ไทยจะรับมือกับจีน ยังไงดี ในยุค ทรัมป์ 2.0
บรรยาย โดย Prof. Yasheng Huang อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจจีนจาก MIT Sloan Business School
จีนแผ่นดินใหญ่
จุดแข็ง
คนจีนฉลาด
ทำงานหนักและขยันมากกก
หัวการค้า มีความเป็นผู้ประกอบการสูง ต่างจากญี่ปุ่น ที่เก่ง ขยันมากเหมือนกัน แต่คนญี่ปุ่น รุ่นเก่าๆ ไม่ค่อยหัวการค้ามากเท่าไหร่ เพราะถูกปลูกฝังมาเป็นลูกน้องที่เก่ง
กำลังการผลิตของจีนเยอะมาก เยอะขนาดที่ว่า ล้นโลกเลย
จุดอ่อน
เศรษฐกิจเติบโตช้า ตัวเลขทางการคือ 5% แต่ตัวเลขที่นักวิเคราะห์นอกจีนคำนวณกันจากข้อมูลอื่นๆ คือโตแค่ 1.5-2% เท่านั้น
- หนี้เยอะ ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมกันราว 300% ต่อ GDP แล้ว เห็นอเมริกาหนี้เยอะๆ ตัวเลขยังน้อยกว่าคือ 249% ต่อ GDP แต่เป็นหนี้เงินหยวน
- การบริโภคในประเทศน้อย คิดเป็น 38-39% ของ GDP เท่านั้น (เทียบกับอเมริกา 68%) ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจนอกประเทศ
ผลิตภาพ (productivity) ของจีนกลับลดลง เขาวัดเป็น Total factor productivity หรือ TFP คือใส่เงินและแรงงานเข้าไปเป็นอินพุตในระบบเศรษฐกิจแล้วดูว่าเอาท์พุตมันออกมาเท่าไร ซึ่งค่า TFP ตัวนี้มันลดลงเรื่อยๆ
บริษัทเทคโนโลยีจีนจะไปต่อได้ไหม
A: ไปต่อได้ เพราะคนฉลาด ทำงานหนัก คนจีนผลิตนักศึกษาปีละ 10 ล้านคน ครึ่งหนึ่งเป็นสาย STEM ถ้าเทียบกันอเมริกาผลิตได้ปีละ 2 ล้าน มี STEM แค่ 17%
บริษัทเทคโนโลยีจีนนั้นมีความเป็น global มากกว่าที่เราคิด ตัวอย่างคือ DeepSeek นั้นไม่ได้คิดทุกอย่างในจีนหมด เพราะใช้โอเพนซอร์ส มีความเป็น global สูงมาตั้งแต่แรก
Q: อีก 5 ปีจีนจะเป็นยังไงต่อ
A: สภาวะปัจจุบันมันไปต่อไม่ได้ จีนต้องเลือกเสียบางอย่างไป สิ่งที่เป็นตัวชี้วัดคือสินค้าที่ผลิตมาเกินเยอะๆ จะดูดซับอย่างไร
1. ให้คนจีนบริโภค --> พิสูจน์แล้วว่าทำไม่ได้ บริโภคน้อย
2. ให้โลกบริโภค --> เจอสงครามการค้าอยู่ และจะยิ่งหนัก
3. write down ตีค่าศูนย์ทางบัญชี --> recession
วิกฤตเศรษฐกิจเกิดจากการเติบโตเร็วเกินไป (fast growth & financial crisis) แบบไทยหรือเกาหลีตอนปี 97 ถ้าวิกฤตฉับพลันไม่เกิด ก็จะเป็นภาวะ slow growth แทนแบบที่ญี่ปุ่นเคยเจอ
Q: อะไรคือสิ่งที่รัฐบาลจีนทำได้ดี
A:
