ข้อมูลชุดนี้เปรียบเทียบเส้นทางชีวิตของคนไทยกับคนนอร์ดิก (ประเทศรัฐสวัสดิการในแถบแสกนดิเนเวียน เช่น เดนมาร์ค นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์) ตั้งแต่เกิดจนตาย เพื่อแสดงให้เห็นว่าภาษีจำนวนมากที่ประชาชนเสียไปนั้นแลกกับคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยแค่ไหน ในขณะที่คนไทยต้องแบกรับความเสี่ยง ทำงานหนัก เพื่อแลกกับอนาคตที่เปราะบางแต่ก็ไม่สามารถหยุดได้ แม้จะไม่มีสังคมใดที่สมบูรณ์แบบ แต่เราต้องยืนยันว่าสังคมที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่รัฐต้องร่วมรับผิดชอบเพราะเป็นการนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
สำหรับคนไทยการเกิดของคุณคือความยินดีที่มาพร้อมกับความกังวลของพ่อแม่ พ่อแม่ส่วนมากคาดหวังให้ลูกเลี้ยงดูพ่อแม่ได้ยามแก่ชรา พวกเขาคาดหวังคุณด้วยความฝันที่ค้างเติ่งของพวกเขา ส่วนมากคือ ชีวิตที่ดี งานที่ดี ครอบครัวที่ดี ที่พวกเขารู้ว่าไม่มีวันไปถึง ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์ก็สูง แม้ว่าคนไทยจะใช้สิทธิการฝากครรภ์และทำคลอดได้ตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่โรงงานและสถานประกอบการมักปฏิเสธการรับพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์เข้าทำงาน ผู้หญิงส่วนมากต้องเลี้ยงลูกเองเป็นเวลา 1 ปี หรือหย่านม ทำให้ค่าเสียโอกาสรายได้สูงถึง 5 หมื่นบาท หรือรายได้ประมาณครึ่งปี
ในกลุ่มประเทศนอร์ดิก พ่อแม่สามารถลาเลี้ยงดูลูกได้สูงสุด 480 วัน (ลาคลอดต่างหาก 60 วัน)
กรณีประเทศสวีเดน โดยได้รับค่าจ้างร้อยละ 80%ของค่าจ้างจริง (ค่าจ้างสูงสุดตามเกณฑ์รัฐบาล ประมาณ 180000บาท/เดือน)
พ่อแม่สามารถแบ่งใช้สิทธิได้ เพื่อไม่ให้ภาระการเลี้ยงดูบุตรตกอยู่ฝ่ายหญิงเพียงอย่างเดียว และฝ่ายหญิงสามารถกลับคืนสู่การมีชีวิตของเธอได้ไวมากขึ้นโดยไม่ถูกจองจำไว้ในครอบครัว
นอกจากนี้รัฐบาลยังให้ค่าเลี้ยงดูบุตรต่อเดือนคนละ 5000 บาท
โดยให้เป็นอัตราก้าวหน้า เช่นมีลูก 3 คน แทนที่จะได้ 15000 บาท รัฐบาลจะให้เพิ่มเติมอีกเพราะ ครอบครัวที่เลี้ยงลูกสามคนจำเป็นที่จะต้องจัดพื้นที่ให้เหมาะสมมากขึ้นตามจำนวนบุตร
การที่รัฐบาลสนับสนุนการดูแลบุตรทำให้ ชาวนอร์ดิกไม่ฟูมฟายเรื่องความกตัญญูรู้คุณกับลูกหลาน และไม่เอาความฝันของพ่อแม่ไปใส่ไว้ในตัวลูก เหมือนประเทศที่พ่อแม่ต้องลงทุนทุกอย่างให้แก่ตัวลูก
การต่อสู้ของสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง ในประเด็นความเสมอภาคระหว่างเพศในการทำงาน และการยืนยันว่าในเมื่อสังคมคือผู้ที่ใช้งานแรงงานรุ่นถัดไป สังคมก็ต้องเป็นผู้ดูแลไม่ใช่ภาระของประชาชน ประชาชนช่วยสังคมในการดูแลในฐานพหน่วยที่ใกล้ชิดแล้ว ดังนั้นรัฐจึงต้องสนับสนุนค่าใช้จ่าย
สำหรับไทยการที่แรงงานไม่มีสหภาพแรงงาน และการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้ช่องทางการต่อรองแบบนี้ไม่เกิด สังคมโยนความเสี่ยงให้แก่ผู้ใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงงานชายโยนให้ผู้ชายแรงงานหญิง แม่โยนความฝันและชีวิตที่ตัวเองคาดหวังไปให้ลูก
ระบบการศึกษาของไทยมีประสิทธิภาพเพียงแค่ในระดับอ่านออกเขียนได้ แต่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นถึงขั้นย่ำแย่ ระบบการศึกษาเน้นท่องจำ และการคล้อยตามผู้มีอำนาจ วิทยาศาสตร์เรียนการท่องสมการมากกว่าความหมายของมัน สังคมศาสตร์เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ชาตินิยม บุคลากรทางการศึกษาค่าตอบแทนต่ำ และถูกปลูกฝังวัฒนธรรมอำนาจนิยม
นอกจานี้การศึกษาที่ไม่ค่อยดีเท่าไรนี้ก็กระจุกตัวอยู่แค่ในกรุงเทพฯและหัวเมืองขนาดใหญ่ ที่มีแต่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางที่ผูกขาดสิทธิเหล่านี้ ค่าใช้จ่ายสำหรับคนจนในชนบทเพื่อศึกษาต่อในระดับสูงจึงไม่สมเหตุสมผลทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมการปลูกฝังวิธีคิดแบบอภิสิทธิชน ทั้งทางอุดมการณ์และทางเทคนิค
ค่าใช้จ่ายในระดับปริญญาสูงมากนับจากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบตั้งแต่ปี 2540 แต่เงินเดือนผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี กลับปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเท่านั้น สวนทางกับค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียน
ในขณะที่กลุ่มประเทศนอร์ดิก การศึกษาฟรี (รวมอาหารกลางวัน) มีคุณภาพ จำนวนครูต่อนักเรียนประมาณ 1:25 การศึกษาไม่เน้นการวัดประเมินแต่เน้นการนำเสนอความคิด การประเมินสามารถมีได้เมื่อนักเรียนอายุประมาณ 14-15 ในบางวิชาเท่านั้น
ค่าตอบแทนของครูระดับประถมมัธยมไม่ต่ำกว่า หมอ และทนาย
ครูสำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญาโท เพื่อเน้นความสามารถในการวิจัยและตั้งคำถาม
เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัย การศึกษาทั้งหมดฟรี และในฐานะผู้บรรลุนิติภาวะและยังไม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน รัฐบาลสนับสนุนเงินเดือนให้ระหว่างการศึกษาเพราะรัฐบาลเชื่อว่า การลงทุนที่น้อยและได้ผลที่สุดคือการศึกษา คือการพัฒนามนุษย์ที่สามารถสร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจ มากกว่าการเป็นแรงงานไร้ทักษะ แต่การศึกษาคือคนละเรื่องกับการแข่งขัน หรือการยกลำดับชั้น เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ที่ต้องมีอุปสรรคน้อยที่สุด
ในขณะที่เมืองไทยการศึกษาถูกทำให้เป็นการลงทุนเพื่อยกระดับฐานะในสภาพที่ช่องทางอื่นตีบตันการศึกษาที่ดีจึงถูกสร้างให้เป็นฝันลมๆแล้งของชนชั้นล่าง
เมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีคนไทยประมาณ 2 ล้านคนที่อยู่ในระบบราชการภายใต้ความคิดที่ว่ามั่นคงและปลอดภัยมีสวัสดิการที่ดี ถึงคนในครอบครัวซึ่งรวมแล้วมีประมาณ 5 ล้านคน คิดเป็นเพียง8% ของประชากรเท่านั้น
คนไทยอีก 17% มีระบบประกันสังคม ที่ครอบคลุมสวัสดิการเพิ่มเติมยามว่างงานและเกษียณที่อาจได้รายได้สูงสุด 7500บาท/เดือน
รายได้เฉลี่ยของคนทำงานในไทยอยู่ที่ประมาณ 11000/เดือน โดยค่าจ้างขั้นต่ำ อยู่ที่ประมาณ 7400/เดือน มีแรงงานจำนวนมากที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ
สิทธิลาพักร้อนตามกฎหมาย 6 วัน เมื่อทำงานครบ 1 ปี ลาป่วยได้ 30 วันแต่บริษัทมักเอาเงื่อนไขการลาป่วยเป็นเงื่อนไขการขึ้นเงินเดือนอยู่เสมอ
มีคนไทยไม่ถึงร้อยละ 30% ที่อาจมีขีวิตที่มั่นคงหลังเกษียณ
ซ้ำร้ายกว่านั้นด้วยค่าครองชีพและรายได้ที่ได้รับ พวกเราไม่สามารถที่จะซื้อประกันหรือเข้าระบบการออมที่มีผลต่อชีวิตอย่างมีนัยยะสำคัญได้เลย เรื่องที่แย่คือ ส่วนมาก พ่อแม่ พี่น้อง คู่สมรส ก็อยู่สถานะเดียวกัน อันหมายถึงเงื่อนไขความยากจนที่ต้องเกื้อหนุนคนในครอบครัวอีกต่อหนึ่ง
ในขณะที่ตลาดแรงงานในกลุ่มประเทศนอร์ดิกมีความหลากหลาย และวางเงื่อนไขให้คนต่างชาติสามารถมาทำงานร่วมกับคนท้องถิ่นและได้สวัสดิการเช่นเดียวกันเพื่อทำให้เศรษฐกิจของประเทศก้าวกหน้า และคนื้องถิ่นก็ได้โอกาสเรียนรู้ที่หลากหลาย สหภาพแรงงานเข้มแข็งมาก ทำงานร่วมกันกับ พรรคการเมืองและ องค์กรพัฒนาเอกชน
การละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอาจมีโทษสูงสุดถึงการปิดกิจการ
สิทธิลาพักร้อนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25-30 วันต่อปี
ไม่นับรวมถึงสิทธิต่างๆเช่นการลาเลี้ยงดูบุตร
มากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำค่าจ้างมีเงื่อนไขการปรับขึ้นตามประสบการณ์การทำงาน เงินบำนาญเงินจากการบริหารคล้ายระบบประกันสังคม โดยนายจ้างจ่ายสมทบด้วยในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 10 ของค่าจ้าง
เมื่อเกษียณอายุรัฐบาลจะอุดหนุนทุกกรณีหากได้เงินบำนาญไม่ถึง 30,000-40000 บาท (โดยประมาณ) สำหรับผู้ที่อาศัยในสวีเดน 40 ปีขึ้นไป
และต้องอย่าลืมว่าค่าใช้จ่ายต่างๆหลังเกษียณอายุแทบไม่มีด้วยระบบสวัสดิการด้านต่างๆของรัฐ เงินบำนาญจึงมีไว้เพื่อการใช้ชีวิตตามความพอใจมากกว่าเงื่อนไขจำเป็น
คนแก่ไทยมีชีวิตที่ค่อนข้างเศร้า เพราะดิ้นรนกับความยากจนมาทั้งชีวิต และลูกหลานส่วนมากก็ไม่ได้ก้าวพ้นจากความยากจนแต่อย่างใด คนที่โชคดีอาจใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิตในการใช้หนี้หมดและแก่อย่างยากจน ขาดอิสระ ผู้คนในสังคมเดียวกันก็มีภาระที่หนักมากขึ้นเกินกว่าจะดูแล
หลายคนต้องทำงานจนไม่สามารถทำไหว
ระบบการรักาาพยาบาลของไทยไม่เหมาะกับโรคผู้ป่วยเรื่อรังในกรณีผู้สูงอายุ และปริมาณแพทย์ ก็ขาดแคลนที่จะดูแลผู้ป่วยสูงไวอย่างใกล้ชิด
ค่ารักษาพยาบาลและงานศพจบลงด้วยค่าใช้จ่ายมหาศาลสำหรับคนมีชีวิตอยู่
ประกันรูปแบบเดียวสำหรับผู้สูงอายุไทยคือประกันชีวิตเมื่อเสียชีวิต ซึ่งคือเงินเก็บพร้อมดอกเบี้ยเล็กน้อย เพื่อเคลียร์ค่ารักษาพยาบาล และค่าทำศพสำหรับลูกหลาน
ในขณะที่อายุขัยเฉลี่ยของชาวนอร์ดิกอยู่ที่ 80 ปี ขึ้นไป สำหรับประเทศนอร์เวย์อยู่ที่ 83 ปี และจากการสำรวจพบว่าพวกเขาเป็นประเทศที่ 1 เดือนก่อนตายคนมีความสุขที่สุดในโลก อันเป็นภาพสะท้อนว่า ชีวิตของพวกเขาได้ทำตามสิ่งที่พวกเขาปรารถนามาทั้งชีวิต ไม่มีภระที่คั่งค้าง และไม่มีความหวังฝากไว้ที่ใคร
เงินบำนาญของพวกเขาใช้กับการท่องเที่ยวและความบันเทิงเป็นส่วนมาก
ถึงแม้ลูกหลานจะมีชีวิตส่วนตัวไม่เกี่ยวข้อง แต่รัฐบาลก็ดูแลการรักษาพยาบาล หรือพยาบาลเยี่ยมตามบ้าน การจัดอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ
เมื่อลูกหลานมาพบพ่อแม่จึงเป็นเรื่องของความรักและผูกพันมากกว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
เมื่อลูกหลานมีชีวิตที่ดีได้ด้วยตัวพวกเขาเองและการดูแลทางสังคมของรัฐ มรดกจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นใดๆ เมื่อพวกเขาตายพวกเขาคืนสิ่งที่สะสมมาทั้งชีวิตให้แก่รัฐเพื่อไปสร้างชีวิตที่ดีและพลเมืองรุ่นใหม่ต่อไปในลักษณะภาษีมรดก
ในขณะที่รัฐบาลนอร์ดิคให้ความสำคัญอย่างมากกับการจัดสรรงบประมาณรัฐให้กับผู้สูงอายุ ประเทศไทยที่มีสวัสดิการให้ผู็สูงอายุเพียงน้อยนิดอยู่แล้งก็ยังมีแนวคิดที่จะลดงบประมาณส่วนนี้ให้เหลือนน้อยที่สุด โดยอ้างว่าเป็นงานประหยัดงบประมาณประเทศได้เป็นหมื่นล้านบาท เป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุในไทยถูกใองเป็นภาระสังคม และกลายเป็นหน้าที่ของลูกหลานที่ต้องแบกรับทางเศรษฐกิจของตัวเองและพ่อแม่ที่แก่เฒ่าอย่างไม่มีทางเลือก ภายใจ้กรอบคุณธรรมของความกตัญญู นขณะที่ชาวนอร์ดิกสามารใช้ชีวิตของตัวเองอย่างเต็มที่
Credit :
https://www.facebook.com/welfarestateisneeded/ เป็นเพจของอาจารย์ผมเองครับ