BLOG BOARD_B
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Email: sale@soccersuck.com
ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Sep 2013
ตอบ: 3123
ที่อยู่: Leo Stadium
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 00:52
ถูกแบนแล้ว
ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน


สวัสดีตอนกลางคืนครับ(ลากมาถึงเช้าวันใหม่) พอดีว่างๆ แล้วโดยส่วนตัวเป็นคนชอบเครื่องบินอยู่แล้สครับ ผมก็เลยจะมาแนะนำเครื่องบินพาณิชย์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่เป็นที่นิยมกัน ก็จะเป็นค่าย AIRBUS , BOEING , ATR ครับ หลายคนนั่งเครื่องบินแต่ยังไม่รู้เลยว่าเครื่องบินรุ่นนี้มันรุ่นอะไรว้ะ หรือไม่เคยที่จะสนใจ ว่ามันมีดียังไง ต่างจากรุ่นอื่นๆยังไง ถ้าสนใจก็แวะดูกันดีกว่าครัชชช

โดยรูปภาพประกอบเนี่ย จะเอารูปภาพเครื่องบินของสายการบินในประเทศไทย เพื่อความคุ้นตาของท่านนะครับ




มากันที่ค่ายแรก AIRBUS



บริษัทแอร์บัส (Airbus S.A.S.) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินในเมืองตูลูส (Toulouse) ประเทศฝรั่งเศส แอร์บัสเกิดจากการรวมตัวของผู้ผลิตเครื่องบินและยุทโธปกรณ์รายใหญ่ของยุโรป 2 ราย คือ European Aeronautic Defence and Space Company (EADS) (80%) และ BAE Systems (British Aerospace) (20%) แอร์บัสมีพนักงานกว่า 5 หมื่นคน และมีโรงงานหลายแห่งในทวีปยุโรป

แอร์บัสเป็นผู้ผลิตเครื่องบินจากฝั่งยุโรป มีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มศักยภาพด้านการบินของยุโรปและแข่งขันกับผู้ผลิตสัญชาติอเมริกัน อย่าง โบอิง และ แมคดอนเนลล์ ดักลาส ปัจจุบันเครื่องบินขนาดใหญ่ของแอร์บัส คือ แอร์บัส เอ 380 กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากสายการบินทั่วโลก (รวมถึงการบินไทย)แต่ทำการผลิตล่าช้าออกไปจากเดิมที่จะส่งมอบในปี 2006 เป็นกำหนดส่งมอบในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งทำให้หลายสายการบินพิจารณายกเลิก และบางบริษัทได้ทำการยกเลิกการสั่งซื้อไปแล้ว เช่น FedEx เนื่องจากไม่สามารถส่งมอบเครื่องตามกำหนดได้ ทำให้ส่งผลต่อการวางแผนการบิน





AIRBUS A300

แอร์บัส เอ 300 (Airbus A300) แอร์บัส เอ 300 บินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1972 และเริ่มรับผู้โดยสารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 โดยสายการบินแอร์ฟรานซ์ ในเส้นทาง ปารีส-ลอนดอน ซึ่งแอร์บัสมีคุณสมบัติ มีเสียงเงียบและประหยัดเชื้อเพลิงกว่าเครื่องบินเจ๊ตโดยสารในขนาดเดียวกัน ทั้ง ดีซี-10 และ อิล-86 เพราะแอร์บัส เอ 300 ใช้เครื่องยนต์เพียง 2 เครื่องเท่านั้น
BY wikipedia



ปัจจุบันในประเทศไทย มีสายการบินเดียวที่ยังใช้เครื่องบินแบบนี้อยู่ คือ THAI Airways ครับ





AIRBUS A320

แอร์บัส เอ 320 เป็นอากาศยานที่มีพิสัยบินระยะใกล้ถึงปานกลาง ผลิตโดยแอร์บัส เอส.เอ.เอส. เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2531 โดยแอร์ฟรานซ์ และยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน ด้วยยอดการผลิตมากกว่า 3,000 ลำ ทำให้ เอ 320 เป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีการผลิตมากเป็นอันดับสอง เป็นรองคู่แข่งอย่างโบอิง 737

เอ 320/เอ321 neo
เอ320นีโอ และเอ321นีโอ จะลดการใช้เชื้อเพลิงลงถึงร้อยละ 15 ของเครื่องยนต์แบบปรกติที่ใช้กับแอร์บัส เอ320 เอ321 ในปัจจุบัน โดยขนาดเครื่องยนต์ของ เอ320นีโอ เอ321นีโอ จะมีขนาด 81 นิ้ว จากเดิมที่มีขนาด 68 นิ้วในปัจจุบัน (a320ceo - Current Engine Option) ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น



เอ 320/เอ 321 Sharklet
Sharklet เป็นอุปกรณ์ปลายปีก (wing tip) ที่แอร์บัส บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของยุโรป ได้ออกแบบใหม่สำหรับเครื่องบินรุ่น เอ320/เอ321 ที่จะช่วยลดการไหลเวียนของอากาศที่มีแรงดันสูงใต้ปีกไปยังพื้นที่เหนือปีกที่อากาศมีแรงดันตํ่ากว่า และยังช่วยลดแรงดึงที่ปลายปีกของเครื่องบิน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดการใช้เชื้อเพลิงลงถึงร้อยละ 4 จาก wing tip แบบเดิม หรือทำให้เครื่องบินมีพิสัยบินได้ไกลขึ้นราว 100 ไมล์ทะเลหรือบรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้นอีก 450 กิโลกรัม

เอ 320
แอร์บัสออก เอ 320-100 และ เอ 320-200 มีพิสัยบินประมาณ 5,400 กิโลเมตร (2,900 ไมล์ทะเล) สามารถจุผู้โดยสารได้ 150 คน โดยรุ่น -200 จะได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากวิงเฟนซ์ ที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการบิน และบินได้ไกลกว่ารุ่น -100 ซึ่งมีการผลิตออกมาเพียง 21 ลำเท่านั้น



เอ 319
ปรับปรุงจาก 320 โดยเปลี่ยนความยาวลำตัวเครื่องให้สั้นลง แต่ใช้ปริมาณเชื้อเพลิงเท่ากับ 320-200 ทำให้บรรทุกผู้โดยสารได้ 124 คน และมีพิสัยบินประมาณ 7,200 กิโลเมตร (3,900 ไมล์ทะเล) โดยทั้ง 320 และ 319 ต่างก็ได้รับความนิยมมากกว่ารุ่นอื่นๆในตระกูล 320 โดยมีลูกค้าสำคัญอย่างอีซีย์เจ็ตสายการบินตุ้นทุนต่ำ ซึ่งจัดที่นั่งใหม่เป็น 156 ที่นั่ง ในการจัดแบบชั้นประหยัดอย่างเดียว ให้บริการอยู่กว่า 120 ลำ

เอ 319CJ
เป็นการปรับเปลี่ยนให้เป็นเครื่องบินส่วนตัว และเพิ่มถังเชื้อเพลิงแทนที่ห้องสินค้าทำให้เพิ่มพิสัยบินเป็น 12,000 กิโลเมตร (6,500 ไมล์ทะเล) และแม้ต้องการจะปรับมาใช้เป็นเครื่องบินโดยสารก็สามารถปรับเปลี่ยนมาเป็น เอ 319 แบบมาตรฐานได้ดังเดิม ในบางครั้งเครื่องบินรุ่นนี้จะถูกเรียกว่า ACJ หรือ แอร์บัส คอร์ปอเรต เจ็ต

