ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออนไลน์
นักบอลถ้วย ก.
Status: ชีวิต..ติดแกลบ
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 16 May 2020
ตอบ: 5497
ที่อยู่: ดาวโลก
โพสเมื่อ: Sat Sep 21, 2024 03:51
งานวิจัยชี้ โลกเคยมีวงแหวนคล้ายดาวเสาร์
งานวิจัยใหม่ชี้ การแตกตัวของดาวเคราะห์น้อย ทำให้โลกเคยมีวงแหวนคล้ายดาวเสาร์



“การศึกษาครั้งสำคัญนี้ เผยให้เห็นสมมุติฐานที่น่าสนใจว่า 466 ล้านปีที่แล้ว
โลกอาจมีระบบวงแหวนอันน่าทึ่งเป็นของตัวเอง”


โลกเคยมีรูปร่างคล้ายดาวเสาร์หรือไม่ นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าคำตอบของคำถามนี้ คือใช่! ในการศึกษาครั้งสำคัญนี้ นักวิจัยในออสเตรเลียเสนอว่าโลกอาจมีระบบวงแหวนอันน่าทึ่งเป็นของตัวเอง

จากการค้นพบที่ท้าทายความเข้าใจของเราเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และดาราศาสตร์ นักวิจัยได้พบหลักฐานชิ้นใหม่ ที่ชี้ให้เห็นว่าโลกอาจเคยมีระบบวงแหวน ซึ่งก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 466 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่อุกาบาตพุ่งเข้าชนโลกอย่างรุนแรงหลายครั้ง ในยุคออร์โดวิเชียน



หลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าโลกมีวงแหวน
สมมติฐานที่น่าประหลาดใจนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Earth and Planetary Science Letters โดยวิเคราะห์จากที่มาของการสร้างแผ่นเปลือกโลกใหม่ในยุคออร์โดวิเชียน ด้วยการระบุตำแหน่งของหลุมอุกกาบาตที่ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนทั้ง 21 แห่ง ซึ่งหลุมอุกกาบาตทั้งหมดนี้ ตั้งอยู่ในระยะ 30 องศาจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นความผิดปกติที่ทฤษฎีทั่วไปไม่สามารถอธิบายได้

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ นักวิจัยยังพบแหล่งหินปูนทั่วทั้งยุโรป รัสเซีย และจีน ซึ่งมีเศษซากอุกกาบาตชนิดหนึ่งในปริมาณสูงมาก เศษซากอุกกาบาตในหินตะกอนเหล่านี้ เป็นตัวพิสูจน์ว่าอุกาบาตที่ชนโลกตอนนั้น ได้รับรังสีจากอวกาศน้อยกว่าที่เราเห็นในอุกกาบาตที่ตกลงมาในปัจจุบันมาก



ทีมวิจัยเชื่อว่ารูปแบบการตกกระทบที่เกิดขึ้นเฉพาะจุดดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่โคจรมาใกล้โลก เมื่อดาวเคราะห์น้อยโคจรมาใกล้โลกภายในขีดจำกัดโรช (Roche limit) ดาวเคราะห์น้อยก็แตกออกจากกัน เนื่องจากแรงไทดัล (tidal force) ทำให้เกิดวงแหวนเศษซากรอบ ๆ โลก ซึ่งคล้ายกับวงแหวนที่พบเห็นรอบ ๆ ดาวเสาร์และดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ดวงอื่น ๆ ในปัจจุบัน

ศาสตราจารย์แอนดี้ ทอมกินส์ หัวหน้าคณะผู้วิจัยจาก คณะธรณี ชั้นบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยมอนแอชกล่าวว่า “เมื่อเวลาผ่านไปหลายล้านปี วัสดุจากวงแหวนนี้จะค่อย ๆ ตกลงสู่พื้นโลก ส่งผลให้เกิดการพุ่งชนของอุกกาบาตเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจตามบันทึกทางธรณีวิทยา นอกจากนี้ เรายังพบอีกว่าชั้นหินตะกอนจากช่วงเวลาดังกล่าวประกอบด้วยเศษอุกกาบาตในปริมาณมหาศาล”



