การบอกให้ผู้ที่ถูกกดขี่มีความสุภาพในการเรียกร้องความเป็นธรรมก็คือ“การกดขี่” อีกรูปแบบหนึ่ง
“Tone Policing” การบอกให้ผู้ที่ถูกกดขี่มีมารยาทและความสุภาพในการเรียกร้องความเป็นธรรมก็คือ“การกดขี่” อีกรูปแบบหนึ่ง
หลังจากที่คนไทยถูกปิดปากด้วยกฎหมายหลายมาตราพร้อมกระบอกปืน ไม่ให้ปริปากทักท้วง เรียกร้องความไม่เป็นธรรมใดๆ ที่กดขี่ประชาชนอยู่มาแสนนาน การได้โพล่งทุกอย่างที่อัดอั้นออกมาอย่างเสรีในรูปแบบที่ท่วมท้นไปด้วยอารมณ์โกรธ และขมขื่นใจ นับเป็นอีกหนึ่งชัยชนะของเหล่าประชาชนคนไทยที่เรียกร้องประชาธิปไตย “คนเท่ากัน” ที่นิยามตัวเองว่า “คณะราษฎร 2563”
แต่ในขณะที่ข้อความล้านแปดถูกสื่อออกมาทั้งด้วยคำพูด สัญลักษณ์ ศิลปะ และข้อความบนท้องถนน ผู้คนบางจำพวกที่ก็โดนกดขี่อยู่เหมือนกัน กลับออกมาแสดงการติเตียนไปที่ลักษณะการสื่อสารที่ไม่สุภาพ ไร้อารยะ ไม่มีกาลเทศะ
ไม่เป็นปัญญาชน ของผู้ถูกกดขี่ที่ออกมาเรียกร้อง
จนประเด็นสำคัญของการสื่อสารเหล่านั้นตกประเด็นไป
ซึ่งเป็นความเจ็บใจ ด้วยความหมั่นไส้ในความ
“ดัดจริต” บวกกับความคับแค้นที่คนไทยอีกมากมายเหลือเกินยังคงติดกับ “ความสุภาพ” อันเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการกดขี่ที่รัฐและอำนาจศักดินากล่อมสอนไว้เพื่อให้คนเอ็นจอยกับการแข่งกันเป็นผู้ดี มากกว่าจะอยากออกจากความเป็นไพร่ทาสอย่างถาวร ซึ่งพฤติกรรมนี้ ในทางสากลเรียกว่า
“Tone Policing”
อ้างอิงจาก:
หยาบคาย”
“สุภาพชน”
“ปัญญาชน”
“กาลเทศะ”
“ถ่อย”
“เถื่อน”
ผู้หญิงควรพูดด้วยน้ำเสียงและท่าที “นุ่มนวล”
ผู้ชายควรสุขุมและไม่ใช้ “อารมณ์”
หยุดใช้ “อารมณ์” แล้วใช้ “เหตุผล” ก่อนได้ไหม
ทำไมไม่ทำตัวเป็นผู้ใหญ่ เช่น ใจเย็นๆ แล้วค่อยๆ พูดคุย
Tone Policing คือ การตั้งใจลดทอนคุณค่าและความหมายของสารจากผู้พูด ด้วยการมุ่งเป้าไปที่การติเตียน “น้ำเสียง”“ลักษณะคำ” ไปจนถึง “ท่าที” และ “อารมณ์” หรือรายละเอียดใดๆ จากผู้สื่อสาร เพื่อให้ข้าม “Message” แท้จริงที่ผู้สื่อสารต้องการสื่อ
ความจริงแล้ว Tone Policing เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจและผู้มีอภิสิทธิ์ที่ต้องการปกป้องผลประโยชน์และความมั่นคงของอำนาจของตนเรียกได้ว่ามันคือการใช้ “อำนาจนิยม” ในรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะในสถานะใดๆ ตั้งแต่ระหว่างพ่อแม่และลูก ลูกน้องกับเจ้านาย หรือใครก็ตามที่โต้เถียง มีประเด็นขัดแย้งกันโดยมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรม และมีฝ่ายหนึ่งต้องการเพิกเฉยการกระทำที่ไม่ยุติธรรมนั้น โดยที่ตนได้ประโยชน์
ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่สร้างประโยชน์เลยนอกจากเอื้อประโยชน์ให้คนที่ต้องการรักษาอภิสิทธิ์ในการกดขี่ เอาเปรียบ รังแกคนอื่นอยู่ ได้ข้าม “การเรียกร้อง” จากผู้ถูกกระทำไป และยัดเยียดภาพผู้ร้าย ก้าวร้าว หัวรุนแรง ให้กับผู้ถูกกระทำเอง และยังเพิ่มความขมขื่นใจ ทวีความกดดัน และผลักให้ปัญหาที่มีอยู่สะสมต่อไป
โดยเฉพาะหากการพิพาทนั้นเกิดขึ้นระหว่างผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เช่น รัฐเผด็จการ สถาบันอำนาจเหนือกฎหมาย กองทัพที่มีอำนาจเป็นอาวุธสงครามครบมือ กับประชาชนผู้ถูกกดขี่ คนชายขอบ เด็กๆ ที่ล้วนมือเปล่า มีเพียงโล่ประดิษฐ์กันเอง เป็ดยางเป่าลม เสื้อกันฝน ไว้กันกระสุน และมีอาวุธตอบโต้เป็นปากกา กระดาษ ถังสี ที่ทำได้เพียงเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น
…การบอกให้ฝั่งที่สู้อย่างไร้อาวุธหยุดสาดสีสวนกระสุน เพราะจะทำให้สถานที่เลอะเทอะสกปรก
…การบอกให้ประชาชาชนที่โดนปิดปากด้วยกระบอกปืน และถูกอุ้มฆ่าเพราะการพูดเรียกร้องความเป็นธรรม หยุดตะโกนคำด่าหยาบคายและให้คุยกันอย่างสุภาพชนดีกว่า
…การปรามให้ผู้คนที่โดนยิงด้วยแก๊สน้ำตา กระสุนนานา หยุดใช้อารมณ์ และใจเย็นๆ
ควรเป็นแค่การ “รักษามารยาท” สงวนท่าทีให้มีความเป็น “สุภาพชน” หรือความจริงแล้วมันคือการช่วยกัน
“กด” ผู้ถูกกระทำอีกแรง
และฟาดซ้ำด้วยจารีตผู้ดี?
การซีเรียสเรื่อง
“มารยาท” และความ
“ขี้เกรงใจ” เป็นคุณสมบัติของผู้ดีที่
“ไพร่ไทยๆ” เคร่งครัดเอามากๆ มีการสอนทั้งในบ้าน ในโรงเรียน และเสี้ยมสอนในละครทีวี ว่าคนมี
“สมบัติผู้ดี” “ขี้เกรงใจ” คือคนชั้นดี ที่ดูเป็นคนดี และมีแต้มต่อในทุกกรณีพิพาท และผลักให้คนที่ตั้งคำถามต่อมายาคตินั้น และเลือกที่จะทำตัวผิดแผกออกไป คือคนเถื่อน ก้าวร้าว
ซึ่งมันแย่ตรงที่มาตรฐานความเป็นคนดีมารยาทดีของไทย คือการ
“ยอมก้มหัว” ต่ออำนาจนิยม และเมินเฉยต่อความไม่เป็นธรรมทั้งมวลด้วย ผ่านคำว่า
“อยู่เป็น” หรือสำนวน“รู้จักเอาหูไปนาเอาตาไปไร่” จนการพูดความจริง หรือปริปากเรียกร้องอะไรออกมาเป็นความน่ารังเกียจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการใช้
“อารมณ์” ร่วมด้วยยิ่งนับเป็นเรื่อง
“หยาบคาย” สำหรับคนไทย
ทั้งที่ความจริงแล้วการใช้อารมณ์ในการสื่อสาร ก็คือ “อวัจนภาษา” ประเภทหนึ่ง และคนเราสามารถแสดงอารมณ์และใช้เหตุผลไปพร้อมๆ กันได้
แต่(คนอยากเป็น)ผู้ดีไทยๆ ก็แค่รังเกียจ
“อารมณ์” เพราะมันสะท้อนความจริงได้ชัด ในสังคมที่นิยมการแสร้งมองเห็นอะไร
“เบลอๆ”
ทาสไพร่ไทยๆ จึงบรรลุความฟินในการรู้สึกว่าได้เป็น
“ผู้ดี” และดู
“สูงส่ง”ในสังคมเหลื่อมล้ำตลอดกาลด้วยความมีมารยาทสงบปากสงบคำ ที่ทำให้เป็นได้แค่ทาสไพร่ต่อไปเท่านั้น