เอ 319LR
โดยรุ่นนี้จะจัดที่นั่งเป็นชั่นธุรกิจทั้งหมด ประมาณ 48 ที่นั่ง มีพิสัยบินประมาณ 8,300 กิโลเมตร (4,500 ไมล์ทะเล) โดยมีรุ่นที่คล้ายกันอย่าง 737-700ER เป็นคู่แข่งสำคัญ



เอ 321
ปรับปรุงจาก 320 โดยเพิ่มความยาวลำตัวเครื่อง และเพิ่มขนาดพื้นที่ของปีก เพื่อแข่งขันกับ 737-900/-900ER และ757 เพียงแต่ 321 มีพิสัยไม่เพียงพอสำคัญเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกอย่าง 757

321-100 สามารถจุผู้โดยสารได้ 186 ที่นั่ง มีพิสัยบิน 4,300 กิโลเมตร (2,300 ไมล์ทะเล) 321-200 สามารถจุผู้โดยสารได้ 186 ที่นั่ง แต่เพิ่มความจุเชื้อเพลิง ทำให้มีพิสัยบินไกลมากขึ้นเป็น 5,500 กิโลเมตร (3,000 ไมล์ทะเล)

เอ 318
รู้จักกันในชื่อ มินิแอร์บัส เนื่องจากเป็นรุ่นที่มีขนาดเล็กที่สุดของตระกูล 320 โดยมีความยาวสั้นกว่า 319 อยู่ 6 เมตร และหนักน้อยกว่าอยู่ 14 ตัน ทำให้สามารถจุผู้โดยสาร 109 ที่นั่ง ในการจัดแบบ 2 ชั้นบิน มีพิสัยบินประมาณ 2,750 ถึง 6,000 กิโลเมตร โดยสามารถแข่งขันได้กับ 737-600 และดักลาส ดีซี-9 และโบอิงก็ได้พัฒนารุ่น โบอิง 717 มาแข่งเช่นกัน

เอ 318 อีลีท
ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 แอร์บัสได้เปิดตัวเครื่องบินส่วนตัว เอ 318 อีลีท เพื่อแข่งขันในตลาดพิสัยบินปานกลาง จุผู้โดยสารประมาณ 14 - 18 ที่นั่ง

http://www.bangkokpost.com/media/content/20121101/438976.jpg" alt="" />

ปัจจุบันในประเทศไทย มีสายการบินเป็นจำนวนมากนิยมใช้เครื่องบินแบบนี้ ได้แก่ THAI Smile , Thai AirAsia , Bangkok Airways , R Airlines และ U Airlines โดยรุน่นนี้ถือว่าเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก สำหรับสายการบินโลวคอสและกำลังแข่งขันอยู่กับ BOEING 737





AIRBUS A330

แอร์บัส เอ 330 เป็นเครื่องบินลำตัวกว้าง มีความจุมาก เป็นอากาศยานที่มีพิสัยบินระยะปานกลางถึงระยะไกล โครงสร้างของ แอร์บัส 330 ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการออกแบบโครงสร้าง ใช้วัสดุผสมยุคใหม่และอัลลอยด์ที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบาเป็นพิเศษมาประกอบเป็นตัวโครงสร้างและพื้นผิว ซึ่งสามารถลดน้ำหนักของตัวเครื่องลงได้มาก ลดค่าบำรุงรักษาและยังประหยัดน้ำมัน การออกแบบปีกที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ได้สมรรถนะที่ดีทั้งขณะที่บินขึ้นและร่อนลงจอด และยังทำความเร็วได้เหมาะสมกับอัตตราบรรทุกและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง



ปัจจุบันในประเทศไทย มีสายการบินสองสายการบินที่ใช้เครื่องรุ่นนี้ได้แก่ THAI AIrways และ Thai AirAsia X ที่พึ่งมาเปิดให้บริการล่าสุดในประเทศไทย





AIRBUS A340

แอร์บัส เอ 340 (Airbus A340) เป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีลักษณะพิเศษ คือลำตัวที่กว้าง ทำให้สามารถจัดสรรที่นั่งสำหรับผู้โดยสารได้มากสูงสุดประมาณ 330 ที่ และเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีระยะทางการบินอย่างต่อเนื่องมากที่สุดในปัจจุบันคือ 15,742 กิโลเมตร ทั้งนี้ระยะทางการบินต่อเนื่องสูงสุดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนนำหนักที่บรรทุก อัตราความเร็ว และรุ่นของ A340 ที่มีอยู่ 6 รุ่นคือ 200/300/300E/500/600 และ 8000

ลักษณะทั่วไปของ A340 จะคล้ายคลึงกับ A330 ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1987 และ A340 เริ่มปฏิบัติการบินครั้งแรกในปี 1991 และเริ่มใช้เชิงพาณิชย์ในปี 1993

A340 เป็นเครื่องบินที่มีชั้นโดยสาร 1 ชั้น มีเครื่องยนต์ 4 เครื่องยนต์อยู่ที่ปีกทั้งสองข้าง ข้างละ 2 เครื่องยนต์ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการบินสูงขึ้น เนื่องจากเครื่องยนต์ 4 เครื่องสามารถให้เครื่องบินบินขึ้นได้ โดยใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องบินแบบที่มีเครื่องยนต์เพียงสองเครื่อง เช่น A320

ในปี 2006 มียอดรวมสั่งซื้อ A340 ทั้งหมด 246 ลำ และได้นำส่งให้กับลูกค้าไปแล้ว 240 ลำ การส่งมอบเครื่องบิน A340



ปัจจุบันในประเทศไทย มีสายการบินสองสายการบินที่ใช้เครื่องรุ่นนี้ได้แก่ THAI AIrways และ Chaba Air ซึงเครื่องบินรุ่นนี้ถือว่าไม่เป็นที่นิยมของสายการบินต่างๆเนื่องจาก สูบน้ำมันมากๆ และไม่คุ้มที่จะมาใช้ทำการพาณิชย์ ตอนนี้การบินไทยก็กำลังทยอยขายเครื่องบินรุ่นนี้ไป ส่วนชบาแอร์ก็ยังไม่ได้ทำการขึ้นบินแต่อย่างใด



AIRBUS A350



แอร์บัส เอ 350 เป็นอากาศยานขนาดกลางลำตัวกว้าง แบบใช้เครื่องยนต์ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะไกล พัฒนาโดยแอร์บัส เอส.อาร์.เอส. เพื่อแข่งขันกับ โบอิง 777 และโบอิง 787 ทั้งนี้เพื่อทดแทนรุ่น เอ 330 และเอ 340 เช่นกัน

