[RE: ผมว่า มันเกินเยียวยาแล้วล่ะ]
Ezio17 พิมพ์ว่า:
VanillaSky พิมพ์ว่า:
Ezio17 พิมพ์ว่า:
VanillaSky พิมพ์ว่า:
เอาอะไรมาพูด ว่าคนอื่นไม่พัฒนาตัวเอง แล้วบอกว่าขี้แพ้
รู้จักเขาหรอ
เขาอาจจะทำทุกอย่างจนรู้แล้วว่า ระบบโครงสร้าง มันไม่เอื้อกับทุกคน ที่มีสิทธิ์ในฐานะปชช จริงๆ
ยินดีด้วย ที่คุณๆเอาตัวรอด และไปได้ดี ในโครงสร้างระบบที่ไม่ยุติธรรมนี้ได้
ขอให้ภูมิใจต่อไปนะครับ แล้วเหยียดคนอื่นไปเรื่อยๆ
ปล. พูดลอยๆ
ระบบยุติธรรมคืออะไร ถ้าหมายถึงทุกคนเท่าเทียมกันมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
แม้แต่อเมริกาที่ใครๆยกย่องนักหนามันก้ไม่เท่าเทียม คนขยันยังไงก้ได้ดีกว่าคนขี้เกียจ
คนมีการศึกษายังไงก้ไปได้ไกลกว่าคนไม่มีทางรู้ อันนี้มันเรื่องปกติอยู่แล้ว
มีแต่พวกโลกสวยเท่านั้นที่คิดว่าทุกคนต้องเท่าเทียมกัน สิทธิพื้นฐานอ่ะใช่ แต่การเข้าถึงทรัพยากรมันก้อีกเรื่อง
เพราะทุกอย่างมีต้นทุนหมด คนที่มีต้นทุนสูงกว่าก็มีโอกาสมากกว่า
ระบบยุติธรรมคืออะไร ถ้าหมายถึงทุกคนเท่าเทียมกันมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
ครับ เห็นด้วยที่ว่า ทุกคนไม่เท่าเทียมกัน สูง เตี้ย อ้วน ผอม มีความถนัดต่างๆ ไม่เหมือนกัน ไม่เท่าเทียมอยู่แล้ว โอกาสต่างๆก็ไม่เท่ากัน
แม้แต่อเมริกาที่ใครๆยกย่องนักหนามันก้ไม่เท่าเทียม คนขยันยังไงก้ได้ดีกว่าคนขี้เกียจ
คนมีการศึกษายังไงก้ไปได้ไกลกว่าคนไม่มีทางรู้ อันนี้มันเรื่องปกติอยู่แล้ว
ขอแทรกเรื่องรัฐสวัสดิการนิดนึง เคยศึกษามาว่า อเมริกาเคยเป็นประเทศรัฐสวัสดิการมาก่อน หมายความว่าทุกอย่าง ที่ประชาชนควรได้รับ มีหมด ทั้งการศึกษา การดูแลเมื่อเจ็บป่วยจากรัฐ ต่อมา ทางรัฐ มีความเชื่อเรื่องความเป็นปัจเจก และต้องลดภาระของรัฐ
จึงถอดรัฐสวัสดิการออก เพื่อให้ประชาชนอยู่ในภาวะการแข่งขัน และพัฒนาตัวเองมากขึ้น
เพราะฉนั้น มันมีที่มาที่ไปที่ไม่เหมือนที่นี่ครับ อย่างน้อยเขาก็มีช่วงระยะเวลาหนึ่ง(หลายปี) ที่แผ่กระจายสิทธิพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง แล้วค่อยปรับ ส่วนของเราไม่เคยมีช่วงที่ประชาชน ได้สวัสดิการที่ได้จากรัฐแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยเลย
มีแต่พวกโลกสวยเท่านั้นที่คิดว่าทุกคนต้องเท่าเทียมกัน สิทธิพื้นฐานอ่ะใช่ แต่การเข้าถึงทรัพยากรมันก้อีกเรื่อง
นั่นแหละครับในเมื่อคนเราไม่เท่ากัน คำถามคือ แล้วเรา ให้สิทธิพื้นฐาน ที่เท่ากันได้ไหม ที่นี่ให้สิทธิพื้นฐาน ที่เท่ากันรึยัง หรือเห็นๆกันอยู่ว่าทรัพยากรมันอยู่ในคนบางกลุ่ม ที่พยายามดูดเข้าหาตัวเองไม่แบ่งใคร
เพราะทุกอย่างมีต้นทุนหมด คนที่มีต้นทุนสูงกว่าก็มีโอกาสมากกว่า
เหมือนแข่งวิ่ง ระยะทางการวิ่งไม่เท่ากัน คนที่เข้าเส้นชัยก่อน เพราะวิ่งทางที่สั้นกว่า สามารถ บอกคนที่วิ่งเข้าที่หลัง เพราะเส้นทางของเขายาวกว่า ว่า ต้องพยายามให้มากกว่านี้ อย่าขีเกียจหรอครับ
จริงๆผมมองว่าทุนนิยม เป็นระบบ ที่ออกแบบมาให้เกิดความยุติธรรม คือ ทำมาก ได้มาก ทำน้อย ได้น้อย มีทุนมาก ก็ได้มาก
ปัญหาจริงๆคือ มันมีระบบ อื่นซ้อนอยู่ นั่นคือ ระบบอุปถรรม ใครพวกใคร คนนั้นได้ประโยชน์ ได้มีโอกาส ได้มีทุน
ประเทศนี้ กับดักเยอะครับ
หลุดจากวงจร เรื่องการเมือง ยังไปเจอกับดักเรื่องวัฒนธรรม กับดักจริยธรรม กันต่ออีก
ป.ล. โลกนี้ มันมีนวัตกรรม ที่เรียกว่า Propaganda นะครับ
รัฐสวัสดิการที่อเมริกายกเลิกก็เพราะมันมีปัญหาหลายๆอย่าง เช่น งบประมาณ การพัฒนาบุคคลากรในประเทศอย่างที่คุณบอก
ซึ่งถ้ามันดีจริงเค้าก้ไม่ยกเลิกหรอกครับ ที่สแกนดิเนเวียเค้าทำได้เพราะเค้าเก็บภาษีสูงมาก บวกกับคนของเค้ามีคุณภาพมากกว่าเรา
แล้วกว่าจะไปเป็นแบบนั้นเค้าใช้เวลาตั้งหลายร้อยปี ผมก็อยากให้เราทำแบบนั้นได้
เห็นด้วยเรื่องระบบอุปถัมป์ในบ้านเรายังเป็นการมาก และเป็นกันอยู่ทุกวงการ จริงๆเมืองนอกมันก้มีแหละ
เป็นในลักษณะต่างตอบแทน แต่ไม่ได้มากเหมือนบ้านเรา ปัญหาส่วนนึงคือคนไทยชอบโทษแต่ระบบ
ไม่เคยดูตนเองเลยว่าเป็นบุคคลากรที่มีคุณภาพแค่ไหน ส่วนเรื่องสิทธฺพื้นฐานผมว่าตอนนี้มันเท่าเทียมกันแหละ
แต่ถ้าเรื่องระบบยุติธรรม อันนี้แหละที่มันเป็นปัญหาไม่เท่าเทียมระหว่างคนรวยคนจน เรื่องเศรษฐกิจที่มีการผูกขาด
มันก้อิงอยู่กับกลุ่มทุนนักการเมืองนั่นแหละ ถ้าจะโทษก้ไปโทษคุณภาพของนักการเมืองบ้านเราที่มันเป็นได้แค่นี้
ถ้าจะบอกว่า สิทธิพื้นฐานตอนนี้เท่าเทียมกันแล้ว ถ้าจะให้เห็นด้วย คงต้องบอกว่า ที่เทียมกันกัน เพราะ มันไม่มีอะไรให้เลยทุกคนจริงๆ น่ะครับ 555
เราจ่ายภาษี เข้ารัฐ กันทุกคนรึป่าว บางคนบอกว่า มีคนจ่ายจริงๆ แค่ 4 ล้านคน ต้องมาอุ้ม คน 70 ล้าน
แต่อย่าลืมนะครับ ว่าภาษีที่เราเสีย มันหลายรูปแบบ เข้าเซเว่นซื้อของทีนึง ก็เสียภาษี ครับ
จะบอกว่า ทุกวันนี้ มีคนเข้าเซเว่น แค่ 4 ล้านคน ก็คงไม่ถูก
แล้วรายได้ภาษีส่วนใหญ่ของรัฐ ก็มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย (ถ้าจำข้อมูลนี้ไม่ผิด)
แล้วดูสิ่งที่รัฐ บริหารสิครับ อันนี้ผมพูดถึงทุกยุคทุกสมัยนะ ลองดูว่าแต่ละยุค ให้ค่ากับอะไร ให้ความสำคัญกับอะไร เคยกลับมาหาประชาชนบ้างไหม
ทีนี้จะบอกให้ประชาชน ไม่บ่นถึงระบบ ก็คงประหลาดไปสักหน่อย
ผมว่า มันต้องแก้ที่ระบบ และ ประชาชน ควบคู่ไปด้วยกัน สองอย่างนี่มันสะท้อนซึ่งกันและกัน แปรผันกันโดยตรง
แต่สิ่งที่ประชาชนต้องเจออยู่ตอนนี้ คือ ไม่มีอะไรมารองรับความต้องการพื้นฐานในชีวิตเลย ข้าว น้ำ ที่อยู่ ยารักษาโรค
สิ่งที่เกิดขึ้นคือต้องเอาตัวรอดครับ ประชาชนต้องเอาตัวรอดกันเอง โดยที่จุดเริ่มของแต่ละคนไม่เท่ากัน
แล้วคนที่เอาตัวรอดได้ก็บอกว่า มึงมันห่วย ต้องพัฒนาตัวเอง
สิ่งที่น่ากลัวคือ พอเวลาผ่านไป คนชิน และปรับตัวได้ กลายเป็นแนวคิดฝังลึกลงไปรุ่นต่อรุ่น ว่าต้องเอาตัวรอด เอาตัวรอดเองมาตลอด แล้วพอทุกคน มุ่งแต่จะเอาตัวรอดก็ โกลาหลสิครับ ไม่มีใครตระหนักถึงผลกระทบของการกะทำต่างๆ
จะโทษนักการเมืองอย่างเดียวก็คงไม่ถูก นักการเมืองก็คนเหมือนกัน และถ้าเขาไม่เชื่อในระบบว่าที่เป็นอยู่ มันไม่สร้างความมั่นคงได้ ระบบมันไม่ตอบโจทย์ความต้องการในชีวิตเขาได้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการคอรัปชั่น มีอำนาจแล้วก็รีบโกย เอาตัวรอดไว้ก่อน
ซึ่งทั้งหมดถ้าจะมองในแง่ดี คือก็นักการเมืองบริหารไม่เก่ง โกงกิน ทำให้สังคมแย่
แต่ถ้ามองในแง่ร้าย ว่าปัญหาที่เกิด มันคือความตั้งใจ ที่ออกแบบมา เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ ผมว่าอ่านดีๆมันก็ชัดเจนอยู่ประมาณนึงนะครับ ว่าระบบการปกครองของเราต้องการให้ประชาชนเป็นแบบไหน