คามาราซอรัส (Camarasaurus)
วงศ์ คาเมราซอริเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอร์พา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจูแรสซิก เมื่อ 155 -145 ล้านปีก่อน มีความยาวประมาณ 12-18 เมตร กะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้านใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัวอื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขนขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและดมกลิ่น
เคนโทรซอรัส (Kentrosaurus)
ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่าแหลมคม เพราะลำตัวส่วนหน้าของมันมีแผงกระดูอยู่ ส่วนจากหลังถึงหางของมันมีหนามแหลมคมอยู่ อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิกตอนปลาย มันยาว 3-5 เมตร พบที่แอฟริกา อาวุธหลักของมันคือหนามยาวหนึ่งคู่ตรงหาง กินพืชเป็นอาหาร
แคมป์โทซอรัส
(Camptosaurus - กิ้งก่าหลังโค้ง) มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูแรสสิค ชื่อนี้มาจากโครงสร้างของของมันที่สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก ความยาวประมาณ 6.5 เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรจากพื้นถึงเอว เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มสะโพกนก (Ornithischia) รุ่นแรกๆของกลุ่มสายพันธุ์ที่ต่อไปในสมัยหลังจะวิวัฒนาการไปเป็น อิกัวโนดอน และ ไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดในสมัยครีเตเชียส มันมีปากตัด เพื่อเอาไว้สำหรับกินพืชในป่า
เป็นไดโนเสาร์ที่ไม่ได้มีขนาดอาวุธป้องกันตัวครบเครื่องแบบสเตโกซอรัส หรือ มีขนาดใหญ่ร่างยักษ์อย่างซอโรพอด ฝีเท้าก็ไม่ว่องไวนักเนื่องจากน้ำหนักตัวที่หนักไป (จนต้องยืน 4 ขา ในบางเวลา) จึงมักกลายถูกล่าเป็นเหยื่อจากพวกไดโนเสาร์กินเนื้อในป่า จนกระทั่งมันเริ่มวิวัฒนาการไปเป็น ไดโนเสาร์ร่างใหญ่ติดอาวุธอย่างอิกัวโนดอน
โคริโทซอรัส (Corythosaurus)
เป็นไดโนเสาร์จำพวกแฮดโดรซอร์ อาศัยช่วงปลายยุคครีเตเซียส เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ขนาด 12 เมตร ริว เท ซูน ฟอสซิลของมันพบที่ทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อแปลว่ากิ้งก่ามงกุฏ ลักษณะปากของโคริโทซอรัสคล้ายกระสุนปืน สามารถกินหินได้อย่างสบาย ๆ เลยทีเดียว มันเป็นหนึ่งในเหยื่อ ที่โปรดปราณ ของ ไทรันโนซอรัส
ซัลตาซอรัส (Saltasaurus)
ซัลตาซอรัส ( กิ้งก่าจากซัลตา ) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอด ขนาดเล็กที่เหลืออยู่ถึงปลายยุคครีเตเซียส 75 - 65 ล้านปี และ เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กลงมาอีก คือมีความยาวเพียง 12 เมตร หนัก 7 ตัน
เช่นเดียวกับ ซอโรพอดจำพวกอื่น ซัลตาซอรัสมีฟันแท่งที่ทื่อ ช่วงคอ กับ ส่วนหางที่ยาว แต่ลักษณะเด่นของมันและซอโรพอดยุคหลังอื่นๆคือ ผิวหนังมันมีปุ่มกระดูกเกล็ดผุดขึ้นมาจากหนัง เพื่อประโยชน์เป็นเกราะ ป้องกันลำตัวมันจากนักล่า คล้ายๆกับ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ ค้นพบเมื่อปีค.ศ.1980
ซิตตะโกซอรัส(Psittacosaurus)