ทันทีที่โบอิงเปิดตัว 7E7 ดรีมไลน์เนอร์ (หรือปัจจุบันคือ 787) และอ้างว่าสามารถประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิงได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับเครื่องบินขนาดเดียวกัน ซึ่งก็คือ เอ 330 แอร์บัสไม่ได้ตอบรับอะไรนอกจากกล่าวว่า 787 เป็นเพียงการตอบรับต่อตลาด เอ 330 ของโบอิงเท่านั้น แต่สายการบินต่างๆ ต่างเร่งให้แอร์บัสพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ ผลที่ได้ก็คือ เอ 330-200ไลท์ แต่ไม่ได้รับความสนใจจากสายการบิน แอร์บัสจึงลงทุนพัฒนาแบบใหม่ทั้งหมด และได้ออกมาเป็น เอ 350 โดยแบบแรกเริ่มของ 350 มีความคล้ายคลึงกับ 330 อยู่มาก เนื่องจากใช้สายการผลิตลำตัวเดียวกัน แต่ลักษณะปีก, เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ปรับสมดุล ได้รับการออกแบบใหม่

ทั้งนี้ 350 จะออกมา 2 รุ่น คือ -800 สามารถจุผู้โดยสารได้ 253 ที่นั่ง ในการจัดแบบ 3 ชั้นบิน มีพิสัยบิน 16,300 กิโลเมตร (8,800 ไมล์ทะเล) และรุ่น -900 สามารถจุผู้โดยสารได้ 300 ที่นั่ง ในการจัดแบบ 3 ชั้นบิน มีพิสัยบิน 13,890 กิโลเมตร (7,500 ไมล์ทะเล) โดยทั้งสองรุ่นออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับ 777-200ER และ787-9

แต่สายการบินต่างๆ ก็วิจารณ์ 350 ว่าเป็นเพียงการอุดรูตลาด 787 เท่านั้น และแอร์บัสควรจะออกแบบลำตัวเครื่องใหม่ทั้งหมด แอร์บัสก็รับฟังข้อคิดเห็น และกลับไปพัฒนาโครงการใหม่อีกครั้ง

ผลจากคำวิจารณ์ แอร์บัสจึงได้พัฒนาเครื่องบินใหม่ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับ โบอิง 777 และโบอิง 787 โดยเครื่องรุ่นใหม่จะมีลำตัวที่กว้างกว่าเดิม สามารถจุผู้โดยสารได้ 9 คนต่อแถว สำหรับที่นั่งชั้นประหยัด เมื่อเทียบกับ 787 ที่จุได้ 8 - 9 คนต่อแถว และ 777 ที่จุได้ 9 - 10 คนต่อแถว และแอร์บัสได้เปิดตัวเครื่องรุ่นใหม่ในงาน ฟาร์นโบโรแอร์โชว์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 และเรียกชื่อรุ่นว่า เอ 350 XWB (มาจาก Xtra Wide Body) และอ้างว่าสามารถประหยัดตุ้นทุนได้มากกว่า 787 ถึงร้อยละ 10

เครื่องรุ่นใหม่นี้ได้รับการสนองตอบอย่างดี โดยมีสิงคโปร์แอร์ไลน์ ที่ส่งคำสั่งซื้อเพียง 4 วันหลังจากการเปิดตัว ถึง 20 ลำ และพิจารณาไว้อีก 20 ลำ ทั้งนี้แอร์บัสจะออก เอ350 ออกมา 3 รุ่น คือ -900 ซึ่งจะเป็นุร่นแรกของ 350 จะเริ่มให้บริการในปีพ.ศ. 2556 จากนั้นจึงจะออกรุ่น -800 และ -1000 ภายหลังประมาณ 12 เดือน และ 24 เดือน ตามลำดับ



ปัจจุบันเครื่องบินรุ่นนี้อยู่ระหว่างการทดสอบเครื่องบิน และการบินไทยได้สั่งซื้อเพื่อมาใช้งานแล้ว





AIRBUS A380

เครื่องบิน แอร์บัส A380 เป็นเครื่องบินห้องโดยสารสองชั้นขนาดใหญ่ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เครื่องบินสี่เครื่องยนต์ลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 800 คน หรือ 500 คนถ้าวางที่นั่งแบบ 3 ชั้นผู้โดยสารตามเครื่องบินพาณิชย์ปกติ เครื่องบินรุ่นนี้ได้ผ่านกำหนดการทดสอบการบินเที่ยวแรกในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบินขึ้นจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส และได้ส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายการบินแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550



A380 รู้จักมาเป็นเวลาหลายปีในขณะที่มีแอร์บัสมีแผนการผลิต แอร์บัส A3XX โดยจะเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเริ่มให้บริการ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550

A380 ได้เปิดตัวในงานของเมืองตูลูสในฝรั่งเศสในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 หมายเลขอนุกรมของผู้ผลิต (MSN - Manufacturer's serial number) คือ 001 และรหัสทะเบียน F-WWOW.

เครื่องบินแอร์บัสรุ่นใหม่นี้ ในเบื้องต้นจะผลิตขาย 2 แบบด้วยกัน คือA380-800 เป็นแบบ 2 ชั้นสมบูรณ์แบบ สามารถจุผู้โดยสารได้ 555 คน ในชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ หรือถึง 800 คน ในชั้นประหยัด ในระยะการบิน 8,000 ไมล์ทะเล (14,800 กิโลเมตร) และแบบA380-800F เป็นเครื่องบินสำหรับบรรทุกโดยเฉพาะ บรรทุกสัมภาระได้ 150 ตัน สำหรับพิสัยการบินระยะ 5,600 ไมล์ (10,400 กิโลเมตร)

เครื่องบิน A380 สร้างขึ้นจากหลายๆ ประเทศใน ยุโรปได้แก่ Aeroapatiale-Matra ที่ Toulouse จะทำการประกอบส่วนต่างๆ ของเครื่องบินในช่วงสุดท้าย การสร้างภายในลำตัว ดำเนินการ โดย DASA ที่ Hamburg ทั้ง Aerospatiale และ DASA สร้างส่วนต่างๆของโครงสร้างลำตัวด้วย, บริษัท BAE Systems สร้างส่วนของปีก, บริษัท CASA ของสเปน สร้างส่วนของแพนหาง, เครื่องยนต์ก็มีความก้าวหน้าในโครงการค้นคว้า บริษัท Rolls-Royce ก็ดำเนินการเองโดยลำพัง โดยพัฒนาจากเครื่องยนต์ตระกูล Trent

สิงคโปร์แอร์ไลน์เลือกเครื่องยนต์ Rolls-Royce Trent 900 ส่วนบริษัท Pratt และบริษัท GE ได้ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องยนต์ จากตระกูล GE90 และ PW4000 โดยให้ชื่อว่า GP7200 ซึ่งแผนการปัจจุบันจะมีใบพัด (fan blade) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 นิ้ว มีอัตราส่วนของอากาศที่ผ่านเครื่องยนต์เท่ากับ 8:1 สำหรับใช้กับเครื่องบิน A380 ซึ่งมีแรงขับดันระหว่าง 67,000-80,000 ปอนด์ เพื่อใช้กับโครงการ A380 (B747X จะใช้เครื่องยนต์รุ่น GP 7100 ซึ่งใบพัดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 101 นิ้ว อัตราส่วนของอากาศที่ผ่าน เครื่องยนต์เท่ากับ 7:1) ราคาของเครื่องบินลำนี้ประมาณ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ระบบไฮดรอลิกของ A380 จะใช้ระบบที่มีแรงดัน 5000 psi. (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แทนการใช้ระบบ 3000 psi. (ปัจจุบัน เครื่องบินพาณิชย์ใช้อยู่คือ 3000 psi.) เพื่อใช้ในการควบคุมส่วนของโครงสร้างที่ใช้บังคับการบิน และทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิกที่ใช้เล็กลง ( แรง = แรงดัน x พื้นที่) และ สามารถลดน้ำหนักของเครื่องบินได้ประมาณถึงตัน

