในการตัดเกมรุกของสเปอร์ส
ปัญหาคือ แผนนี้มันดันถูกทีมของปอเชติโน่แก้ได้ง่ายๆเนี่ยสิ
เพราะว่า ถ้าหากอิริคเซ่น วิ่งไปที่ไหนก็ตามที่ไม่ใช่ตรงกลาง
มันจะเกิดเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ในแดนกลางของแมนยู
เพราะจะเหลือมิดฟิล์ดตัวกลางแค่คาริคเพียงตัวเดียว
แผนเกมรับแบบman markingของแมนยูมันน่าขัน(hilarious)
เพราะมันทำให้พวกเขาหลุดจากตำแหน่งได้ง่ายๆเลย เช่นจังหวะนี้ (ล่าง)
ลองสังเกตที่เขียนว่าCM"ที่อยู่ติดริมเส้นฝั่งไกลนู้น
นั่นแหละครับ คือ ทวนเซเบ้ คนที่ได้รับมอบหมายให้ประกบตายอิริคเซ่น
เขาไปอยู่ตรงนั้น เพราะเขาถูกอิริคเซ่น ลากให้ไปอยู่ตรงนั้น
ส่งผลให้จังหวะนี้ พื้นที่ตรงกลางของแมนยู เหลือคาริคเพียงคนเดียวเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อแฮรี่ เคนรับบอล คนที่ต้องบีบขึ้นมาตัดบอลกลางสนาม
กลับกลายเป็นเซ็นเตอร์แบ็คอย่างฟิล โจนส์แทน
เสี่ยงที่จะหลุดตำแหน่งมากๆ
ลองดูจังหวะต่อไป (gifล่าง)
นี่คือหายนะที่จะเกิดขึ้้น เมื่อทีมคุณไม่ไล่เพรส และถูกหลอกล่อให้หลุดตำแหน่ง
การที่พวกเขาเล่นแผนman-marking จังหวะนี้ ไมเคิล คาริคซึ่งเป็นกลางรับเพียงคนเดียว
ถูกเดลี่ อัลลี่ ลากให้หลุดจากตำแหน่งได้ง่ายๆ
ในgif จะเห็นว่ายังดีที่มีคนมาช่วยซ้อนตรงกลางให้
แต่....คนที่เข้ามาช่วยซ้อน คือ เอริค ไบญี่ ซึ่งในเกมนี้เขาเล่นเป็น
ฟูลแบ็คฝั่งขวา!!
จังหวะนี้ต้องขอบคุณไหวพริบของไบญี่ ที่ออกจากตำแหน่งตัวเองเพื่อซ้อนคาริคได้ทัน
จากรูป(ล่าง) ไบญี่มาช่วยปิดตรงกลาง
ส่วนทวนเซเบ้นั้น ทำตามหน้าที่ที่ผู้จัดการทีมมอบหมาย
เป๊ะ!
นั่นก็คือ ตามอิริคเซ่นเป็นเงา แม้อาจต้องไปยืนทับตำแหน่งกับสมอลลิ่งก็ตาม
จากจังหวะที่กล่าวมา ส่งผลให้ ซน เฮือง-มิน ลากแหวกกลางเข้าไปยิง
ยังดี ที่เดเกอา โชว์ซุปเปอร์เซฟไว้ได้
ซน รับบอลกลางสนาม
ทันทีที่เขาพลิก เขาคงไม่อยากเชื่อสายตาตัวเองว่า แมนยูจะเปิดพื้นที่ให้เขามากมายขนาดนั้น
เขาเลี้ยงบอลเพียงไม่กี่จังหวะก็สามารถทะลุถึงพื้นที่สุดท้ายของแมนยูได้แล้ว
ปัญหาเกมรุก
นี่แค่ปัญหาแทคติกเกมรับของมูริญโญ่ เท่านั้น ไหนจะปัญหาเกมรุกอีก
คุณจะเล่นเกมรุกยังไง ในเมื่อนักเตะส่วนใหญ่ถอยไปอยู่หน้าประตูตัวเอง
การรับลึก แล้วรอสวนกลับ อาจจะไม่ใช่ทางที่ดี เมื่อคุณมีผู้เล่นเกมรุก
เป็นรูนนีย์ที่ผ่านจุดพีคไปแล้ว มีลินการ์ด มีมาต้าที่ขาดความเร็ว
สุดท้ายแล้ว คุณก็ต้องพึ่งพาการเติมเกมของฟูลแบ็ค อย่างเอริค ไบญี่ ขึ้นมาแทน
วิ่งตั้งแต่แบ็คมาหน้าประตูเลย
ในเกมนี้ สเปอร์สมีค่าxGหรือโอกาสในการทำประตู เท่ากับ2.11
มันอาจจะดูน้อยไปนิด เมื่อคุณมองคุณภาพเกมรุกที่พวกเขามี
แต่มันเป็นตัวเลขที่มากเมื่อเทียบกับค่าxGของแมนยู เพราะxGของแมนยูได้แค่0.29 เท่านั้น
ตลอด89นาที มีโอกาสยิง6ครั้ง เท่ากับว่า โอกาสได้ประตู ต่อการยิงหนึ่งครั้งมีเพียง 0.05 เท่านั้น
โอกาสยิงน้อย แต่ก็ยิงได้ ด้วยลูกตีไข่แตก จากเวยน์ รูนนีย์!!!!!!!!
ทุกอย่างมันเป็นเหมือนตลกร้ายในยุคมูริญโญ่
Comedy is just tragedy plus time. That’s the Mourinho era
แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราสามารถมองกลับไปหัวเราะและเรียนรู้จากมัน
-----------จบ-----------
แปลจาก:
https://kwestthoughts.substack.com/p/rewatching-jose-mourinho-era-united?fbclid=IwAR1mGQn9FGpRdQswry202ES7yVRK82rhAAE02cYcXA2jEHYZEp5pMFQ0o30