ความมักเข้าใจผิดต่อ goal-line technology
พอดีว่าอ่านหลายเมนต์ในกระทู้นึง แล้วเห็นว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Goal Line Technology ว่าเป็นการใช้ชิปและเซ็นเซอร์เท่านั้น ในการพิจารณาว่าลูกบอลข้ามเส้นหรือไม่
ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นแบบนั้นครับ แต่ใช้วิธีอื่นด้วย ซึ่งความเข้าใจแบบเดิมมันไปมีผลว่าเทคโนโลยีที่ใช้ไม่มีข้อจำกัด ซึ่งไม่จริงครับ
ก็กว่าจะตอบกระทู้นั้นเสร็จ ก็เหมือนจะไม่มีคนอ่านแล้ว เลยขอยกมาเล่าอีกทีตรงนี้แล้วกัน
ก่อนอื่นนั้น เวลาพูดถึงโกลไลน์ หลายท่านจะเข้าใจว่ามันคือการฝังเซ็นเซอร์ไว้ในลูกบอลแบบนี้
ซึ่งถามว่าผิดไหม ก็ครึ่งๆครับ เพราะจริงๆแล้ว ความหมายของโกล์ไลน์กว้างๆคือ การใช้อิเล็คทรอนิคส์มาช่วยเรื่องการตัดสินว่าลูกบอลข้ามเส้นหรือไม่
ส่วนจะใช้วิธีอะไรมาตัดสินนั้น ในการทดสอบเฟสแรกของฟีฟ่าที่เริ่มปี 2011 มีข้อมูลว่าใช้ 4 วิธีครับ
อ้างอิงจาก:
- A system from Cairos Technologies, in collaboration with Adidas, based around a modified ball with an implanted chip and a magnetic field generated by thin cables behind the goal line. The system could detect if the ball passed through the field
-GoalRef: Another system based on generated magnetic fields and a sensor within the ball.
-Goalminder: A system based on cameras installed in the goal frame. This provided a visual playback to officials rather than an automatic goal-or-no-goal alert.
-Hawk-Eye: A Sony-owned system based on multiple high-speed cameras whose images are used to triangulate the position of the ball.[32] Hawk-Eye systems were, and still are, used in several other sports for supporting officiating decisions.
สรุปคร่าวๆคือ
1.Cairos Technologies+ Adidas ใช้การดัดแปลงฝังชิพลงไปในลูกบอล แบบรูปข้างบน และใช้กับตัวเจเนอเรทสนามแม่เหล็กที่ฝังไว้หลังเส้นประตู วิธีนี้จะ detect เมื่อบอลข้ามเส้น
2.GoalRef จากบริษัทเยอรมันเหมือน Cairos ด้วยหลักการเท่าที่อ่านก็ใกล้เคียงกับ 1 ครับ คือ ใช้ชิพในลูกบอลกับ สนามแม่เหล็กเหมือนกัน
สองวิธีนี้ใช้ชิพในลูกบอลนะครับ
3.Goalminder ใช้กล้องจับภาพ แต่เน้นไปที่การแสดงผลเป็นภาพมากกว่าแจ้งการเตือนไปที่ผู้ตัดสิน
4.Hawk-Eye หลายคนคงคุ้นกันดีอยู่แล้วนะครับจากความแพร่หลายใช้ในกีฬ่หลายประเภท คือใช้กล้องความเร็วสูงจับภาพจากหลายมุม เพื่อระบุตำแหน่งของลูกฟุตบอล
สองวิธีนี้ใช้กล้องครับ
ทีนี้พอปี 2012 ฟีีฟ่าประกาศว่ามีเพียง 2 ระบบที่ได้ไปต่อครับ คือ GoalRef กับ Hawk-Eye
[นอกเรื่องนิด ผมเชื่อว่าที่ Cairos+Adidas ไม่ได้ไปต่อ แต่ GoalRef ซึ่งคล้ายๆกันได้ไปต่อนั้น อาจเป็นเพราะ Fifa ไม่อยากใช้เทคโนโลยีที่ผูกกับ Adidas ซึ่งอาจมีผลต่อเรื่องอื่นๆเช่น ลูกฟุตบอลที่ใช้ในบอลโลกครั้งต่อๆไป