วงแหวนเป็นร่มกันแดดขนาดยักษ์
นักวิจัยคาดเดาว่าวงแหวนดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดเงาบนโลก จนบดบังแสงอาทิตย์ และมีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกเย็นลงอย่างรุนแรง ซึ่งรู้จักกันในชื่อยุคน้ำแข็ง Hirnantian



ช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นใกล้ปลายยุคออร์โดวิเชียน ได้รับการยอมรับว่าเป็นช่วงเวลาที่หนาวเย็นที่สุดช่วงหนึ่งในช่วง 500 ล้านปีที่ผ่านมาของประวัติศาสตร์โลก “แนวคิดที่ว่าระบบวงแหวนอาจมีอิทธิพลต่ออุณหภูมิโลกทำให้ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับเหตุการณ์นอกโลกอาจส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศของโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น” ศาสตราจารย์ทอมกินส์กล่าว

โดยปกติแล้ว ดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งชนโลกในตำแหน่งสุ่ม ดังนั้น เราจึงเห็นหลุมอุกกาบาตกระจายตัวเท่า ๆ กันบนดวงจันทร์และดาวอังคาร เพื่อตรวจสอบว่าหลุมอุกกาบาตในยุคออร์โดวิเชียนกระจายตัวแบบไม่สุ่มและอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากขึ้นหรือไม่ นักวิจัยจึงคำนวณพื้นที่ผิวทวีปที่สามารถรักษาหลุมอุกกาบาตจากช่วงเวลาดังกล่าวไว้ได้

พวกเขาเน้นที่หลุมอุกกาบาตที่มีเสถียรภาพและไม่ได้รับการรบกวน ซึ่งมีหิน ที่มีอายุมากกว่าช่วงกลางยุคออร์โดวิเชียน โดยไม่รวมพื้นที่ที่ถูกฝังอยู่ใต้ตะกอนหรือน้ำแข็ง พื้นที่ที่ถูกกัดเซาะ และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมทางธรณีวิทยา พวกเขาใช้แนวทาง GIS (ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์) เพื่อระบุพื้นที่ที่เหมาะสมทางธรณีวิทยาในทวีปต่าง ๆ พื้นที่เช่น ออสเตรเลียตะวันตก แอฟริกา หลุมอุกกาบาตในอเมริกาเหนือ และพื้นที่เล็ก ๆ ของยุโรป ถือว่าเหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์หลุมอุกกาบาตดังกล่าว พื้นที่ดินที่เหมาะสมเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่ระบุว่าอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร แต่หลุมอุกกาบาตทั้งหมดจากช่วงเวลาดังกล่าวกลับพบในภูมิภาคนี้ โอกาสที่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นนั้นเปรียบเสมือนการโยนเหรียญสามด้าน (ถ้ามีสิ่งดังกล่าวอยู่จริง) แล้วออกก้อย 21 ครั้ง



ถ้าโลกเคยมีวงแหวนจริงจะเป็นอย่างไร
ผลกระทบจากการค้นพบครั้งนี้ขยายออกไปไกลเกินกว่าขอบเขตทางธรณีวิทยา ทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ต้องพิจารณาผลกระทบที่กว้างขึ้นของปรากฏการณ์บนท้องฟ้าต่อประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของโลกอีกครั้ง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดคำถามใหม่ ๆ เกี่ยวกับศักยภาพของระบบวงแหวนโบราณอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาของสิ่งมีชีวิตบนโลกอีกด้วย

“วงแหวนลักษณะเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นในช่วงเวลาอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ของโลกเราหรือไม่” คำถามนี้ ส่งผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่สภาพอากาศไปจนถึงการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิต การวิจัยครั้งนี้เปิดขอบเขตใหม่ในการศึกษาอดีตของโลก โดยให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์แบบไดนามิกระหว่างโลกของเรากับจักรวาลอันกว้างใหญ่

