[RE: ถามทุกอาชีพ คุณมองเห็นอนาคตประเทศไหม]
markmadrid พิมพ์ว่า:
เห็นอนาคตประเทศไหม ?
เห็นครับ แต่ไม่รู้ว่าจะได้อยู่ทันดูวันนั้นไหม ผมอายุก็มาไกลจะครึ่งทางของชีวิตแล้ว แต่ผมคิดว่า ช่องทางการกระจายความรู้ที่เข้าถึงมากขึ้นและจะลดความเชื่อทั้งหลายไปได้ในไม่ช้า และเห็นเด็กรุ่นใหม่แล้ว ผมว่า อนาคตจะต่างจากรุ่นเราอย่างสิ้นเชิง
"เห็นคนจบใหม่ที่บ้านไม่รวย ได้แค่ทำงานยังชีพไป"
ผมว่าอันนี้ไม่ตรงประเด็นเท่าไหร่ เศรษฐกิจส่วนนึง แต่ไม่ว่าจะดียังไง ประเทศเจริญแค่ไหน ก็มีคนที่ได้แค่ทำงานยังชีพไปวันๆจำนวนมากอยู่ดี ผมว่ามันอยู่ที่ทัศนคติและความมุ่งมั่นที่จะมีชีวิตที่ดีของคนมากกว่า ฉะนั้นตรงนี้น่าจะต้องเริ่มปรับให้ตัวเองเป็นคนที่พัฒนาตลอดเวลานะ ไม่จมอยู่ที่เดิม หรือรอแต่โอกาสจากคนอื่น
"จะปรับตัวอย่างไร"
ก็ต้องปรับไปตามสถานการ์ณทุกอย่าง พร้อมกับพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาแหละครับ เห็นได้ชัดไม่ช้าก็เร็ว เราก็ต้องหมุนตามโลกอยู่ดี วันนี้เมื่อรู้ว่ายังไงก็ต้องเกิด เปิดใจรับและเตรียมพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไว้เสมอน่าจะดีกว่า
เรื่องอาชีพ ผมว่าเขาพูดถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งถูกแล้วที่ต้องโทษรัฐบาล ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์จะไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้
อย่างที่คุณบอกเอง
''ก็ต้องปรับไปตามสถานการ์ณทุกอย่าง พร้อมกับพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาแหละครับ เห็นได้ชัดไม่ช้าก็เร็ว เราก็ต้องหมุนตามโลกอยู่ดี'' แต่จริงๆไม่ใช่แค่คน ประเทศก็เช่นกัน ต้องพัฒนาตัวเองต้องตามโลกให้ทันอยู่เสมอ ดังนั้นถ้าโครงสร้างทางเศรษฐกิจมันล้าหลังไม่ทันโลก จะไปบอกให้ประชาชนพัฒนาตัวเอง อย่าเอาแต่รอโอกาสได้อย่างไร
ยกตัวอย่างเรื่องค้าปลีกแล้วกัน ปัจจุบันค้าปลีกออนไลน์เกินครึ่งเป็นสินค้าจีน สินค้าบางประเภทนำเข้า 90% เลยด้วยซ้ำ เพราะบริษัทไทยไม่สามารถแข่งขันได้จากโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่นโครงสร้างภาษี ค่าแรง นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน สั่งของจากจีนแต่ค่าส่งยังถูกกว่าสั่งจากไทย ที่มันถูกเพราะรัฐบาลเขาช่วยสมทบ เขาวาง logistic มาดีทั้งระบบ คนไทยอยากทำแบบนั้นบ้างทำกันเองได้ไหม คงไม่ได้
แถมรัฐบาลยังเปิด eec ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์ จะทำให้สินค้าจีนปลอดภาษีทันที คนไทยยิ่งไม่ต้องหวังจะสู้ กลายเป็นคนไทยทำออกมาขายเสียภาษี สินค้าจีนไม่ต้องเสีย แค่เริ่มก็เสียเปรียบแล้วทั้งๆที่แข่งในประเทศตัวเอง คนธรรมดาดิ้นรนเปลี่ยนแปลงได้ไหมเรื่องแบบนี้
จริงๆยังมีอีกเยอะ ระบบการศึกษาที่ไม่สามารถุป้อนแรงงานที่ตรงกับความต้องการของโลกเข้ามาได้ แล้วแรงงานที่ตรงกับความต้องการโลกคือกลุ่มไหน จะป้อนอย่างไร ต้องให้ประชาชนดิ้นรนหาคำตอบกันเองไหม คงไม่ใช่ 10-20 ปีก่อนเป็นประเทศส่งออกยาง ปัจจุบันก็ยังส่งออกแต่ยาง ทักษะแรงงานใช้ทักษะเดิมมา 10-20 ปี แล้วคิดว่าจะใช้ไปได้อีก 10-20 ปีไหม หรือต้องให้ประชาชนหาคำตอบเอง พัฒนาตัวเองกันต่อไป แต่ต่อให้ประชาชนหาคำตอบเองได้ ตัดสินใจเองได้ ก็ต้องอาศัยโครงสร้างด้านการศึกษาไปตอบโจทย์เขาอยู่ดี มีสาขาที่เขาอยากเรียนไหม มีความเชี่ยวชาญพอจะฝึกให้เขาไปแข่งขันในตลาดได้หรือไม่ สุดท้ายก็วนกลับมาที่รัฐ
แรงสนับสนุน starup ใหม่ๆก็แทบไม่มี คนไทยอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแอปใหญ่อย่าง grab, gojek ก็เกิดขึ้นได้เพราะกองทุน sandbox คอยอุ้มในช่วงแรกๆ
เวียดนามคิดค้นข้าวสายพันธุ์ใหม่จนส่งออกสู้ไทยได้ จีนเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวไปดัดแปลงให้ปลูกในประเทศตัวเองได้ ตรงนี้คนไทยที่พัฒนาตัวเองอยู่เสมอทำเองได้ไหม คงไม่ได้อีกเหมือนกัน แบรนด์จีนทั้งหลายที่ตีตลาดโลก คิดว่าเกิดจากคนจีนพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ไม่จมปลักอยู่ที่เดิมไหม รัฐบาลหนุนทั้งนั้นแหละ หัวเหว่ย ไป่ตู้ อาลีบาบา รัฐบาลคอยซัพพอร์ตตั้งแต่ตั้งไข่ทั้งนั้น
''ประเทศเจริญแค่ไหน ก็มีคนที่ได้แค่ทำงานยังชีพไปวันๆจำนวนมากอยู่ดี'' ประโยคนี้ถูกครับ ดังนั้นที่ต้องตั้งคำถามคือ แล้วประเทศเหล่านั้นเขาเจริญขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งๆที่มีคนกลุ่มนี้เยอะ และคำตอบคงไม่ใช่เพราะประชาชนพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ไม่จมอยู่ที่เดิมไม่รอโอกาสจากคนอื่นแน่ๆ เพราะมันจะไปขัดแย้งกับประโยคต้นของตัวเอง