บริษัท Airbus ได้ประกาศ บริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ ผลิตอุปกรณ์บางชนิดเพื่อมาใช้กับเครื่อง A380 ดังนี้:
บริษัท Parker Hannifin Corp.แผนก Electronic Systems Division ได้รับคัดเลือกให้ผลิตระบบเครื่องวัด และระบบบริหารการใช้เชื้อเพลิง
บริษัท TRW / Thales ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมกัน พัฒนาระบบไฟฟ้าแบบความถี่ไม่คงที่
บริษัท Goodrich Corp. ได้รับการคัดเลือก ให้ผลิตระบบการออกฉุกเฉิน (evacuation systems) และระบบล้อประธาน (main landing gear) สำหรับ A380
บริษัท Rolls-Royce ได้รับให้ผลิตระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าเครื่องยนต์ Trent 900 ของตัวเอง

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ลำทดสอบหมายเลข F-WXXL เที่ยวบินที่ AIB 002 มีกำหนดมาบินทดสอบที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก ลงจอดเวลาประมาณ 13:00 น. และเดินทางออกจากสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 7 ธันวาคม เวลาประมาณ 12:00 น



วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เที่ยวบินพิเศษ AIB-701 เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้โดยสารประกอบด้วยสื่อมวลชนและแขกรับเชิญเพื่อสาธิตการบินในทวีปเอเชียและประเทศไทย ในขณะใช้รถลากจูงออกจากอาคารจอดเครื่องบิน ปลายปีกของเครื่องบินได้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวกับประตูโรงจอดเสียหายเล็กน้อย บริเวณใบส่งตัวรับลมปลายปีก หรือ วิงเล็ต วิศวกรตรวจสอบแล้วเห็นว่าอาจทำให้อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงขึ้น แต่ไม่มีผลต่อความปลอดภัยระหว่างการบิน จึงถอดชิ้นส่วนนั้นออก และทำการบินไปจังหวัดเชียงใหม่ตามปกติ



เอ380-800 ลำแรกของการบินไทย บินถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วในช่วงเช้าวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555 โดยเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเที่ยวบินพิเศษ ทีจี8936 บินตรงจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย โดยมีกัปตันรัฐพล ภูริวัฒนะ และกัปตันชวาลย์ รัตนะวรหะ ปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 พร้อมด้วยนักบินกรพรหม แสงอร่าม และนักบินวิรัตน์ เทพารักษ์ ปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 2 เครื่องบินลำนี้ได้รับนามพระราชทานว่า ศรีรัตนะ



ปัจจุบันมียังมีเพียงแค่สายการบินเดียวเท่านั้นที่ใช้เครื่องบินแบบนี้ คือ การบินไทย ส่วน U-Airlines มีข่าวลือว่าได้สั่งซื้อเครื่องบินรุ่นนี้ไปเป็นที่เรียบร้อย



จบไปแล้วนะครับ สำหรับเครื่องบินแบบ AIRBUS เป็นยังไงกันบ้างครับ มี AIRBUS ก็ต้องมี BOEING ไปติดตามกันต่อเลยครับ



ฮิตไม่แพ้กันสำหรับ BOEING



โบอิง (อังกฤษ: The Boeing Company) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา โบอิงนับเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่มีรายได้มากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์อันดับสองของโลก

ในปี พ.ศ. 2549 โบอิงเป็นผู้ผลิตเครื่องบินที่มีจำนวนสั่งซื้อมากที่สุดในโลก [3] มีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 55 สำหรับยอดสั่งซื้อ และร้อยละ 54 สำหรับยอดส่งมอบ กุมชัยชนะเหนือแอร์บัสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

BOEING 737



โบอิง 737 เป็นเครื่องบินโดยสารที่มีพิสัยบินระยะปานกลาง ลำตัวแคบ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง โดยนับตั้งแต่วันที่ได้ทดสอบการบินครั้งแรกเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2510 เครื่องรุ่น 737 มียอดสั่งผลิตมากกว่า 8,000 ลำ และมียอดส่งมอบไปแล้วมากกว่า 6,000 ลำ ถือได้ว่าเป็นเครื่องบินโดยสารที่มียอดสั่งและส่งมอบสูงสุดตลอดกาล

แรกเริ่มนั้น ตลาดเส้นทางระยะสั้นมีบีเอซี 1-11, ซัด อาวิเอชั่น คาราเวลล์ และแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 ครองส่วนแบ่งอยู่ โบอิงจึงหยิบเอาโครงสร้างและระบบการทำงานของ727มาต่อยอดเพื่อลดเวลาการพัฒนาเครื่องบินใหม่ และให้เข้าแข่งขันได้ทันตามคู่แข่งรายอื่น โบอิงจึงได้ส่งรุ่น -100 และ -200 ออกมาเป็นุร่นแรกในปีพ.ศ. 2511

รุ่น 100 เป็นรุ่นแรกของ 737 เปิดตัวครั้งแรกในพ.ศ. 2508 โดยสายการบินลุฟต์ฮันซา ก่อนที่จะเริ่มการผลิตอย่างเป็นทางการในพ.ศ. 2510 และเริ่มให้บริการในพ.ศ. 2511 เครื่องรุ่น 100 เป็นเครื่องที่เล็กที่สุดในบรรดา 737 ทั้งหมด มียอดการส่งมอบเพียง 30 ลำก่อนการเลิกผลิต และต่อมาก็เริ่มถูกปลด ในปัจจุบัน ไม่มีการใช้เครื่องรุ่น 100 ขึ้นบินอีกแล้ว โดยองค์การสุดท้ายที่ใช้เครื่องรุ่น 100 คือ องค์การนาซา

รุ่น 200 เป็นรุ่นพิเศษของรุ่น 100 โดยจะมีลำตัวเครื่องกว้างกว่า เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2508 โดยสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ก่อนจะเริ่มสายการผลิตใน พ.ศ. 2510 และเริ่มให้บริการใน พ.ศ. 2511 ในปัจจุบัน ยังมีธุรกิจพาณิชย์จำนวนมากที่ยังใช้เครื่องรุ่น 200 แต่ในด้านธุรกิจเครื่องบินโดยสาร รุ่น 200 เสียเปรียบรุ่นที่ใหม่กว่า เพราะรุ่น 200 ค่อนข้างจะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และมีเสียงเครื่องยนต์รบกวนดัง เมื่อเทียบกับรุ่นใหม่ ดังนั้น ธุรกิจเครื่องบินโดยสารจึงลดการใช้รุ่น 200 ลงไป และในที่สุด รุ่น 200 ก็หายไปจากวงการเครื่องบินโดยสารใน พ.ศ. 2551 โดยสารการบินสุดท้ายที่ใช้คือ อโลฮ่าแอร์ไลน์ (Aloha Airlines)