##################################################

ที่มา

https://ngthai.com/science/74199/ancient-earth-ring/

https://www.space.com

https://www.monash.edu

https://www.sciencealert.com

##################################################

เหตุอุกกาบาตยักษ์พุ่งชนให้กำเนิดทวีปบนโลก


ภาพจำลองเหตุอุกกาบาตยักษ์พุ่งชนโลกจากฝีมือศิลปิน

สมมติฐานหนึ่งในวงการธรณีวิทยาที่มีมานานหลายสิบปี เชื่อว่าเปลือกโลกผืนเดียวในยุคดึกดำบรรพ์ได้แยกออกเป็นส่วน ๆ และขยายตัวกลายเป็น “ทวีป” (continents) หลังจากถูกอุกกาบาตยักษ์พุ่งชนเมื่อหลายพันล้านปีก่อน

ล่าสุดข้อสันนิษฐานนี้ได้รับการพิสูจน์ยืนยันว่าเป็นความจริง โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคอร์ทินของออสเตรเลียเผยว่า พวกเขาได้พบหลักฐานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมชิ้นแรกซึ่งยืนยันความถูกต้องของแนวคิดดังกล่าว ในอัญมณีเพทายหรือผลึกคริสตัลของแร่เซอร์คอน (Zircon) ที่ได้จากรัฐออสเตรเลียตะวันตก

ผลการค้นพบข้างต้นตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature ซึ่งอาจจะช่วยไขปริศนาที่ว่า เหตุใดโลกจึงเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีทวีปต่าง ๆ

มีการวิเคราะห์องค์ประกอบของไอโซโทปออกซิเจนชนิดต่าง ๆ ในอัญมณีเพทาย ที่ได้จากแหล่งวิจัยทางธรณีวิทยา Pilbara Craton สถานที่แห่งนี้มีการก่อตัวของภูมิประเทศเป็นชั้นหิน ตรงบริเวณเปลือกโลกโบราณอายุเก่าแก่กว่า 4,000 ล้านปี โดยเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการก่อตัวของทวีปในอดีต

ดร. ทิม จอห์นสัน ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า “ผลวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเปลือกโลกยุคดึกดำบรรพ์ ที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในผลึกเพทาย เผยให้เห็นกระบวนการก่อตัวของทวีปซึ่งเริ่มจากบนลงล่าง โดยหินที่ผิวเปลือกโลกจะหลอมละลายด้วยความร้อนสูงก่อน และค่อย ๆ หลอมละลายลึกลงไป สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่ออุกกาบาตยักษ์พุ่งชนโลก”


ภาพจำลองเหตุอุกกาบาตยักษ์พุ่งชนโลกจากฝีมือศิลปิน

อุกกาบาตคือหินอวกาศที่ตกถึงพื้นโลก โดยรอดจากการถูกเผาไหม้จนหมดสิ้นในชั้นบรรยากาศมาได้ อุกกาบาตส่วนใหญ่แยกตัวมาจากดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่า เมื่อราว 4,600 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นยุคที่ดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในระบบสุริยะกำลังถือกำเนิดขึ้นเช่นกัน ทำให้ดาวบริวารของดวงอาทิตย์ในตอนนั้น มีความเสี่ยงถูกอุกกาบาตยักษ์พุ่งชนในยุคแรกเริ่มของระบบสุริยะมากกว่าในปัจจุบัน

เหตุอุกกาบาตยักษ์พุ่งชนโลกที่ให้กำเนิดทวีปเมื่อหลายพันล้านปีก่อน อาจมีความรุนแรงคล้ายกับเหตุการณ์อุกกาบาตล้างเผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์เมื่อ 66 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งในครั้งนั้นแรงกระแทกมหาศาลจากการพุ่งชน ทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตชิกซูลุบ (Chicxulub) ที่กว้างถึง 10 กิโลเมตร บริเวณนอกชายฝั่งคาบสมุทรยูคาตันของประเทศเม็กซิโก

ความรู้ใหม่ว่าด้วยกระบวนการก่อตัวของทวีปนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า แร่ธาตุและสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่าง ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลกในแบบที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ได้อย่างไร



