เคล็ดลับภาพถ่ายของข้าพเจ้า1 คอมโพซิชั่น การวางองค์ประกอบแบบง่ายๆ
วันนี้เขียนบทความเล่นดีกว่า สำหรับนักถ่ายภาพสมัครเล่นอย่างผม ฮิๆโดยรวมแล้วภาพหนึ่งภาพต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง
แสงเงา สตอรี่ คอมโพซิชั่นหรือศาสตร์มากมายก่ายกอง ด้วยความที่ผมไม่ได้เรียนมาทางด้านศิลปะเลย การถ่ายภาพของผมจึงเห่ยสวดๆติ่งหมี หรีมดเลยทีเดียว จนผมได้ศึกษามันอย่างจริงจังมากขึ้น ผมสรุปเอาเองครับว่าภาพที่ดีต้องมีหลักอยู่ไม่เยอะ อย่างนึงเลยที่สำคัญยิ่งคือ องค์ประกอบภาพ หรือ คอมโพซิชั่น หรือเรียกแบบบ้านๆแล้วกันว่าการวางภาพ ซึ่งก็คือในเฟรมภาพ ไม่ว่าเฟรมเราจะเป็นแบบสี่เหลี่ยมด้านเท่า หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า แนวตั้ง แนวนอนก็ตาม การวางองค์ประกอบภาพที่มืออาชีพใช้กันมีเยอะ แต่ผมเอามาย่อย ง่ายๆแล้วกัน ผมใช้กฏสามส่วน หรือ Rule of thirds ซึ่ง ต่อไปผมขอเอาความเข้าใจแบบผม อธิบายโดยรวมทั้งหมดครับ ซึ่งก็รวมถึงก้นหอย จุดตัดเก้าช่อง อะไรเทือกนั้น
เอาง่ายๆแบ่งเฟรมภาพของเราเป็นสามส่วน แล้วถ่ายให้มีองค์ประกอภาพเป้นสามส่วน คือให้มีส่วนมาก2ส่วน ส่วนน้อย 1 ส่วน เช่นภาพทิวทัศน์ เราให้ฟ้าสองส่วน พื้นดินหนึ่งส่วน
ดังภาพนี้ ขอบคุณภาพปลากรอบจากอินเตอเน็ต จะเห้นว่าแทนที่จะเอาเส้นขอบฟ้าไว้ตรงกลางภาพ ก็เอาฟ้ามาสองส่วนของภาพ ซึ้่งขึ้นอยู่กับเราน่ะครับ ถ้าอยากนำเสนอพื้นก็เอาพื้นสองส่วน ฟ้าหนึ่งส่วน อันนี้ใช้ได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนน่ะครับ ดังภาพแรกที่ผมแสดงไว้ สีแดงแนวนอน สีเขียวแนวตั้ง
คราวนี้มาดูภาพต่อไปครับ
ภาพนี้ก็คือภาพข้างบนนั้นแหล่ะครับ เมื่อเราแบ่งเฟรมแนวตั้ง แนวนอนอย่างล่ะสามส่วนแล้ว เราจะได้จุดตัดที่ผมวงๆไว้ ซึ่งเรียกกันว่าจุดตัดเก้าช่อง มันมีไว้ทำหยัง
จุดตัดเก้าช่องมีไว้วางจุดสนใจของภาพครับ เราจะวางตรงไหนก็ได้ในสี่ช่องนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำเสนออะไร เสนอแนวทางไหน เช่น
ขอบคุณภาพปลากรอบจากเน็ตกรูเกิ้ลอีกครั้งครับ ภาพนกภาพนี้เขาเลือกวางจุดตัดน่ะครับ คือไม่ต้องเป่ะถึงขนาดวัดจากำฃไม้บรรทัด ถ้าสังเกตดีๆภาพนี้ตัวนกจะมีหนึ่งส่วนจากสามส่วนในแนวนอนน่ะครับ งงไหม เดี๋ยวผมวาดให้ดู
ดูที่ผมระบายประกอบน่ะครับ นั่นคือสัดส่วนภาพที่เขาวางมาด้วยคือ ตัวแบบมีพื้นที่ 1ใน3 ของเฟรมน่ะครับ ทำให้ภาพไม่แน่นหรือหลวมเกินไป ภาพหลวมคืออะไรครับ ดูภาพประกอบ
ภาพนี้สมมติว่าถ่ายภาพคน สัดส่วนภาพเล็กเกินไป แม้ว่าจะวางคนที่จุดตัดก้ตาม เราต้องให้สัดส่วนของคน 1ใน3ของภาพ เช่น
จะเห็นว่าเขาให้สัดส่วนภาพ1ใน3 ให้ดูเฉพาะตัวเอกน่ะครับ จะเห็นว่าวางภาพจุดตัด และสัดส่วนภาพ พอดี ขอบคุณภาพปลากรอบจากกรูเกิ้ลด้วยครับ
สรุปนะครับ กฏสามส่วนสามารถเอาไปใช้กับภาพทุกชนิด ให้เรายึดหลักพื้นฐานเอาไว้ ลองดูภาพถ่ายของคนอื่นๆศึกษาการวางองค์ประกอบและฝึกไปเรื่อย ภาพถ่ายของเราจะดูโปรมากขึ้น ในส่วนอื่นๆ เราก็ไปศึกษาเรื่อง space เส้นนำสายตา ประกอบจะยิ่งทำให้องค์ประกอบเราสมบูรณ์ขึ้นอีกครับ ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพครับ หากมีอะไรผิดพลาดก็ขออภัย บทความนี้ผมเขียนจากประสบการณ์ครับ ผมไม่ได้เรียนมา และขอบคุณภาพประกอบจากกูเกิ้ลด้วยครับ พบกันบทความต่อไปครับ เรื่องเส้น แสงสี ซึ่งก็อยู่ในองค์ประกอบภาพเหมือนกัน สวัสดีครุป