จนกระทั่งปีพ.ศ. 2523 โบอิงได้พัฒนาเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งรุ่น 737 คลาสสิก ได้แก่ -300, -400 และ -500 และต่อมาในปีพ.ศ. 2536 โบอิงพัฒนารุ่น 737 เนกซ์ เจเนอเรชั่น ได้แก่ -600, -700, -800 และ -900 โดยเพิ่มขนาดของตัวเครื่อง และประสิทธิภาพการบินให้มากขึ้นเพื่อตอบโต้เอ320รุ่นใหม่ของแอร์บัส ที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดไป

รุ่น 300 เริ่มให้บริการครั้งแรกใน พ.ศ. 2524 โดยสายการบินยูเอสแอร์เวย์ และ เซาธ์เวสต์ แอร์ไลน์ และผลิตต่อไปจนถึง พ.ศ. 2542 โดยสายการบินสุดท้ายที่สั่งซื้อรุ่น 300 คือ แอร์นิวซีแลนด์

รุ่น 400 เปิดตัวในพ.ศ. 2528 ในช่วงแรกออกแบบมาเพื่อสายการบินแบบเช่าเหมาลำ สายการบิน Piedmot Airlines เป็นสายการบินแรกที่สั่งซื้อเครื่องรุ่น 400 พร้อมกันถึง 25 ลำ และออกให้บริการครั้งแรกในพ.ศ. 2531 และเครื่องบินรุ่น 400 ลำสุดท้ายถูกส่งมอบให้สายการบิน Czech Airlines ในพ.ศ. 2543 ในบางสายการบิน เช่น Alaska Airlines มีการนำเครื่องรุ่น 400 ไปดัดแปลง โดยนำที่นั่งผู้โดยสารออกส่วนหนึ่ง แล้วทำเป็นที่บรรทุกสินค้าขนาด 10 พาเลต(pallets) ทำให้แต่ละเที่ยวบิน สามารถบรรทุกสินค้าและรับส่งผู้โดยสารได้พร้อมกัน

เครื่องรุ่น 500 เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2530 โดยสายการบิน Southwest Airlines และออกให้บริการครั้งแรกใน พ.ศ. 2533 รุ่น 500 ออกแบบมาเพื่อทดแทนรุ่น 200 โดยตรง มีประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมันกว่ารุ่น 200 เครื่องรุ่น 500 ลำสุดท้ายถูกส่งมอบให้สายการบิน All Nippon Airways เมื่อ พ.ศ. 2542 รุ่น 500 เป็นที่นิยมในวงการสายการบินรัสเซีย สายการบินสัญชาติรัสเซียจำนวนมากรับซื้อเครื่องรุ่น 500 มือสอง เพื่อนำไปทดแทนเครื่องบินที่ผลิตในประเทศ หรือบ้างก็เพื่อทดแทนเครื่องรุ่น 200 ที่มีอยู่เดิม



ในช่วงหลังการเปิดตัวรุ่น 500 แอร์บัส เอ 320 ได้เข้ามาเป็นที่นิยมในวงกว้างแทนโบอิง 737 ทำให้โบอิงต้องปรับปรุง 737 ครั้งใหญ่ เพื่อตีตื้นแอร์บัส หลังการทดลองและวิจัย ก็ได้ออกเครื่องรุ่นใหม่กว่าออกมา มีคุณสมบัติเหนือกว่ารุ่นเดิม เช่น ใช้เครื่องยนต์รุ่นใหม่ CFM56-7 เทอร์โบแฟน ประหยัดเชื้อเพลิงกว่าเดิมประมาณ 6.5% , พิสัยการบินไกลกว่ารุ่น 500 ถึง 1200 กิโลเมตร , เพิ่มความจุถังเชื้อเพลิง และน้ำหนักบรรทุกสูงสุด , เกจบนห้องนักบินเปลี่ยนเป็นหน้าปัทม์ดิจิตอลLCD เป็นต้น

รุ่น 600 เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2538 โดยสายการบิน Scandinavian Airlines System และเปิดให้บริการในพ.ศ. 2541 และยังผลิตอยู่จนถึงปัจจุบัน

รุ่น 700 เป็นรุ่นแรกของ 737 Next Generation เปิดตัวใน พ.ศ. 2536 เปิดให้บริการครั้งแรกใน พ.ศ. 2541 โดยสายการบิน Southwest Airlines

รุ่น 800 เปิดตัวใน พ.ศ. 2537 โดยสายการบิน Hapeg-Lloyd Flug เปิดให้บริการใน พ.ศ. 2541



รุ่น 900 เป็นรุ่นที่ลำตัวเครื่องยาวที่สุด และทรงพลังมากที่สุด เปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2540 โดยสายการบิน Alaska Airlines และได้รับมอบเครื่องบินใน พ.ศ. 2544

ขณะนี้โบอิงกำลังศึกษาวิจัยเครื่องต้นแบบใหม่ที่เพื่อทดแทนเครื่อง 737 (โดยใช้เรียกว่า Y1/737RS) ที่จะออกตามหลัง 787 ซึ่งเป็นรุ่นหนึ่งในโครงการทดแทนรุ่นปัจจุบัน



ปัจจุบันมีสายการบินสัญชาติไทย ที่ใช้เครื่องบินแบบนี้ ได้แก่ THAI Airways , Nok Air , Thai Lion Air ซึ่งเครื่องบินแบบนี้ มีการแข่งขันกันอย่างสูสีกับ AIRBUS A320 ซึ่ง นกแอร์มีฝูงนกเหล็กรุ่นนี้เยอะที่สุดในประเทศไทย





BOEING 747

โบอิง 747 (อังกฤษ: Boeing 747) เป็นอดีตเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อนที่แอร์บัส เอ 380 จะแล้วเสร็จ โบอิง 747 ไม่มีเครื่องต้นแบบ บินเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1966 สายการบินแพนแอมเป็นสายการบินแรกในเส้นทางนิวยอร์ก-ลอนดอน เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1970



ปัจจุบันมี 2 สายการบินสัญชาติไทยที่ใช้เครื่องบินแบบดังกล่าว ได้แก่ THAI Airways และ Orient Thai





BOEING 767

โบอิง 767 เป็นอากาศยานขนาดกลางแบบลำตัวกว้าง ใช้เครื่องยนต์ 2 ตัว ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 181 ถึง 245 คน เมื่อจัดที่นั่งแบบ 3 ชั้นบิน และมีพิสัยบิน 9,400 ถึง 12,200 กิโลเมตร (5,200 ถึง 6,600 ไมล์ทะเล)

ส่วนควมคุมการบินของ 767 มีความคล้ายคลึงกับ 757 ซึ่งเป็นเครื่องบินลำคัวแคบ ที่เริ่มผลิตในช่วงเดียว ทำให้นักบินที่ได้รับใบอนุญาตให้ชับเครื่อง 757 ได้ ก็สามารถขับเครื่อง 767 ได้โดยปริยาย



ปัจจุบันมีสายการบินสัญชาติไทยที่ใช้เครื่องบินแบบนี้ บินให้บริการ คือ Bussiness Air และ Asia Atlantic Airlines ซึ่งให้บริการแบบเช่าเหมาลำ





