[RE: ฟลิคปาดเหงื่อ... 'ซามูไร' อุ่นถล่มอินทรีคาบ้าน 4-1]
AUBAHENRYONG14 พิมพ์ว่า:
PhookNarawat พิมพ์ว่า:
BlaCKWarrioR พิมพ์ว่า:
ญป ใช้เจลีคสร้างพื้นฐาน(บางคนลงไม่กี่นัดก็ไปละ) แล้วส่งให้ให้ยุโรปปั้นต่อ เริ่มในช่วงวัย 21-22
ค่าตัวอย่างถูก
ส่วนใหญ่ไม่ใช่สโมสรชั้นนำด้วย ไต่มาตรฐานการเล่นเพื่อย้ายเข้าลีคใหญ่ทั้งนั้น
ไทย เล่นไทยลีค แล้วไปใช้เจลีคต่อยอด ไม่ไปแล้วยุโรป แถมไปเล่นเจลีคก็ 24-25
(แถมไปแล้วนี่นับ 1 กันใหม่ทั้งนั้นกว่าจะได้ลง ไทม์มิ่งพื้นฐานการเคลื่อนที่งี้ และความฟิตอีก แต่ละคนที่ไปจากมีแก้มกลายเป็นหน้าตอบหมด)
ใครเล่นดีใน ตปท พร้อมดึงกลับ แถมเอามาเก็บไว้ไม่ค่อยใช้อีก
มิเกลสันแม่มก็มีข่าวว่าอยากดึงกลับมาไทยลีค (แต่ดีที่น้องกับเอเย่นไม่ได้อยากให้กลับมาไทย)
พูดละอย่างเซ็ง มายเซ็ตผู้ใหญ่บ้านเรา
(เด็กนักบอลหลายๆคน ก็อยากออกไปลองเล่น ตปท กันสักครั้งทั้งนั้น + เอเย่นบางเจ้าก็พร้อมผลักดันให้ไปลอง แต่ติดที่สโมสรไม่ปล่อย)
โคตรถูกใจและตรงประเด็นมากครับ ไม่รู้สิส่วนตัวมองว่ามันเป็นอะไรนักหนากับ Homesick ส่วนตัวถ้ามีทั้งพรสวรรค์ พรแสวง และได้รับโอกาสขนาดนั้น ทำไมไม่ทำเหมือนพวกนักเตะลาติน หรือนักเตะแอฟฟริกัน เดินตามความฝันแม่งเลย ยิ่งอายุน้อยๆนี่วัดๆไปเลยกับเส้นทางอาชีพตัวเอง
เด็กไทยถ้าตาลูปชีวิตนักกีฬามีไม่กี่อย่าง ขึ้นมัธยมแม่งเล่นโคตรดี พรสวรรค์ล้วนๆ ขึ้นมหาลัยสมาธิไปกับเงินเดือนรายได้ไปซะแล้ว ยิ่งมีชื่อเสียงนี่ยิ่งแล้วไปทางคาสโนว่าเลยด้วยซ้ำ สุดท้ายจบมหาลัยฯ เล่นลีกบ้านเกิดตัวเอง 4-5ปีแขวนสตั๊ด เล่นบอลเดินสายกินเงิน วนลูปกันไปแบบนี้
ญี่ปุ่นเป็นต้นแบบของทีมกีฬาเลย ไม่ใช่แค่ฟุตบอลนะ วอลเลย์บอลทั้งชาย หญิง คือโคตรมีวินัยมาก มีการจัดการชัดเจน รายการแข่งขันระดับชาติมีเป็น 5-6 ทัวร์นาเม้นท์ต่อปี เขาก็จัดการได้ดีมากๆ รายการเล็กส่งชุด B-C และดาวรุ่งลงเล่นเพื่อเก็บประสบการณ์ เพราะยังไงระบบการสร้างทีมของเขาก็เป็นมาตรฐานทุกชุดอยู่แล้ว คือไม่ต้องถามเรื่องวินัย ความอดทน อุตสาหะเลย
มองกลับดูบ้านเกิดก็เหมือนที่ท่านพูดนั่นแหละ อุตส่าห์ได้ติดทีมชาติทั้งๆที่เล่นอยู่ลีกต่างประเทศมีโอกาสได้พัฒนาฝีมือแท้ๆ เสือกอยากมาเล่นลีกที่แทบไม่มีการพัฒนาเรื่องฟุตบอลซะงั้น ผมโคตรหมดศรัทธากับสมาคมฟุตบอลไทยเลย ยิ่งซีเกมส์ล่าสุดที่พากันไปโชว์มวยไทยสู่สายตาชาวโลก คือเลิกดูเลย...
