เซ็กส์เสื่อมในวัยหนุ่ม
บทที่ 2 (ส่วนที่ 3) : สิ่งเร้ายิ่งยวดที่ทรงพลังที่สุด
บทความนี้เป็นเนื้อหาส่วนที่ 3 ของบทความ “เซ็กส์เสื่อมในวัยหนุ่ม บทที่ 2 : reward system & supernormal stimulus” เพื่อความเข้าใจเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง หากท่านใดยังไม่ได้อ่านเนื้อหาตอนก่อนหน้านี้ ผมขอแนะนำให้ท่านย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้านี้นะครับ
.
บทที่ 1 (ส่วนที่ 1) : ปรากฏการณ์ประหลาดที่เกิดกับผู้ชายในสมัยนี้
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2231336073783650&id=2230094023907855
.
บทที่ 1 (ส่วนที่ 2) : สารแห่งการเสาะแสวงหาและความคาดหวัง
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2241175119466412&id=2230094023907855
.
บทที่ 1 (ส่วนที่ 3) : หลักการรักษา Porn-induced ED
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2245894168994507&id=2230094023907855
.
ตอนพิเศษ Coolidge Effect : ต้นตอแห่งการเสพติด
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2248750015375589&id=2230094023907855
.
บทที่ 2 (ส่วนที่ 1) : Reward System กลไกการรับรู้ความพึงพอใจ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2253454124905178&id=2230094023907855
.
บทที่ 2 (ส่วนที่ 2) : Super normal stimulus สิ่งเร้ายิ่งยวด
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2257686461148611&id=2230094023907855
.
*** บทความในหนังสือเล่มนี้เป็นการบอกเล่าประสบการณ์และให้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ “ไม่มีการขายหรือแนะนำยาและอาหารเสริมใด ๆ ทั้งสิ้น”
*** หากท่านรู้สึกมีปัญหากับสมรรถภาพทางเพศของท่าน ผมขอแนะนำให้ท่านปรึกษาแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และจงดูแลสุขภาพของตัวท่านเองให้ดีก่อนเป็นอันดับแรก
แต่หากท่านยังคงรู้สึกว่าอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของท่าน “ไม่ดีขึ้น” ท่านจะลองศึกษาและทำตามวิธีที่ผมแนะนำเป็นอีกทางเลือกก็ได้ครับ
.
.
.
อะไรที่ทำให้สื่อโป๊ในสมัยนี้น่ากลัวกว่าสื่อโป๊สมัยก่อนอย่างเทียบไม่ติด
.
บางคนอาจรู้สึกมีข้อโต้แย้งในใจและอยากพูดออกมาว่า …
.
“ไม่ว่าจะเป็นสื่อโป๊ยุคไหน ๆ ก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เรากลัวกันหรอก เพราะสื่อโป๊มีอยู่รอบตัวเรามาตั้งนานแล้ว ในเมื่อตั้งแต่อดีตแต่ไหนแต่ไรมา มันก็ไม่เห็นมันจะเป็นอันตรายต่อเราเลยนี่นา ดังนั้นตอนนี้มันก็ยังคงไม่เป็นอันตรายต่อเราเช่นกัน”
.
คำพูดนี้ฟังดูมีตรรกะที่ดี แต่หากเราพิจรณาให้ถี่ถ้วน เราจะพบว่า “ไม่ถูกต้อง เนื่องจากบริบททางเวลาแตกต่างกัน” ยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว เวลาเปลี่ยนทุกอย่างก็เปลี่ยน กลไกและคุณสมบัติของสื่อโป๊ที่กระทำต่อสมองของเราก็เปลี่ยนไปแบบถอนรากถอนโคนเช่นกัน
.
นอกจากความรุนแรงอย่างยิ่งยวดในการปลุกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศแล้ว สื่อโป๊ยุคอินเตอร์เน็ตนี้ก็ยังมีกลไกที่จะขับดันสมองของเราให้ไล่ตามมันอยู่ตลอดเวลาอย่างบ้าคลั่งโดยการอัพเดตวิดีโอเรื่องใหม่ ๆ แนวใหม่ ๆ ได้ไม่รู้จบไม่หมดไม่สิ้น ดังที่ผมได้อธิบายไปแล้วในตอนต้นของบทนี้
.
