Nuclear ที่อานุภาพรุนแรงที่สุดในโลก
Tsar Bombar
Tsar Bomb ระเบิดซาร์ เป็นชื่อย่อที่ใช้เรียก ระเบิดไฮโดรเจน RDS-220 ( ระหว่างการพัฒนาจะใช้รหัสว่า Ivan ) เป็น ระเบิดนิวเคลียร์ ทรงอนุภาพ และ ใหญ่ที่สุดในโลก เท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมาบนโลกใบนี้ ระเบิดซาร์ ได้รับการพัฒนาโดย สหภาพโซเวียต ( Soviet Union ) ซึ่งในตอนแรกระเบิดซาร์ ออกแบบให้มีพลังทำลาย 100 เมกะตัน แต่ตอนหลังระเบิดซาร์ ได้ถูกลดอนุภาพลงมาครึ่งหนึ่งเนื่องจากต้นทุนในการก่อสร้างสูงมาก และหากมีขนาดถึง 100 เมกะตัน จะมีน้ำหนักมากจนไม่สามรถมีเครื่องบินที่จะขนส่งไปทิ้งระเบิดได้ ทำให้ลดอนุภาพลงเหลือเพียง 50 เมกะตัน ระเบิดลูกแรกได้ทำการทดลองเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1961 ที่ Novaya Zemlya ส่วนลูกระเบิดซาร์จำลอง ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์อาวุธนิวเคลียร์ (Russian Nuclear Weapons Museum)
ระเบิดนิวเคลียร์ซาร์ เป็น ระเบิดนิวเคลียร์ ไฮโดรเจนแบบ 3 สเตรท คือ
สเตรทแรก คือ การทำงานแบบ Fission Bomb คือทำให้เกิดแรงอัด
สเตรทที่สอง คือ การทำงานแบบ Thermonuclear คือทำให้เกิดความร้อน
สเตรทสุดท้าย คือ ใช้พลังงานจากการระเบิด นำพาและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ สเตรทที่สอง ส่งความร้อนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
คุณลักษณะของ ระเบิดซาร์
ระเบิดแบบ อาวุธนิวเคลียร์แบบความร้อน ( Thermonuclear weapon )
ผู้ผลิต สหภาพโซเวียต จำนวนการสร้าง 1 ลูก และมีลูกระเบิดจำลอง อีก 1 ลูก ( mock bomb ) น้ำหนักระเบิด 27 ตัน เนื่องจากข้อจำกัดทางเครื่องบินในการขนส่ง
ความยาว 8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร
พลังทำลาย 50 เมกะตันทีเอ็นที ( ซึ่งมันเท่ากับระเบิดที่มีการใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมกัน อี 10 เท่า แถมรวมกับ ระเบิด Little Boy คือระเบิดนิวเคลียร์ที่ทิ้งลงที่ ฮิโรชิม่า และ ระเบิดนิวเคลียร์ Fat Man คือระเบิดนิวเคลียร์ที่ทิ้งลงที่ นางาซากิ รวมกัน )
การทดสอบ ระเบิดนิวเคลียร์ ซาร์
ทำการทดสอบในวันที่ 30 ตุลาคม 1961 เวลา 11:32 เหนืออ่าว Mityushikha บนเกาะ Novaya Zemlya ในมหาสมุทรอาร์กติก ระเบิดลูกทิ้งลงจากระดับความสูง 10.5 กิโลเมตร และจะทำงานสูงจากพื้นดิน 4 กิโลเมตร ( และทำงานสูงจากพื้นน้ำ 4.2 กิโลเมตร )
เครื่องบิน Tu-95 บรรทุกระเบิดซาร์ออกจากฐานทัพ Olenya และบินตามเส้นทางสีแดง ไปทิ้งที่ Test site C
จุดสีแดงเล็กๆ คือ Novaya Zemlya ในมหาสมุทรอาร์กติก สถานที่ทดลองระเบิดซาร์
รูป ลูกไฟขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 กิโลเมตร ที่ระเบิดบนฟ้า ที่เกิดจากระเบิดซาร์ ก่อนที่จะล่วงลงสู่พื้นดินในเวลาต่อมา
รูป กลุ่มควันทรงดอกเห็ดที่เกิดจากการระเบิดของระเบิดซาร์ โดยกลุ่มควันสูงถึง 18 กิโลเมตร
http://wowboom.blogspot.com/2009/05/biggest-nuclear-bomb.html
ข้อมูลจาก wiki
ซาร์ บอมบา (รัสเซีย: Царь-бомба; อังกฤษ: Tsar Bomba) เป็นชื่อเล่นที่ใช้เรียกระเบิดไฮโดรเจน AN602 ของสหภาพโซเวียต เป็นอาวุธนิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีพลังทำลายล้างรุนแรงที่สุด เท่าที่เคยมีการใช้งานมา ชื่อนี้เป็นชื่อที่สื่อในโลกตะวันตกตั้งให้ แต่ต่อมาในรัสเซียก็ยอมรับชื่อนี้มาใช้
ระเบิดนี้พัฒนาขึ้นโดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น ตามแบบแผนที่ออกแบบไว้เดิมจะมีขนาดเทียบเท่ากับการระเบิดของทีเอ็นที (TNT)
100 เมกะตัน เทียบเท่ากับ 420 PJ (เพตะจูล) แต่ได้ลดลงเหลือ 50 เมกะตัน [1] เพื่อลดขนาดของระเบิดลงให้สามารถบรรทุกด้วยเครื่องบินตูโปเลฟ ตู-95 ที่ได้รับการดัดแปลงเป็นพิเศษ พลังทำลายล้างของซาร์ บอมบา
คิดเป็น 1,400 เท่าของระเบิดลิตเติลบอย (13-18 กิโลตัน) รวมกับแฟตแมน (21 กิโลตัน)
ซาร์ บอมบามีความยาว 8 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.1 เมตร น้ำหนัก 27,000 กิโลกรัม (60,000 ปอนด์) ถูกสร้างขึ้นจำนวน 1 ลูก และลูกตัวอย่างอีก 1 ลูกที่สร้างขึ้นเฉพาะโครงสร้างภายนอก ลูกระเบิดถูกนำไปทดสอบเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1961 บริเวณเกาะ โนวายา เซมลยา ทางตอนเหนือของขั้วโลกเหนือ ระเบิดถูกทิ้งลงจากเครื่องตูโปเลฟ ตู-95 ที่ระดับความสูง 10.5 กิโลเมตร เมื่อเวลา 11.32 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่น ระเบิดได้รับการออกแบบให้จุดระเบิดด้วยเซ็นเซอร์บารอมิเตอร์ [2] ที่ความสูง 4 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน (4.2 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล) ระเบิดต้องหน่วงเวลาเพื่อให้เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินสังเกตการณ์บินห่างออกไปเป็นระยะทาง 47 กิโลเมตร เพื่อไม่ได้รับผลกระทบจากแรงระเบิด การทดสอบนี้ออกแบบให้เกิดลูกไฟกลางอากาศและให้สลายตัวไปก่อนลูกไฟจะตกลงกระทบพื้นผิวโลก
ซาร์ บอมบาเป็นอาวุธนิวเคลียร์แบบความร้อน มีการทำงานเป็น 3 ขั้นตอนแบบ Teller–Ulam คือ ขั้นแรกเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชันทำให้เกิดแรงอัด จากนั้นจึงเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ให้ความร้อน และใช้พลังงานจากการระเบิดนำพาความร้อนให้มีประสิทธิภาพในการทำลายล้างมากขึ้น ขณะระเบิด ซาร์ บอมบาทำให้เกิดลูกไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 กิโลเมตรในอากาศ
สามารถมองเห็นและรู้สึกถึงคลื่นความร้อนได้ที่ระยะ 1,000 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลางการระเบิด และมีรัศมีการทำลายในระยะ 100 กิโลเมตรจากศูนย์กลาง เมื่อกาซที่เกิดขึ้นปะทะกับเมฆ ทำให้เกิดเมฆรูปเห็ดมีความสูงประมาณ 64 กิโลเมตร ความกว้างของฐานเมฆประมาณ 40 กิโลเมตร
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2