Tone Policing อาจนับรวมการกระทำที่เป็น
“การสื่อสาร” หรือ “Message”ด้วย เพราะในเมื่อเป็นสเกลใหญ่ที่เป็นการพิพาทเรียกร้องระหว่างมวลชน และ
“รัฐ” หรือ
“สถาบันอำนาจ”ที่การพูดคุยดีๆ ด้วยการเขียนจดหมายส่งให้ หรือร่างรัฐธรรมนูญให้ ไม่เคยถูกรับฟังอย่างที่เห็นๆ กันอยู่
การสื่อสารในรูปแบบอื่นที่ต้องการให้เป็นเสียงที่
“ดัง” พอย่อมสมเหตุสมผลทั้งสิ้น ไม่ว่ามันจะเป็นการทำลายสถานที่ราชการเพื่อแสดงความ
“โกรธ” ในรูปแบบ
“อวัจนภาษา” หรือการ “พูด” ผ่านข้อความบนพื้นถนน ผนัง ป้ายต่างๆ เพราะมันล้วนเป็น
“การสื่อสาร” ของประชาชนที่ละเลงลงบนทรัพย์สินที่มาจากเงินภาษีของพวกเขาเอง เพื่อสื่อถึงคนระดับบนที่ไม่เพียงทำหูทวนลมเก่ง แต่ยังเอาน้ำฉีดไล่เหมือนเป็นแค่ฝูงมด
การจงใจพลาด “สาร” ที่ผู้คนจะสื่อ ทำให้คุณเป็นหนึ่งในคนที่กำลัง “กดขี่” และส่งเสริมความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น แต่ตลกร้ายคือบางครั้งพฤติกรรม
Tone Policing ก็มาจากผู้คนที่เป็นหนึ่งในคนที่อ้างว่าอยู่ฝั่งผู้ถูกกระทำเหมือนกัน ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการ
“คุมภาพ” ให้ระดับการเรียกร้องนั้นยัง
“น่าฟัง” เพราะมีความเป็น
“ปัญญาชน” มากกว่า และเชื่อว่าผู้มีอำนาจและคนที่เห็นต่างจะรับฟังมากขึ้นเมื่อมันสุภาพ น่าฟัง และดูมีการศึกษา ซึ่งมันก็คือการตก
“หล่ม” เดิมๆ คือหล่ม
“อำนาจนิยม” และแสดงถึงทัศนคติที่ลึกๆ แล้วก็ยังมอง
“คนไม่เท่ากัน” อยู่ดี
เพราะมันแฝงไว้ด้วยความคิดที่ว่า คนที่สุภาพกว่า ดูมีการศึกษากว่า จะมีเสียงที่ “ดังกว่า”จนสุดท้ายก็ไม่สามารถเข้าใจว่า
สิ่งสำคัญของกระบวนการ “ประชาธิปไตย” คือไม่ว่าใครจะมีภาพลักษณ์แบบไหน เป็นใคร แสดงออกอย่างไร มีวิธีสื่อสารแบบไหน ทุกเสียงล้วนมีคุณค่าเท่ากัน
ฉะนั้นการมีพฤติกรรม Tone Policing ไม่ว่าจะผ่านการติเตียน เบี่ยงประเด็น ประณามคำหยาบและพฤติกรรมที่เป็นการสื่อสารของผู้ถูกกดขี่ นอกจากช่วยให้ผู้ติเตียนได้สำเร็จความใคร่ในความเป็นผู้ดีมีอารยะ และช่วยปกป้องความมั่นคงของเหล่าอภิสิทธิ์และขั้วอำนาจต่างๆ ให้มีสิทธิ์ก่ออาชญากรรมด้วยความสุภาพต่อไปได้ ยังทำให้คุณเป็นส่วนหนึ่งของการ “กดขี่” นั้นด้วยไปโดยปริยาย
เพราะ“ความสุภาพ” ในอุดมคติเหล่านี้มีแต่จะเป็นการลดทอนคุณค่าของการต่อสู้ ปัดตกถ้อยคำร้องขอชีวิตของผู้คน ดั่งดับเปลวไฟที่มวลชนช่วยกันจุดกลางฝนด้วย “เท้า”
http://www.wethink.social/2020/11/19/tone-policing-thai-political/?fbclid=IwAR0mpRu1GYjKQlKbR5vahRQVuSWBngETD7tVY331Yr6K7ah0dP-TquWvSRs[/img][/b]