นอกจากคุณสมบัติ 2 ข้อที่ได้เอ่ยไป การเข้าถึงสื่อโป๊ในยุคอินเตอร์เน็ตนี้ก็แสนง่ายดายและแทบไม่มีต้นทุนอะไรเลย รวมไปถึงอุปกรณ์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสื่อโป๊ออนไลน์และยังสามารถพกพาไปได้ทุกที่ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้สื่อโป๊ในยุคนี้สามารถซัดกระหน่ำสมองของเราได้ทั้งวันทั้งคืนชนิดที่สื่อโป๊ในอดีตเทียบไม่ติดเลยสักนิด
.
ในคอมมูนนิตี้หนึ่งที่ชื่อว่า Reddit/Nofap ได้มีคำพูดของชายคนหนึ่งที่บ่งบอกสถานะการณ์ของการเสพติดสื่อโป๊ของคนยุคนี้ได้เป็นอย่างดี เขาได้พูดติดตลกเอาไว้ว่า …
.
“พวกเราคือเจเนเรชันแรกที่ช่วยตัวเองด้วยมือซ้าย เพราะว่ามือขวาเรากำลังยุ่งสุด ๆ เนื่องจากต้องคอยคลิกเมาส์เพื่อค้นหาวิดีโอโป๊ตอนใหม่ ๆ ฉากใหม่ ๆ ช็อตใหม่ ๆ ไปด้วยพลาง ๆ”
.
ในอดีต การช่วยตัวเองของผู้ชายอย่างพวกเราต้องใช้การจินตนาการอย่างสูงเป็นตัวช่วย อย่างดีหน่อยก็มีภาพจากนิตยสาร Playboy มาเป็นสิ่งเร้า แต่ปัจจุบันนี้คงไม่มีอะไรเบา ๆ แบบนั้นอีกต่อไปแล้ว
.
สมัยก่อนตอนที่พวกเราบางคนยังเป็นเด็ก แค่ได้เห็นรูปภาพนู๊ดที่แสดงหน้าอกแบบเปล่าเปลือยก็ถือว่าเป็นอะไรที่ปลุกเร้าอารมณ์มาก ๆ แล้ว เราจะมีโอกาสแบบนั้นแค่ปีละไม่กี่ครั้งเท่านั้น ยิ่งจุดซ่อนเร้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะเราแทบไม่มีทางได้เห็นมันเลย
.
แต่พอมาถึงปัจจุบันนี้ ทุกอย่างเปิดเผยโล่งโจ้งและเข้าถึงได้อย่างไม่จำกัด ผมยังนึกสงสัยอยู่เลยว่าหน้าอกเปล่าเปลือยของนางแบบสาวจะยังสามารถทำให้เด็กหนุ่มในสมัยนี้เกิดอารมณ์จนแข็งตัวได้อีกไหม หรือเราเคยชินและด้านชากับมันไปเสียแล้ว
.
เกิดอะไรขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เขาว่ากันว่า สมองของเราตอบสนองต่อสื่อโป๊ในยุคปัจจุบันต่างจากที่มันตอบสนองต่อเซ็กส์ของจริง จะว่าไปแล้ว กลไกของสื่อโป๊ยุคอินเตอร์เน็ตวันนี้ส่งผลต่อสมองของเราในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับตอนที่เราเล่นเกมส์ออนไล์มากกว่าตอนที่เรามีเซ็กส์เสียอีก
.
มันเป็นการรวมพลังของภารกิจอันดับหนึ่งในเซลส์ของเรา การสืบพันธุ์ (ซึ่งถือเป็นรางวัลทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด) รวมเข้ากับการที่มีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์คนใหม่ ๆ ที่โผล่ออกมาได้ไม่รู้จบ (sex + novelty seeking)
.
มือข้างหนึ่งของเราออกแรงกำส่วนนั้นและขยับขึ้นลง ๆ อย่างรวดเร็วในแบบที่การสอดใส่จากเซ็กส์ของจริงไม่มีทางทำได้ ในขณะเดียวกัน อีกมือหนึ่งของเราก็ทำการคลิกเพื่อค้นหาฉากเซ็กส์ที่ตื่นตาตื่นใจหรือไม่ก็พ่อพันธุ์แม่พันธุ์คนใหม่ ๆ ที่โผล่ออกมาได้เรื่อย ๆ รวมทั้งยังมีเสียงครางหรือคำพูดต่าง ๆ ที่ปลุกเร้าอารมณ์ของเราได้อย่างรุนแรง
.
