ช่วงนี้เริ่มชนะได้บ่อย บรรยากาศแฟนบอลก็เริ่มกลับมาดีอีกครั้ง
ดังนั้น ผมจึงต้องรีบแปล รีบนำมาลง ก่อนที่มันจะกลับสู่ลูปอีกครั้ง
(ขออนุญาตเน้นพูดถึงแทคติกแมนยูนะครับ แทคติกของเชลซีอาจจะน้อยหน่อย)
--เริ่มกันเลย--
เกมนี้เป็นเกมที่เต็มไปด้วยกลยุทธในการเพรสซิ่งของทั้งสองทีม
ซึ่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญของเกมนี้
เราจะแสดงให้พวกคุณเห็นว่ายูไนเต็ดเอาชนะเชลซีด้วยวิธีใด
ไลน์อัพ
ทีมของแลมพาร์ด มาในระบบ 4-3-3 โดยใช้3แนวรุก เปโดร,วิลเลี่ยน และมิชชี่
คริสเตียนเซ่น ถูกเลือกมาแทนซูม่า จับคู่กับรูดิเกอร์
ส่วนทีมของโซลชาร์มาในแผนการเล่นที่น่าสนใจ 3-4-1-2
โดยมีนักเตะใหม่อย่าง"บรูโน่ เฟอร์นานเดส" คอยบัญชาเกมรุกอยู่ข้างหลังระหว่าง"เดเนี่ยล เจมส์" และ "มาร์กซิยาล"
หลัง3เป็น ลุค ชอว์, เอริค ไบญี่ และแมคไกวร์ โดยมีวิลเลี่ยม และวานบิสซาก้าในตำแหน่งวิงแบ็คทั้งสองข้าง
การเพรสซิ่ง ของเชลซี
อย่างที่บอกไป เกมนี้เป็นเกมที่เต็มไปด้วยการเพรสซิ่งของทั้งสองทีม
ในเกมนี้แลมพาร์ดได้ปรับแทคติกต่างไปจากเกมนัดแรกของฤดูกาล
ย้อนกลับไปเกมที่โอลด์ทราฟฟอร์ด แมนยูฉวยโอกาสจากการเล่นเพรสซิ่งใส่จอร์จินโญ่
โดยผู้เล่นอย่างแรชฟอร์ด เปเรร่า และลินการ์ด ที่พร้อมเพรสซิ่งใส่ทันทีที่เขาสัมผัสบอล
ดังนั้น เกมนี้แลมพาร์ดจึงพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว
ด้วยการเติมผู้เล่นในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มอีกหนึ่งคน ถือเป็นการปรับแผนที่ชาญฉลาด เนื่องจากโควาซิชสามารถปรับมาเล่นเป็นมิดฟิล์ดเกมรุกทางขวา หรือถอยลงต่ำเพื่อไปช่วยปิดพื้นที่ร่วมกับจอร์จินโญ่ก็ได้
จะเห็นว่าในเชิงตัวเลข ทั้งสองทีมมีจำนวนมิดฟิล์ดเท่ากันคือ3คน
ดังนั้น เมื่อพวกเขาเล่นเกมรับ จะเป็นการจับคู่แมนมาร์คระหว่าง3คู่พอดี
(Jorginho – Fernandes; Kovačić – Nemanja Matić; Mason Mount – Fred).