“การสะสมตัวของแร่ธาตุในแหล่งต่าง ๆ เป็นผลพวงมาจากกระบวนการสร้างความแตกต่างในเปลือกโลก ซึ่งเริ่มจากการก่อตัวของผืนแผ่นดินอายุเก่าแก่ที่สุด และ Pilbara Craton ก็เป็นหนึ่งในสถานที่เหล่านั้น” ดร. จอห์นสันกล่าว

ทีมผู้วิจัยมีแผนจะทำการศึกษาต่อไป เพื่อดูว่าบริเวณที่เป็นเปลือกโลกอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ๆ มีข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีที่บ่งชี้ถึงลักษณะการก่อตัวเหมือนกับในออสเตรเลียหรือไม่ โดยเบื้องต้นทราบว่ามีแหล่งวิจัยทางธรณีวิทยาหลายแห่งที่มีข้อมูลตรงกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของแนวคิดกำเนิดทวีปจากอุกกาบาตยักษ์ชนโลกให้สูงขึ้น


##################################################

ที่มา

https://www.bbc.com/thai/articles/cp4xlx9l1kno

##################################################[/u]
แก้ไขล่าสุดโดย SureShot เมื่อ Sat Sep 21, 2024 03:54, ทั้งหมด 1 ครั้ง
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 27 Mar 2020
ตอบ: 22247
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Sep 21, 2024 03:59
[RE: งานวิจัยชี้ โลกเคยมีวงแหวนคล้ายดาวเสาร์]
สงสัยอย่างนึง ตัวอย่างหิน หรืออะไรอื่นๆที่เราเก็บมาได้

มีอะไรไม่เหมือนที่มีบนโลกเยอะมั้ยหว่า แล้วเจออะไรดีกว่ามั่งมั้ย
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

เมื่อไหร่โดนบังคับให้ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด ถือว่าเราตายไปแล้ว :D
ออนไลน์
นักบอลถ้วย ก.
Status: ชีวิต..ติดแกลบ
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 16 May 2020
ตอบ: 5497
ที่อยู่: ดาวโลก
โพสเมื่อ: Sat Sep 21, 2024 04:11
[RE: งานวิจัยชี้ โลกเคยมีวงแหวนคล้ายดาวเสาร์]
a.Raptor v.10 พิมพ์ว่า:
สงสัยอย่างนึง ตัวอย่างหิน หรืออะไรอื่นๆที่เราเก็บมาได้

มีอะไรไม่เหมือนที่มีบนโลกเยอะมั้ยหว่า แล้วเจออะไรดีกว่ามั่งมั้ย  


หินอุกกาบาต

เหล็กและนิกเกิล: หินอุกกาบาตประเภทโลหะมักมีปริมาณเหล็กและนิกเกิลสูง เป็นองค์ประกอบที่พบในอุกกาบาตเหล็ก (Iron meteorites)
โอลิวีนและไพรอกซีน: เป็นแร่ที่พบในหินอุกกาบาตประเภทหิน (Stony meteorites) และพบในอุกกาบาตที่มีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อย
ทโรอิลไลต์ (Troilite): แร่ชนิดหนึ่งของซัลไฟด์ที่มักพบในหินอุกกาบาต แต่ไม่ค่อยพบในหินบนโลก
แร่คาร์ไบด์ (Carbides), แร่ฟอสไฟด์ (Phosphides): แร่ธาตุเหล่านี้พบได้ในอุกกาบาตบางชนิด เช่น schreibersite ซึ่งเป็นแร่ฟอสไฟด์ที่ไม่พบในธรรมชาติโดยทั่วไปบนโลก

หินบนโลก

ควอตซ์: เป็นแร่ที่พบได้ทั่วไปในหินบนโลก โดยเฉพาะในหินแกรนิต แต่ไม่ค่อยพบในหินอุกกาบาต
เฟลด์สปาร์: เป็นแร่ที่พบได้บ่อยในเปลือกโลก ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของหินอัคนีและหินตะกอนบนโลก
แร่ดิน: แร่ที่เกิดจากการผุพังของหินภายใต้อิทธิพลของบรรยากาศ เช่น ไคลโนไพโรลิต์ (kaolinite) ซึ่งไม่พบในหินอุกกาบาต
แคลไซต์: พบในหินปูนและหินตะกอนบนโลก ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของแร่ธาตุในน้ำทะเลและแม่น้ำ