BOEING 777

โบอิง 777 เป็นอากาศยานแบบลำตัวกว้าง ใช้เครื่องยนต์ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะไกล ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องบินเชิงพาณิชย์ลำแรกที่มีการออกแบบและพัฒนาบนคอมพิวเตอร์ทุกขั้นตอน โดยโปรแกรมเขียนภาพสามมิติ CATIA และมีสายการบินขนาดใหญ่อย่างยูไนเต็ดแอร์ไลน์, อเมริกันแอร์ไลน์, เดลต้า แอร์ไลน์, ออลนิปปอนแอร์เวย์, บริติช แอร์เวย์, เจแปนแอร์ไลน์, แควนตัส และคาเธย์แปซิฟิก มีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องบินรุ่นนี้ ทำให้ 777 เป็นเครื่องบินที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ทั้งนี้นับจนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2550 มีเพียงแควนตัสเพียงสายการบินเดียวที่มีส่วนร่วมในการออกแบบ แต่ยังไม่เคยสั่งซื้อเครื่อง 777 เลย

เครื่องบินแบบ Boeing 777-300ER นั้นสามารถทำระยะการบินได้ไกลมากกว่ารุ่น 777-300 แบบเดิมถึงกว่า 34 เปอร์เซ็นต์ในน้ำหนักบรรทุกที่เท่าเทียมกัน และยังสามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงได้มากกว่า 1.4 เปอรเซ็นต์อีกด้วย จุดสังเกตง่ายๆ ว่าเครื่องบินลำไหนเป็นแบบ 777-300 ธรรมดาหรือ 777-300ER นั้นให้สังเกตที่ Wingtips ปลายปีกที่มีเฉพาะรุ่น 300ER



โบอิง 777 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 301 - 368 คน ในการจัดที่นั่งแบบสามชั้นบิน และมีพิสัยบิน 9,650 ถึง 17,450 กิโลเมตร (5,210 ถึง 9,420 ไมล์ทะเล) ซึ่งได้รับการบันทึกว่าเป็นเครื่องบินโดยสารที่มีพิสัยบินไกลที่สุดในโลก (รุ่น 200LR)

คู่แข่งสำคัญของโบอิง 777 ก็คือ แอร์บัส เอ 330-300, แอร์บัส เอ 340 และบางรุ่นของแอร์บัส เอ 350 XWB ทั้งนี้คาดการณ์ว่ารุ่น 777 (และ 747) อาจจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินตระกูลใหม่ Y3 โดยมีเทคโนโลยีเช่นเดียวกับ 787

ลูกค้าสำคัญของ 777 ในปัจจุบันก็คือ สิงคโปร์แอร์ไลน์ (67) , แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม (58) , ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (52) , อเมริกันแอร์ไลน์ (47)



โบอิ้ง 777 หรือที่คนไทยส่วนใหญ่เรียกว่า ตองเจ็ด นี้ถือว่าเป็นที่นิยมของคนทั่วโลกมากครับ โดยเฉพาะคนไทยนี้แฟนคลบเยอะจริงๆสำหรับแบบนี้ ซึ่งตองเจ็ด เป็นเครื่องบินที่โบอิ้งเอาชนะ เอ 340 ได้อย่างเห็นๆ ทั้งในเรื่องของการประหยัดพลังงานเป็นสำคัญซึ่ง ตองเจ็ดมีแค่ 2 เครื่องยนต์ ส่วน เอ 340 มี 4 เครื่องยนต์ ประหยัดกว่าเห็นๆ ทำให้หลายๆสายการบินเลือกที่จะใช้ ตองเจ็ดกันซะมากกว่า แอร์บัส เอ 340 ครับ แต่ตอนนี้ แอร์บัสก็ได้ออก เอ 350 มาแข่งกับ ตองเจ็ด และ โบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์ แล้วครับ

ซึ่งเครื่องบินแบบนี้ มีสายการบินสัญชาติไทย สายการบินเดียวที่ใช้ BOEING777 นั่นคือ การบินไทย ครับ






BOEING 787 Dreamliner

โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ เป็นเครื่องบินโดยสารเจ็ตขนาดกลางลำตัวกว้างพิสัยไกล แบบใช้เครื่องยนต์คู่ ออกแบบโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง รองรับผู้โดยสารได้ลำละ 210 ถึง 290 คน ขึ้นอยู่กับรุ่น โบอิ้งแถลงว่า เครื่องบินดังกล่าวเป็นเครื่องบินโดยสารที่ประหยัดเชื้อเพลิงที่สุดของบริษัท และเป็นเครื่องบินโดยสารสำคัญแบบแรกของโลกที่ใช้วัสดุผสมในการก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ โบอิง 787 บริโภคเชื้อเพลิงน้อยกว่าโบอิง 767 ที่มีขนาดเท่ากันถึง 20% ลักษณะที่แตกต่างที่สุดมีทั้งที่กันลมสี่แผง เชฟรอนลดเสียงบนส่วนแยกเครื่องยนต์ (engine nacelle) และเส้นระดับเสียง (nose contour) ที่เรียบขึ้น



ชื่อเดิมของเครื่องบินที่กำหนดคือ 7E7 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นอย่างในปัจจุบันในเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 โบอิง 787 ลำแรกเผยโฉมในพิธีเปิดตัวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่โรงงานประกอบเอเวอร์เร็ตต์ของโบอิง โดยที่มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้างที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมียอดสั่งถึง 677 ลำ จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 มีการสั่งซื้อโบอิง 787 จำนวน 797 ลำ เข้ามาจากผู้ให้บริการสายการบิน 57 ราย

การพัฒนาและการผลิตโบอิง 787 เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตวัตถุดิบหลายรายทั่วโลก การประกอบขั้นสุดท้ายประกอบขึ้นที่โรงงานเอเวอร์เร็ตต์โบอิงในเอเวอร์เร็ตต์ รัฐวอชิงตัน เครื่องบินจะยังมีการประกอบขึ้นที่โรงงานแห่งใหม่ในนอร์ทชาลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา โรงงานทั้งสองจะส่งมองเครื่อง 787 ให้แก่ผู้ให้บริการเครื่องบินโดยสาร โครงการดังกล่าวต้องล่าช้าออกไปหลายครั้ง จากที่เคยวางแผนจะให้บริการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 การขึ้นบินครั้งแรกของเครื่องมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และสิ้นสุดการทดสอบการบินในกลาง พ.ศ. 2554 เอกสารรับรองของสำนักงานควบคุมความปลอดภัยการบินแห่งยุโรปสุดท้ายได้รับในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 และโมเดลแรกถูกส่งมอบในปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 และเข้าให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554



ในช่วงแรกนั้น โบอิง ต้องการจะพัฒนาเครื่องบินุร่นใหม่เพื่อทดแทน 767 ที่มียอดสั่งซื้อชะลอตัวลง เพื่อจะแข่งขันกับเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-200 แต่ใช้เชื้อเพลิงในปริมาณที่เท่ากับ 767 และ เอ330 แต่ภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544และวิกฤติราคาน้ำมัน ทำให้ไม่เป็นที่ตอบรับมากนัก โบอิงจึงปรับเปลี่ยนโครงการมาพัฒนาเครื่องบินโดยสารโดยนำเครื่องเทคโนโลยีที่ได้จากการพัฒนาเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงมาใช้แทน และใช้ชื่อว่า 7E7 (มีรหัสระหว่างการพัฒนาว่า Y2 ในโครงการโบอิงเยลโลสโตนโปรเจกต์)

จนในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548 โบอิงได้เปลี่ยนชื่อรุ่นมาเป็น 787 และได้เปิดเผยแบบขั้นสุดท้ายในวันที่ 26 เมษายน ในปีเดียวกัน โดยโบอิงจะผลิตออกมา 3 รุ่น คือ

787-3 พิสัยบินระยะใกล้ (4,650 - 5,650 กิโลเมตร) เพื่อทดแทนรุ่น 757-300, 767-200 และ-300 โดยมีลักษณะของปลายปีกเครื่องบินที่แตกแต่างจากรุ่นอื่น และมีออลนิปปอนแอร์เวย์เป็นสายการบินส่งมอบรายแรก และเจแปนแอร์ไลน์เป็นลูกค้าอีกหนึ่งราย[8]

787-8 เป็นรุ่นที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของ 787 มีพิสัยบินระยะไกล (14,800 - 15,750) เพื่อทดแทนรุ่น โบอิง 767-200ER และ โบอิง 767-300ER และจะเป็นรุ่นแรกของ 787 ที่จะเริ่มให้บริการในปีพ.ศ. 2551

787-9 มีพิสัยบินระยะไกล (14,800 - 15,750 กิโลเมตร) เป็นรุ่นที่ขยายลำตัวให้ยาวขึ้นจาก 787-8 เพื่อทดแทนรุ่น โบอิง 767-400ER โดยมีแอร์นิวซีแลนด์ เป็นสายการบินส่งมอบรายแรก



โบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์นี้ ถือว่าเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีความทันสมัยที่สุด และยังประหยัดน้ำมันมาก ปัจจุบัน ยังไม่มีสายการบินสัญชาติไทยใช้เครื่องบินแบบโบอิ้ง 787 โดยที่การบินไทยกำลังจะได้รับมอบเครื่องบินแบบดังกล่าว ไม่เกินเดือน สิงหาคม ปีนี้ครับ สำหรับใครที่อยากสัมผัสเครื่องบินพาณิชย์ที่ทันสมัยที่สุด ก็เตรียมหาเรื่องบินกันได้เลยครับ มีข่าวแว่วๆว่าจะทำการบินในเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ เป็นเส้นทางแรก ครับ เดี่ยวผมเก็บตังหาเรื่องนั่งแน่ อิอิ 5555



เสร็จสิ้นไปอีกหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก โบอิ้ง เป็นยังไงบ้างครับ ผ่านไปแล้ว 2 บริษัท ในใจคิดแล้วว่าชอบอันไหนมากกว่ากัน ส่วนผมขอชอบ BOEING 787 แล้วกันครับ อ๊ะอุ๊ ยังไม่หมดแค่นี้นะครับ ยังมีอีกบริษัทนึงที่ก็ถือว่าเป็นที่นิยมเหมือนกันในเส้นทาง ภูมิภาค บางท่านอาจจะชอบเครื่องบินใบพัด ต้องบริษัทนี้เลยครับ



และบริษัทที่ 3 แต่นแต้น ATR



เอทีอาร์ (อิตาลี: Aerei da Trasporto Regionale; ฝรั่งเศส: Avions de Transport Régional - ATR) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์สัญชาติอิตาลี-ฝรั่งเศส เกิดจากการร่วมทุนระหว่างแอโรสปาติอองของฝรั่งเศส (ปัจจุบันคือ อีเอดีเอส) กับแอริตาเลีย (ปัจจุบันคือ แอลีเนีย แอโรนอติกา) ในปี ค.ศ. 1981 มีเครื่องบินที่ผลิตออกมาสองรุ่น คือ เอทีอาร์ 42 และเอทีอาร์ 72

เอทีอาร์มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ประกอบชิ้นส่วนลำเรือและส่วนหางที่โรงงานของแอลีเนีย แอโรนอติกา ใกล้เมืองเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี ประกอบชิ้นส่วนปีกที่โรงงานของอีเอดีเอส ที่บอร์โดซ์ ประเทศฝรั่งเศส ก่อนจะนำมาประกอบและทดสอบขั้นสุดท้ายที่สำนักงานใหญ่ เมืองตูลูส





ATR 72

เอทีอาร์ 72 เป็นอากาศยานขนาดเล็ก แบบใช้เครื่องยนต์เทอร์โบพรอบ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะใกล้ ผลิตโดยบริษัทร่วมทุนสัญชาติฝรั่งเศส-อิตาลี เอทีอาร์ โดยพัฒนามาจากรุ่น 42 ให้มีความจุผู้โดยสาร 64-74 ที่นั่ง โดยขยายความยาวเครื่องเพิ่มขึ้น 4.53 เมตร เป็น 27.2 เมตร และขยายความกว้างของปีกเพิ่มขึ้น 2.53 เมตร เป็น 27.1 เมตร รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์ และปริมาณความจุของถังเชื้อเพลิง เอทีอาร์ 72 เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2529 และทดสอบการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2531 นับจากนั้นเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ก็เริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกด้วยสายการบินฟินน์แอร์ ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2532

http://img.planespotters.net/photo/157000/original/HS-PGG-Bangkok-Airways-ATR-72_PlanespottersNet_157280.jpg

ลูกค้าหลักของเอทีอาร์ 72 คือ อเมริกันอีเกิลแอร์ไลน์ ซึ่งมีเครื่องบินเอทีอาร์ 72 ประจำการอยู่ 39 ลำ รวมถึงแอร์เดคคาน ที่มีคำสั่งซื้ออยู่ 27 ลำ และคิงฟิชเชอร์แอร์ไลน์ ที่มีคำสั่งซื้ออยู่ 31 ลำ

72-200 เป็นรุ่นดั้งเดิม ใช้เครื่องยนต์แพรตแอนด์วิทนีย์ แคนาดา พีดับเบิลยู124บี 2400 แรงม้า มีพิสัยบินไกล 930 ไมล์ทะเล

72-210 เป็นรุ่นเปลี่ยนเครื่องยนต์ของ -200 เป็น พีดับเบิลยู127 2750 แรงม้าแทน และมีพิสัยบินไกล 820 ไมล์ทะเล สำหรับรุ่นนี้อเมริกันอีเกิลเรียกชื่อว่า 72-212

72-500 เป็นรุ่นที่เปลี่ยนเครื่องยนต์จาก -210 เป็นเครื่องยนต์ 6 ใบพัด พีดับเบิลยู127เอฟ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบิน และปริมาณน้ำหนักบรรทุก มีพิสัยบินไกล 830 ไมล์ทะเล เดิมเรียกชื่อว่า -210เอ ส่วนอเมริกันอีเกิลเรียกว่า -212เอ



และล่าสุด 72-600

เอทีอาร์ ได้เปิดตัวรุ่นที่ปรับเปลี่ยนเครื่อง 72 เป็นเครื่องบินขนส่งในงานฟาร์นโบโร เมื่อปี พ.ศ. 2545 และมีลูกค้าอย่างเฟดเอกซ์, ดีเอชแอล และยูพีเอส นอกจากนี้ยังมีรุ่นที่ปรับจาก -500 เป็นเครื่องบินส่วนตัว พร้อมกับการตกแต่งด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และยังมีการปรับเปลี่ยนรุ่น -500 เป็นเครื่องบินตรวจการที่ใช้สำหรับทางการทหาร



ผมคิดว่า เอทีอาร์ มีความสวยงามไปอีกแบบ ซึ่งผมก็ชอบนะครับ ในปัจจุบันมี 3 สายการบินสัญชาติไทยที่ให้บริการด้วยเครื่องบินแบบ ATR72-600 ได้แก่ Bangkok Airways , Nok Air และล่าสุด Thai Lion Air ครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป้นเส้นทาง ภูมิภาค เช่น สมุย , หัวหิน , สโขทัย เป็นต้นครับ




ก็จบลงไปแล้วนะครับ สำหรับบทความ "รู้จัก เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน" ผมรู้สึกดีใจที่ทุกคนติดตามบทความที่ผมเขียนขึ้นมา และ ผมจะขอเขียนบทความดีๆแบบนี้เพื่อสมาชิก soccersuck ต่อไปครับ ขอบคุณสำหรับทุกแผล่บกำลังใจ ทุกโหวตที่ทำให้กระทู้ได้ขึ้นไปอยู่ในกระทู้แนะนำ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ผมมีกำลังใจอย่างมากที่จะทำบทความดีๆขึ้นมาครับ ขอบคุณครับ

จัดทำโดย whitetmw ; Column by whitetmw
ขอขอบคุณ wikipedia ; Thankyou for wikipedia
แก้ไขล่าสุดโดย whitetmw เมื่อ Sat May 17, 2014 02:07, ทั้งหมด 3 ครั้ง
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Mar 2010
ตอบ: 18390
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 00:53
ถูกแบนแล้ว
[RE: ทำความรู้จัก เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
นกแอร์นี่จริง ส่วนใหญ่ ขาวผ่องเลย

0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status: "รัก" ไม่ยาก ... แต่ลำบากมาก "เวลาลืม" !!
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 14079
ที่อยู่: ส้วมที่ OldTrafford
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 00:54
[RE: ทำความรู้จัก เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
มีเครื่องบินกสิกรปะครับ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 03 Apr 2010
ตอบ: 761
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:00
[RE: ทำความรู้จัก เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]

ซื้อทิชชู้แปป
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 08 Sep 2013
ตอบ: 594
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:07
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]






แก้ไขล่าสุดโดย bank9998 เมื่อ Sat May 17, 2014 01:08, ทั้งหมด 1 ครั้ง
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status: อ่านเกิน 8 บรรทัด
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 16 Aug 2009
ตอบ: 1675
ที่อยู่: อยากโดนบอกรักข้างหู ขณะที่จู๋อยู่ในรูจิ๋ม
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:23
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
ผมก็ชอบเครื่องบินครับ จัดไป1แผลบๆๆๆ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

ออนไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 03 Oct 2007
ตอบ: 45425
ที่อยู่: แขนของทางช้างเผือก
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:28
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
บอกเลย พยายามจำแนกมันทุกที แต่แยกไม่ได้ซํกที พวก A300 320 737 767 787 เนี่ย อย่าง 777 747 340 330 380 มันยังมีเอกลักษณ์ให้จำง่ายหน่อย ต้องพยายามจำเพิ่มๆอยากจำได้ๆ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 17 Oct 2010
ตอบ: 6402
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:28
ถูกแบนแล้ว
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
nakhonchaiair นี้เป็นเครื่องบินพาไหนครับ

0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
SK@
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 21 Mar 2010
ตอบ: 3139
ที่อยู่: Hillsborough , เชียงใหม่
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:33
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
zherzhaa พิมพ์ว่า:
nakhonchaiair นี้เป็นเครื่องบินพาไหนครับ

 


เป็นเครื่องพานิชย์ชนิดดีเซลครับ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 26 Nov 2006
ตอบ: 60
ที่อยู่: เอมิเรตยสถาน
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:35
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
รอนั่ง 787 ครับ

เหมือนจะลงรูทยอดฮิต BKK-NRT-BKK ด้วย

หวังว่าคงจะแก้ปัญหาหลายๆอย่างแล้ว

0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 17 Oct 2010
ตอบ: 6402
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:35
ถูกแบนแล้ว
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
SK@ พิมพ์ว่า:
zherzhaa พิมพ์ว่า:
nakhonchaiair นี้เป็นเครื่องบินพาไหนครับ

 


เป็นเครื่องพานิชย์ชนิดดีเซลครับ  
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะอบต.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 1458
ที่อยู่: all around you
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:39
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
Titan พิมพ์ว่า:
บอกเลย พยายามจำแนกมันทุกที แต่แยกไม่ได้ซํกที พวก A300 320 737 767 787 เนี่ย อย่าง 777 747 340 330 380 มันยังมีเอกลักษณ์ให้จำง่ายหน่อย ต้องพยายามจำเพิ่มๆอยากจำได้ๆ  


ต้องเห็นบ่อยๆ ถึงจะจำได้
ผมจำได้แต่เครื่องการบินไทย ขึ้นมันหมดทุกลำละ
แอบัส กระจกห้องนักบินเป็นมุมตัด
ตองเจ็ด ล้อมีสามแถว(นอกนั้น สองหมด)
นอกนั้นก็ดูความยาว ดูประตู ดูปีก
เห็นบ่อยๆ จำได้ยันชื่อเรียก
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
+
แม้นมีดปักลงตรงกลางหัวใจ เจ็บปวดแค่ไหนก็ต้องอดทน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Jul 2010
ตอบ: 603
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:44
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
ผมก็ชอบเครื่องบินครับ แต่เป็นเครื่องบินรบอ่ะ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวเตะพรีเมียร์ลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 6889
ที่อยู่: Hertfordshire
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 01:48
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]


ผมฝึกงานที่ bangkok air นะเจ้านี่ เพิ่งซ่อมรอรันเครื่อง ขอบอกเลยดื้อมากๆ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Sep 2013
ตอบ: 3123
ที่อยู่: Leo Stadium
โพสเมื่อ: Sat May 17, 2014 02:05
ถูกแบนแล้ว
[RE: ssColumn : เครื่องบินพาณิชย์ทุกรุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน]
Titan พิมพ์ว่า:
บอกเลย พยายามจำแนกมันทุกที แต่แยกไม่ได้ซํกที พวก A300 320 737 767 787 เนี่ย อย่าง 777 747 340 330 380 มันยังมีเอกลักษณ์ให้จำง่ายหน่อย ต้องพยายามจำเพิ่มๆอยากจำได้ๆ  


300 320 737 767 787 ทุกลำมีเอกลักษณ์ครับ นี่เลยๆๆๆๆ


300


320

300 จะมีความคล้าย 320 ครับ แต่ตัวเครื่องจะใหญ่กว่า เห็นได้ชัดเลย


737

ถ้าขนาดเครื่องพอๆกันอย่าง 737 กับ 320 สังเกตุได้จากหัวเครื่องบิน หน้าต่าง ปีก ครับ เครื่องยนต์ครับ


787

787 ผมว่ามีเอกลักษณ์มากเลยนะครับ
แก้ไขล่าสุดโดย whitetmw เมื่อ Sat May 17, 2014 02:06, ทั้งหมด 1 ครั้ง
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel