ผู้ทรงธรรม
Status:
: 0 ใบ
: 0 ใบ
เข้าร่วม: 25 Jul 2008
ตอบ: 33
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 16, 2014 16:09
เข้าใจธรรมะ[คำถาม๑๐๕๕-ต้นไม้มีชีวิตหรือไม่(ตามหลักพุธศาสตร์)]
เป็นธรรมะ กับเรื่องใกล้ตัวดีครับ น่าจะนำไปใช้ และเข้าใจกันได้ง่าย
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านครับ
อนุโมทนาบุญแก่ผู้ที่สนใจทุกท่าน และ ขอให้บุญรักษาครับ
-โทษคนอื่นได้กิเลส โทษตนเองได้ปัญญา
-กิเลสไหลท่วมท้นใจทั้งคืนวัน คิดว่าปัญญาเพียงน้อยนิดจะเอาชนะกิเลสได้
*ควรใช้ปัญญาพิจารณาทุกครั้งในการรับข้อมูล ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อครับ
ขอบคุณ เวป raksa-dhamma ครับ
--------------------------------------------------------------------------
คำถาม
ต้นไม้ในทางวิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต เมื่อเดือนที่แล้วต้นไม้ที่ดิฉันปลูกและเฝ้ารดน้ำอยู่ทุกวันตายค่ะ เนื่องจากดิฉันเดินทางไปต่างจังหวัดหลายวันจึงไม่มีใครรดน้ำให้ (ต้นไม้ประเภทว่าน ไม่ใหญ่ ใส่กระถางปลูก) พอดิฉันกลับมาแล้วเห็นสภาพต้นไม้มันเหี่ยวแห้งจนเหลืองกรอบค่ะ พูดคุยกับมันเหมือนเคยก็ไม่สามารถฟื้นแล้วค่ะ (เคยมีครั้งนึงมันเกือบตายแต่ดิฉันเฝ้าประคบประหงมจนฟื้นขึ้นมาแข็งแรงค่ะ) ดิฉันอยากจะถามว่า ในทางพุทธฯ ต้นไม้มีชีวิตไม๊ค่ะ ดิฉันเคยได้ยินว่า ตามต้นไม้ใหญ่สูงเกินหนึ่งเมตรจะมีเทวดาสิงสถิตย์อยู่ คุณคนเดินทางว่ามีจริงหรือไม่คะ คุณคนเดินทางอย่าหาว่าคำถามของดิฉันไร้สาระนะคะ อยากทราบมานานแล้วค่ะ แล้วการที่เรารดน้ำต้นไม้ทุกวันถือว่าเป็นการแผ่เมตตา เป็นบุญไม๊คะ.
คำตอบ
ในพระอภิธรรมนั้น ท่านแสดงเรื่องรูปไว้ มีทั้งรูปที่มีวิญญาณครอง และรูปที่ไม่มีวิญญาณครอง กล่าวง่ายๆอย่างนี้นะคะ
รูปของสัตว์โลกทั่วไปโดยมาก ย่อมเกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานทั้ง สี่ ได้แก่
๑.กรรมสมุฏฐาน ได้แก่ กัมชรูป ที่เป็นผลของกรรม หากเกิดเป็นมนุษย์ ก็ต้องเกิดด้วยผลของกรรมดี หากเกิดเป็นสัตว์ในอบายทั้ง สี่ คือ สัตว์นรก เปรต อสูรกาย และสัตว์เดรัจฉาร รูปของสัตว์เหล่านั้น ย่อมเกิดจากผลของกรรมชั่ว กรรมใดกรรมหนึ่ง และกรรมนั้นย่อมผลิตสร้างรูปของสัตว์ให้สืบเนื่องเป็นไปตลอดเวลาเช่นกัน หมดกรรมก็หมดชีวิตในภพหนึ่งๆ
๒.จิตสมุฏฐาน ได้แก่วิบากจิตที่นำปฏิสนธิ และจิตชนิดเดียวกันนี้ก็เป็นจิตที่รักษาภพชาติสืบต่อไปจนกว่าจะหมดอายุในภพหนึ่งๆ ตลอดจนจิตที่เกิดขึ้นมารับผลของกรรมเก่าในระหว่างกาลเวลาที่มีชีวิต และจิตที่เกิดขึ้นมาเพื่อทำกรรม ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว แล้วแต่โอกาสและบุคคล และในขณะที่จิตเกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์ทั้งเก่าและใหม่นั้น ก็สร้างรูปที่เรียกว่า จิตชรูป เป็นรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานด้วยมากมาย
๓.อุตุสมุฏฐาน คือ ความเย็นร้อนทั้งรูปภายใน อันเกิดจากอาหารหรือจิตก็เกี่ยวข้องกับอุตุภายในด้วย อุตุทั้งภายในและภายนอกนั้น หากเกินหรือพร่องเกินระดับก็ไม่อาจจะรักษาชีวิตไว้ได้ เช่นเป็นไข้สูงจัด เย็นจัดก็ตาย หรืออากาศภายนอกเย็นจัดร้อนจัด ก็ตายได้
๔.อาหารสมุฏฐาน คือ ข้าวปลาอาหาร น้ำ เครื่องดื่ม ยา ทั้งหลายเป็นปัจจัยที่เป็นไปด้วยอาหาร หากขาดอาหารก็ตาย หรือทานอาหารผิดก็ตายได้
ดังนั้น หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเสียหายหรือบกพร่อง ก็ทำให้รูปเสียหาย เป็นไปด้วยความลำบาก และถึงความตายได้ค่ะ
ส่วนต้นไม้นั้นก็เป็นรูป แต่ไม่ใช่สัตว์.... ดังนั้นรูปของต้นไม้นั้นเกิดจากอุตุสมุฏฐานเท่านั้น เรียกอวินิโภครูป ๘ ได้แก่ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ สี กลิ่น รส และอาหาร เท่านั้น เห็นได้ว่า ไม่มีจิตสมุฏฐานเลย ไม่มีกรรมสมุฏฐานเลย
ดังนั้น ต้นไม้จึงไม่ใช่สัตว์ด้วยเหตุนี้ การทำต้นไม้ตายไม่ได้บาป แต่การทำลายป่า ต้นไม้ใหญ่นั้น เป็นโทษได้เพราะต้นไม้นั้นให้ความเย็น ช่วยโลก ให้อากาศดี การทำลายความสมดุล จึงชื่อว่าเป็นผู้เบียดเบียนคนหมู่มากได้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญบุคคลที่ปลูกต้นไม้นะคะ
หรือต้นไม้ใหญ่บางต้นก็มีรุกขัฏฐเทวดาอาศัยอยู่ก็อาจจะทำให้เกิดความเดือดร้อนได้ค่ะ
การปลูกต้นไม้แล้วเป็นเหตุให้เอาใจใส่ อาลัยอาวรณ์จนเกินไป ก็ไม่ใช่ความดี.... เพราะเกิดเยื่อใยมากเข้าก็ก่อทุกข์ให้ติดตามมา อาทิเช่น ทุกข์แห่งการหวงแหน ทุกข์แห่งการบำรุงรักษา ต้องขวนขวายมาก อีกทั้งเมื่อต้นไม้ตายก็เสียดาย เสียใจเป็นต้น
ที่ถามว่า ต้นไม้ใหญ่สูงเกินหนึ่งเมตรจะมีเทวดามาสถิตนั้น ท่านไม่ได้แสดงไว้อย่างนั้นนะคะ ...แต่ท่านแสดงไว้ว่า รุกขัฏฐเทวดา คือ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้นั้น มีอยู่.... มีสองประเภท คือ พวกที่มีวิมานอยู่บนต้นไม้ และอีกพวกหนึ่งอยู่บนต้นไม้แต่ไม่มีวิมาน ..
รุกขทิพยวิมานนั้นมีสองแบบ หมายเอาวิมานที่ตั้งอยู่บนยอดต้นไม้ (เรามองไม่เห็นด้วยตา) คือเรียกรุกขวิมานเพราะตั้งต่อกับยอดไม้ ส่วนอีกแบบหนึ่งมีวิมานตั้งอยู่บนสาขาของต้นไม้ทั่วไป
ต้นไม้ต้นไหนมีรุกขัฏฐเทวดาหรือไม่มี ก็บอกได้ยาก ต้องเป็นผู้มีกำลังทางจิตพิเศษจึงจะรู้ได้ค่ะ โดยมากต้องเป็นผู้เจริญสมถะมาแต่ชาติปางก่อนนั่นเองค่ะ
หากการรดน้ำแล้วแผ่เมตตาให้กับต้นไม้ ก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้รับ แต่ผู้แผ่ให้เกิดจิตใจอ่อนโยนด้วยเมตตา ก็เป็นกุศลได้ค่ะ ..หากจะให้ดีก็แผ่ให้เทวดาก็ได้ค่ะ..ได้ทั้งผู้ให้และผู้รับ ดีไม่ดี เทวดาท่านก็พากันมาตั้งวิมานอยู่ที่ต้นไม้ต้นนั้นก็ได้ เพราะเอ็นดูท่านผู้ถามนะคะ ..
คนที่มีความดี โดยมาก เทวดาก็ตามรักษา คอยดลจิตดลใจช่วยเหลือทางอ้อมอยู่แล้วค่ะ.... นี่เองผู้มีศีลดี มีเมตตา จึงย่อมเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายค่ะ
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