กลไกเหล่านี้คือสิ่งที่สื่อโป๊ยุคนี้ทำกับเราในแบบที่สื่อโป๊ยุคก่อนไม่มีทางทำได้เลย
.
เนื่องจากสมองของเราไม่ได้ถูกปรับตัวเพื่อให้รองรับการกระตุ้นที่รุนแรงและต่อเนื่องยาวนานขนาดนี้ ท้ายที่สุด ปัญหาที่เราคาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น สมองของเราเกิดอาการด้านชาต่อความพึงพอใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ชายในยุคปัจจุบันหลาย ๆ คนต้องกลายเป็นคนเสื่อมสมรรถภาพทางเพศทั้งที่พวกเขาหลายคนยังหนุ่มแน่นและก็ไม่ได้มีปัญหาสุขภาพใด ๆ เลย
.
สื่อโป๊ยุคอินเตอร์เน็ตไม่ใช่ให้เราได้แค่การปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศเท่านั้น แต่มันยังขับดันให้เรามีแรงอยากทางเพศที่ผิดแปลกไปจากความต้องการตามธรรมชาติอย่างสุดโต่งอีกด้วย
.
เราสามารถเปิดวิดีโอโป๊ขึ้นมาได้หลายหน้าต่างในเวลาเดียวกัน, ค้นหาวิดีโอใหม่ ๆ ได้ไม่รู้จบ, สามารถเข้าถึงจุดที่โดนใจเรามากที่สุดได้รวดเร็วทันใจเพียงแค่ปลายนิ้วคลิก หรือบางคนถึงขั้นถลำลึกไปแนววิปริตวิตถารได้ชนิดที่ตัวเขาเองยังคาดไม่ถึง เป็นต้น
.
หลายอย่างที่ผมพูดมา เราแทบไม่ต้องจ่ายเงินสักบาทเลยด้วยซ้ำ แต่เราก็ยังสามารถเข้าถึงมันได้ครบทุกข้อ ความสะดวกง่ายดายของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตทำให้เราเข้าถึงมันได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วินาที เราสามารถดูมันเมื่อไหร่ก็ได้ 24 ชั่วโมงต่อวันและตลอดทั้ง 7 วันในหนึ่งสัปดาห์
.
.
.
ผ่าเข้าไปในสมอง
.
อะไรที่มันสามารถทำให้สมองของเราบ้าคลั่งในเรื่องเซ็กส์ได้ขนาดนี้ ผมเชื่อว่ามาถึงตรงนี้ทุกคนคงรู้คำตอบอยู่แล้ว … มันคือ “สารสื่อประสาทโดปามีน” ที่เราพูดถึงกันบ่อย ๆ นั่นเอง มันคือสารสื่อประสาทหลักที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมการตามล่าหารางวัลและความพึงพอใจใหม่ ๆ อยู่เสมอ
.
ปริมาณของโดปามีนคือมาตรวัดที่ทำให้เราตีค่าและจดจำความสำคัญของประสบการณ์นั้น ๆ ยิ่งถ้าเป็นอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับเรื่องเซ็กส์ มันสามารถทำให้สมองของเราปลดปล่อยโดปามีนออกมาได้มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมดทั้งมวล เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าสมองของเราถูกวิวัฒนาการมาให้ทำภารกิจดำรงชีวิตและถ่ายทอดพันธุกรรมออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั่นเอง
.
หลายคนอาจจะคิดว่า โดปามีนจะเริ่มถูกหลั่งออกมาเมื่อเราเจออาหารอร่อย ๆ , เจอของหวาน ๆ , เจอเรื่องสนุก ๆ , ได้รับเงินรางวัล หรือไม่ก็ตอนถึงจุดสุดยอดเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้ว มันถูกหลั่งออกมาในทุก ๆ กิจกรรมที่เราทำเลยด้วยซ้ำ
.
มันก่อให้เกิดแรงจูงใจ มันคอยพร่ำบอกเราให้เข้าใกล้ หลีกหนีให้ห่าง หรือสิ่งใดที่เราต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ยิ่งไปกว่านั้น มันยังทำให้เราจดจำสิ่งที่สำคัญโดยการผูกโยงสิ่งนั้นกับสมองของเราอีกด้วย
.
.
กลไกที่ทำให้เกิดการหลั่งโดปามีนออกมามีดังนี้ …
.
- การได้รับรางวัลพื้นฐานทางธรรมชาติ เช่น น้ำ, อาหาร, การเข้าสังคม และเซ็กส์ (หรือทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับมัน)
.
- การปลุกเร้าอารมณ์อย่างรุนแรง เช่น ภาพที่เร่าร้อนตื่นตาตื่นใจ, สิ่งที่แปลกประหลาดไม่เคยเจอมาก่อน, ความหวาดกลัว หรืออันตรายที่คาดไม่ถึง
.
- สิ่งใหม่ ๆ ที่เราต้องเผชิญ เช่น แม่พันธุ์คนใหม่ ๆ, แหล่งอาหารใหม่ ๆ, เหยื่อตัวใหม่ ๆ หรือผู้ล่าตัวใหม่ ๆ เป็นต้น
.
- การค้นหาสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตและเผ่าพันธุ์ เช่น การค้นหาดินแดนหรือแหล่งที่อยู่ อาหาร หรือคู่ผสมพันธุ์
.
- การจดจำและเอาตัวรอด (หรือหลบหนี) จากภัยคุกคามต่าง ๆ
.
อันที่จริงแล้ว คำพูดแนวปลุกเร้าอารมณ์ รูปภาพวาบหวิว และวิดีโอโป๊ต่างก็อยู่รอบตัวเรามานมนานตั้งแต่สมัยอดีตแล้ว พวกมันมีกลไกที่ทำให้สมองของเราหลั่งโดปามีนออกมาได้เช่นกัน เพียงแต่ความรุนแรงและความต่อเนื่องในการกระตุ้นอารมณ์ของสื่อโป๊ในอดีตเทียบกับสื่อโป๊ในยุคอินเตอร์เน็ตนี้ไม่ได้เลยสักนิด
.
ในสมัยก่อน เราอาจได้เจอแม่พันธุ์คนใหม่เพียงเดือนละ 2-3 คนจากนิตสารเพลย์บอย หรืออย่างดีหน่อยก็อาจจะเดือนละ 5 คน แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีไฮสปีดอินเตอร์เน็ตสามารถจัดหาแม่พันธุ์คนใหม่ ๆ ให้เราได้วันละหลายสิบคน (เปิดแท็บหน้าต่างใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ไม่รู้จบ)
.
ในสมัยก่อนหากอายุยังไม่ถึงวัย 18 ปี การได้เห็นภาพโป๊จากนิตยสารหรือคลิปวิดีโอจากแผ่นซีดีถือว่ายากมาก เพราะพนักงานขายจะมองเราด้วยสายตาแปลกประหลาดจนเรารู้สึกละอายใจที่จะซื้อมัน หรือถึงเราจะไม่สนสายตาคนที่มองอยู่ แต่เราก็ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายตอนที่ซื้อมันอยู่ดี
.
ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ในวันนี้ เด็กน้อยอายุไม่ถึง 10 ขวบไม่ต้องใช้เงินสักบาทเดียว แต่เขาก็สามารถล็อคกลอนประตูและนั่งอยู่ในห้องตนเองพร้อมกับนั่งดูวิดีโอโป๊แนวฮาร์ดคอร์ได้วันละหลายสิบเรื่องผ่านอินเตอร์เน็ตบ้านแบบไม่ต้องระวังสายตาใคร
.
ในสมัยก่อนสื่อโป๊มีเพียงไม่กี่แนวให้เราได้เลือกดู ยิ่งแนวที่แปลกประหลาดเฉพาะทางอาจจะโผล่ออกมาให้เราได้เซอร์ไพรส์เพียงปีละ 1-2 เรื่องเท่านั้น แต่สื่อโป๊ยุคปัจจุบันสามารถนำเสนอหนังโป๊ทุกแนวได้อย่างง่ายดายเพียงแค่เราพิมชื่อหัวข้อของมัน ไม่ว่ามันจะเป็นแนวที่หลุดโลกแค่ไหน ขอแค่เรามีชื่อคำค้นก็พอแล้ว ส่วนที่เหลือ เดี๋ยวไฮสปีดอินเตอร์เน็ตจะพามันมาอยู่ตรงหน้าเราให้เอง
.
และด้วยอาการ desensitization ที่ทำให้สมองด้านชาเพราะดื้อโดปามีนนี้ มันก็ยิ่งทำให้เราถลำลึกไปจนถึงหนังโป๊แนวสุดโต่ง (หรือวิปริต) ได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบันหนังโป๊แนวแปลกประหลาดหรือหายากไม่มีอีกต่อไปแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตเป็นตัวช่วยค้นหาที่ดีที่สุด
.
อาการด้านชาหรือ desensitization ทำให้โดปามีนปริมาณเท่าเดิมไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้เราได้อีกต่อไปแล้ว เราต้องเพิ่มระดับปริมาณโดปามีนยิ่งขึ้นไปอีก
.
แรกเริ่มเดิมทีแค่รอยยิ้มหวาน ๆ และหน้าอกเปลือยเปล่าของนางแบบในนิตยสารนู๊ดก็แทบจะทำให้หัวใจเราระเบิดออกมาแล้ว แต่ในปัจจุบัน ชายหนุ่มหลายคนบอกว่าสิ่งนี้เป็นเหมือนกับการนั่งดูรูปมิคกี้เมาส์หรือฮัลโหลคิตตี้ยังไงยังงั้น ต้องเป็นแแนวฮาร์ดคอร์หรือไม่ก็การซูมลึกไปเฉพาะจุดสำคัญเท่านั้นจึงจะปลุกอารมณ์ของเราได้
.
แต่เมื่อเวลาผ่านไป สมองของพวกเราบางคนก็ด้านชาหนักยิ่งขึ้นไปอีก โดปามีนจากหนังโป๊ฮาร์ดคอร์ที่เคยทำให้เราถึงสวรรค์เมื่อหลายวันก่อน แต่มาในวันนี้ มันกลับไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้เราได้อีกแล้ว เราต้องการอะไรที่มันเซอร์ไพรส์ยิ่งกว่าเดิม แปลกแหวกแนวกว่าเดิม ในบางคนที่ถลำลึกเสพติดสื่อโป๊ขั้นรุนแรง แนวที่ว่านี้อาจหมายถึงอะไรที่วิปริตหรือหลุดโลกไปเลย
.
สิ่งนี้เป็นพฤติกรรมปกติอย่างหนึ่งของคนที่เสพติดสื่อโป๊อย่างหนักโดยเฉพาะสื่อโป๊ในยุคอินเตอร์เน็ต เราเรียกว่า escalation of porn use หรือแปลเป็นไทยว่า “การใช้สื่อโป๊ที่ถลำลึกและบานปลายหนักขึ้นเรื่อย ๆ “
.
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เพราะอาการด้านชาในสมองส่วนกลไกการรับรู้รางวัลของเรา (อาการ desensitization ของ reward system) ทำให้โดปามีนปริมาณเท่าเดิมไม่สามารถออกฤทธิ์ได้อีกต่อไป เราต้องการสิ่งที่สามารถกระตุ้นปลุกเร้าได้รุนแรงกว่าเดิม ซึ่งจะมีก็แค่การไล่ตามค้นหาคลิปวิดีโอโป๊ฮาร์ดคอร์แนวแปลก ๆ ใหม่ ๆ เท่านั้นที่จะสามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้
.
ยังไม่หมดเท่านั้น ในสมองของเรายังมีกลไกหนึ่งที่คอยผลักดันให้เราทำบางสิ่งบางอย่างมากขึ้นเรื่อย ๆ เราเรียกกลไกนี้ว่า binge mechanism
.
อันที่จริงแล้วกลไก binge mechanism นี้มีประโยชน์ต่อวิวัฒนาการของเรามาก ๆ เพราะมันทำให้เราเกิดการจดจำว่าอะไรคือสิ่งสำคัญหรือมีความจำเป็น เพื่อที่เราจะได้ออกไปค้นหาและเก็บสะสมสิ่งนั้นมาอีกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เผื่อเกิดการขาดแคลนในอนาคต
.
เนื่องจากในอดีต อาหาร ที่อยู่อาศัย และแม่พันธุ์ สิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นเหล่านี้ไม่ใช่ว่าจะหาเจอกันได้ง่าย ๆ เราต้องอดทน ต่อสู้ และแย่งชิงสิ่งเหล่านี้มาอย่างยากลำบาก วิวัฒนาการจึงได้สร้างระบบนี้ขึ้นมาเพื่อให้เราไล่ตามและเก็บเกี่ยวมันเอาไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในยามที่มีโอกาส
.
แต่พอมาในวันนี้ การผสมพันธุ์ที่เราเคยต้องค้นหาหรือต่อสู้แย่งชิงมาอย่างยากลำบากเมื่อครั้งอดีตกลับกลายเป็นสิ่งที่หาเจอได้อย่างง่ายดายที่สุด เพียงแค่ใช้ปลายนิ้วคลิก เราก็สามารถได้เจอพ่อพันธุ์แม่พันธุ์คนใหม่ ๆ ออกมาได้เป็นสิบเป็นร้อยไม่รู้จบ
.
สมองของเรามีวิวัฒนาการไม่ทันสื่อโป๊ในสมัยนี้อีกแล้ว นั่นจึงทำให้กลไก binge mechanism ที่มีประโยชน์นี้กลับกลายเป็นตัวการที่ทำให้เราเกิดการเสพติดถึงขั้นถลำลึกในทุกเรื่องแทน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร, ของหวาน, การพนัน, เกมส์ออนไลน์ และที่สำคัญที่สุด … เซ็กส์
.
ไม่ต้องแปลกใจที่ทำไมพวกเราทุกคนถึงชื่นชอบและตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องเซ็กส์เป็นพิเศษ เพราะมันคือสิ่งที่ถูกวางเอาไว้ให้เป็นภารกิจอันดับหนึ่งของยีนส์เพื่อที่จะทำให้เราไม่สูญพันธุ์ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของเราแล้ว ปัญหาก็คือ เซ็กส์ในวันนั้นกลายมาเป็นสื่อโป๊ในวันนี้นี่เอง
.
พบกันในบทความต่อไปนะครับ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2266141780303079&id=2230094023907855
.
.
.
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ ebook “เซ็กส์เสื่อมในวัยหนุ่ม : สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา” (ebook นี้มีเนื้อหาทั้งหมด 13 บท)
สั่งซื้อหรือทดลองอ่านบทความตัวอย่าง (ฟรี) ได้ที่ ...
https://www.mebmarket.com/web/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMjY2MjgwOCI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjEwNjY3MCI7fQ
*** ต้องดาวน์โหลดแอปฯ “meb : หนังสือดี นิยายดัง” ก่อนนะครับ (แอปฯนี้โหลดฟรี)
หนังสือ ebook เล่มนี้เป็นการบอกเล่าประสบการณ์และให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีการโฆษณาแนะนำยาหรืออาหารเสริมใด ๆ ทั้งสิ้น
.
.
.
——————————————————
references ... (เนื้อหาบางส่วนใช้ข้อมูลอ้างอิงเดียวกับบทที่ 1 และ 2)
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4600144/
https://m.medicalxpress.com/news/2015-11-online-porn-sex-addicts-desire.html
https://www.sciencedaily.com/releases/2006/08/060826180547.htm
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/21723396/#
http://www.jneurosci.org/content/27/8/1892
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/18688210/
https://ars.els-cdn.com/content/image/1-s2.0-S1740677305000112-gr1.jpg
https://www.grc.com/health/research/CNS/Dopamine%20and%20sexual%20function.pdf
http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=2032
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/11805404/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/17164075/?i=3&from=/11805404/related
https://psychopharmacologyinstitute.com/antipsychotics-videos/dopamine-pathways-antipsychotics-pharmacology/
https://link.springer.com/article/10.1007/s11930-005-0010-2
https://www.yourbrainonporn.com/relevant-research-and-articles-about-the-studies/erections-neurotransmitters-hormones-brain-regions/mechanisms-of-penile-erection-and-basis-for-pharmacological-treatment-of-erectile-dysfunction-2011/
http://www.bumc.bu.edu/sexualmedicine/publications/the-central-mechanisms-of-sexual-function/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/16625274/
https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/how-addiction-hijacks-the-brain
https://www.lifesitenews.com/news/internet-porn-the-highly-addictive-narcotic-emasculating-young-men-through-erectile-dysfunction?fbclid=IwAR3ZNFgzQ6GbmGO-6u6DRkZ32th_Gj5y3tcBgR___X2rqZ1Rr7b-4C3uviA
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/11805404/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/3408449/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/10846806/
https://blog.cognifit.com/nucleus-accumbens/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3960020/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/10846806/
https://www.yourbrainonporn.com/relevant-research-and-articles-about-the-studies/dopamine-and-addiction/l-the-addicted-brain-nestler-and-malenka-2004-3/
https://ajp.psychiatryonline.org/doi/full/10.1176/appi.ajp.162.8.1414
https://neuroscientificallychallenged.com/blog/know-your-brain-ventral-tegmental-area
http://thebrain.mcgill.ca/flash/i/i_03/i_03_cr/i_03_cr_que/i_03_cr_que.html