ยูเครนเป็นประเทศที่ผลิตรถถังและรถหุ้มเกราะขายด้วยนะ
แล้วรถถังที่ผลิตออกมา ผลิตออกขายด้วย คือรถถัง T-84 ที่พัฒนามาจากรถถัง T-80 ของรัสเซีย
คือสมัยเป็นสหภาพโซเวียต รัสเซียตั้งโรงงานผลิตรถถังในยูเครน พอยูเครนเป็นอิสระจากรัสเซีย โรงงานก็เป็นของยูเครน
บุคลากรเก่าก็เป็นคนยูเครนเลยเอาเทคโนโลยี่นั้นมาต่อยอดผลิตรถถังได้
รถถังรุ่นนี้ถือว่าดีเลยล่ะ มีปืนใหญ่ขนาด 125 มม. พร้อมเทคโนโลยี่ช่วยการรบขั้นสูง
ดีขนาดประเทศที่ขอซื้อมีทั้ง สหรัฐ(ขอซื้อเพื่อศึกษาเทคโลโลยีของรัสเซียซื้อตั้ง 1 คัน),ปากีสถานขอซื้อ 100 คัน
และมีการขอเสนอราคาให้กองทัพประเทศ อาเซอร์ไบจาน,กรีซ,มาเลเชีย,เปรูและตรุกี
การแข่งราคากับหลายๆประเทศ แพ้ไม่ได้ขายให้กับประเทศที่ว่า กับปากีก็ยังไม่ได้ขาย
สรุปขายให้ USA ได้ 1 คัน
และขายได้ 49 คัน ให้แก่.......................
ประเทศไทยนั่นเองครับ
เป็นปัญหาอยู่ช่วงหนึ่งเลย สั่งซื้อไป 49 คัน ในราคา กว่า 200ล้านดอลล่า( 6,600 ล้านบาท)
ตีเฉลี่ยตกคันละ 134 ล้านบาท สั่งซื้อในยุคที่รัฐมนตรีกลาโหมชื่อ ประวิตร วงษ์สุวรรณ
และ ผบ.ทบ. ชื่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา
การซื้อขายครั้งนี้มีปัญหาเหมือนตอนไทยซื้อรถหุ้มเกราะจากยูเครนสมัย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา
รถหุ้มเกราะไทยซื้อ 121 คัน ราคา 5 พันล้านบาท ฉาวมากตอนรับมอบ ส่งมาทางเครื่องบินเลยสองคัน
ที่ส่งด่วนเพราะ พลเอกนนุพงษ์จะเกษียณแล้ว ส่งๆมาหน่อยจะได้ถ่ายรูป 5555+
ปัญหาหรือความไม่โปร่งใส่ในการสั่งรถหุ้มเกราะและรถถังจากยูเครน ผมไม่เจาะลึกนะ ลองไปเซิร์สหาอ่านกันเองได้
กลับมาเรืองรถถัง สรุปว่า รถถังรุ่น T-84 นี้ได้ประจำการใช้งานอยู่แค่สองประเทศคือ
ประเทศไทย 49 คัน
และยูเครน 5 คัน ไม่ได้พิมพ์ผิดครับ ยูเครนมีใช้ในประเทศแค่ 5 คัน ทั้งๆที่ผลิตเอง
ปธน.ยูเครนคนปัจจุบันเคยให้สัมภาษณ์เชิงบ่นว่า ทำไมเราผลิตเองมีแค่ 5 คัน ประเทศไทย(พูดถึงไทยเลย) มีตั้ง 49 คัน
นี่ล่ะครับ ความสัมพันธ์ทางทหารไทยกับยูเครน