Political spectrum/Political compass
ต่อเนื่องจากกระทู้ก่อนหน้านี้
http://www.soccersuck.com/boards/topic/1897400 ที่มีการพูดถึง political spectrum หลายคนยังเข้าใจผิดกันอยู่ ผมเลยอยากจะตั้งกระทู้ใหม่เพื่ออธิบาย
เริ่มจากนิยามของ ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา ในสมัยก่อน การแบ่งฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวาทางการเมืองเริ่มมาจากการประชุมสภาฝรั่งเศษในปี 1789 โดยฝ่ายที่สนับสนุนกษัตริย์และองค์กรคาทอลิกจะนั้งฝั่งขวาของประธานสภา ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนการปฏิวัติจะนั้งฝั่งซ้ายของประธานสภา โดย Baron de Gauville อธิบายไว้ว่า "การแบ่งฝั่งที่นั่ง เริ่มมาจากฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์พยายามหลีกเลี่ยงการตะโกนและความวุ่นวายของฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติ"
นั้นคือในยุคสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งจะสอดคล้องใกล้เคียงกับบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน ที่เรานิยามให้ฝ่ายขวาคือฝ่ายที่สนับสนุนการมีอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพ ส่วนฝ่ายซ้ายคือกลุ่มที่ต้องการให้เกิดการปฏิวัติขึ้น
ต่อมาอย่างที่รู้กันว่าหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส คลื่นการล่มสลายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กระจายไปทั่วยุโรป จนตามมาด้วยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 พอเข้าสู่ยุคสมัยสงครามเย็น นิยามของฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวาก็เปลี่ยนไป โดยเน้นไปที่ความแตกต่างของเศรษฐกิจคือ ระบอบทุนนิยมอยู่ด้านขวาของแกน และระบอบสังคมนิยมอยู่ด้านซ้ายของแกน โดยฝั่งสังคมนิยมในตอนนั้นถูกแทนภาพด้วยอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ซึ่งปกครองด้วยระบอบเผด็จการ แต่ฝั่งทุนนิยมเสรีก็ไม่ได้หมายถึงระบอบประชาธิปไตย นั้นเป็นเหตุผลที่อเมริกาในสมัยสงครามเย็นสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการในหลายประเทศ (รวมถึงประเทศไทย) ที่สมาทานลัทธิทุนนิยม
(ยังไม่นับ paradoxically ที่อเมริกาไปจับมือเหมาที่เป็นคอมมิวนิสต์จีนเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์รัสเซีย)
ขวาทุนนิยม ซ้ายคอมมิวนิสต์ คือนิยามฝ่ายการเมืองไทยในยุคสงครามเย็น (2490-2520) ซึ่งจะเห็นได้ว่า spectrum ของการเมืองไทยจนถึงปัจจุบันนั้นย้อนหลังกลับเมื่อเทียบกับยุโรป ในการเมืองของฝั่งตะวันตกนั้นเวลาพูดเรื่อง right-wing หรือ left-wing มักจะหมายถึงความแตกต่างด้านแนวคิดทางเศรษฐกิจมากกว่า เพราะพูดอยู่บนพื้นฐานระบอบการปกครองเดียวกันคือเสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งอยู่จุดกึ่งกลางของแกน ในขณะที่การพูดถึงประเด็นอำนาจของรัฐนั้นมักจะไม่ได้แทนด้วยซ้ายหรือขวา
แต่ถ้าพูดถึงภาพรวมของระบอบการเมือง-เศรษกิจ ปัจจุบันการแบ่งจะไม่ได้แบ่งแค่แกนซ้าย-ขวาแบบ spectrum เพื่ออธิบายความหลากหลายทางอุดมการณ์ จะแบ่งเป็นแบบ compass (เข็มทิศ) ที่มี 2 แกน คือแกนเศรษฐกิจในแนวนอนและแกนอำนาจปกครองในแนวตั้ง
โดยด้ายซ้ายสุด - จะหมายถึงระบอบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสุดขั้ว (social economy) ที่ทรัพยากรทุกอย่างเป็นของรัฐและรัฐมีหน้าที่แจกจ่ายให้ประชาชนโดยเท่ากัน รัฐเป็นผู้กำหนดและดำเนินการทางเศรษฐกิจทั้งหมด
ขวาสุด - คือระบอบทุนนิยมตลาดเสรี (free market) ที่อนุญาตให้บุคคลและเอกชนสามารถดำเนินธุรกิจและการใช้และครอบครองทรัพยากรได้อย่างเสรี โดยไม่มีกำแพงด้านภาษีหรือการแทรกแซงโดยรัฐ
ด้านบนสุด - คืออำนาจรวมศูนย์ (authoritarian/fascism) ที่อำนาจในการปกครอง การควบคุมกองกำลัง การออกกฏหมาย การบังคับใช้กฏหมาย การบริหารประเทศ ถูกรวบรวมไว้ที่กลุ่มบุคคลหรือบุคคลใดเพียงหนึ่งเดียว
ด้านล่างสุด - คือ Anarchism ที่ปฏิเสธอำนาจรัฐทุกรูปแบบ โดยให้ความสำคัญกับสิทธิในการกระทำการหรือสร้างข้อตกลง ค่านิยม หรือวัฒนธรรมใดๆ โดยเสรีจากกฏข้อบังคับของรัฐ
ยกตัวอย่างจากในรูปจะเห็นชื่อ Stalin, Gandhi, Hitler ที่น่าคุ้นกันอยู่แล้ว กับที่อาจจะไม่คุ้นกันอย่าง Thatcher และ Friedman ซึ่งถูกวางลงไปในตำแหน่งต่างๆ ใน political compass
เริ่มจากชื่อที่คุ้นๆ กันก่อน จากฝั่งซ้าย Stalin ผู้นำของสหภาพโซเวียต อย่างที่รู้กันว่าปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ที่เป็นเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่รัฐมีอำนาจในการครอบครองทรัพยากรทุกอย่างและอำนาจการปกครองและการทหารถูกผูกขาดไว้ที่ท่านผู้นำอย่าง Stalin ซึ่งถูกวางไว้ที่ด้านซ้ายบน
ถัดลงมาคือ Gandhi หรือมหาตมะคานธี หลายคนเคยได้ยินชื่อในฐานะผู้เรียกร้องเสรีภาพให้อินเดีย แต่ที่อาจจะยังไม่รู้คือคานธีมีแนวคิดด้านเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่มีรากฐานมาจากความเชื่อทางศาสนาที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจควรถูกจัดการและทรัพยากรควรถูกแบ่งและแจกจ่ายให้ทุกคนอย่างทั่วถึงและคานธียังต่อสู้กับการผูกขาดอำนาจของรัฐผู้ปกครอง โดยสนับสนุนให้ประชาขนเป็นผู้กำหนดระบบระเบียบในสังคมตามระบอบประชาธิปไตย
Hitler ถูกจัดให้อยู่ด้านบนสุดตรงกลาง ด้วยอุดมการณ์ที่เน้นความเป็นชาตินิยมที่อำนาจการปกครองในทุกมิติถูกผูกขาดอยู่ที่ตัวเขาเองและพร้อมที่จะสละชีวิตของคนนับล้านเพื่อความยิ่งใหญ่ของรัฐ ในด้านเศรษฐกิจ Hitler ไม่ได้เอนไปทางด้านใดด้านหนึ่งมาก รัฐบาลของ Hitler ไม่ได้มีนโยบายที่จะเข้าครอบครองทรัพยากรทุกอย่างเพื่อบริหารแจกจ่าย แต่ก็ไม่ได้อนุญาตให้เกิดตลาดเสรีสุดขั้วเช่นกัน โดยธุรกิจเอกชนที่ดำเนินการในอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ยังคงต้องเสียภาษีจำนวนมากเพื่อสนับสนุนความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร
มีคำกล่าวที่ว่าหากตัดความขัดแย้งด้านอุดมการณ์เศรษฐกิจออกไป Hitler กับ Stalin จะกลายเป็นเพื่อนรักกันบนโต๊ะอาหาร
ถัดไปทางด้านขวา Thatcher ที่บางคนอาจจะเคยได้ยินชื่ออยู่แล้วคือ Margaret Thatcher (MT) สตรีเหล็กผู้นำหัวอนุรักษ์นิยมจ้าของอังกฤษในยุค 1990 โดย MT สนับสนุนทุนนิยมโดยการลดกำแพงภาษี, ภาษีเงินได้, แปรรูปรัฐวิสาหกิจหลายอย่างให้กลายเป็นเอกชน ในด้านการปกครองเธอออกกฏหมายหลายฉบับเพื่อลดบทบาทของสหภาพแรงงาน และเข้ามามีบทบาทควบคุมการกำหนดทิศทางของการศึกษาและการสาธารณสุขของประเทศ
ชื่อสุดท้ายที่น่าจะมีคนรู้จักน้อยที่สุด Friedman หรือ Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลและประโยคที่โด่งดัง "บนโลกนี้ไม่มีของฟรี" (there is no such thing as a free lunch) ผู้เป็นบิดาแห่ง neo-liberalism เสรีนิยมที่สนับสนุนตลาดเสรี the freer market, the freer people. แนวคิดของ Friedman เชื่อว่าตลาดเสรีมีกลไกในการควบคุมตนเองอยู่แล้ว การเข้าแทรกแซงใดๆ ของรัฐบาลหรือการใช้กำแพงภาษีเป็นการรบกวนระบบตลาด
ประมาณนี้ครับ มีอะไรสงสัยเพิ่มเติม ถามได้ครับจะพยายามตอบ