ถ้านม ชนิดหนึ่ง เกิดมีโปรตีนได้มากกว่าปกติ ถึง 3 เท่าเช่นในภาพ
คือ สูงถึง 28 กรัม นั่นแปลว่า "ผ่านกระบวนการแน่นอน"
นมทั้ง 2 ชนิดนี้แม้จะมีโปรตีนสูง 28 กรัมโดยประมาณก็ตาม
แต่ที่มาของโปรตีนต่างกัน นั่นคือ
ทางขวา (สีขาว) >> มาจากโปรตีนนมเข้มข้น อย่างเดียว
ทางซ้าย (สีเหลือง) >> มาจากโปรตีนนมเข้มข้น ร่วมกับ เวย์โปรตีน
ดังนั้น ทางซ้ายจะมีการระบุปริมาณ กรดอะมิโน BCAA อย่างเช่น Leucine ได้ว่า
ในขวดนี้มีประมาณกี่กรัม อย่างเช่น ขวดนี้ 2362 มก. หรือ 2.3 กรัมต่อขวด
คราวก่อนผมเคยบอกในเพจว่า ในคนกิจกรรมทั่วไป ถ้าคุณหนัก 60 กก.
คุณต้องการ Leucine อย่างน้อยๆ ประมาณ 2.3 กรัม แปลว่า 1 ขวดนี่
ได้ลิวซีนเพียงพอต่อวันเลย (ต้องบวกลบไว้ 5-10%ด้วยนะครับ)
ส่วนทางขวา จะไม่สามารถระบุ BCAA ได้ เพราะผู้ผลิตอาจไม่สามารถ
คำนวนจากปริมาณโปรตีนนมเข้มข้นได้ หรือ อาจไม่ได้มีการตรวจวัด
ดังนั้น 28 กรัมโปรตีนเท่ากัน แต่รายละเอียดภายในโปรตีนนั้น "ต่างกัน"
คำถามคือ "แบบไหนเหมาะกับแบบไหน" ก็คือขึ้นกับวัตถุประสงค์
ว่าคุณต้องการโปรตีนมาก ดูดซึมเร็ว ได้ลิวซีนมาก และร่างกายคุณก็เอาไปใช้ได้ดี
ไม่ได้มีภาวะดื้ออินซูลิน เพื่อหวังจะเพิ่มกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายหนัก
ทางซ้าย(เหลือง) ก็ดูเหมือนจะเหมาะ ตามเหตุและผล
แต่ถ้าเอา เพียงต้องการโปรตีนให้เพียงพอ เพราะวันนี้มีเหตุทำให้กินอาหารโปรตีน
ธรรมชาติไม่ได้เพียงพอ หรือ เพียงแค่เติมให้พอ ก็ "ทางขวา" (สีขาว)
#หมอจิรรุจน์
ปกติผมกินโปรตีนเสริมที่มีพวกกรดอะมิโนระบุไว้ชัดเจน แต่จะมีบางช่วงที่ไปกินเวย์ 7-11
เลยเพิ่งสังเกตุว่าบางขวดมีระบุกรดอะมิโนไว้ด้วย ถือว่าเป็นทางเลือกเวลาเลือกซื้อโปรตีน
ปกติผมสายไฮคาร์บเลยไม่ค่อยได้เข้ามาดูคุณหมอ หมอไปทางโลว์คาร์บมากกว่า แต่ช่วงนี้มาส่องหมอบ้างละ