เวลาเกิดเหตุการณ์อะไรหนักๆบนตลาดทุน ผมก็ชอบมานั่งทบทวนตัวเองว่าพลาดอะไรไป
รอบนี้เป็นรอบที่ 2 ของผมนะ รอบ covid สำหรับผมถือเป็น black swan ครั้งแรก
รอบนี้ยังไม่ถือว่าเป็น black swan แค่น้ำจิ้ม แต่ก็เจ็บแล้ว แต่ไม่หนัก
เลยยังพอมีเวลาทบทวนตัวเองบ้าง
ดูราคาอสังหาในอเมริกาตอนนี้ พุ่งแบบ 2008 คิดว่าเดี๋ยวของจริงมาแน่นอน ทั้งอสังหา หุ้น คริปโต
ผมชอบเปิดหนังสือ The Psychology of Money จิตวิทยาว่าด้วยเงิน
ในการทบทวนแนวทาง ว่า mindset เรายังอยู่ในเส้นทางไหม
วันนี้เลยจะมาแชร์ครับ
ใช้ได้ทั้งนักลงทุนลงทุนในนระยะ สั้น กลาง ยาว
คัดมาจากบทที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนนะครับ
ส่วนใครชอบฟัง Podcast เชิญรับฟังทางนี้ครับ พี่เอ๋ นิ้วกลมเล่าสนุกมาก ไม่มีเบื่อ
VIDEO
จิตวิทยาว่าด้วยเงิน
บทเรียนเหนือกาลเวลา ว่าด้วยเรื่องความมั่งคั่ง ความโลภ และความสุข
หนังสือภาษาอังกฤษมีชื่อว่า The Psychology of Money เขียนโดย Morgan Housel ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ลิฟริช แปลไทยโดยคุณธนิน รัศมีธรรมชาติ
บทนำ
การจัดการเงินได้ดีไม่เกี่ยวว่าฉลาดแค่ไหน แต่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เพราะผลลัพธ์ทางการเงินขึ้นอยู่กับพฤติกรรม ความฉลาดส่วนบุคคล โชค ความพยายาม อารมณ์ ความคิด จิตวิทยา
เราจำเป็นต้องศึกษาประวัติศาสตร์ความโลภ และ จำเป็นต้องมองเข้าไปยังความเจ็บปวดนั้น เพราะเพียงแค่ประวัติศาสตร์ กราฟสีแดง ไม่อาจจำลองความรู้สึกของผู้คนในช่วงเวลานั้นได้ ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้คน ณ ขณะนั้น จะบอกครอบครัวของเขาอย่างไร ว่าได้ทำผิดพลาดอย่างไรไปต่อครอบครัวในการเงิน การลงทุน
เมื่อเราเข้าใจประวัติศาสตร์ ก็จะช่วยให้เราวางแผนรับมือกับมันได้ในอนาคต เพื่อที่จะได้ไม่ทำผิดพลาดทั้งกับตนเองและครอบครัว
บทที่ 5
หลีกเลี่ยงความพังพินาศในทุกกรณี คือ
ต้องฆ่าไม่ตายในทางการเงิน ต้องอยู่รอดให้นาน ยืนระยะนานได้เพื่อรอการทบต้นให้มันทำงานได้นานพอ
การวางแผนที่สำคัญที่สุด คือวางแผนว่าอาจไม่เป็นไปตามแผน
มองโลกในแง่ดีสำหรับอนาคต แต่วิตกกังวลกับสิ่งที่อาจขวางทาง
การลงทุนที่ดีคือการไม่ทำพลาดอย่างต่อเนื่อง
บทที่ 6
หางยาว = ชนะ
เป็นเรื่องปกติในการลงทุน ที่อาจจะมีตัวที่โดน และไม่โดน เรื่องเหล่านี้ควรทำความเข้าใจว่ามันคือธรรมชาติ
สิ่งที่เราพอทำได้คือการกระจายการลงทุนให้มากพอ เป็นหลักการ VC ที่ใช้ลงทุน Start-up
100 บริษัทที่ลงทุน
มี 20/100 บริษัททำผลตอบแทนได้ดี
10/20 บริษัททำผลตอบแทนได้ดีมาก
2/10 บริษัทอาจทำให้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามหาศาลได้เลย
บทที่ 11
การลงทุนแบบผสม หรือ การกระจายความเสี่ยงมี 2 เหตุผลคือ
ลดความเสียใจในอนาคตให้มากที่สุด
เพื่อเข้าใจการลงทุนของเราเอง
เมื่อคุณตระหนักได้ว่า ปลายหาง คือตัวขับเคลื่อนทุกสิ่ง คุณจะเข้าใจว่าความผิดพลาดในการลงทุนคือเรื่องที่แสนจะธรรมดา
ปีเตอร์ ลินซ์กล่าวไว้ว่า หากคุณเก่ง คุณก็จะตัดสินใจถูก 6 ใน 10 ครั้ง
บัฟเฟตเองก็มีหุ้น 10 จาก 400–500 ตัว ที่ทำเงินได้มากที่สุด
และเหล่าปรมจารย์ก็อาจตัดสินใจพลาดบ่อยพอๆกับเรา แต่เขาฆ่าไม่ตายทางการเงิน และยืนระยะได้นานพอ ที่สำคัญคือตัดสินใจได้ถูกบ่อยครั้งกว่าเรา
บทที่ 12
โลกการลงทุนมีเรื่องไม่คาดฝันเสมอ อย่าใช้เรื่องเหล่านี้มาโทษตัวเอง และ อย่าเอามาชี้นำอนาคต เราควรยอมรับว่าเรื่องเหล่านี้คือเรื่องธรรมดา (ทฤษฎีหางยาว) ไม่มีใครรู้เรื่องราวในอนาคต บางทีประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา จะไม่เกิดซ้ำในอนาคตก็ได้ เพราะตัวแปรแตกต่างกัน
Ben Graham เองก็ยังคงอัพเดทวิธีการลงทุนของตัวเองอยู่เสมอ เนื่องจากสิ่งต่างๆเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
อย่างไรก็ดี การศึกษาประวัติศาสตร์ก็ยังจำเป็นอยู่ เนื่องจากเราจำเป็นต้องศึกษาพฤติกรรมความโลภของมนุษย์ในแต่ละสถานการณ์ เพื่อที่จะได้วางแผนในอนาคตต่อไปได้
บทที่ 13
สิ่งสำคัญสำหรับทุกแผนคือ การวางแผนเผื่อไม่เป็นไปตามแผน
ต้องเผื่อพื้นที่สำหรับความผิดพลาด หรือ Margin of Safty
Ben Graham กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของ Margin of Safty ก็คือทำให้การคาดการณ์นั้นไร้ความจำเป็น เพราะเมื่อเราทนต่อผลลัพธ์ที่หลากหลายได้ จะทำให้เราอยู่ในตลาดได้นานขึ้น เพราะกำไรก้อนใหญ่นั่นเกิดไม่บ่อย แต่การทบต้นนั้นเกิดง่ายกว่า
Bill Gats & Warren Buffet เองก็เคยกล่าวเรื่องการมี Margin of Safety เช่น ต้องให้มั่นใจว่าบริษัทมีเงินสดสำรองไว้เสมอในทุกสถานการณ์ หากเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝัน เช่นพอร์ตหายไป 50% ก็ยังคงอยู่รอดในตลาดต่อไปได้ และทำให้เรายังมีตัวเลือกมากพอในการลงทุน