- จีนทำ cluster อุตสาหกรรมได้ดี พอจับอุตสาหกรรมเดียวกันไปอยู่รวมกัน มันเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันแบบทวีคูณ ผลรวมไม่ใช่เอาตัวเลขของทุกคนมาบวกกันแต่ดีกว่านั้นมาก
สัก 15 ปีก่อน มีเจ้าของโรงงานไทย ไปหาซัพพายเออร์ที่จีน แล้วกลับมาบอกว่า จุดแข็งของจีน ไม่ใช่แรงงานราคาถูก แต่เป็นระบบจัดการอุตสาหกรรมการผลิตที่ล้ำหน้ากว่าไทยมาก
- คนจีนมีความเป็น "ผู้ประกอบการ" สูงมาก อย่างในอเมริกา คนจบ Stanford, MIT ออกมาเปิดบริษัท สร้างกิจการขับเคลื่อนประเทศกัน แต่ญี่ปุ่นยุครุ่งเรืองไม่มีภาวะแบบนี้ มหาวิทยาลัยญี่ปุ่นมีคุณภาพ แต่ผลิตคนมาป้อนระบบ ไม่ได้สร้างคนเป็นผู้ประกอบการ
คนญี่ปุ่นยังติดกับแนวคิดซามุไรผู้จงรักภักดีกับนาย
- คนจีนต่างจากญี่ปุ่น เพราะมีค่านิยมการเป็นผู้ประกอบการ, ระบบเงินทุนผ่าน venture capital แข็งแกร่ง, มีความเชื่อมโยงกับ Silicon Valley สูงมาก นักวิจัยจีนในอเมริกามาเปิดบริษัทที่อื่นก็ดึงเงินลงทุนจาก Silicon Valley ได้ง่าย
- สิ่งที่จีนทำไม่ดีคือ รัฐบาลจีนรวบอำนาจ ไม่เปิดให้มีการวิพากษ์วิจาณ์ใดๆ ทำให้เดินนโยบายผิดพลาดได้ง่าย ถ้าพลาดแล้วมันจะเจ็บหนัก เหมือนที่เคยทำมาแล้วตอน Zero COVID Control
ผลกระทบจากรัฐบาล Trump 2.0 ย่อมเกิดขึ้นกับจีนแน่นอน ซึ่ง อ. Huang ชี้ว่ามีประเทศที่ได้ประโยชน์จริง โดยเฉพาะอาเซียน แต่ประเทศที่ได้ประโยชน์มี 2 สุดปลาย (two extremes) ได้แก่
- สิงคโปร์ ที่เจริญแล้ว รายได้ต่อหัวเยอะมาก ได้ประโยชน์จากธุรกิจจีนย้ายไปตั้งสำนักงาน เพื่ออาศัยความเป็นสิงคโปร์ไปทำตลาดที่อื่นรวมถึงอเมริกา อ. Huang บอกว่าตอนนี้มีบริษัท biotech เยอะมากที่ทำแบบนี้
- เวียดนาม รายได้ต่อหัวต่ำ แต่ลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เยอะ ค่าคะแนนสอบเฉลี่ยดี ก็จะได้โรงงานจีนย้ายฐานการผลิตไปลงเวียดนาม
ส่วนประเทศไทยอยู่ตรงกลางระหว่างสิงคโปร์กับเวียดนาม ควรทำอย่างไรดี ข้อเสนอของ อ.Huang คือ
- วางตัวเป็นกลางในความขัดแย้งของจีนกับอเมริกา
- อาศัยจังหวะนี้ รีบไปลงทุนในบริษัทหน้าใหม่ๆ ทั้งในจีนและในอเมริกา
- การปิดกั้นสินค้าจีน สร้างกำแพงการค้าไม่ช่วยอะไร เพราะกำลังการผลิตจีนมันเยอะเกินในระดับที่ทั้งโลกก็ต้านทานไม่ไหว เราหันมาดันเรื่อง globalization ดีกว่า
https://www.facebook.com/markpeak/posts/pfbid02YcqwR7nSuFjBXh3666qFLmjtYof1ZotCCo72pAhe25SfYZKRYEYCSira3RRoBZqAl