ซูหยวนชุน ยอดขุนพลสุดท้ายแห่งต้าชิง
ซูหยวนชุน ยอดขุนพลคนสุดท้ายแห่งต้าชิง
ซูหยวนชุน เกิด เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๑๘๔๔ ที่เมืองหย่งอัน มณฑลกวางสี ซูเป่าเต๋อ บิดาของเขาเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารของเมืองหย่งอัน ที่ถูกสังหารโดยกองทัพสวรรค์ไท่ผิง
เมื่อบิดาเสียชีวิต ซูหยวนชุน และน้องชาย ซูหยวนฉาง ก็ได้เข้าสู่สมาคมฟ้าดินในปี ๑๘๕๕ ที่นำโดย จางเกาหยู เพื่อล้างแค้นให้กับการตายของบิดา แต่เพียงปีเดียว ซูหยวนชุนก็ถูกจับโดยกรมการเมืองในข้อหาขโมยของ แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากญาติผู้พี่ผู้น้อง ซูหยวนรุ่ย ซึ่งตอนนั้นเป็นทหารอยู่ในกองทัพเซียงของซีเป่าเทียน ทำให้ทั้ง ซูหยวนชุน และน้องชาย ซูหยวนฉาง เข้าประจำการอยู่ในกองทัพเซียงในเวลาต่อมา
ซูหยวนชุน แข็งขันตั้งใจทำงานให้กับกองทัพเพื่อหมายล้างแค้นแทนบิดา จนเขาจับกุมผู้บัญชาการไท่ผิงได้หลายคน และปราบปรามกองทัพสวรรค์ไท่ผิงที่เหลือที่ในกวางตุ้งและเจียงซีจนสิ้นซาก นับว่าการล้างแค้นแทนบิดาเสร็จสิ้นลง
หลังจากนั้นในปี ๑๘๖๗ ซูหยวนชุนได้รับคำสั่งให้ไปที่กุ้ยโจวเพื่อปราบปรามกบฏแม้วและสังหารจาง ซิ่วเหม่ย ผู้นำของชาวแม้วก่อนจะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพ และแม่ทัพตามลำดับ ในเดือนพฤษภาคม ๑๘๗๑ ซู หยวนชุนได้รับการแต่งตั้งเป็นพลเรือเอก และในปี ๑๘๗๘ เขาได้ถูกส่งกลับไปประจำการที่เมืองหย่งโจว มณฑลหูหนาน
ในปี ๑๘๘๔ หลังจากสงครามจีน-ฝรั่งเศสปะทุขึ้น จีนกำลังสูญเสียพื้นที่ในเวียดนาม ทางราชสำนักจึงมอบหมายให้ ซูหยวนชุน รวบรวมกำลังพล ๒,๔๐๐ นาย เพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เวียดนาม ในเดือนมิถุนายน ซูหยวนชุนได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นนายพลแห่งกว่างซีและบัญชาการกองทัพกวางซีที่เป่ยฉี เวียดนาม ในช่วงเวลานี้เขาจะรวบรวมทหารราบในการสร้างกำแพง
ยุทธการเจิ้นหนานกวน
เมื่อกองทัพฝรั่งเศสมาถึง ซูหยวนชุนท้าให้กองทัพฝรั่งเศสต่อสู้ประชิดตัว และกำหนดการรบกับกองทัพฝรั่งเศส นำไปสู่ชัยชนะของกองทัพชิง การศึกครั้งนี้สร้างชื่อเสียงให้กับ ซูหยวนชุน เป็นอย่างมาก
หลังจากโครงการก่อสร้างป้องกันชายแดนกว่างซีเสร็จสิ้น ซูหยวนชุนได้รับคำสั่งให้เข้าไปที่ปักกิ่ง ในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๑๘๙๙ ซูหยวนซุนได้รับอนุญาตให้ ขี่ม้าในพระราชวังต้องห้ามได้ แต่หลังจากนั้นไม่นาน ราชสำนักชิงก็ได้แจ้งให้ซูหยวนชุนทราบว่าฝรั่งเศสกำลังมุ่งเป้าไปที่ตะวันออกเฉียงใต้ของจีนและมุ่งเป้าโจมตีไปที่อ่าวกว่างโจวโดยเฉพาะ ซูหยวนชุน ซึ่งอยู่ในเมืองหลวงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตของราชสำนักชิงเพื่อเจรจากับฝรั่งเศส จากนั้นเขาได้ลงนามใน "สนธิสัญญาสัมปทานอ่าวกว่างโจว" กับฝรั่งเศส ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๑๘๙๙
"สนธิสัญญาสัมปทานอ่าวกว่างโจว" นี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ราชสำนักชิงถือโอกาสนี้โยนความผิดทั้งหมดเป็นการตัดสินใจของ ซูหยวนชุนหลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ถูกปลดจากตำแหน่งทูตของราชสำนักชิง
ในปี ๑๙๐๒ หวังซีซุน เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลกว่างซี เขามีความเห็นไม่ลงรอยกับซูหยวนชุนหลายเรื่อง จึงส่งรายงานใส่ร้ายขึ้นไปยังราชสำนัก ราชสำนักชิงจึงมีคำสั่งให้ เฉินชุนซวน ผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้งและกว่างซีคนใหม่สอบสวนคดีของ ซูหยวนชุน ทำให้ ซูหยวนชุน ถูกปลดและถูกคุมขัง
หลังจากถูกคุมขัง ซูหยวนชุน พยายามต่อสู้คดี บรรดาประชาชนและเหล่าทหารต่างออกมาปกป้องเขา พร้อมยื่นฏีกาให้ราชสำนักชิงพิจารณาโทษ ซูหยวนชุน ใหม่ ทางราชสำนักชิงจึงลดโทษจากประหารชีวิตเป็นไปใช้แรงงานแทน ในขณะที่ซูหยวนชุนได้รับโทษ ก็มีคนร้องเรียนเฉินชุนซวนในข้อหา "อยุติธรรมต่อบุคคลที่มีความสามารถ"
ราชสำนักชิงจึง มีคำสั่งให้จางเหรินจุนผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้งและกว่างซีคนใหม่ทบทวนคดี ผลลัพธ์คือ ซูหยวนชุนถูกกล่าวหาอย่างเป็นเท็จ ซูหยวนชุน ก็ถูกปล่อยตัวออกมาหลังจากรับโทษ ๔ ปี ระหว่างรับโทษ ซูหยวนชุนมีอาการเจ็บป่วยแต่ไม่ได้รับการรักษา ซูหยวนชุนได้เสียชีวิตลงใน วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๑๙๐๘ ด้วยวัย ๖๔ ปี
เรื่องราวของซูหยวนชุนถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง The War Of Loong (龙之战) ในปี ๒๐๑๗ ที่เล่าถึงวีรกรรมของเขาใน ยุทธการเจิ้นหนานกวน
ภาพถ่ายของ ซูหยวนชุน ถ่ายโดย โอกุสต์ ฟรองซัว กงสุลชาวฝรั่งเศส
ที่มา เพจเก้ากระบี่เดียวดาย