อธิบายการทำงานของแก๊สรถยนต์
สวัสดีเพื่อนสมาชิกทุกท่านครับ
วันนี้ว่างๆเลยมานั่งอธิบายหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
ของระบบแก๊สรถยนต์ เริ่มกันที่แก๊สLPGนะครับ
1.ถังแก๊สแคปซูลหรือโดนัท
Spoil
ทุกๆใบจะมีมาตรฐาน มอก.
และทำงานสุ่มเช็คทุกล็อตการผลิต โดยการเอาถังมาอัดแรงดันน้ำเข้าไปว่าถังจะแตกตอนแรงดันกี่Barส่วนใหญ่จะแตกที่30-33Bar
ส่วนแรงดันแก๊สเวลาใช้งานจริงจะอยู่ที่ประมาณ20Barหรือประมาณ290psi
ถังมีอายุ10ปี นับจากวันผลิต
2.มัลติวาล์วของถังแก๊ส
Spoil
อุปกรณ์สำคัญสำหรับถังแก๊ส LPG ทำหน้าที่วัดระดับแก๊สในถัง และควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงแก๊ส โดยวาล์วไฟฟ้า (Solenoid Valve) ซึ่งรับคำสั่งจากกล่อง ECU
นอกจากนี้ยังประกอบด้วยส่วนที่สำคัญคือ มีวาล์วนิรภัยถึง 3 ชั้น ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ได้แก่
2.1วาล์วระบายแรงดันเกิน (Pressure Relief Valve) ทำหน้าที่ระบายแก๊สในถังแก๊ส เมื่อในถังมีแรงดันสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้ วาล์วตัวนี้จะปล่อยแก๊สทิ้งเพื่อลดแรงดันในถังแก๊สลง
2.2วาล์วป้องกันการไหลเกิน (Excess Flow Valve) ทำหน้าที่ปิดการจ่ายแก๊สทันทีที่พบว่า มีการไหลของแก๊สมากผิดปกติ เช่น กรณีท่อแก๊สขาด ท่อแก๊สหลุด เป็นต้น
2.3ฟิวส์ตะกั่ว (Thermal Fuse) จะหลอมละลายเมื่ออุณหภูมิบริเวณวาล์วสูงกว่า 110°C เช่นในกรณีรถถูกไฟไหม้ ทำให้ถังแก๊สรถยนต์ร้อนขึ้น เมื่อฟิวส์ตัวนี้ละลาย จะเปิดช่องให้แก๊สระบายออกจากถังได้ เพื่อป้องกันถังแก๊ส ระเบิด
อายุของมัลติวาล์วนับจากวันที่ติดตั้งไป10ปี
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของแต่ละยี่ห้อด้วยครับอาจจะ3-4ปีแล้วพังก็มี
3.หม้อต้มแก๊ส
Spoil
ทำหน้าที่ลดแรงดันแก๊สที่ส่งมาจากถัง ประมาณ5-10Barให้เหลือไม่เกิน2Bar ใช้งานจริงประมาณ1.2-1.6Bar แล้วแต่ขนาดเครื่องยนต์และขนาดของหม้อต้มว่ารองรับได้กี่แรงโม้ เอ้ยแรงม้า
ภายในจะแบ่งเป็น3ห้อง มีห้องน้ำ ห้องนอน ห้องเชือด
(ขออภัยครับติดนิสัยssมากไปหน่อย)
-ห้องน้ำ รับน้ำมาจากเครื่องยนต์หรือหม้อน้ำนี่แหละ เอามาเพื่อละลายแก๊สทำให้แก๊สที่ส่งมาจากถังด้วยความเย็นจัดๆ
ให้ระเหยด้วยความร้อนจากน้ำกลายเป็นไอ
ถ้าน้ำไม่ร้อนมากพอหม้อต้มจะน้ำแข็งเกาะ ทำให้ใช้งานแก๊สไม่ได้ อุณหภูมิต้องประมาณ45องศาขึ้นไปถึงจะใช้งานได้ครับ
-ห้องแก๊สเข้า ภายในห้องจะวนไปวนมาเพื่อให้เนื้อแก๊สรับความร้อนจากผนังกั้นห้องน้ำได้เต็มที่ ต้องนัวเนียให้มากที่สุดจะได้เยิ้มๆ
-ห้องแก๊สออก ภายในจะมีแผ่นผ้าควบคุมแรงดันแก๊สที่ช่างต้องปรับตั้งแรงดันให้เหมาะแก่การใช้งานก่อนแก๊สวิ่งผ่านออกมา แล้วส่งไปหารางหัวฉีด
หม้อต้มมีอายุประมาณ3-5ปีนับจากวันติดตั้ง แล้วจะเริ่มรั่วซึมครับ
4.รางหัวฉีด
Spoil
ทำหน้าที่สั่งจ่ายแก๊สตามคำสั่งที่ได้รับจาก กล่องควบคุมหรือEcu
ภายในหัวฉีดเป็นเหมือนลูกสูบ เปิด-ปิด ตามสัญญาณไฟที่ecuส่งมา
แล้วสัญญาณมาจากไหน?
-ก็มาจากการสัญญาณการทำงานของหัวฉีดน้ำมันนี่แหละครับ
รถแต่ละรุ่นใช้ขนาดรูหัวฉีดไม่เท่ากัน
(ช่างต้องเจาะขยายรูตามความเหมาะสม)
ขึ้นกับccหรือแรงม้าของเครื่องยนต์ครับ
หัวฉีดมีอายุประมาณ3-5ปี หลังจากนั้นจะจ่ายแก๊สไม่เสถียรหรือรั่วภายในระบบครับ
5.แมพเซ็นเซอร์
Spoil
ทำหน้าที่วัด แรงดันแก๊สว่ามีกี่Bar เพื่อส่งข้อมูลไปให้กล่องEcu ประมวลผล
และวัดแรงดูดจากท่อไอดีหรือintake manifoldนั่นเอง
ค่าแรงดูดจากท่อไอดีสามารถบอกได้ว่าตอนนี้มีอากาศรั่วหรือไม่ (โดยปกติภายในท่อไอดีจะเป็นสูญญากาศ)
อายุการใช้งานแล้วแต่ดวงเลย แต่ส่วนใหญ่พังยากครับใช้จนลูกบวชกันเลย
6.กล่องควบคุมหรือECU
Spoil
หัวใจหลักของระบบแก๊สรถยนต์ รับส่งสัญญาณข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาประมวลผลแล้วส่งออกมาที่หน้าโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ช่างได้เห็นค่าการทำงานของระบบต่างๆ และใช้มาอ้างอิงในการปรับจูนแก๊สให้เหมาะสม
-ในส่วนของการปรับจูน ช่างแต่ละคนจะเข้าใจโปรแกรมต่างกัน ความสามารถก็ต่างกัน ช่างที่ดีต้องเข้าใจสภาพของเครื่องยนต์ด้วยว่าในขณะนั้นรถยนต์คันนั้นๆอยู่ในสภาพสมบูรณ์กี่% และต้องปรับจูนให้พอดี การปรับจูนไม่ตายตัวแล้วแต่สูตรใครสูตรมัน
แต่สูตรที่ดีที่สุด(สำหรับผม)คือ ปรับจูนให้ใกล้เคียงน้ำมันให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการรักษาเครื่องยนต์ให้สึกหรอน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ส่วนอัตราความประหยัดนั้น อยู่ที่ราคาแก๊สและน้ำมันเลยครับ
โดยปกติถ้าน้ำมัน1ลิตรวิ่งได้10กิโลเมตร
ของแก๊สLpg1ลิตรจะวิ่งได้ประมาณ8-9กิโลเมตร
แต่ราคาของเชื้อเพลิงนั้นแตกต่างกันพอสมควรครับ ง่ายๆว่าครึ่งต่อครึ่ง หรือตีเป็นประหยัดไปกิโลละบาทนิดๆ
ส่วนข้อเสียของการติดตั้งแก๊สรถยนต์ จะอยู่ที่วาล์วไอเสีย
ถ้าปรับจูนมาไม่ดี งานติดตั้งไม่ดีจะทำให้แก๊สจ่ายได้ไม่ดี
วาล์วไอเสียก็จะยันเร็วขึ้น
แก๊สบางจ่ายน้อยไป=เครื่องยนต์ทำงานหนักวาล์วยันเร็ว
แก๊สหนาจ่ายมากไป=วาล์วไอเสียจะไหม้ อุณหภูมิรถสูงขึ้น
ถ้าผู้ใช้รถวิ่งทางไกลบ่อยๆใช้รถเยอะ เช่นอาชีพเซลล์ที่ต้องวิ่งหาลูกค้าบ่อยๆอันนี้คุ้มแน่นอนครับ วิ่งไป3แสนโลก็ประหยัดไป3แสนบาท
ถ้าถามว่าเครื่องจะพังไวมั้ย อันนี้อยู่ที่ช่างที่ติดตั้งปรับจูนให้เลยครับ และสำคัญที่สุดคืออยู่ที่เท้าของคนขับนี่แหละ
เหยียบแรงกระทืบคันเร่ง ออกตัวเหมือนจรวดก็ไปไวแน่นอนครับใช้น้ำมันเพียวๆก็พังเช่นกัน
ไม่ว่าจะใช้น้ำมันหรือพลังงานทางเลือกก็ต้องหมั่นตรวจเช็คบำรุงรักษากันบ่อยๆนะครับ อย่ารอให้พังแล้วค่อยซ่อม
เพราะพังแล้วซ่อมมันคือการบรรเทา ไม่ใช่การป้องกัน
ก่อนเดินทางไกลก็เอารถไปตรวจเช็คก่อนออกเดินทางกันด้วยนะครับ ค่าตรวจเช็คตามอู่ทั่วไปก็ตั้งแต่50บาทไปถึง2-3ร้อย
เกินนี้แพง อย่าไปหามันอีก
ไว้แค่นี้ละกันนะครับลูกค้าเข้ามาพอดี ขอตัวไปทำงานต่อก่อนครับ สงสัยอะไรถามได้เลยนะครับ ถ้าไม่เกินความสามารถเดี๋ยวผมช่วยหาคำตอบให้ครับ
ตัวอย่างหม้อต้มรั่วหรือท่อน้ำพลาสติกหัก
Spoil
จะมีคราบตะกลั่นหรือสนิมขึ้น ทำให้เครื่องยนต์ขาดน้ำความร้อนขึ้นฝาสูบโก่งได้เลย
ตัวอย่างโซลินอยด์สั่งจ่ายแก๊สเสีย
Spoil
ตัวนี้จะอยู่ที่ถังแก๊ส1ตัว หม้อต้ม1ตัว ทำหน้าที่เป็นเหมือนแม่เหล็ก รับสัญญาณไฟ12vเพื่อเปิดปิดทางเดินแก๊ส ในภาพคือไหม้ ใช้งานได้แปบเดียวจะร้อนแล้วช็อตลัดวงจร แก๊สก็จะตัดกลับไปเป็นน้ำมัน
ตัวอย่างหัวฉีดเสีย
Spoil
พังเยอร์ด้านในสกปรก หรือยางโอริงเสื่อมสภาพ ทำให้แก๊สรั่วหรือจ่ายมากเกินกว่าคำสั่ง หรือจ่ายแก๊สน้อยเกินไปเนื่องจากสกปรก ทำให้รถมีอาการสั่นสะดุด