บทที่ 14
อย่าเลือกแผนการณ์ที่สุดโต่งเกินไป ควรให้เวลากับแผนการณ์นานๆ และตั้งเป้าให้มีเงินออมพอประมาณ
ยอมรับความจริงของการเปลี่ยนใจ ไม่สนใจกับต้นทุนที่จมไปแล้ว นำกลับคืนไม่ได้
ควรยอมรับเมื่อเป้าหมายนั้นผิดพลาด และ ปรับปรุงให้เร็ว ยิ่งเร็วเท่าไหร่ จะช่วยให้กลับสู่เส้นทางแห่งการทบต้นได้เร็วขึ้น
บทที่ 15
การลงทุนในระยะยาวมีต้นทุนที่ต้องจ่าย แต่ไม่ใช่หน่วยดอลลาห์ แต่มันคือความผิดหวัง ความโลภ ความกลัว ความลังเล ไม่มีมั่นใจ ความยับยั้งชั่งใจ และการตัดสินใจ เมื่อตลาดพังลงมา
มองสิ่งเหล่านี้ให้เป็นค่าธรรมเนียมที่คุ้มค่าที่ควรจ่าย ไม่ใช่ค่าปรับ
ค่าธรรมเนียมเหล่านี้คุ้มค่าที่จะจ่าย และเป็นหนทางเดียวที่จะรับมือความผันผวนและความไม่แน่นอนได้
บทที่ 16
นักลงทุนส่วนใหญ่มักฟังคำแนะนำจากคนที่ไม่ได้เล่นเกมส์เดียวกันกับพวกเขา
เกมส์ก็หมายถึงกลยุทธ์ และ ระยะเวลาการลงทุน อาทิ นักเทรดสั้น และ นักลงทุนระยะยาว ซึ่งมักมี Fair Price ที่แตกต่างกัน อันได้แก่ ราคาเข้า ราคาออก ระยะเวลาในการลงทุน
ราคาเหล่านี้แตกต่างกันตามระยะเวลาในการถือ 1 วัน, 1 เดือน, 1 ปี, 10 ปี, 30 ปี
เมื่อนักลงทุนมีระยะเวลาในการลงทุนที่แตกต่างกัน ราคาที่สมเหตุสมผลกับคนนึง อาจจะดูบ้าสำหรับอีกคน
เราต้องไม่ถูกชักจูงพฤติกรรม ความคิด ทั้งเรื่องชีวิต และการลงทุนจากคนที่เล่นคนละเกมส์กับเรา
บทที่ 17
ข่าวไม่ดีต่างๆมักส่งผลให้ผู้คนตระหนกไปตามกัน เกินกว่าที่ควรจะเป็น โดยอาจจะลืมเหตุผลว่า การที่ตลาดปรับตัวลงมา 40% ใน 6 เดือนนั้น เกิดจากการเติบโต 140% ใน 6 ปี
เราจำเป็นต้องหาราคาของความสำเร็จให้เจอ และเต็มใจที่จ่ายมัน ซึ่งก็คือความผันผวนท่ามกลางการเติบโตอันยาวนาน
นี่คือภาพที่แสดงให้เห็นว่า กว่าตลาดหุ้นจะโตมาได้ขนาดนี้ ผ่าน Black Swan มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
บทที่ 18
ยิ่งเราต้องการให้สิ่งใดเป็นจริงมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งคิดว่าสิ่งนั้นมีแนวโน้มจะเป็นจริงมาเท่านั้น จงระวังพลังของเรื่องเล่า และต้องมี Margin of Safty เสมอ เผื่อในกรณีที่ไม่เป็นตามคาด
ไม่มีใครมองโลกสมบูรณ์ไปทุกมิติ เลยจำเป็นต้องมีเรื่องเล่าเข้ามาเติมส่วนที่ขาดหายไป เพื่อให้ดูสมเหตุสมผล เราจึงควรยอมรับว่ามีเรื่องราวอีกมหาศาลที่เรามองไม่เห็น และไม่อาจรู้ได้ ฉะนั้น Margin of Safty และการกระจายพอร์ตจึงสำคัญ
ยกตัวอย่างเคสล่าสุด เรื่องตลาดคริปโต ในบางเหรียญที่คาดหวังกันต่างๆนา โดยหาเหตุผลมาสนับสนุนการถือเหรียญของตัวเอง ทางจิตวิทยา การหาเหตุผลต่างๆมาสนับสนุนความคิดของตัวเอง มีโอกาสที่จะทำให้เราคิดว่าเหตุการณ์นั้นมีโอกาสเกิดขึ้น เกินกว่าความเป็นจริง
บทที่ 19
ร้อยราวบทก่อนหน้านี้เข้าด้วยกัน หากลยุทธ์การลงทุนของตัวเองให้เจอ และ เผื่อพื้นที่สำหรับความผิดพลาด (Margin of Safty) เพื่อที่จะได้ยืนระยะในตลาดได้นานพอ ปล่อยให้พลังการทบต้นทำงานของมันต่อไป
บทที่ 20
การออมและการลงทุนต่างก็เพื่อเป้าหมายเดียวกัน และลดความเสียใจในอนาคตต่อตนเองและครอบครัวให้มากที่สุด
เราจึงจำเป็นต้องรู้ว่าสิ่งใดใช่สำหรับเรา
ไม่ว่าจะลงทุนแบบไหน เป้าหมายก็เพื่ออิสระภาพอยู่เสมอ และ ต้องมั่นใจได้ว่าการลงทุนของเรานั้นสามารถทำให้เรานอนหลับได้สนิทตลอดคืน
ทั้งหมดนี้ปรับใช้อย่างไรได้บ้าง?
1. ต้องฆ่าไม่ตายในทางการเงิน
อนาคตไม่มีอะไร 100% กระจายการลงทุนทั้ง หุ้นไทย หุ้นนอก ETF คริปโต Bond ทองคำ เงินสด
จัดพอร์ตให้นึกถึงหน้าลูกเมีย เพราะพลาดพลั้งมาเราไม่ได้เจ็บคนเดียว
ให้อยู่ในสภาวะที่ฆ่าไม่ตายในทางการเงิน ลบยังไงก็รอด ยืนระยะให้นาน เพื่อเราจะสามารถให้ดอกเบี้ยทบต้นทำงาน
นี่คือพลังของการทบต้น
2. ยอมรับความจริงเมื่อแผนผิดพลาด
ตัดใจขายทันที่เมื่อพื้นฐาน หรือโครงสร้างไม่แกร่งอย่างที่คิด อย่ามัวสนใจไปกับต้นทุนที่จมไปแล้ว
ช่างมัน ลุกขึ้นใหม่ และเริ่มต้นการทบต้นอีกครั้ง ที่สำคัญควรวางแผนว่า หากไม่เป็นไปตามแผน จะทำอย่างไร
3. ตระหนักถึงเกมส์การลงทุนเสมอ
หนักแน่นในแนวทาง ไม่ว่าคุณจะเป็น trader หรือ VI
เวลาเจอข่าวอะไรต้องมองให้ออกว่า fair price (ราคาที่เหมาะสม) และ ระยะเวลาในการลงทุนแตกต่างกัน ต้องไม่ถูกชักจูง โดยคนที่กลยุทธ์แตกต่างกับเรา
4. The margin of Safety
ต้องมั่นใจว่ามีเงินสดเพียงพอในแต่ละสถานการณ์ ไม่ว่าจะตลาดดิ่งแค่ไหน หรือร้ายแรงถึงขั้นพอร์ตแตก
เราต้องมั่นใจเสมอว่าเรามีเงินสดเพียงพอในการดำรงชีวิตในระยะเวลาหนึ่ง และ เพื่อไขว้คว้าโอกาสในตลาดด้วยเงินสดก้อนนี้
เขียนจบละครับ
ใครผ่าน Black Swan มามากกว่า 2 ครั้ง และอยากให้คำแนะนำรุ่นน้องอย่างผม แนะนำได้เลยครับ
น้อมรับคำแนะนำ
หวังว่าโพสนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆนักลงทุนนะครับ