[RE: รีสอร์ทแจ้ง ชาย-หญิง ที่ยังไม่ได้แต่งงาน ห้ามนอนห้องเดียวกัน]
GNR พิมพ์ว่า:
A.Felix พิมพ์ว่า:
GNR พิมพ์ว่า:
A.Felix พิมพ์ว่า:
รีสอร์ทเค้าแล้วแต่เขา เราไม่โอเคก็ไปรีสอร์ทอื่น ปัญหาจบ
ไม่ได้ดิครับ มันมีเรื่องมาตราฐานการบริการโรงแรมสากลอยู่ครับ ไทยเราเป็นสมาชิก องค์กรณ์สากลนี้
ซึ่งกรณีนี้ ถ้าเป็นรีสอร์ทโรงแรม มันต้องขออนุญาตอย่างถูกต้อง ซึ่งก็ต้องให้ความร่วมมือด้านมาตราฐานสากลนี้ด้วย
จะมาบอกโรงแรมเค้า จะกฏอะไรเรื่องของ เค้าไม่ได้ครับ ถ้าอย่่งเช่นกฏห้ามสุนัขสัตวืเลี้ยงอะไรพวกนี้ทำได้ครับ แต่ที่เป็นกฏเรื่องสิทธิ์ พวกนี้ มันมีมาตรฐานของมันอยู่
พอดีผมอ่านหนังสือสอบ มันมีเรื่องนี้อยู่พอดี
รบกวนขอแหล่งอ้างอิงมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หน่อยครับ
ผมจะได้เรียบเรียงตรรกะได้ถูกว่า กฎหมายสากลที่ว่ามันบังคับว่ารีสอร์ทต้องอนุญาติให้ผู้เข้าพักเป็นเพศใดก็ได้หรือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศครับ
ตรรกะพื้นฐานผมคือ
ถ้าเค้าบอกว่ามีกฎข้อนี้ได้ = ได้
ถ้าเค้าไม่ได้บังคับว่าต้องทำตามกฎข้อนี้ = ได้ or กฎเป็นไปตามโรงแรมกำหนด
ผมอ่านมาแบบ คร่าวๆ ปัจจุบัน ไทยเป็น สมาชิกขององค์การค้าโลก WTO
ซึ่งคนที่เข้าร่วมคือต้อง ปฏบัติตามแนวทางของ WTO พวกนี้จะเกี่ยวข้องกับการค้าเสรี ที่เน้นเรื่องของ ความเสรีในการได้รับบริการ อย่างเท่าเทียมกัน ของ สมาชิกในประเทศ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน
องค์กรณ์นี้ แบ่งออกเป็น 12 ด้าน ซึ่ง 1ในนั้นคือ
บริการด้านการท่องเที่ยวและการเดินทางที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว
ซึ่งมันจะมีกฏมากมาย ที่เราต้องร่วมให้ความร่วมมือ ผมยกตัวอย่างเช่น ด้านผู้ให้บริการ ก็จะมีกฏว่า คนต่างประเทศสามารถทำกิจการ หรือถือครองอะไรได้ยังไง หรือด้านผู้ให้บริการ ต้องปฏิบัติตามมาตราฐานใหนบ้าง แล้วมีส่วน คุ้มครองผู้บริโภรด้านไหนบ้าง ซึ่ง ในหนังสือผมมันบอกแค่คร่าวๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของสิทธฺมากกว่า ซึ่งต้องไปอ่าน กฏเต็มๆ ของ WTO ที่มีละเอียดมากเป็นร้อยกว่าหน้า ต้องไปไล่ดูว่าเรื่องนี้ เข้าข่ายเรื่องไหน ซึ่งผมว่าน่าจะอยู่ในหมวดสิทธฺืผู้บริโภค
ส่วนอันนี้ที่ผมอ่านแล้วตีความคร่าวๆ องค์กรณี นี้ เกิดจากการร่วมมือหลายประเทศเพื่อให้แต่ละประเทศปรับจูน
ให้ตรงกันในด้าน บริการ เพราะแต่ละประเทศมี ศาสนาและวัฒนะธรรมไม่เหมือนกัน เพราะงั้นต้องมีจุดกึ่งกลาง เพื่อให้ เป็นมาตราฐานเดียวกัน ผมยกตัวอย่างง่ายๆ ในกรณีนี้ นักท่องเที่ยวเป็นคนไทยก็แล้วไป
แต่ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหละ ที่ขึ้นชื่อเรื่องการรักษาสิทธิ์ตัวเองมาก เค้าจะรู้สึกไงกับฏกข้อบังคับนี้ ที่ไม่แฟร์กับเค้า หากเค้าบุ๊กกิ้งมาจากเว็บแล้ว กฏข้อนี้ไม่ได้ถูกระบุในบุ๊กกิ้งไรงี้ (ผมได้เข้าไปดูบุ๊กกิ้งจากเว็บจองก็ไม่ได้ระบุกฏนี้บนหน้าเว็บ)ผมว่าเค้าสามารถโวยหรือฟ้องร้องได้นะผมว่า แล้วเค้าจองไว้ 1ห้อง จะมาพักกับแฟน แล้วพอมาถึงที่จริงต้องเสียเงินเปิด2 ห้อง ซึ่งกฏนี้ไม่ถูกระบุในการโฆษณา อันนี้ผมก็ว่าผิดแล้ว
แต่สำหรับท่านไหนที่แป๊ะ กฏของ WTO ก็อยากมาให้ความรู้ในจุดนี้เช่นกัน อันนี้ผมอ่านหนังสือแล้วตีความมาว่าประมาณนี้ ไม่ได้เข้าไปอ่าน กฏเค้าแบบละเอียด
ส่วนเบื้องต้นผมไปหาข้อมูลคร่าวๆ เบื้องต้นเราได้ทำตาม wto โดยออก เป็นพระราชบัญญัติออกมาควบคุม
เท่าที่ผมดู มี เค้าไปตรง กับข้อนี้อยู่นะว่าด้วยสิทธิ์ ผู้บริโภค เพราะถ้าผมจองมาจากเว็บ ได้อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วไม่ม่ข้อบังคับนี้ ถ้าเรามาพัก รีสอร์ท ผิดนะนั้น
เข้าใจแล้วครับ ผมคิดว่าความสำคัญคือถ้าไม่มีข้อบังคับชัดเจนไม่ว่าจะบุ้คกิ้งแบบไหนมาก็ตาม ยิ่งชาวต่างชาติที่นับถือสิทธิมาก พอเค้ารู้ว่าเกี่ยวกับศาสนาเค้าจะไม่มีปัญหา
อาจจะผิดในเรื่องของการไม่ระบุข้อตกลงให้ชัดเจน แต่ไม่ผิดในเรื่องที่รีสอร์ทมีกฎข้อบังคับนี้
ส่วนเรื่อง service ที่จะดูแลกันหลังจากนั้นคิดว่าไม่ยาก