หลักๆก็คือหินมีสารประกอบต่างกัน แต่พอตรวจเจอส่วนประกอบของแร่อุกกาบาตกระจายบนเปลือกโลกเยอะมากก้เลยได้แนวคิดใหม่ๆออกมาครับ
3
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 27 Mar 2020
ตอบ: 22247
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Sep 21, 2024 04:29
[RE: งานวิจัยชี้ โลกเคยมีวงแหวนคล้ายดาวเสาร์]
SureShot พิมพ์ว่า:
a.Raptor v.10 พิมพ์ว่า:
สงสัยอย่างนึง ตัวอย่างหิน หรืออะไรอื่นๆที่เราเก็บมาได้

มีอะไรไม่เหมือนที่มีบนโลกเยอะมั้ยหว่า แล้วเจออะไรดีกว่ามั่งมั้ย  


หินอุกกาบาต

เหล็กและนิกเกิล: หินอุกกาบาตประเภทโลหะมักมีปริมาณเหล็กและนิกเกิลสูง เป็นองค์ประกอบที่พบในอุกกาบาตเหล็ก (Iron meteorites)
โอลิวีนและไพรอกซีน: เป็นแร่ที่พบในหินอุกกาบาตประเภทหิน (Stony meteorites) และพบในอุกกาบาตที่มีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อย
ทโรอิลไลต์ (Troilite): แร่ชนิดหนึ่งของซัลไฟด์ที่มักพบในหินอุกกาบาต แต่ไม่ค่อยพบในหินบนโลก
แร่คาร์ไบด์ (Carbides), แร่ฟอสไฟด์ (Phosphides): แร่ธาตุเหล่านี้พบได้ในอุกกาบาตบางชนิด เช่น schreibersite ซึ่งเป็นแร่ฟอสไฟด์ที่ไม่พบในธรรมชาติโดยทั่วไปบนโลก

หินบนโลก

ควอตซ์: เป็นแร่ที่พบได้ทั่วไปในหินบนโลก โดยเฉพาะในหินแกรนิต แต่ไม่ค่อยพบในหินอุกกาบาต
เฟลด์สปาร์: เป็นแร่ที่พบได้บ่อยในเปลือกโลก ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของหินอัคนีและหินตะกอนบนโลก
แร่ดิน: แร่ที่เกิดจากการผุพังของหินภายใต้อิทธิพลของบรรยากาศ เช่น ไคลโนไพโรลิต์ (kaolinite) ซึ่งไม่พบในหินอุกกาบาต
แคลไซต์: พบในหินปูนและหินตะกอนบนโลก ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของแร่ธาตุในน้ำทะเลและแม่น้ำ

หลักๆก็คือหินมีสารประกอบต่างกัน แต่พอตรวจเจอส่วนประกอบของแร่อุกกาบาตกระจายบนเปลือกโลกเยอะมากก้เลยได้แนวคิดใหม่ๆออกมาครับ  


แล้วไอหินที่ๆม่เคยเจอบนโลกเลย เจอเฉพาะ ดวงจันทร์หรือดาวอืืนๆ มันมีอะไรดีกว่า หินที่เจอบนโลกมั้ยอะคับ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

เมื่อไหร่โดนบังคับให้ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด ถือว่าเราตายไปแล้ว :D
ออนไลน์
นักบอลถ้วย ก.
Status: ชีวิต..ติดแกลบ
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 16 May 2020
ตอบ: 5497
ที่อยู่: ดาวโลก
โพสเมื่อ: Sat Sep 21, 2024 04:46
[RE: งานวิจัยชี้ โลกเคยมีวงแหวนคล้ายดาวเสาร์]
a.Raptor v.10 พิมพ์ว่า:
SureShot พิมพ์ว่า:
a.Raptor v.10 พิมพ์ว่า:
สงสัยอย่างนึง ตัวอย่างหิน หรืออะไรอื่นๆที่เราเก็บมาได้