สาเหตุอีกอย่างคือ มันถูกทดสอบใน Jabulani ซึ่งไม่ได้สร้างความประทับใจให้ใครเลย ก็เลยอาจจะล้มเหลวไปเพราะเหตุนั้น
อันนี้อ่านเจอจาก บล็อก
https://medium.com/the-digital-sports-blog/technology-in-sport-834b017e20d5 รู้สึกเห็นด้วยกับเขาเหมือนกัน]
GoalRef ใช้ในแมตช์ทางการครั้งแรกในนัดเปิดสนามฟุตบอลสโมสรโลก ธันวาคม 2012
ส่วน Hawk-Eye ใช้มาก่อนหน้านั้นแล้วในฟุตบอลชิงถ้วยท้องถิ่นของสโมสรในอังกฤษ ช่วงกลางปี 2012 ในสนามเซนต์แมรี่
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ระบบนี้ ก็ได้ใช้ควบคู่กันไปในฟุตบอลสโมสรโลก 2012 ครับ
อ้างอิงจาก:
Hawk-Eye technology was employed at Toyota Stadium, while GoalRef was used at International Stadium Yokohama
ต่อมาก็มีระบบ GoalControl เพิ่มเข้ามาที่ตั้งใจจะทดลองใช้ ในฟุตบอลโลก 2014 ซึ่งก็เป็น Camera-based เหมือนกับ Hawk-Eye
ขอข้ามมาที่บทสรุปเลย ในปัจจุบัน โกลไลน์ที่ฟีฟ่ารับรอง ใช้วิธีการตัดสินลูกบอลว่าข้ามเส้นหรือไม่บนฐานเทคโนโลยี 2 อย่างครับ
1.Camera-based ประกอบด้วย GoalControl และ Hawk-Eye
2.Magnetic fields คือ GoalRef
https://football-technology.fifa.com/en/media-tiles/fifa-quality-programme-for-goal-line-technology/
อย่างที่บางท่านทราบกันแล้ว ข้อบกพร่องของ Camera-based คือ ในบางกรณีจริงอย่างเช่นที่เชฟยูไนเต็ด ไม่ได้ประตูเมื่อเจอกับแอสตันวิลล่า กล้องที่มีของ Hawk-Eye นั้นถูกบดบังจากร่างกายของผู้เล่น และเสาประตู
ส่วนลีคฝรั่งเศสเอง ก็เลิกใช้ GoalControl ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ 2015 เพราะมีข้อผิดพลาด เปลี่ยนมาเป็น Hawk-Eye ในปี 2018
สรุปคือ Hawk-Eye เป็นเทคโนโลยีหลักที่ลีคต่างๆเลือกใช้สำหรับ Goal line และมันเป็น Camera-based ซึ่งมีข้อจำกัดสำคัญคือเรื่องมุมกล้อง กรณีเชฟยู-แอสตันวิลล่า ทางบริษัทยอมรับว่าเป็นเคสที่แบบ 1 ใน 9000
เท่าที่อ่านๆมาผมเข้าใจว่า เพราะGoal-Line โดย Hawk-Eye มันถูกกว่า และมัน practical กว่า GoalRef ในหลายๆแง่ครับ ทั้งไม่ต้องไปดัดแปลงฝังตัว macnetic generated และฝังชิพในลูกฟุตบอล ซึ่งอาจเกี่ยวพันกับเรื่องลิขสิทธิ์และผลประโยชน์ที่แต่ละลีคก็ดีลได้ต่างกันไปในแต่ละปี
เท่าที่ผมหาข้อมูลมายังไม่เจอว่าลีคไหน ใช้ GoalRef เลย อาจจะเคยใช้จริงในรายการแข่งขันของฟีีฟ่าเอง และเป็นในช่วงแนะนำเทคโนโลยีด้วยซ้ำ ซึ่งบริษัทอาจจะลงทุนให้เอง
แต่ลีคต่างๆ หากจะใช้ต้องซื้อครับ ซึ่งพอแพงกว่า Hawk-Eye แล้วลีคก็เลยไม่เลือก แม้กระทั่งลีคเศรษฐีอย่าง EPL ยังเลือกแค่ Hawk-Eye เองครับ
สรุปของสรุป เวลาพูดถึง โกล์ไลน์ แล้วบอกว่าเป็นชิปและเซ็นเซอร์ไม่ผิดครับ เพราะ โดยทางเทคนิคมันได้รับการรับรองและเคยใช้จริงๆ
เพียงแต่ โกล์ไลน์ ที่เราได้เห็นกันจริงๆในลีคทุกวันนี้ ใช้กล้องถ่ายภาพความไวสูงหลายมุม ถ่ายเอาครับ ไม่ใช่ชิปและระบบเซ็นเซอร์ ซึ่งก็มีข้อจำกัดของมันอยู่แล้วเรื่องมุมกล้องที่หากบังเอิญจริงๆก็อาจถ่ายบางมุมไม่ได้ขึ้นมา
ข้อมูลเกือบทั้งหมด อ่านได้จากวิกิครับ