[RE: คำ สัก กับ ซัก ในบางประโยคใช้แบบไหน]
อ้างอิงจาก:
สัก ๑
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Tectona grandis L.f. ในวงศ์ Labiatae เนื้อไม้แข็งและคงทน เหมาะแก่การสร้างบ้านและทำเครื่องเรือน ใบและเนื้อไม้ใช้ทำยาได้.
ลูกคำของ "สัก ๑" คือ สักขี้ไก่
สัก ๒
ก. ทำให้ตึง, ทำให้แน่น, เช่น สักว่าว สักที่นอน.
ลูกคำของ "สัก ๒" คือ สักที่นอน สักว่าว
สัก ๓
ก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทำเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกจิ้มที่ผิวหนังเพื่อแสดงเป็นหลักฐานบนร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือเป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิกเป็นต้น.
ลูกคำของ "สัก ๓" คือ สักกระหม่อม สักหมายหมู่ สักเข้าหมู่
สัก ๔
ว. อย่างน้อย, เพียง, ราว, เช่น ขอเวลาสัก ๒ วัน.
ลูกคำของ "สัก ๔" คือ สักว่า สักแต่ว่า
อ้างอิงจาก:
ซัก ๑
ก. ทำให้สิ่งที่ทำด้วยเส้นใยเช่นผ้า สะอาดด้วยการขยี้ในน้ำหรือใช้แปรง มักใช้สบู่หรือผงซักฟอกด้วย.
ลูกคำของ "ซัก ๑" คือ ซักฟอก ๑ ซักแห้ง
ซัก ๒
ก. ไล่เลียงให้กระจ่างแจ้ง เช่น ทนายซักพยาน ซักถาม.
ลูกคำของ "ซัก ๒" คือ ซักค้าน ซักซ้อม ซักถาม ซักฟอก ๒ ซักไซ้
http://www.royin.go.th/dictionary/
ส่วนภาษาพูดก็ใช้อะไรก็ได้แหละ