มีอะไรไม่เหมือนที่มีบนโลกเยอะมั้ยหว่า แล้วเจออะไรดีกว่ามั่งมั้ย  


หินอุกกาบาต

เหล็กและนิกเกิล: หินอุกกาบาตประเภทโลหะมักมีปริมาณเหล็กและนิกเกิลสูง เป็นองค์ประกอบที่พบในอุกกาบาตเหล็ก (Iron meteorites)
โอลิวีนและไพรอกซีน: เป็นแร่ที่พบในหินอุกกาบาตประเภทหิน (Stony meteorites) และพบในอุกกาบาตที่มีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อย
ทโรอิลไลต์ (Troilite): แร่ชนิดหนึ่งของซัลไฟด์ที่มักพบในหินอุกกาบาต แต่ไม่ค่อยพบในหินบนโลก
แร่คาร์ไบด์ (Carbides), แร่ฟอสไฟด์ (Phosphides): แร่ธาตุเหล่านี้พบได้ในอุกกาบาตบางชนิด เช่น schreibersite ซึ่งเป็นแร่ฟอสไฟด์ที่ไม่พบในธรรมชาติโดยทั่วไปบนโลก

หินบนโลก

ควอตซ์: เป็นแร่ที่พบได้ทั่วไปในหินบนโลก โดยเฉพาะในหินแกรนิต แต่ไม่ค่อยพบในหินอุกกาบาต
เฟลด์สปาร์: เป็นแร่ที่พบได้บ่อยในเปลือกโลก ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของหินอัคนีและหินตะกอนบนโลก
แร่ดิน: แร่ที่เกิดจากการผุพังของหินภายใต้อิทธิพลของบรรยากาศ เช่น ไคลโนไพโรลิต์ (kaolinite) ซึ่งไม่พบในหินอุกกาบาต
แคลไซต์: พบในหินปูนและหินตะกอนบนโลก ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของแร่ธาตุในน้ำทะเลและแม่น้ำ

หลักๆก็คือหินมีสารประกอบต่างกัน แต่พอตรวจเจอส่วนประกอบของแร่อุกกาบาตกระจายบนเปลือกโลกเยอะมากก้เลยได้แนวคิดใหม่ๆออกมาครับ  


แล้วไอหินที่ๆม่เคยเจอบนโลกเลย เจอเฉพาะ ดวงจันทร์หรือดาวอืืนๆ มันมีอะไรดีกว่า หินที่เจอบนโลกมั้ยอะคับ  


พวกสารประกอบอาจจะไม่พิเศษเท่าไหร่ แต่ที่ผมตามๆอยู่ก็คือเค้าคาดว่าพวกสารตั้งต้นของสิ่งมีชีวิตอาจจะติดมากับอุกกาบาต แล้วพวกนี้ก็จะลอยไปเรื่อยในอวกาศแล้วก็ชนดาวแบบสุ่มๆซึ่งถ้าโชคดีก็อาจจะเกิดสิ่งมีชีวิตแบบโลกเราได้ มีวันนึงผมไปถามAIอยู่เหมือนกันเรื่องการชนอุกกาบาตจะทำให้เกิดน้ำได้มั้ย ซึ่งAIก็ตอบดีว่าอาจจะได้ โดยฝุ่นอุกกาบาตที่แตกในชั้นบรรยากาศจะปกคลุมโลกและสร้างหนาแน่นให้ชั้นบรรยากาศและทำให้ความชิ้นเกิดขึ้นได้ครับ มันอาจจะมีส่วนแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ต้องอาศัยความโชคดีหลายๆอย่างประกอบด้วย แร่ธาตุต่างๆพวกนี้ถึงจะสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาได้
แก้ไขล่าสุดโดย SureShot เมื่อ Sat Sep 21, 2024 04:47, ทั้งหมด 1 ครั้ง
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel