ผมเห็นประเด็นนี้ในโลกโซเชียลมาหลายเดือนละ
แต่ไม่มีเวลานำมาเขียน เพราะงานยุ่งบวกกับต้องคอยเลี้ยงลูกน้อยทั้ง 2 คน
วันนี้มีเวลา เลยอยากมาสรุปให้ฟัง
ในฐานะที่ผมเป็นคนที่ชอบศึกษาพระไตรปิฏกคนหนึ่ง
พร้อมกับหมั่นรักษาศีล ปฏิบัติธรรมไปด้วย
และก็ยังใช้เวลาว่างไปกับการเล่นเกม ดูหนังเหมือนคนทั่วๆไป
จะขอนำความรู้ที่มีมาอธิบายให้ท่านๆฟัง
ประเด็นในโซเชียลคือ มีพระ 2 รูป ดังที่อยู่ในคลิป
ให้ความเห็นเรื่องนี้ไว้ต่างกัน คือ
รูปที่ 1 พระศักดา: "การฆ่าคนเป็นเศษส่วนของบาป"
รูปที่ 2 พระมหาไพรวัลย์: "เศษส่วนของบาปต้องอธิบายให้ชัดว่าหมายถึงอะไร ถ้าหมายถึงการกระทำบาป การฆ่าดังกล่าว มันไม่เป็นปาณาติบาต (ผิดศีลข้อ 1) เพราะไม่ครบองค์ประกอบในเรื่องที่ไม่เป็นสิ่งมีชีวิตจึงไม่บาป"
ความเห็นของผม:
"ในบริบทของการฆ่าคนในเกมนั้นไม่เป็นบาปกรรม
แต่ในบริบททั่วๆไปของการเล่นเกม มีการเกิดขึ้นของอกุศลธรรมเป็นธรรมดา
ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติทั่วไปของปุถุชนผู้ไม่ตามรักษาจิต
ต่อให้ไม่เล่นเกมส์ เช่น ดูหนัง ดูข่าว หรือแม้กระทั่งการพูดคุย
การทำการงาน อกุศลจิตย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา"
ที่ผมสรุปตามข้างบนนั้น
จะขออธิบายขยายความให้ละเอียดดังนี้
(1) อยู่ที่ความเข้าใจ สำหรับคนที่เข้าใจในเกมถูกต้อง
ในบริบทของการฆ่าคนในเกมนั้นไม่เป็นบาปกรรม
โดยวัดจาก อกุศลกรรมบท 10 เป็นหลัก
https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=321
เพราะในเกมส์ไม่มีชีวิต ไม่มีผัสสะเวทนาไปเกิดกับผู้ถูกกระทำ
ศีลข้อที่ 1 จึงไม่ครบองค์ประกอบ (สัตว์ต้องมีชีวิต)
ศีลข้อที่ 9 พยาบาทปองร้าย ถ้าเกมเป็นแบบ offline เล่นคนเดียว
ข้อนี้ไม่เกิดขึ้น เพราะปองร้ายนั้นต้องเป็นบุคคล ไม่ใช่สิ่งของหรือ AI ในเกม
(ถ้าสิ่งของ นับเป็นโทสะ)
สภาวะจิตขณะเล่นสำคัญ โดยปกติ คนที่เข้าใจเกม
(หรือมองว่าในวัยที่บรรลุนิติภาวะ แยกแยะชั่วดีได้บ้างแล้ว)
จะเข้าใจได้ว่า เกม คือ เกม ตัวละคร คือ ตัวละคร
การฆ่าในเกม คือ การสมมติ ไม่ใช่การฆ่าจริงๆ
เพราะโหลดเซฟหรือเล่นครั้งใหม่ มันก็กลับมาให้เห็น
ในขณะที่ฆ่า จิตจึงมักไปคิดเรื่องอื่นเช่น ไอเทมที่จะได้
เควสที่จะต้องผ่านตามเงื่อนใข หรือเสพเนื้อเรื่องแทน
หรือมีความมันส์ระหว่างเล่น
มักจะเกิดเป็นกามฉันทะซึ่งมัดรวมในโลภะมูลจิต
(เป็นอกุศลธรรม ไม่ใช่การเจตนาทำบาป)
ซึ่งการสรุปว่า "จิตเศร้าหมองแน่นอนในขณะฆ่าในเกม"
ของพระรูปที่ 1 นั้น มองว่าไม่ถูกต้องทั้งหมด
ในทางพระอภิธรรม โลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนานั้นมีอยู่
และด้วยความที่ผู้เล่นไม่สนใจกับบริบทการฆ่า มุ่งสนใจอย่างอื่น
ที่เป็น Reward หรือผลลัพธ์แทน อีกทั้งกรรมคือการฆ่าในเกม
ไม่ได้ทำให้เกิดผัสสะเวทนาต่อสัตว์ใดๆ ไม่ได้เบียดเบียนสัตว์ใด
เพราะมองว่ามันคือการสมมติอยู่แล้ว ความเศร้าหมองในบริบทนั้น
จึงไม่เกิด
(2) แต่ในบริบททั่วๆไปของการเล่นเกม มีการเกิดขึ้นของอกุศลธรรมเป็นธรรมดา
อธิบายว่าขณะเล่นเกมแล้วไม่เป็นดังหวัง หัวร้อน หรือดีใจเสียใจ เศร้ากับเนื้อเรื่อง
สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้ และเป็นธรรมดาของการเสพการละเล่น หรือดูละคร
หรือดูข่าว หรือสนทนาปราศัยกัน มีอารมณ์เกิดขึ้นจากรูปภายนอกมากระทบเป็นธรรมดา
สิ่งเหล่านี้หนีไม่พ้นการเกิด"อกุศลธรรม"
ถ้าเล่นแล้วจบ ก็ไม่มีปัญหา ในระดับของฆาราวาสไม่ได้ผิดศีลเบียดเบียนใคร
แต่ถ้าเล่นแล้วนำมาเบียดเบียนคนอื่นเช่น ตะโกนด่า สาปแช่ง หรือหลอกเอาของผู้อื่น
ขโมยเงินพ่อแม่มาเล่น อันนั้นผิดแน่ๆ เป็นบาปกรรม เป็นการประพฤติทุจริต
ในทางกลับกัน อาจจะมีคนแย้งว่า
เวลาฆ่ามันต้องรู้สึกผิดลึกๆเป็นธรรมดาสิ
นี่แหละเศร้าหมอง อันนี้อธิบายกลับว่า หากเข้าใจอย่างนี้จริงๆ
คือผิดที่ความคิดเราเองนั่นแหละ เพราะหากเราเข้าใจว่า AI ที่ไม่มีชีวิต
ที่เกิดจากเงื่อนใขของคนทำเกม เข้าใจว่าเป็นสิ่งมีชีวิตซะอย่างนั้น และการฆ่า
(โดยสมมติ)ในเกม ที่พอเปิดมาใหม่ มันก็กลับมาเดินเล่นในเกมได้
ซึ่งการเข้าใจว่าเป็นการฆ่าที่เป็นการเบียดเบียนชีวิตจริงๆ
ถือเป็น "โมหะ" ความเข้าใจผิด หลงผิดอีกแบบหนึ่ง ซึ่งถ้าเข้าใจอย่างนี้
แสดงว่าคุณไม่ควรเล่นเกมแล้ว ไม่อย่างนั้นจะมีโมหะเกิดขึ้นแบบนี้เรื่อยๆไป
ส่งผลเสียเป็นอย่างมาก
อ่านมาถึงตรงนี้ กลัวจะงงระหว่างคำว่า "บาปกรรม" กับ "อกุศลธรรม (ที่ยังไม่สำเร็จเป็นกรรมบท, จะขอเรียกสั้นๆว่า อกุศลธรรมละกันครับ)"
ขออธิบายเพื่อความกระจ่าง:
Spoil
กรรม คือ เจตนา
บาปกรรม (อกุศลกรรม) การเจตนาประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ = อกุศลกรรมบท 10, ผิดศีล 5
(ผิดศีล + มิจฉาทิฎฐิ, เป็นเจตนาเพื่อการเบียดเบียน เพื่อความเดือดร้อน)
อกุศลธรรม (ที่นอกเหนือจากบาปกรรมข้างบน บางครั้งเรียก บาปอกุศล หรือพวก อกุศลจิต และ อกุศลเจตสิก) เช่น โลภะ โทสะ โมหะ มูลจิต ความพอใจในกาม ความหดหู่ ลังเลสงสัย ความฟุ้งซ่าน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต
ถ้าพูดว่า"บาป"เฉยๆ เรามักจะชินกับการหมายถึง"บาปกรรม" มากกว่าการหมายถึง"อกุศลธรรม"
คือจะเป็นการกระทำเจตนาในการทุจริตทั้งทางกาย วาจา ใจ
(ข้อนี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนดราม่า เมื่อได้ยินพระรูปที่ 1 บอกว่ามีส่วนของบาป
แต่ในความเข้าใจผม ท่านอาจจะหมายถึง"อกุศลธรรม" มากกว่า)
ผมจะยกตัวอย่าง ถีนมิทธะ (ความหดหู่เซื่องซึม) เป็นอกุศลธรรมอย่างหนึ่ง
คงจะฟังดูแปลกๆ ถ้ามีคนมาบอกว่า หดหู่ = เป็นบาป ทั้งที่ยังไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้ใคร
ยกตัวอย่างเพิ่มเติม
จิตมี"อกุศลธรรม"คือกามฉันทะ คิดจะเสพกามคือร่วมประเวณี
ถ้าร่วมประเวณีกับภริยาตนเอง = ไม่ผิดศีล ไม่เป็นบาปกรรม ไม่มีโทษ
ถ้าร่วมประเวณีกับภริยาคนอื่นหรือหญิงมีเจ้าของ = ผิดศีล เป็นบาปกรรม มีโทษ
ความต่างของการเกิดขึ้นของ บาปกรรม กับ อกุศลธรรม(อกุศลจิต/เจตสิก)
Spoil
คือ
อกุศลจิต/เจตสิก เกิดตามเหตุปัจจัยโดยมี อวิชชา เป็นรากเหง้า เช่นความพอใจในกาม เราทั้งหลายไม่ได้มีเจตนาจะพอใจในกามมันหรอก แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามรากเหง้าของอกุศลตามเหตุปัจจัยของมัน
หรือ ความหดหู่เซื่องซึมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยมากระทบ ไม่มีใครอยู่ๆอยากจะหดหู่เล่นๆ
บาปกรรม เกิดจากอกุศลธรรมข้างบนพ่วงเข้ากับเจตนาชั่วร้ายอันมาจากความไม่มีหิริโอตตัปปะ ขาดสติ ขาดปัญญา เป็นต้น
ความต่างของการให้ผลของ บาปกรรม กับ อกุศลจิต/เจตสิก
Spoil
บาปกรรม นำไปสู่อบายภูมิ ทุคติ วินิบาต นรก
อกุศลจิต/เจตสิก เป็นเชื้อร้ายที่คอยดึงให้เราไปทำบาปกรรมอีกที และคอยดึงให้เราเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆแบบนี้
ด้วยเหตุนี้ ศีลจึงสำคัญมาก มาก่อนการภาวนา
เป็นสิ่งที่พระศาสดาให้ความสำคัญก่อนการประพฤติพรหมจรรย์
เพราะถ้าต้องถูกจองจำในอบายภูมิแล้วย่อมไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์
เปรียบเหมือนบุคคลแสวงหาทรัพย์ แต่ดันทำผิดกฏหมาย ถูกจับขังคุก
การแสวงหาทรัพย์ก็ไม่อาจทำได้ ฉันนั้น
อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
อ้างอิงจาก:
พระพุทธพจน์ที่ว่า "เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้"
แต่การไปทุคติภูมินั้น มาจากเหตุปัจจัยคือ อกุศลกรรม ที่ได้ทำไว้แล้วนั่นเอง
อ้างอิงจากอรรถกถาได้ว่า สภาวะจิตก่อนตายจะมี"กรรมนิมิต"เกิดขึ้น
เช่น เคยทำอะไรไว้ กรรมนั้นจะมาปรากฎให้เห็น
อ้างอิงจาก:
ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ
ว่าโดยสังเขป อารมณ์ของปฏิสนธิจิต มี ๓ คือ
- กรรม
- กรรมนิมิต
- คตินิมิต.
บรรดาอารมณ์ทั้ง ๓ เหล่านั้น เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำแล้ว ชื่อว่ากรรม.
กรรมย่อมประกอบวัตถุใดทำให้เป็นอารมณ์ วัตถุนั้นชื่อว่ากรรมนิมิต ในกรรมและกรรมนิมิตนั้น
เมื่อกรรมที่สัตว์ทำไว้ในอดีต แม้ในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัป กรรมนั้นย่อมมาปรากฏเป็นกรรม
หรือกรรมนิมิตในขณะนั้น.ในข้อนั้น มีเรื่องเทียบเคียงของกรรมนิมิต ดังต่อไปนี้.
เรื่องนายโคปกสีวลี
ได้ยินว่า บุรุษชื่อนายโคปกสีวลี ยังบุคคลให้สร้างพระเจดีย์ในวิหาร ชื่อว่าตาลปิฏฐิกะ
เมื่อเขานอนในเตียงจะมรณะ พระเจดีย์ปรากฏแล้ว เขาถือเอาเจดีย์นั้นนั่นแหละเป็นนิมิต
ทำกาละแล้วไปบังเกิดในเทวโลก.
เรื่องการตายของผู้ลุ่มหลง
ยังมีความตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสัมมุฬหกาลกิริยา (การทำกาละของผู้ลุ่มหลง)
จริงอยู่ เมื่อบุคคลมุ่งเดินไปข้างหน้า บุคคลเอาดาบอันคมกล้าตัดศีรษะข้างหลังก็ดี
เมื่อบุคคลนอนหลับถูกบุคคลเอาดาบคมกล้าตัดศีรษะก็ดี ถูกบุคคลกดให้จมน้ำตายก็ดี
ในกาลแม้เห็นปานนี้ กรรมหรือว่ากรรมนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ย่อมปรากฏ.
อรรถกถา วิภังคปกรณ์
ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35.0&i=255&p=2
สรุปตอนเล่นเกมก็มีอกุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
แล้วผิดมากไหม มันน่ากลัวขนาดไหน?
อธิบายว่า สำหรับฆาราวาสทั่วไป ให้ยึด ศีล 5 หรือ กุศลกรรมบท 10 ไว้เป็นหลัก
ซึ่งการเล่นเกมหรือการดูการละเล่นก็ไม่ได้ผิดอะไร ในชีวิตประจำวัน การทำงาน
พบปะผู้คนย่อมต้องเจออกุศลธรรมในจิตขึ้นเป็นธรรมดา แต่ศีลเป็นเกราะ
เป็นปราการด่านสุดท้ายที่สำคัญไม่ให้นำไปสู่ความผิด ความเป็นหนี้
มองในแง่นี้ การเล่นเกมด้วยความเข้าใจคือ การผ่อนคลาย
ไม่ต่างจากการดูหนังฟังเพลง เสพการละเล่น ย่อมมี โลภะ โทสะ โมหะ
เกิดขึ้นบ้าง เป็นธรรมดา ตามเหตุปัจจัยของมัน
ย่อมไม่ผิด ไม่มีปัญหาสำหรับปุถุชนที่เป็นฆาราวาส
เพราะผลของอกุศลธรรมที่ยังไม่สำเร็จเป็นกรรมบทนั้นมีน้อย
เมื่อเทียบกับผลของกรรมบท
(อาจมีคนแย้งว่า แล้วพุทธพจน์ที่ว่า "จิตที่ตั้งไว้ผิดนั้น ย่อมทำร้ายเรา
ได้มากกว่าโจรที่ทำร้ายเรา" หละ อันนั้นถูกต้องแล้วครับ จิตที่ตั้งไว้ผิด
เช่น มิจฉาทฎฐิ นั้น ย่อมส่งผลให้บุคคลกระทำชั่วได้ในที่สุด
เมื่อทำผิดย่อมไปสู่อบายภูมิ นั่นคือการทำร้ายเราทางอ้อมนั่นเอง)
สรุป สำหรับฆาราวาสเราๆแล้ว ให้คิดว่าการเล่นเกม
ก็เป็นการละเล่นสันทนาการทั่วไปเหมือนอื่นๆ
ที่ย่อมมีจิตอันเป็นอกุศลเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา
แต่อย่างไรก็ตาม การเล่นเกมส์เพื่อผ่อนคลายนั้น
ดีกว่าการไปเบียดเบียนทำทุจริตทางกาย วาจา ใจ กับผู้อื่น
สำคัญคือ ต้องเข้าใจเกม ต้องรู้อารมณ์ตนเอง อาจมองเป็นเกมๆไป
หากเล่นแล้วเกิดหัวร้อน หรืออยากทำชั่ว ก็ควรเลิกเล่นเกมนั้น
สำหรับฆาราวาสแล้ว การวิตกกังวลกับเรื่องเหล่านี้
จนนำไปสู่ความลังเลสงสัย ลืมใส่ใจเรื่อง ทาน ศีลและภาวนา
อันนี้ถือเป็นการเสียประโยชน์มากกว่าได้ประโยชน์
เพราะมาวิตกในสิ่งเหล่านี้ แทนที่จะวิตกเรื่องการผิดศีล
หรือการประพฤติการเบียดเบียนผู้อื่นแทน
(แต่สำหรับคนที่ถือ ศีล 8 เล่นเกมก็ผิดศีลข้อ 7 นะครับ เล่นไม่ได้
เพราะเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ศีลของพระเณรยิ่งไม่ต้องพูดถึง)
เพราะสิ่งที่เป็น High Priority คือ ศีล หลายคนยังทำได้ไม่หมด
แต่ไม่ใช่ว่าผมไม่เห็นด้วยที่จะกำจัด อกุศลธรรมพวกนี้ เพียงแต่
อุบายในการกำจัดอกุศลธรรมนั้น มีขั้นมีตอนของการปฎิบัติชัดเจน
อันพระศาสดาทรงตรัสไว้ดีแล้ว เช่น สติปัฎฐาน 4
ให้เราๆ ฆาราวาสทำตามสเตป ทาน ศีล ภาวนาได้เลย โดยเฉพาะศีล
สำคัญมาก เป็นสิ่งที่ทำแล้วเป็นไปเพื่อการไม่สั่งสมกิเลสด้วย
ดังพุทธพจน์ข้างล่าง
อ้างอิงจาก:
ปล. ทุกวันนี้ผมก็เล่นเกมบ้างตามโอกาส
แต่ก็ไม่ได้คิดว่าเกมจะมาบงการให้ผมไปทำชั่วนั่นนี่ได้
เพราะผมเข้าใจดีว่ามันคือเกม มันคือเงื่อนใขสมมติที่คนสร้างมา
เล่นให้ผ่อนคลาย แบ่งเวลาให้เหมาะสม
ว่างๆ ผมก็ปฎิบัติธรรม ให้ทาน รักษาศีล เจริญกายคตาสติ
ตามปกติครับ ใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท เป็นผู้ให้
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ท่านใดมีความคิดเห็นอย่างไร แชร์ได้ครับ