[วิเคราะห์แทคติกมูริญโญ่]-จากเกมแมนยูชนะบอร์นมัธ3-1
ขออภัยมาช้าไปหน่อย ถือซะว่า เอาไว้อ่านระหว่างรอดูเกมคืนนี้ก็แล้วกันเนอะ
PATTERNS OF PLAY
หลังจากที่ยูไนเต็ดสามารถคว้าชัยเหนือบอร์นมัธในนัดเปิดสนามได้สำเร็จ แม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่ฟอร์มที่ดีที่สุด และยังมีหลายจุดที่ต้องแก้ไข
แต่สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างชัดเจน นั่นก็คือ รูปแบบ
การเคลื่อนที่(Movement) และ
การส่งบอล(passing) ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดหายไปในยุคของหลุยส์ ฟานกัล
แผนการเล่น(Basic Shape)
ยูไนเต็ดของมูริญโญ่ มาในแผน4-2-3-1 แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะเป็นแผนการเล่นที่เคยถูกใช้ในฤดูกาลที่แล้ว แต่จริงๆแล้วมันมีความแตกต่างในรายละเอียด เมื่อมองจากเกมคอมมิวนิตี้ ชิลด์ และนัดแรกในพรีเมียร์ลีก จะสังเกตเห็นว่า
ยูไนเต็ดมีการส่งบอลไปข้างหน้ามากขึ้น และส่งกลับหลังให้ผู้รักษาประตูน้อยลง ซึ่งแตกต่างไปจากช่วงที่ฟานกัลคุมทีมที่มักจะใช้การส่งบอลไปรอบๆ(pass played square) ส่งผลให้คู่แข่งถอยไปคุมโซนได้ทัน บ่อยครั้งทีมของหลุยส์ ฟานกัลจึงมักจะเจอกับปัญหาในการเจาะพื้นที่สุดท้ายอยู่เสมอ ทำให้โอกาสยิงประตูจึงน้อยตามไปด้วย
"เราจัดการกับพวกเขา ด้วยอาวุธของพวกเขาเอง" (We beat them with their own weapons)
แมนยูต้องเจอกับความยากลำบากในการเซ็ทเกม เนื่องจากผู้เล่นบอร์นมัธมีการวิ่งเข้าบีบ(pressing)อย่างรวดเร็ว การไล่บีบพื้นที่อาจจะทำให้ผู้เล่นของแมนยูออกบอลกันลำบาก แต่เมื่อไหร่ที่พวกเขาหลุดจากการpressingได้แล้ว พวกเขาจะมีพื้นที่มากมายในการทำเกมรุก แน่นอนว่ามูริญโญ่รู้จุดอ่อนตรงนี้ดี
ดังนั้นในเกมนี้ เราจึงเห็นทีมของมูริญโญ่ทำเกมรุกจาก 2 วิธี
วิธีแรก คือ ใช้การโยนยาวไปข้างหน้าโดยมีเป้าใหญ่เป็น "อิบราฮิโมวิช"
แต่วิธีนี้คงต้องไปฝึกซ้อมกันมาใหม่ เพราะยังขาดความแม่นยำ
และวิธีที่สอง คือ พยายามส่งบอลกันในพื้นที่แคบๆ เพื่อหลอกล่อคู่แข่งให้เข้ามาบีบบริเวณกลางสนาม ก่อนที่จะส่งบอลไปที่พื้นที่ด้านกว้างเพื่อเปิดเกมรุก
Mata and Valencia
ก่อนเกมนัดนี้ลินการ์ดมีอาการบาดเจ็บ ทำให้มาต้าต้องลงไปทำหน้าที่ในตำแหน่งปีกขวาแทน เท่ากับว่าแมนยูจะขาดผู้เล่นเชิงปีก(Wide Midfiled)ในตำแหน่งขวา
แต่นั่นดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาของมูริญโญ่ เพราะทันทีที่ฆวน มาต้าหุบเข้ากลาง วาเลนเซียจะคอยวิ่งเติม(overlap) และกลายเป็นช่องให้เอเรร่าจ่ายบอลไปให้ได้ทันที ดังรูป
เมื่อดูจากอิทธิพลในสนามของวาเลนเซียจะเห็นว่า แมนยูใช้ประโยชน์จากแทคติกนี้ได้ค่อนข้างมาก นั่นก็เพราะการที่วาเลนเซียวิ่งเติมมาจากแนวลึก ทำให้ชาร์ลี แดเนียลส์ แบ็คซ้ายของบอร์นมัธไม่สามารถตามประกบได้
ถือเป็นการดึงศักยภาพของวาเลนเซียออกมาได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่จำเป็นต้องมีสกิลลากเลื้อย ขอแค่มีพื้นที่ให้วาเลนเซียได้ใช้ความเร็วและความแข็งแกร่งก็ยากที่จะหยุดเขาได้
ตั้งรับด้วยการปิดพื้นที่ครึ่งสนาม (Blocking the half spaces)
ภายใต้การคุมทีมของหลุยส์ ฟานกัล ยูไนเต็ดจะใช้วิธีป้องกันด้วยการบีบพื้นที่ตรงกลางสนาม(Compact) โดยให้ไลน์กองหลังบีบขึ้นสูงเพื่อลดพื้นที่ว่าง
แต่สำหรับมูริญโญ่ เมื่อคู่แข่งครอบครองบอล ไลน์กองหลังจะถอยลงไปรับลึกในกรอบเขตโทษ เอเรร่าและเฟลไลนีจะคอยสกรีนอยู่หน้าแผงหลัง ในขณะเดียวกันมาต้า และมาร์กซิยาลจะถอยลงมาช่วยปิดช่องไม่ให้ผู้เล่นบอร์นมัธจ่ายเข้ากลางได้ง่ายๆ ส่วนรูนนีย์และอิบราฮิโมวิชจะคอยวิ่งเพรสซิ่งใส่ฟูลแบ็คฝ่ายตรงข้าม
และดูเหมือนว่าจะได้ผลค่อนข้างดี ส่วนหนึ่งต้องยกเครดิตให้กับคู่เซนเตอร์อย่างเอริค ไบญี่ และดาลีย์ บลินด์ ที่สามารถประสานงานกันได้อย่างลงตัว
ถึงแม้ว่าบอร์นมัธจะเจอปัญหาในการเจาะเกมรับแมนยู แต่มันอาจจะเร็วเกินไปหากจะบอกว่าเป็นเกมรับที่ยอดเยี่ยม เพราะวิธีการรับแบบนี้คู่แข่งจะมีพื้นที่ในแดนกลางค่อนข้างมาก ดังนั้นสองคู่กองกลางแมนยูจะต้องทำหน้าที่ให้ดี ไม่อย่างนั้นจะเป็นดังเช่นจังหวะที่เสียประตู โดยจังหวะที่เสียประตูเริ่มต้นที่มาร์คิทายานที่ยืนปิดทางบอลไม่มิดปล่อยให้"ชาร์ลี แดเนียลส์"จ่ายเข้ากลางมาให้"ลูอิส แกร็บแบน" ที่ยืนไร้ตัวประกบอยู่หน้ากรอบเขตโทษ และจ่ายตัดหลังไปให้"อดัม สมิธ"เข้าไปยิงง่ายๆ
(จริงๆจังหวะนี้ต้องชมผู้เล่นบอร์นมัธด้วย เพราะข้ามบอลหลอกได้สวย ส่งผลให้หลุดจากการประกบของเฟลไลนี่ได้)
รับด้วย4-2-3-1 รุกด้วย 4-4-2 with Diamond
(ก่อนอื่นต้องปรับความเข้าใจกันก่อน ระบบ4-4-2 มี2รูปแบบ โดยจะเรียกตามรูปแบบการยืนของกองกลาง โดยแบบแรก คือ Flat-Four หรือ หน้ากระดานเรียงสี่ ส่วนอีกแบบ คือ Diamond เหตุผลที่เรียกว่า ไดม่อน ก็เพราะว่าแผงมิดฟิล์ดจะยืนกันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมประกบกันคล้ายเพชร ตามรูป)
ในจังหวะเกมรับ เฟลไลนี่และเอเรร่าจะยืนคู่กันอยู่หน้าแผงแบ็คโฟว์ พอแมนยูเปลี่ยนเป็นฝ่ายครอบครองบอล เฟลไลนี่จะขยับขึ้นสูงกว่าปกติ เอเรร่าขยับมาเล่นตรงกลาง
เชิงลึก มาต้าจะขยับเข้าไปข้างใน โดยมีรูนนีย์ถอยลงมาเชื่อมเกม ซึ่งการยืนตำแหน่งแบบDiamondจะทำให้เกิดเป็นสามเหลี่ยมตรงกลางสนาม ผลที่ได้คือ ผู้เล่นจะมีทางเลือกในการส่งมากขึ้น อีกทั้งวาเลนเซียและมาร์กซิยาลยังสามารถฉวยโอกาสจากการเปิดพื้นที่ว่างด้านข้างได้อีกด้วย
"อิสระได้ แต่ต้องไม่เสียกระบวน"
จากรูปแบบการรุกข้างต้น ในระหว่างเกม เอเรร่าและเฟลไลนี่สามารถสลับกันขึ้นลงได้ เมื่อเอเรร่าขึ้นสูง เฟลไลนี่จะลงต่ำคอยตัดเกม
หรือรวมถึงจังหวะได้ประตูแรกก็เกิดจากการที่มาต้าสลับไปเล่นฝั่งขวา
และ "อิสระ" นี่แหละคือ สิ่งสำคัญที่มูริญโญมอบให้นักเตะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดหายไปในยุคของหลุยส์ ฟานกัล
เพิ่มเติม อีกตัวอย่างนึงที่เห็นค่อนข้างชัด
จากรูปเป็นจังหวะที่แมนยูเสียการครองบอล ดังนั้นทุกคนจะถอยไปเล่นเกมรับในแดนตัวเอง จะเห็นว่า
อิบราจะยืนปิดทางซ้ายแทนมาต้าแทบจะทันทีที่รู้ว่ามาต้าลงมารับไม่ทัน
แสดงให้เห็นว่า แม้มูริญโญ่อนุญาติให้นักเตะมีอิสระในเกมรุก แต่เมื่อถึงจังหวะเกมรับ ทุกคนต้องรู้หน้าที่ และไม่ว่าจะอยู่จุดใดของสนามทุกคนจะต้องพยายามรักษาShapeของทีม
ปล.เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยโปรดคอมเม้นท์ แต่อย่าด่าว่าผมมั่วนะ เพราะผมแปลมาอีกที
แปลมาจาก :
http://manutdtactics.com/?p=6669 และ
http://manutdtactics.com/?p=6690