ส่วนตำแหน่งฟูลแบ็คของเชลซีถูกสั่งให้ออกจากตำแหน่งมากกว่าปกติ
แลมพาร์ดต้องการตัดโอกาสในการขึ้นเกมของแมนยู
ซึ่งมักจะส่งบอลจากหลังไปให้ผู้เล่นด้านข้าง
(ตัวอย่างรูปด้านล่าง) แดนกลางมีการประกบคู่3ต่อ3 ในขณะที่วิงแบ็คก็ถูกปิดเกม
เมื่อ”วานบิสซาก้า”รับบอลในแดนตัวเอง
“อิสปิลิกวยต้า”จะออกจากตำแหน่งเพื่อมาปิดการขึ้นเกมริมเส้นทันที
ปัญหาในการป้องกันพื้นที่Zone14ของเชลซี
แม้เชลซีมีมิดฟิล์ด2ตัวลงไปช่วยกันรับก็ไม่สร้างประโยชน์มากพอ
จากรูปล่าง เมื่อ”โควาซิช” ถอยลงไปช่วย”จอร์จินโญ่”คุมพื้นที่
ส่งผลให้เชลซีจะไม่สามารถประกบแบบแมนมาร์คผู้เล่นแมนยูได้
ทำให้ไม่มีใครมาประกบ”เฟรด”
เฟรดจึงสามารถจ่ายขึ้นหน้าทะลุไปให้”บรูโน่”ได้โดยง่าย
แม้จะมีปัญหาในเกมรับดังกล่าว
แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเสียประตูแรกมาจากโชคที่ไม่เข้าข้างพวกเขาสักเท่าไหร่
ระบบเกมรับของพวกเขาปั่นป่วน เนื่องจากคริสเตนเซ่นต้องออกไปปฐมพยาบาล ทำให้”จอร์จินโญ่”ต้องขยับมาเล่นเป็นเซ็นเตอร์แบ็คจำเป็นในแผงแบ็คโฟว์แทน
เมื่อ”คริสเตนเซ่น”กลับมาสู่สนาม
แต่“จอร์จินโญ่”ขยับไปประจำตำแหน่งตัวเองได้ค่อนข้างช้า
ทำให้”บรูโน่” ที่ควรจะถูกประกบโดย”จอร์จินโญ่”ยืนว่าง
จนทำให้"โควาซิช"ต้องเข้ามาประกบ”บรูโน่”แทน
และนั่นเป็นต้นเหตุให้”เฟรด”กลายมาเป็นผู้เล่นที่ไร้ตัวประกบ
และใช้โอกาสจากการเปิดช่องในแดนกลาง
สร้างเกมรุกและนำมาสู่การเสียประตูในที่สุด
แน่นอนว่า เราไม่ลืมพูดถึงความผิดพลาดส่วนตัวของสองเซ็นเตอร์แบ็ค ที่ต้องรับผิดชอบกันไปคนละครึ่ง
โดยที่”รูดิเกอร์”ปล่อยให้”มาร์กซิยาล”มีพื้นที่ และ”คริสเตนเซ่น”ก็ประกบได้ไม่ดีพอ
แผนเกมรุกของแมนยู
การมาถึงของ”บรูโน่ เฟอร์นานเดส” ทำให้โซลชาร์มีทางเลือกในการปรับแทคติกมากขึ้น
โดยในเกมนี้ เขากลายเป็นแมนออฟเดอะแมทช์ จากการผ่านบอลสำเร็จ81% จากการส่งทั้งหมด36ครั้ง 1 คีย์พาส 3 shot assit และ มีโอกาสยิงประตูไป2ครั้ง
จากฮีทแมพข้างล่าง แม้ว่าเฟอร์นานเดส จะถูกจับให้ลงเล่นในตำแหน่งกลางตัวรุก
แต่เขาไม่เพียงปักหลังในzone14เท่านั้น แต่กลับเคลื่อนที่ไปทั่วสนาม
แต่หากสังเกตดีๆจะเน้นหนักไปทางเกมรุกฝั่งซ้าย ซึ่งจะเป็นจุดที่เราจะใช้อธิบายเกมรุกของยูไนเต็ด
จากการยืนตำแหน่งของบรูโน่ ดูเหมือนโซลชาร์วางแผนแล้วว่า
พวกเขาจะโจมตีเชลซีได้อย่างไร?
ผู้เล่นเกมรุกของแมนยู ประกอบไปด้วย3ผู้เล่น
1.มาร์กซิยาล 2.เจมส์ และ3.บรูโน่
เขาเลือกเจาะไปที่เกมรับทางฝั่งขวาของเชลซี(ฝั่งซ้ายของแมนยู)
ซึ่งประกอบไปด้วย"รีซ เจมส์" และ"คริสเตนเซ่น" ประจำการอยู่
เหตุที่ตัดสินใจแบบนั้น เพราะเกมรับทางขวาของเชลซี ประกอบด้วย"รูดิเกอร์"และ"อิสปิลิกวยต้า"ทั้งคู่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ และมีphysicalที่แข็งแกร่ง
ยูไนเต็ด เลือกใช้วิงแบ็คอย่าง”แบรนดอน วิลเลี่ยมส์” ไปกดดัน”รีซ เจมส์”
ซึ่งอย่างที่เคยอธิบายไปแล้ว “แลมพาร์ด”สั่งให้ฟูลแบ็คออกจากตำแหน่งเพื่อปิดเกมรุกของวิงแบ็คทั้งสองข้างของแมนยู
เมื่อ”รีซ เจมส์”เพรสซิ่งเข้าใส่”แบรนดอน วิลเลี่ยม” พื้นที่หลังแบ็คจะถูกเปิดออก
ระหว่างนั้น “มาร์กซิยาล”จะวิ่งไปรับบอลทางซ้ายก่อนที่”รีซ เจมส์”จะกลับมาประจำตำแหน่ง
จังหวะนี้เองเกมรับของเชลซีจะเหลือ3ตัว “คริสเตียนเซน”จะออกมาปิด”มาร์กซิยาล”
ส่วน”อิสปิลิกวยต้า”จะขยับมาประจำตำแหน่งของ”คริสเตนเซ่น”
ซึ่งจังหวะแบบนี้แหละ ที่สร้างประโยชน์ให้กับผู้เล่นเกมรุกของแมนยูอีก2ตัวที่เหลือ
1.สร้างประโยชน์ให้บรูโน่
เมื่อ”มาร์กซิยาล”สามารถดึงตัวประกบอย่าง”คริสเตียนเซ่นได้” บรูโน่ก็จะสามารถวิ่งทะลุช่องฝั่งซ้ายเข้าสู่พื้นที่สุดท้ายได้
2.สร้างประโยชน์ให้เจมส์
ตอนแรก”เดเนี่ยล เจมส์”จะปักหลักอยู่ตรงกลาง แต่เมื่อ”มาร์กซิยาล”ดึงตัวประกบอย่าง”คริสเตนเซ่น”จนหลุดจากตำแหน่งได้แล้ว ระยะห่างระหว่างผู้เล่นแนวรับก็จะมากขึ้น
ทำให้”เดเนี่ยล เจมส์”สามารถวิ่งตัดกลางระหว่าง”รูดิเกอร์”กับ“อิสปิลิกวยต้า”ได้ ตามรูปข้างล่าง
ตัวอย่างข้างล่าง
ปัญหาเดิมของเชลซีจากที่เคยอธิบายไว้
การมีมิดฟิล์ลงไปรับสองคน(“โควาซิช”กับ“จอร์จินโญ่”)
ทำให้ไม่มีตัวที่จะเพรสซิ่งหรือกดดันการขึ้นเกมของแมนยู
จังหวะนี้”เนมันย่า มาติช ” ขึ้นเกมไปให้สามแนวรุกของแมนยูได้อย่างง่ายดาย
ในขณะเดียวกัน”รีซ เจมส์”ก็ต้องออกจากตำแหน่งเพื่อปิดการเติมเกมของ”วิลเลี่ยม” ส่งผลให้แนวรับของเชลซีแต่ละคนต้องยืนห่างกันมากขึ้น
จากรูปจะสังเกตเห็นว่า เกิดพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ข้างหลัง”รีซ เจมส์” ส่งผลให้”มาร์กซิยาล”ต่อบอลกับ”เดเนี่ยล เจมส์”จนหลุดเข้าไปในกรอบเขตโทษ
การเพรสซิ่งของแมนยู
แมนยูใช้วิธีเพรสซิ่งสูง เพื่อก่อกวนไม่ให้เชลซีสามารถเซ็ตเกมขึ้นมาง่ายๆ
โดยให้นักเตะประกบแบบตัวต่อตัว หรือ man-marking และนักเตะของโซลชาร์ก็ทำได้สำเร็จในทุกๆพื้นที่
ไลน์ที่หนึ่งจะเป็นการเพรสซิ่งโดย3แนวรุก
“มาร์กซิยาล”เพรสใส่“คริสเตนเซ่น” ,”บรูโน่”เพรสใส่”จอร์จินโญ่” ,”เดเนี่ยล เจมส์”เพรสใส่”รูดิเกอร์”
หากพิจารณาจากแผงกลาง แมนยูมีจำนวนผู้เล่นเท่ากับเชลซี
ดังนั้นพวกเขาสามารถเข้าคู่ประกบมิดฟิล์ดของเชลซีได้อย่างอยู่หมัด
ประโยชน์ของการเล่น แบ็คสองคน(ชอว์และวิลเลี่ยม) ทำให้เกมรับมีความยืดหยุ่น
โซลชาร์สั่งให้วิงแบ็คออกจากตำแหน่งเพื่อเพรสซิ่งใส่ฟูลแบ็คของเชลซีมากกว่าปกติ
ในกรณีที่"วิลเลี่ยม"วิ่งขึ้นไปเพรสซิ่งใส่"รีซ เจมส์" ในจังหวะนี้ชอว์จะขยับขึ้นมาเล่นด้านข้างคอยซ้อนเอาไว้
ส่วนหลังสามตัวของแมนยูจะประกบแนวรุกสามตัวของเชลซีแบบประชิดตัว แม้กระทั่งตอนที่แนวรุกเชลซีถอยต่ำเพื่อไปรับบอล นักเตะแมนยูก็จะตามไปประกบติด(แม้ต้องหลุดตำแหน่งก็ตาม)
อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ทำให้เกิดช่องว่างมากมายบริเวณพื้นที่หลังวิงแบ็ค
ถ้าหาก"วานบิสซาก้า"และ"วิลเลี่ยม"หลุดจากตำแหน่ง จะเกิดช่องว่างขนาดใหญ่ข้างหลังพวกเขาทั้งสอง
จากตัวอย่างด้านล่างเชลซีสามารถสร้างโอกาสทำประตูจากการเพรสซิ่งของแมนยู
"วานบิสซาก้า"ตามประกบ"อิสปิลิกวยต้า" ส่วนไบญี่ที่ยอมหลุดจากตำแหน่งเพื่อตามมาประกบ"เปโดร" แต่”ไบญี่”ตัดบอลไม่สำเร็จ
ส่งผลให้รูปแบบเกมรับของแมนยูเสียกระบวนในทันที จนเกือบเสียประตู
หลังจากแมนยูขึ้นนำ พวกเขาถอยลงไปรับลึกในช่วงท้ายเกม
แผนการเล่น 3-4-1-2 ส่งผลให้พวกเขาได้ประโยชน์ในแง่จำนวนผู้เล่นเกมรับจากวิงแบ็คทั้งสองข้าง จนสุดท้ายเชลซีไม่สามารถเจาะการป้องกันเข้ามาได้
ภาพข้างล่างนี้ แสดงให้เห็นว่ามีนักเตะถึง6คน คอยป้องกันพื้นที่ด้านข้าง
มาร์กซิยาลลงมาช่วย ไบญี่ขยับออกจากแนวรับเพื่อประกบกองหน้าเชลซี ทำให้เปโดรไม่มีตัวเลือกให้ส่งบอล
ในกรณีที่เปโดร สามารถฝากบอลให้เมาท์ และเมาท์สามารถเอาชนะวานบิสซาก้าได้ แมนยูจะยังมีแมคไกวร์คอยซ้อน อีกฟากนึง โอลิวิเย่ร์ ชิรูด์ ก็จะถูกตามประกบด้วยชอว์และวิลเลี่ยม
แทคติกเตะมุมของแมนยู
แมนยูใช้วิธีสร้างพื้นที่ขนาดใหญ่บริเวณเสาไกล จากการยืนตำแหน่งของนักเตะแมนยู
แมคไกวร์และไบญี่ เป็นสองนักเตะที่แข็งแกร่งและตัวใหญ่ที่สุดของแมนยู และพวกเขาคือเป้าใหญ่สำหรับการเล่นลูกเตะมุม พวกเขาทั้งสองยืนตำแหน่งบริเวณเส้นกรอบเขตโทษ
"ไบญี่"และ"แมกไกวร์"ถูกประกบแบบ2ต่อ2โดย"คริสเตนเซ่น"และ"อิสปิลิกวยต้า"
ขณะเดียวกันผู้เล่นแมนยูที่เหลือก็ไปยืนรวมกันที่เสาแรกซึ่งมีนักเตะเชลซีที่ประกบแบบman-markตามไปประกบอยู่
การยืนตำแหน่งลักษณะนี้ทำให้เกิดพื้นที่ขนาดใหญ่บริเวณเสาไกล
จะเห็นว่ามันไม่สำคัญว่าคนเตะมุมจะเป็นบรูโน หรือเฟรด
ตราบใดที่สามารถผ่านบอลเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวได้
มันจะเป็นโอกาสใกล้เคียงในการทำประตู
จบแล้วครับ ก็หวังว่าจะมีมาให้แปลเรื่อยๆ
(เดี๋ยวนี้เว็บtotal football analysis มันต้องสมัครสมาชิกเสียเงิน
ใครมีแหล่งวิเคราะห์เกมดีๆ ละเอียดๆ ช่วยแนะนำด้วยครับ)
ที่มา แปลมาจาก :
https://totalfootballanalysis.com/match-analysis/premier-league-2019-20-chelsea-vs-manchester-united-tactical-analysis-tactics?fbclid=IwAR3cVsvcADaWayu-SSXL-hkWMZI2CTU2AnSJoMDAqd5ZTfO7LlbXreOQwgQ