ลีคอะไรที่ไม่มีพัฒนาการหรอครับ ที่ท่านพูดถึงใช่คนที่อยู่บีจีที่เพิ่งไปชนะเซี่ยงไฮ้มาในACLหรือป่าว คนบ่นไม่ดูคนดูไม่บ่น ดูถูกไทยลีคไปมั้ง
ต้องแยกก่อนว่าสิ่งที่ผมสื่อสารไปคือระบบโครงสร้างฟุตบอลประเทศไทยนะครับ ก็เพราะเป็นซะแบบนี้ไงคนดูถึงลดน้อยลงไปทุกวัน ไอ้คนที่ไปดูแน่ละมีพระคุณต่อสโมสรฯที่ตัวเองไปเชียร์อยู่แล้ว แต่ทำไมกลับไม่คิดว่าเออถ้าเราที่โครงสร้าง เราอาจได้เพื่อนดูบอลที่เยอะมากขึ้น เชียร์สนุกมากขึ้น ไม่ใช่พอชนะในแมตช์เข้าหน่อยก็ตีอกชกตัวเป็นทีมพัฒนาไปแล้ว ถ้าไม่ใช่ อิกอร์ เซอร์เกเยฟ เหมาแฮตทริก คิดว่าถ้าเป็นนักเตะไทยจะยิงได้มั้ย?เพราะมันบ่งบอกถึงความเก่งกาจ แล้วๆคือนี่กองหน้าทีมชาติอุซเบกิสถานทีมชาติที่อันดับโลกอยู่เหนือไทย?
ลีกประเทศนี้ควรถูกวิจารณ์และสะท้อนเสียงเข้าไปที่สมาคมฟุตบอลมากที่สุด แล้วขอทีเหอะที่พูดถึงนี่หมายถึงภาพรวมฟุตบอลทีมชาติเลย แล้วหันมาดูดูตาราง Ranking กับ Trophy ทัวร์นาเม้นท์ของไทยที่เป็นทางการสิครับ ว่ามันเกิดการพัฒนาในฟุตบอลในประเทศหรือยัง เวียตนามผลงานใน ACL เป็นไงยิ่งพวก ทาจิฯ อินเดีย ฯลฯยิ่งไม่ต้องสืบ ผลงานทีมชาตินี่ล้มเขาได้หรือยัง เวียตนามนี่ตาปาร์กลงเก้าอี้ยังไม่รู้เลยว่าจะมีปัญหาเด็ดหัวทีมเขาแบบเด็ดเสร็จเด็ดขาดได้เลย
https://www.fifa.com/fifa-world-ranking/men?dateId=id14079
จากดาวสู่ดิน! เช็กค่าลิขสิทธิ์ "ไทยลีก" ร่วงลงสุดช็อก จาก "พันล้าน" เหลือไม่ถึง ร้อยล้าน ?และนี่คือหลักฐานการพัฒนาในลีกประเทศไทยหรือครับ?
ย้อนดูมูลค่าลิขสิทธิ์ฟุตบอลไทยลีก ตั้งแต่ปี 2011 ยันปัจจุบันที่น้อยจนมีปัญหาหนัก จนทำให้อาจต้องจัดแข่ง ไทยลีก 1 แยกจากลีกอื่นๆ
วันที่ 27 มิถุนายน 2566 ความเคลื่อนไหวลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอล ไทยลีก 2023-24 รวมถึงรายการอื่นๆ ทั้ง ทีมชาติไทย, ฟุตบอลถ้วย และ ลีกรอง ยังคงสรุปไม่จบว่าใครจะเป็นผู้ถ่ายทอดสด เพราะราคาที่ยื่นมามีตั้งแต่ 50 ล้านบาท มากกว่า และน้อยกว่า ผ่าน 2 บริษัท ทำให้ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ต้องประชุมหาบทสรุปกับสโมสรไทยลีก 16 ทีม เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา ซึ่งข้อสรุปจะได้แยกลีกจัดแข่งขันกันเอง โดยจะมีการยื่นเรื่องต่อ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ุม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอล และยื่นต่อให้ที่ประชุมของสภากรรมการวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ต่อไป
ทีมข่าวไทยรัฐสปอร์ต ขอเปิดค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยลีก ตั้งแต่ปี 2011 ถึงปัจจุบันที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้
ปี 2011-2013 = 600 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 200 ล้านบาท) ซื้อลิขสิทธิ์ 3 ปี
ปี 2014-2016 = 1,800 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 600 ล้านบาท) ซื้อลิขสิทธิ์ 3 ปี
ปี 2017-2020 = 4,200 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 1,050 ล้านบาท) ซื้อลิขสิทธิ์ 4 ปี
ปี 2021-2022 = 800 ล้านบาท
ปี 2022-2023 = 300 ล้านบาท
ปี 2023-24 ?
แหล่งข้อมูล :
https://www.thairath.co.th/sport/thaifootball/thaipremierleague/2705103