หรือ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น พบได้ในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป เป็นสัตว์กินพืช 2 เท้าที่มีขนาดเล็ก เพราะมีความ ยาวลำตัวเพียง 2 เมตร กะโหลกศีรษะแคบ กระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขา ตาและรูจมูกอยู่ค่อน ข้างสูง จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้ว จึงทำให้มันได้ชื่อว่า "ไดโนเสาร์นกแก้ว" หน้าตาของมันไม่ค่อยดุร้ายเหมือนไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน
ในภายหลัง ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่ ที่หมวดหินโคกกรวด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากนกแก้วครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่นี้ว่า "ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี" เพื่อเป็นเกียรติแด่นเรศ สัตยารักษ์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิลดังกล่าว
ไซคาเนีย (Saichania)
เป็นไดโนเสาร์หุ้มเกราะชนิดหนึ่ง ชื่อของมันมีความหมายว่าสวยงาม อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ตรงที่หางคล้ายมีกระบองติดอยู่ กระบองใช้เป็นอาวุธฟาดศัตรู สาเหตุที่มันได้ชื่อว่างดงามเป็นเพราะฟอสซิลของมันอยูในสภาพสมบูรณ์มาก ยาวประมาณ 7 เมตร กินพืชเป็นอาหาร ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1977
ไดพลอโดคัส (Diplodocus)
กิ้งก่าสันคู่ วงศ์ ดิพโพลโดซิเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอพา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์ ตระกูลซอโรพอดเช่นเดียวกับ อะแพทโตซอรัสและ มีชื่อเสียงพอๆกัน ในด้านความยาวขนาดตัว ขนาดใหญ่โตเต็มที่ยาว 25-27 เมตร( David Gillete คำนวณขนาดมันว่า ใหญ่ได้มากที่สุด 33 เมตร[ต้องการอ้างอิง]) แต่หนักแค่ 10-12 ตัน ถือว่าเป็นซอโรพอดที่เบาที่สุด อาศัยอยู่กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก 150 - 147 ล้านปีก่อน
ไดพลอโดคัส เป็นสายพันธุ์ที่แยกประเภทได้ง่าย เนื่องจาก ลักษณะตามแบบไดโนเสาร์ ศีรษะขนาดเล็ก เตี้ย และเอียงลาด ตาลึก รูจมูกอยู่เหนือตา จมูกกว้าง คอและหางยาว ปลายแส้ที่หางยาวมากกว่า อะแพทโตซอรัส ขา 4 ข้างที่ใหญ่โตเหมือนเสา ลักษณะที่โดดเด่นคือ เงี่ยงกระดูกเป็นคู่ที่ยื่นโผล่ออกมาจากกระดูกสันหลังตั้งแต่หลังคอเรียงรายไปถึงหาง
หลายปีก่อน ไดพลอโดคัส เคยเป็น ไดโนเสาร์ที่ตัวยาวที่สุด ขนาดตัวมหึมาของมัน เป็นอุปสรรคระดับหนึ่งต่อนักล่า อย่าง อัลโลซอรัส พบที่อเมริกาเหนือ อยู่ในยุคจูราสสิคตอนปลาย
ทีนอนโตซอรัส (tenontosaurus)
ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าเอ็นกล้ามเนื้อ ที่ชื่อของมันมีความหมายแบบนี้เพราะมีเส้นเอ็นแข็งๆ ตั้งแต่หลังไปจนถึงหาง พบในยุคครีเทเซียสตอนต้น ฟอสซิลของมันค้นพบที่อเมริกาเหนือและแอฟริกา ขนาด 5 เมตร เวลายืนมันใช้ขาหลัง เวลาเดินมันจะใช้ขาทั้งหมด
ไททันโนซอรัส (Titanosaurus)
จัดเป็นไดโนเสาร์กินพืชในกลุ่มซอโรพอด ลำตัวยาว 9-12 เมตร นำหนัก 13 ตัน เกิดในยุคครีเทเชียสตอนปลาย พบทางตอนใต้ของทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาใต้ ไททันโนซอรัส มีลำตัวขนาดใหญ่ คอยาวหนา หางยาว เดิน 4 ขา เชื่องช้า มักอาศัยอยู่รวม - กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร สมองขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว
ไทรเซอราทอปส์ (triceratops)
เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65ล้านปีมันเป็น1ในไดโนเสาร์ชนิดสุดท้าย ไทรเซอราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว6-8ตันและยาวได้กว่า6-10เมตรโดยทั่วไปแล้วไทรเซอราทอปส์จะกินเฟริน สนซึ่งเป็นพืชเนื้อหยาบมันมีจงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตรลิท ไทรเซอราทอปส์มีวิถีชีวิตคล้ายแรดอยู่รวมเป็นฝูงเล็มอาหารเมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส จะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า6ตัน ไทรเซอราทอปส์มีเขา3เขาอยู่บนหัวเขาแรกยาว20เซนติเมตรอยู่เหนือจมูก ส่วน2เขาหลังอยู่ที่ตายาวราว1เมตรแทงเพียงครั้งเดียวอาจถึงตาย บางตัวเขาอาจยาวกว่า2เมตร แต่ด้วยพละกำลังและขนาดเป็น2เท่าของช้างนักล่าส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยโจมตีมัน แต่มันมีจุดอ่อนที่แผงคอทำให้มันมองหลังไม่ดีแต่หากโจมตีข้างหน้าสถานการจะกลับกัน ไทรเซอราทอปส์กินค่อนข้างมากเฉลี่ยถึง500กิโลกรัม มันมีชื่อเสียงพอๆกับที-เร็กซ์และมักเห็นภาพมันเข้าปะทะกับที-เร็กซ์ทำให้เจ้า3เขาตัวนี้ได้คำขนานนามว่า คู่ปรับแห่งราชาไดโนเสาร์ นอกจากนี้มันยังเป็นพระเอกในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องไดโนคิง (DINOSAUR KING) อีกด้วย ไทรเซอราทอปส์มีชื่อเต็มว่าไทรเซอราทอปส์ ฮอริดัส ฟอสซิลของไทรเซอราทอปส์ตัวแรกพบโดยมารช์คู่แข็งของโคป ในสงครามกระดูกไดโนเสาร์
เทอริสิโนซอรัส (Therizinosaurus)
เป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดชนิดหนึ่ง โดยสายพันธุ์นี้จะไม่กินเนื้อ แต่จะกินพืช มันกินพืชเพราะลักษณะของฟันมัน ทำให้เทอริสิโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่กินพืช เทอริสิโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสเมื่อ 72-68 ล้านปีก่อน ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศจีน มองโกเลีย และตะวันออกกลางลักษณะเฉเพาะของเทอริสิโนซอรัสที่ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่ามันกินเนื้อคือ มันเล็บที่ยาวกว่า 70 เซนติเมตร และเดินสองขาเหมือนไดโนเสาร์กินเนื้อ ทำให้ตอนแรกมันถูกคิดว่าเป็นพวกกินเนื้อ แต่ในปัจจุบัน มันจัดอยู่ในไดโนเสาร์กินพืช เนื่องจากลักษณะฟันที่เป็นซี่เล็กๆเรียงกัน ใช้ไม่ได้กับการกัด หรือเคี้ยวเหนือ ส่วนเล็บที่มันมีก็ไม่เหมาะกับการฉีกเหยื่อ เพราะเบาะบางเกินไป ดังนั้นเล็บที่ยาว 70 เซนติเมตรของมัน จึงใช้ในการตัดใบไม้ลงมาจากต้น หรือป้องกันตัวโดยการขู่เท่านั้น นอกจากมันจะมีลักษณะเฉเพาะคือเล็บของมันแล้ว มันยังมีขาหน้าที่ยาว 2 เมตรด้วย ทั้งๆที่มันเดินด้วยขาหลัง ส่วนความยาวของมันน่าจะยาวประมาณ 7-9 เมตร
แบรคิโอซอรัส (Brachiosaurus)
กิ้งก่าท่อนแขน เป็นซอโรพอดขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 30 เมตร สูง 13-14 เมตร หนัก 78 ตันหรือเท่ากับช้างแอฟริกา 15 เชือก อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก 200-130 ล้านปีก่อน ขุดค้นพบในอเมริกาเหนือและแอฟริกา เคยเป็นซอโรพอดที่ตัวใหญ่ที่สุดก่อนค้นพบซุปเปอร์ซอรัส อาร์เจนติโนซอรัส และไซโมซอรัส
ลักษณะเด่นของแบรคิโอซอรัสที่ต่างจากซอโรพอดอื่นคือ บริเวณจมูกบนกระหม่อมมีโหนกยื่นขึ้นมาชัดเจนกว่าคามาราซอรัสหรือซอโรพอดอื่น หางสั้นไม่มีปลายแส้ มีขาหน้าที่ยาวกว่าขาหลัง ทำให้ตัวลาดลงแบบยีราฟ ส่งผลให้ส่วนคอของแบรคิโอซอรัสตั้งชันสูงกว่า ทำให้มันสามารถหาใบไม้บนยอดสูงได้ดีกว่าพวกอื่น และมีประโยชน์ในการมองเห็นไดโนเสาร์กินเนื้อแต่ไกล
แบรคิโอซอรัสป็นที่รู้จักมากจากการปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง "จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์" แต่มีข้อวิพากษ์ถึงท่าทางในภาพยนตร์ที่มันยืน 2 ขาเพื่อยืดตัวกินยอดใบไม้ ด้วยสาเหตุที่ส่วนคอของมันตั้งสูงเหมาะกับการกินอาหารบนยอดไม้อยู่แล้ว ส่วนขาหลัง 2 ข้างของมันยังสั้นและเล็ก และสรีระทางสะโพกก็น้อย นอกจากนี้มันไม่มีท่อนหางยาวสำหรับคานน้ำหนักเหมือนซอโรพอดวงศ์ดิปพลอโดซิเด จึงไม่น่าจะแบกรับน้ำหนักของร่างกายช่วงบนเวลาที่มัน "ยืน" ไหว ดังนั้นภาพที่เห็นมันยืน 2 ขาในหนังก็ไม่น่าจะจริง
พาราซอโรโลฟัส (Parasaurolophus)
เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ ในยุคครีเตเชียสตอนปลายพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ เช่น ในอัลเบอร์ต้า คานาดา หรือรัฐยูทาห์ ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ลักษณะเด่นของพาราซอโรโลพัส คือ หงอนที่มีลักษณะเหมือนท่อกลวงยาว บางตัวอาจจะมีหงอนยาวถึง 1.5 เมตร มีไว้ส่งเสียงหาพวก สามารถเดินได้ทั้ง 2 เท้าและ 4 เท้า มีขนาดใหญ่โตพอสมควร เท่าที่ค้นพบไดโนเสาร์พันธุ์นี้จะมีความยาวประมาณ 10 เมตร กินพืชเป็นอาหาร
พลาทีโอซอรัส (Plateosaurus)
เป็นไดโนเสาร์โปรซอโรพอดของยุคไทรแอสซิก ขนาด 7.8 เมตร อยู่กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร พบที่ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ เมื่อหน้าแล้งมาถึงมันจะอพยพ มันสามารถเดินได้ทั้ง 4 ขาและ 2 ขา เวลากินอาหารบนต้นไม้จะยืนด้วย 2 ขา แต่เวลาเดินหรือกินอาหารที่อยู่บนพื่นอย่างหญ้า มันก็จะเดิน 4 ขา พบในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย-ยุคจูแรสซิกตอนต้น
แพคิเซอฟาโลซอรัส (Pachycephalosaurus )
เป็นไดโนเสาร์หัวแข็ง หรือแพคิเซอฟาโลซอร์ชนิดหนึ่ง ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีหัวหนาถึง 25 เซนติเมตร ซึ่งน่าจะมีไว้ต่อสู้หรือป้องกันตัว ฟอสซิลของค้นพบที่รัฐไวโอมิง ในปี ค.ศ. 1931 โดยนักล่าฟอสซิลชื่อกิลมอร์ แพคิเซอฟาโลซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 70-65 ล้านปีก่อน มีญาติอย่างพรีโนเซฟาลี และดราโกเร็กซ์ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีหัวหนาถึง 25 เซนติเมตร หรือ 12 นิ้ว ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าน่าจะมีไว้ใช้เพื่อต่อสู้แย่งตัว หรือมีไว้ใช้เพื่อป้องกันตัวจากนักล่าเช่นไทแรนโนซอรัส บ็อบ เบ็กเกอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์บอกว่า กะโหลกของแพคิเซอฟาไม่แข็งพอดที่จะใช้ต่อสู้ แต่ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญเชื่อเขา เนื่องจากสมองของแพคิเซอฟาโลซอรัสและไดโนเสาร์หัวแข็งมีขนาดเล็ก และถ้าสมองเล็กก็หมายถึงสมองจะได้รับการกระทบเทือนน้อยกว่าสมองใหญ่
มาเมนชีซอรัส (Mamenchisaurus)
เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่คอยาวที่สุด ซึ่งเป็นความสูงครึ่งหนึ่งของความสูงทั้งหมด สปีชีส์ส่วนใหญ่อาศัยบนโลกในช่วง 145 - 150 ล้านปีมาแล้ว ในช่วง Tithonian ช่วงปลายของยุคจูแรสซิก
ไมอาซอรา (Maiasaura)
เป็นไดโนเสาร์ปากเป็ดชนิดหนึ่ง มีชื่อเสียงในการเลี้ยงลูก จัดอยู่ในพวกออร์นิทิสเชียน ในปีค.ศ. 1970 ในรัฐมอนแทนา สหรัฐอเมริกา ได้มีการค้นพบรังของฝูงไมอาซอราพร้อมลูกๆของมัน แต่ละรังห่างกันประมาณ 6 เมตร จึงเป็นหลักฐานว่าไดโนเสาร์ก็เลี้ยงลูกเหมือนกัน ความยาวประมาณ 9 เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 80-75 ล้านปีก่อน ฟอสวิลของมันค้นพบที่ทวีปอเมริกาตั้งแต่ที่สหรัฐอเมริกา ไปจนถึงรัฐอะแลสกา มันเป็นเหยื่อตัวโปรดของเทอโรพอดชื่อแดซพีโตซอรัสญาติของมันคืออิกัวโนดอน และอนาโตไททัน
สเตโกซอรัส (Stegosaurus)
สเตโกซอรัส (กิ้งก่ามีหลังคา) เป็นไดโนเสาร์กินพืชจำพวกสะโพกนก (Ornithischia) ที่มีเกราะป้องกันตัวจำพวกแรกๆมีลักษณะโดดเด่น มีขาหน้าสั้น และปากเล็ก มีแผ่นเกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหางแผ่นเกล็ดนี้มีไว้ขู่ศัตรูโดดสูบฉีดเลืดไปที่เกล็ด ซึ่งสันนิษฐานว่ามันมีเส้นเลือดเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ และแผ่นกระดูกนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับป้องกันตัว แต่มีไว้เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้มันยังหนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคนั้นได้ดี อย่าง อัลโลซอรัสรูปร่างดูน่ากลัวแต่สมองมันเล็กกว่าถั่วเขียวและหนักไม่ถึง 70 กรัม ลำตัวยาว 9 เมตรหนัก 2-3 ตันอาศัยอยู่ยุคจูแรสซิก 170-130 ล้านปี
สไตราโคซอรัส (Styracosaurus,)
เป็นสกุลของไดโนเสาร์กินพืชในอันดับเซราทอปเซีย มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียส (ช่วงแคมปาเนียน) เมื่อประมาณ 76.5 ถึง 75.0 ล้านปีมาแล้ว มันมีเขา 4-6 อัน ยื่นออกมาจากแผงคอ และยังมีเขาที่มีขนาดเล็กยื่นออกมาบริเวณแก้มแต่ละข้าง และมีเขาเดี่ยวยื่นออกมาบริเวณเหนือจมูก ซึ่งน่าจะมีความยาวถึง 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) และกว้าง 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) ส่วนหน้าที่ของเขาและแผงคอยังไม่มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนมาจนถึงปัจจุบันสไตราโคซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะค่อนข้างใหญ่ โดยมีความยาวถึง 5.5 เมตร (18 ฟุต) และหนักเกือบ 3 ตัน เมื่อมันยืนจะมีความสูงประมาณ 1.8 เมตร (6 ฟุต) สไตราโคซอรัสมีขาที่สั้น 4 ขาและมีลำตัวที่ใหญ่ มีหางค่อนข้างสั้น มันมีจงอยปากและแก้มแบน บ่งชี้ว่าอาหารของมันคือพืชซึ่งเหมือนกันกับไดโนเสาร์จำพวกเซราทอปเซียสกุลอื่น ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง และเดินทางกันเป็นกลุ่มใหญ่ชื่อของไดโนเสาร์ถูกตั้งโดย ลอว์เรนซ์ แลมเบอ ในปี ค.ศ. 1913 สไตราโคซอรัสเป็นสมาชิกของวงศ์ย่อย Centrosaurinae 2 สปีชี่ส์ ซึ่งได้แก่ S. albertensis และ S. ovatus ในปัจจุบันถูกกำหนดให้อยู่ในสกุลสไตราโคซอรัส
อะแพโทซอรัส (Apatosarus)
หรือชื่อที่คุ้นเคยกันในอดีตว่า บรอนโตซอรัส (Brontosaurus) เป็นไดโนเสาร์ยักษ์ในยุคจูแรสซิก กินพืชเป็นอาหาร เคยมีสมญาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง อาศัยอยู่บนโลกนี้เมือประมาณ 190-135 ล้านปีที่ผ่านมา ชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้เมื่อแปลออกมาแล้วจะมีความหมายว่า "กิ้งก่าปลอม"อะแพโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) หางยาวอะแพโทซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19ลักษณะตามแบบตระกูลซอโรพอด คือ คอยาว หางยาวมาก ๆ ประมาณ 23-26 เมตร หัวเล็ก ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา สามารถรับน้ำหนักตัวมันได้ แม้จะอยู่บนบก หรือ ยืน 2 ขาขึ้นเพื่อหาใบไม้อ่อนยอดสูงกิน ที่เท้าหน้าของอะแพโทซอรัสมีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยาสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่าลักษณะที่สำคัญไดโนเสาร์ชนิดนี้มีความประหลาดมาก คือมีหัวใจ 7-8 ดวงเรียงจากอกถึงลำคอเพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ พวกนี้มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสอที่ไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไรไม่ได้ นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น (บางข้อมูลก็เชื่อว่า มันใช้ฟันแท่งดินสอเหล่านี้รูดใบไม้อ่อนตามยอดต้นไม้กิน)หัวของมันก็เล็กจิ๋ว เมื่อเทียบกับความใหญ่โตของลำตัว สมองของอะแพโทซอรัสจึงจิ๋วตามหัวไปด้วย แต่รูจมูกของมันจะอยู่กลางกระหม่อม สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตในแหล่งน้ำ ทำให้อะแพโทซอรัสสามารถดำน้ำได้นาน เพราะขณะดำน้ำ มันจะชูคอโผล่แต่กระหม่อมขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนตัวก็อยู่ใต้น้ำ ที่มันต้องดำน้ำก็เพราะที่อยู่ของเจ้าอะแพโทซอรัสเป็นถิ่นที่อยู่ของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์ดุร้ายมากมายนั่นเอง และใต้น้ำก็มีต้นไม้อ่อน ๆ นิ่ม ๆ ไม่เหมือนต้นไม้บนบกที่มีใบแข็ง มันจึงต้องดำน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำเสมอ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการดำน้ำของอะแพโทซอรัสหรือซอโรพอดอื่น ๆ เริ่มเป็นที่ถกประเด็นในยุคหลังว่าเป็นได้จริงแค่ไหน โดยนักชีววิทยามีความเห็นว่า หากซอโรพอดต้องหลบศัตรูโดยดำน้ำลงไปลึกเกือบ 10 เมตรจริง ลำคอและปอดของมันจะทนทานแรงกดดันของน้ำลึกได้ขนาดนั้นหรือไม่ภาพพจน์ในอดีตของอะแพโทซอรัสถูกมองว่าเป็นยักษ์ไร้พิษสง มักจะพบภาพของมันถูกวาดให้โดนไดโนเสาร์นักล่าตะครุบขย้ำเป็นอาหาร (ในจำนวนนี้ มีมากที่เป็นภาพไทรันโนซอรัสกำลังล่าอะแพโทซอรัส ผิดจากความเป็นจริงที่ว่า เหยื่อกับนักล่า 2 พันธุ์นี้มีชีวิตอยู่คนละยุคห่างกันหลายสิบล้านปี ไม่สามารถมาเผชิญหน้ากัน) เนื่องจากลักษณะของมันไม่มีอาวุธป้องกันตัวที่เด่น เช่น เขาขนาดใหญ่แบบไทรเซอราทอปส์ หรือหนาม-ตุ้มที่หางแบบไดโนเสาร์หุ้มเกราะ แต่การค้นคว้าสมัยหลัง ๆ เชื่อว่า มันไม่ใช่เหยื่อตัวยักษ์ที่หวานหมูนักล่าขนาดนั้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่กว่านักล่าหลายเท่านั้นก็เป็นอุปสรรคแก่นักล่าระดับหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับช้างในปัจจุบันอะแพโทซอรัสมีหางที่ยาวมากเพื่อถ่วงคานน้ำหนักกับส่วนคอที่ยาวของมัน คำนวณกันมาว่า หากไม่มีส่วนหาง อะแพโทซอรัสจะไม่สามารถยกคอมันขึ้นจากพื้นได้ นอกจากนี้ หางใหญ่ของมันยังเป็นอาวุธป้องกันตัวสำคัญใช้ฟาดอย่างแรงเมื่อถูกอัลโลซอรัสหรือนักล่าอื่น ๆโจมตี ส่วนตรงปลายหางที่เรียวเล็กก็ใช้หวดต่างแส้ได้เช่นกัน
อูราโนซอรัส (Ouranosaurus)
ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าผู้กล้าหาญ ตรงกลางที่หลังมีกระดูกที่เหมือนกับหนามโผล่ขึ้นมาเรียงเป็นแถวและมีหนังห่อหุ้มอยู่ เหมือนพวกสไปโนซอริดซ์ แต่กลับเป็นพวกอิกัวโนดอน ครีบนี้มีหน้าที่ปรับอุณภูมิของร่างกาย ขนาด 7 เมตร อยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 110 ล้านปีก่อน พบที่ทวีปแอฟริกาเป็นเหยื่อที่ล่าง่ายๆของสไปโนซอรัสที่ยาว 17 เมตร
อิกัวโนดอน (Iguanodon)
เป็นสิ่งมีชีวิตสกุลหนึ่งในกลุ่มของไดโนเสาร์กินพืช มีขาหลังใหญ่และแข็งแรง ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปลายยุคจูแรสซิกและต้นยุคครีเทเชียส (ประมาณ 135 ถึง 110 ล้านปีมาแล้ว) ในพื้นที่กว้างใหญ่ตั้งแต่ทวีปยุโรป ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกกิเดียน แมนเทล แพทย์และนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ค้นพบอิกัวโนดอนเมื่อ พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) นับเป็นไดโนเสาร์ชนิดแรก ๆ ที่พบ และมีรายงานทางวิทยาศาสตร์เผยแพร่ในสามปีต่อมา ที่ตั้งชื่อว่าอิกัวโนดอนเพราะฟันของมันคล้ายกับฟันของอิกัวนา และเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงว่าไดโนเสาร์พัฒนามาจากสัตว์เลื้อยคลานอิกัวโนดอนเป็นสิ่งมีชีวิตสกุลที่มีขนาดใหญ่และพบกระจัดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตวงศ์เดียวกัน ลำตัวของมันยาวกว่า 10 เมตร เมื่อยืดตัวขึ้นจะมีความสูง 5 เมตร หนัก 4-5 ตัน สันนิษฐานว่าอิกัวโนดอนเคลื่อนที่โดยใช้ขาทั้ง 4 ขา แต่ก็อาจเดินได้โดยใช้เพียงสองขา มือที่ขาหน้าของอิกัวโนดอนมี 5 นิ้ว หัวแม่มือแข็งแรงและชี้ขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือ ซากดึกดำบรรพ์และรอยเท้าที่พบทำให้เชื่อว่าอิกัวโนดอนมักอยู่เป็นฝูง
CR
http://mykumpoon2.blogspot.com/2013/09/blog-post.html