ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ
: 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Sep 2013
ตอบ: 3123
ที่อยู่: Leo Stadium
โพสเมื่อ: Tue Jan 27, 2015 10:48
ถูกแบนแล้ว
[color=blue]เผยยีนบำบัดมีแนวโน้มรักษาออทิสติกได้
นักวิจัยสถาบันเอ็มไอทีพบได้ผลในขั้นทดลองในห้องปฏิบัติการ
สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่านักวิทยาศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกาวิจัยพบว่าการรักษาด้วยวิธียีนบำบัดหรือ ยีนเทราปี (Gene therapy) สามารถช่วยรักษาอาการของภาวะบกพร่องที่นำไปสู่การเป็นโรคออทิสติกหรือออทิสซึ่มซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและทำให้มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ให้ดีขึ้นได้
ภาวะบกพร่องดังกล่าวนี้เรียกว่า โรคโครโมโซมเอ็กซ์เปราะ (fragile X syndrome) โดยในปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาและยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคลมชัก และร่างกายเจริญผิดปกติด้วย ฉนั้นแล้วผลการวิจัยที่ออกมาใหม่นี้จึงทำให้มีความหวังว่าจะสามารถนำไปสู่การพัฒนาการรักษาโรคนี้ได้สำเร็จในอนาคต
ทีมนักวิจัยที่ทำวิจัยเรื่องนี้เป็นทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ท หรือสถาบันเอ็มไอทีที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้นักวิจัยได้ค้นพบทางในการทำให้อาการของโรคโครโมโซมเอ็กซ์เปราะในหนูทดลองดีขึ้นด้วยการไปกดการทำงานของยีนตัวหนึ่ง โดยผลการทดลองที่ได้นี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านประสาทวิทยา Neuron
สำหรับโรคโครโมโซมเอ็กซ์เปราะนั้นเกิดจากการสูญเสียยีนตัวหนึ่งซึ่งเรียกว่า เอฟเอ็มอาร์พี (FMRP) ซึ่งเป็นตัวผลิตโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเบรคห้ามการสังเคราะห์โปรตีนในพื้นที่บางส่วนของระบบกระแสไฟฟ้าในสมอง
โดยมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่ว่าการเสียยีนเอฟเอ็มอาร์พีนั้นมีผลทำให้โปรตีนอีกตัวหนึ่งซึ่งเรียกว่า mGluR5 ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นการเคลื่อนไหวไม่ถูกตรวจสอบควบคุมได้จึงเป็นผลให้เกิดการกระตุ้นที่มากเกินไปในสมอง
นักวิจัยจากสถาบันเอ็มไอทีจึงได้ศึกษาหนูทดลองที่ถูกทำให้ขาดยีนส์เอฟเอ็มอาร์พีและมีอาการหลาย ๆ อย่างของโรคโครโมโซมเอ็กซ์เปราะ ควบคู่ไปกับการศึกษาหนูทดลองที่ถูกทำให้ขาดยีนเอฟเอ็มอาร์พีด้วยเช่นกันแต่ทำให้มีโปรตีน mGluR5 อยู่เพียง 50%
ผลปรากฏว่าหนูทดลองกลุ่มที่ 2 มีอาการของโรคโครโซมเอ็กซ์น้อยกว่า และมีสัญญานบ่งบอกถึงความผิดปกติในสมอง และการเจริญของร่างกายที่ผิดปกติน้อยกว่าในหนูกลุ่มแรกด้วย ยกตัวอย่างเช่นการขาดยีนเอฟเอ็มอาร์พีจะทำให้เกิดการเจริญมากผิดปกติของเซลล์ประสาทที่เรียกว่า dendritic spines แต่เมื่อทำให้โปรตีน mGluR5 เหลืออยู่เพียง 50% ปรากฏว่าความหนาแน่นของไขสันหลังกลับอยู่ในสภาพที่เป็นปกติ
นอกจากนี้แล้วนักวิจัยยังพบด้วยว่าหนูทดลองกลุ่มที่ 2 ยังมีอาการของโรคลมชักลดลงไปเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ดร.มาร์ค แบร์ หัวหน้านักวิจัยสถาบันเอ็มไอทีทีมนี้กล่าวว่า “ผลการศึกษานี้มีผลต่อการบำบัดรักษาโรคโครโมโซมเอ็กซ์เปราะและออทิสซึ่มเป็นอย่างมากที่เดียว”
ด้านดร.มาร์ค ไฮร์สต์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสมาคมโรคโครโมโซมเอ็กซ์เปราะของประเทศอังกฤษกล่าว่า “แม้ว่าจะเป็นที่ทราบดีว่ามีโปรตีนหลายตัวที่ถูกควบคุมโดยโปรตีนต้นเหตุโรคโครโมโซมเอ็กซ์เปราะแต่ดูเหมือนว่า mGluR5 จะเป็นตัวที่สำคัญที่สุด”
ที่มา
ข้อมูลจาก : สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ภาพประกอบ : www.thaihealth.or.th
[/color]
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